WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET42ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซต์เวย์-ลุ้นขึ้น คาดหวังศก.ในปท.ฟื้น/รอประชุมเฟด

       นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซต์เวย์ และมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปได้บ้างแต่ยังอยู่ในกรอบจำกัด จากความคาดหวังแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มดูดีขึ้น จากรัฐบาลมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง

    อย่างไรก็ดี ตลาดฯยังรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ในสัปดาห์หน้าด้วย ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะขณะนี้ตลาดยังสับสน บางก็ว่าขึ้นดอกเบี้ย บางก็ว่ายังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนยังไม่กล้าที่จะลงทุนจริงจัง

     ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแดนลบกัน แต่เมื่อตลาดหุ้นจีนเปิดทำการมาในแดนบวกได้ ทำให้หลายตลาดฯในภูมิภาคเริ่มที่จะมีการีบาวด์กลับขึ้นไป

 

พร้อมให้แนวรับ 1,388-1,390 จุด ส่วนแนวต้าน 1,405-1,415 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

                - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(10 ก.ย.58) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,330.40 จุด ปรับขึ้น 76.83 จุด(+0.47%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,796.25 จุด เพิ่มขึ้น 39.72 จุด(+0.84%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,952.29 จุด เพิ่มขึ้น 10.25 จุด(+0.53%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวัน นี้ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 143.91 จุด,ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 8.41 จุด,  ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 2.57 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 19.23 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 8.93 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 20.19 จุด

ส่วนตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดทำการเนื่องในวันเลือกตั้งทั่วไป

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(10 ก.ย.58) 1,396.16 จุด ลดลง 0.13 จุด (-0.01%)

                - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 821.69 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 ก.ย.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(10 ก.ย.58) ปิดที่ 45.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับขึ้น 1.77 ดอลลาร์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(10 ก.ย.58)ที่ 5.14 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 36.00 คาดแกว่งแคบขาดปัจจัยใหม่หนุน รอเฟด-กนง.สัปดาห์หน้า

                - เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมหารือถึง แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท โดยสรุปจะมีการคิกออฟยุทธศาสตร์สานวงเงิน 1.3 แสนล้านบาท โดยสรุปจะมีการคิกออฟยุทธศาสตร์สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ในวันที่ 20 ก.ย.นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดงาน

                - แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่าผู้รับสัมปทานจะลดปริมาณการผลิตก๊าซในแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทยลงมากว่า 50% ซึ่งจะกระทบกับปริมาณการใช้ในประเทศ จนต้องเพิ่มการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มขึ้นจากปกติวันละ 190 ล้านลูกบาศก์ฟุต ตามจำนวนที่ลดลง จึงอาจกระทบต่อราคาก๊าซ

                - นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจำเป็นต้องเพิ่มรายได้จากการปฏิรูปภาษี และลดรายจ่ายบางด้าน เช่น งบประจำ ที่เพิ่มขึ้นทุกปี หากสามารถลดงบประมาณส่วนนี้ได้จะมีผลต่อการลดหนี้สาธารณะได้มากกว่าการเพิ่มให้เอกชนเข้ามาลงทุน (พีพีพี)

                - เอดีบีเตรียมปรับลดจีดีพีต่ำกว่า 2.9% หลังครึ่งปีแรกโงหัวไม่ขึ้น เตือนรับเงินทุนผันผวนจากผลประชุมเฟด ด้านกสิกรไทยคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย ค่าบาทปีหน้าอาจแตะ 38 ห่วงวิกฤตเศรษฐกิจมาเลย์ลาม

                - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) เดือน ส.ค. 2558 พบว่า ดัชนีการคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เริ่มขยับขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ มาที่ระดับ 46 จาก 45 ในเดือนก่อน ซึ่งแม้ว่าดัชนีจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ 50 แต่ทิศทางที่เพิ่มขึ้นก็อาจเป็นสัญญาณว่า ครัวเรือนบางส่วนน่าจะเริ่มคลายความกังวลต่อภาวะการครองชีพในอนาคตลงบ้าง

                - นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บมจ.ทีโอที เผยในวันที่ 16 กันยายน จะมีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกพันธมิตรให้ได้เพราะหากล่วงเลยเดือนกันยายนไปแล้วก็จะส่งผลกระทบ เนื่องจากสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์จะสิ้นสุดลงรวมทั้งประเทศไทยก็จะเข้าสู่การประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอาจส่งผลให้สถานีฐานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี มีมูลค่าจากการประเมินทรัพย์สินที่ลดลงได้ ซึ่งหากไม่มีการใช้งานเพื่อเพิ่มการให้บริการของสถานีฐาน จะทำให้อัตราการด้อยค่าของทรัพย์สินวันละ 13 ล้านบาท หรือปีละ 10,000 ล้านบาท

*หุ้นเด่นวันนี้

                - SPALI(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 27 บาท คาดแนวโน้มผลประกอบการยังคงเติบโตต่อเนื่องจากงานในมือรอบันทึกรายได้ ใน 2H58 ความสามารถในการทำกำไรยังทำได้ดีจากอัตรากำไรขันต้นเฉลี่ยที่ระดับ 39-40% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 33% ขณะเดียวกันคาดเห็นการจ่ายปันผลให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6% ต่อปี (นโยบายจ่ายปันผลปีละ 2 ครั้ง)

                - ITD(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"สะสม"เป้า 12 บาท มองเชิงบวกต่อการเข้าหารือของรองนายกฯ ดร.สมคิด กับ รมว.คมนาคม และคณะทำงาน วันพุธที่ผ่านมา เพื่อมอบนโยบายในการเร่งรัดการทำงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ให้เป็นรูปธรรมเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะกลางถึงยาว และล่าสุดรองนายกฯ พล.อ ประวิตร รายงานความคืบหน้าในการหารือกับทางการจีน ถึงโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย–จีน ทางไทยเสนอให้ทางการจีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงจาก 4% เป็น 2% และคาดว่าคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการหารืออีกครั้งในช่วงกลางเดือนก.ย. นี้เพื่อหาข้อสรุป และเริ่มงานลงทุนได้ในเดือนต.ค. ตามเวลาที่นายกฯ กำหนดไว้ โดยITD มีความพร้อมสูงสุดในการประมูลงานก่อสร้างระบบรางรถไฟ และคาดจะมีความคืบหน้าในการออกประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปรแตซที่ จ.อุดรธานีในช่วงปลาย 3Q58 หรือ ต้น 4Q58

                - KTB(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"สะสม"เป้า 21.03 บาท รัฐบาลเปิดตัวกองทุนหมู่บ้าน วันที่ 14 ก.ย. นี้ วงเงิน 6.0 หมื่นล้านบาท อย่างเป็นทางการ และคาดว่าจะปล่อยกู้ได้ครบภายในสิ้นเดือนต.ค.หรือเร็วกว่าคาด จึงคาดว่าการเริ่มโครงการดังกล่าวจะเป็นบวกต่อยอดสินเชื่อของ KTB ในช่วง 4Q58 ขยายตัว อีกทั้ง KTB มีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอ เนื่องจาก Loan to Deposit Ratio อยู่ที่ระดับเพียง 90% และจะเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินเชื่อให้ขยายตัวตั้งแต่เดือน ต.ค. และต่อเนื่องถึง 4Q58 ที่เป็น High Season ของความต้องการใช้ทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจ และ Valuation ค่อนข้างถูก

                - AEONTS(ทรีนีตี้)"ซื้อ"เป้า 130 บาท คาดกำไร 2Q58(ปิดงบฯ 20 ส.ค.) ที่ 561 ล้านบาท ดีขึ้น 7%QoQ แต่ยังอ่อนตัว 17%YoY โดยแรงหนุนคาดว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลงจากไตรมาสก่อน ด้านสินเชื่อคาดว่าจะยังเติบโตได้ในระดับต่ำ แต่บัตรกดเงินสดที่คาดว่าเติบโตได้ดีกว่าจะช่วยหนุน Spread ให้ดีขึ้นได้บ้าง ขณะที่สำรองหนี้สูญคาดว่าจะลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยเช่นกัน สำหรับแนวโน้มกำไรในช่วงครึ่งปีแรกถือว่าไม่เด่น แต่ในครึ่งปีหลังหากมีผลักดันนโยบายอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ก็จะเป็นผลบวกต่อบริษัทซึ่งมีฐานลูกค้าผู้มีรายได้น้อย ทำให้ผลประกอบการในไตรมาสที่เหลืออาจเริ่มเด่นขึ้นได้

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังหุ้นอุตสาหกรรมร่วง ขณะจับตาข้อมูลศก.จีน

      ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและผู้บริโภค

      ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.2% แตะ 127.17 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

      ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,155.71 จุด ลดลง 143.91 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,271.25 จุด เพิ่มขึ้น 2.57 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,942.88 จุด ลดลง 19.23 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,605.09 จุด ลดลง 8.93 จุด ส่วนตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดทำการเนื่องในวันเลือกตั้งทั่วไป

       นอกจากนี้ ตลาดยังจับตาดูจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการในวันอาทิตย์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนส.ค. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนส.ค. และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 73.20 จุด วิตกเฟดขึ้นดบ.เดือนนี้, แบงก์ชาติอังกฤษแย้มขึ้นดบ.ปีหน้า

      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) โดยเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบสี่วัน เนื่องจากนักลงทุนกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอีกครั้ง ก่อนที่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยายของธนาคารกลางสหรัฐจะประชุมกันในสัปดาห์หน้า ด้านแบงก์ชาติอังกฤษส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า ชี้เศรษฐกิจยังไม่ถูกกระทบจากวิกฤตจีน

    ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 73.20 จุด หรือ 1.18% ที่ 6,155.81 จุด

    หุ้นอังกฤษปรับตัวลดลง หลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า โดยรายงานการประชุมระบุว่า กรรมการ BoE เห็นพ้องกันว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และภาวะปั่นป่วนในตลาดการเงินทั่วโลกยังไม่ได้ทำให้มุมมองของเศรษฐกิจอังกฤษเปลี่ยนแปลงไป

   กรรมการ BoE ระบุว่า เป็นการเร็วเกินไปที่จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลกระทบที่เศรษฐกิจอังกฤษได้รับจากภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก แต่ก็ยอมรับว่าความเสี่ยงในช่วงขาลงได้เพิ่มขึ้น

   ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) มีมติ 8-1 ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% วานนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นเดือนที่ 79 ติดต่อกัน

   นายเอียน แมคแคฟเฟอร์ตี เป็นกรรมการเพียงคนเดียวที่ลงมติสวนทางที่ประชุมในวันนี้ โดยเขาลงมติให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.75%

   นอกจากนี้ MPC ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์ (5.76 แสนล้านดอลลาร์)

   การประกาศคงอัตราดอกเบี้ย และคงวงเงินในมาตรการ QE ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน BoE เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปีหน้า

   ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นอังกฤษเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปและตลาดหุ้นเอเชียที่กลับมาปรับตัวลดลง หลังจากที่พุ่งขึ้นแข็งแกร่งในช่วงสามวันที่ผ่านมา โดยตลาดยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันนักลงทุนหันมาจับตาช่วงเวลาในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ก่อนที่เฟดจะประชุมในวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ โดยนักวิเคราะห์มองว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

    หุ้นกลุ่มเหมืองเป็นแกนนำหุ้นลบ โดยเกลนคอร์ร่วงหนักสุด 5.3% หลังจากที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) คงมุมมองเชิงลบต่อเกลนคอร์ แม้บริษัทเหมืองรายใหญ่ได้ดำเนินมาตรการเพื่อปรับลดหนี้สินลงแล้วก็ตาม

   บีเอชพี บิลลิตัน ลบ 5.95% หลังถูกโบรกเกอร์ปรับลดประมาณการผลกำไรของบริษัท เนื่องจากมองว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงจะส่งผลกระทบต่อกำไร

   หุ้นแอดไมรัล กรุ๊ป ลดลง 4.58% สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ร่วง 4.09% และอังโกล อเมริกัน ลบ 3.49%

   ขณะที่หุ้นดับเบิลยูเอ็ม มอร์ริสัน ลดลง 2.84% หลังจากที่ผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เผยกำไรลดลงในช่วงครึ่งปีแรก พร้อมเผยว่าจะปิดสาขาหลายแห่ง

    ส่วนหุ้นบวกนำโดย บาร์รัตต์ ดีเวลอปเมนท์ ซึ่งปรับตัวขึ้น 3.29% หลังจากที่บริษัทรับสร้างบ้านรายงานเมื่อวันพุธว่า บริษัทมีผลกำไรก่อนหักภาษีทั้งปีเพิ่มขึ้น 45% และปีงบการเงินใหม่ก็เริ่มต้นด้วยดี

   หุ้นดิกซันส์ คาร์โฟน บวก 1.81% หลังจากที่บริษัทผู้ค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายงานรายได้เพิ่มขึ้น 8% ในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งดีเกินคาด และส่วนแบ่งในตลาดอังกฤษก็ขยายตัวขึ้น

   หุ้นเน็กซ์ เพิ่มขึ้น 1.3% หลังจากที่บริษัทรายงานผลกำไรเพิ่มขึ้น 7.1% ในช่วงครึ่งปีแรก แตะที่ 347 ล้านปอนด์ พร้อมคงคาดการณ์แนวโน้มสำหรับตลอดทั้งปี

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกเศรษฐกิจโลก-เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) หลังจากที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมาสามวัน โดยการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากเอเชียได้จุดปะทุความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกให้กลับคืนมาอีกระลอก ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในสัปดาห์หน้า ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าเฟดอาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยอาจเกิดขึ้นในเดือนนี้

   ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 4.43 จุด หรือ 1.22% ปิดที่ 359.34 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปรับตัวลง 68.06 จุด หรือ 1.46% ปิดที่ 4,596.53 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันลดลง 92.68 จุด หรือ 0.90% ปิดที่ 10,210.44 จุด และดัชนี FTSE 100 ปิดลดลง 73.20 จุด หรือ 1.18% ที่ 6,155.81 จุด

   การปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปตามตลาดหุ้นเอเชีย หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนปรับตัวลดลงเกินคาด 3.6% ในเดือนก.ค. ขณะที่การปรับลดราคาของบรรดาผู้ผลิตส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่ง ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหกปีในเดือนส.ค.

   ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นร่วงลง 2.5% และดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนลดลง 1.4% ในวันพฤหัสบดี

   ขณะเดียวกันนักลงทุนหันมาจับตาช่วงเวลาในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ก่อนที่เฟดจะประชุมในวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ โดยนักวิเคราะห์มองว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

    โดยวานนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 275,000 ราย

   ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 27 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในรอบกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง และยิ่งเป็นการสนับสนุนความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้

    หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคฉุดดัชนีหุ้นเยอรมันลง โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ E.ON SE ร่วงหนักที่สุด 7.61% หลังจากที่บริษัทยกเลิกแผนการแยกธุรกิจโรงงานนิวเคลียร์ในประเทศ พร้อมกับคาดการณ์ว่าบริษัทจะขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้

    ดัชนี หุ้นฝรั่งเศสปรับตัวลง หลังจากที่มีการเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสที่ปรับตัวลดลงผิดคาดในเดือนก.ค. บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มต้นไตรมาสสามอย่างไม่ราบรื่นนัก

    ด้านดัชนีหุ้นอังกฤษปรับตัวลดลง หลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า โดยรายงานการประชุมระบุว่า กรรมการ BoE เห็นพ้องกันว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และภาวะปั่นป่วนในตลาดการเงินทั่วโลกยังไม่ได้ทำให้มุมมองของเศรษฐกิจอังกฤษเปลี่ยนแปลงไป

   ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) มีมติ 8-1 ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% วานนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นเดือนที่ 79 ติดต่อกัน

   นอกจากนี้ MPC ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์ (5.76 แสนล้านดอลลาร์)

    หุ้นกลุ่มเหมืองเป็นแกนนำหุ้นลบในตลาดหุ้นลอนดอน โดยเกลนคอร์ร่วงหนักสุด 5.3% หลังจากที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) คงมุมมองเชิงลบต่อเกลนคอร์ แม้บริษัทเหมืองรายใหญ่ได้ดำเนินมาตรการเพื่อปรับลดหนี้สินลงแล้วก็ตาม

    ขณะที่หุ้นค้าปลีกก็ลดลงเช่นกัน นำโดยดับเบิลยูเอ็ม มอร์ริสัน ลดลง 2.84% หลังจากที่ผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เผยกำไรลดลงในช่วงครึ่งปีแรก พร้อมเผยว่าจะปิดสาขาหลายแห่ง

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 76.83 จุด ก่อนประชุมเฟดสัปดาห์หน้า

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) ขณะที่สหรัฐมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวแตกต่างกัน ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับขึ้น 76.83 จุด หรือ 0.47% ปิดที่ 16,330.40 จุด ดัชนี S&P 500 บวก 10.25 จุด หรือ 0.53% ปิดที่ 1,952.29 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 39.72 จุด หรือ 0.84% ปิดที่ 4,796.25 จุด

   ตลาดปิดในแดนบวกหลังจากมีการปรับตัวอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในสัปดาห์หน้า ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

   ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และแทบไม่ได้ช่วยให้นักลงทุนประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดได้มากนัก

    กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 275,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 275,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว

    ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 27 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในรอบกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง

   ขณะเดียวกัน กระทรวงรายงานว่า ดัชนีราคานำเข้าร่วงลง 1.8% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน โดยเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และได้รับผลกระทบจากดอลลาร์ที่แข็งค่าและราคาน้ำมันที่ร่วงลง

   เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าทรุดตัวลง 11.4% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2552

   ส่วนดัชนีราคาส่งออกร่วงลง 1.4% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และทรุดตัวลง 7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2552

   ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของเฟดในประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมช่วงสัปดาห์หน้า ได้ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็ออกมาแสดงความคิดเห็นในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกันในประเด็นที่ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้หรือไม่

  หุ้นแอปเปิล พุ่งขึ้น 2.2% เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากที่หุ้นแอปเปิลร่วงลงเมื่อวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ขณะที่หุ้นไบโอเจน อิงค์ ปรับขึ้นกว่า 3% และหุ้นไฟเซอร์ อิงค์ เพิ่มขึ้น 2.1%

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 10 ก.ย.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,330.40 จุด                         เพิ่มขึ้น 76.83 จุด     +0.47%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,796.25 จุด                      เพิ่มขึ้น 39.72 จุด     +0.84%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,952.29 จุด                       เพิ่มขึ้น 10.25 จุด     +0.53%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,155.81 จุด                   ลดลง 73.20 จุด      -1.18%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,210.44 จุด                          ลดลง 92.68 จุด      -0.90%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,596.53 จุด                        ลดลง 68.06 จุด      -1.46%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,268.68 จุด                           ลดลง 18.24 จุด      -0.22%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,299.62 จุด                     ลดลง 470.89 จุด     -2.51%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,962.11 จุด                         เพิ่มขึ้น 27.91 จุด     +1.44%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,116.90 จุด       ลดลง 120.00 จุด     -2.29%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,095.00 จุด            ลดลง 126.10 จุด     -2.42%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,197.89 จุด                     ลดลง 45.20 จุด      -1.39%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,893.54 จุด             ลดลง 48.93 จุด      -0.70%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 21,562.50 จุด                              ลดลง 568.81 จุด     -2.57%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,343.26 จุด     ลดลง 4.02 จุด       -0.09%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,614.02 จุด                      เพิ่มขึ้น 10.66 จุด     +0.66%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,888.03 จุด                      ลดลง 40.15 จุด      -1.37%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 25,622.17 จุด                        ลดลง 97.41 จุด      -0.38%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) ขณะที่สหรัฐมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวแตกต่างกัน ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับขึ้น 76.83 จุด หรือ 0.47% ปิดที่ 16,330.40 จุด ดัชนี S&P 500 บวก 10.25 จุด หรือ 0.53% ปิดที่ 1,952.29 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 39.72 จุด หรือ 0.84% ปิดที่ 4,796.25 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) หลังจากที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมาสามวัน โดยการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากเอเชียได้จุดปะทุความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกให้กลับคืนมาอีกระลอก ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในสัปดาห์หน้า ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าเฟดอาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยอาจเกิดขึ้นในเดือนนี้  

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 4.43 จุด หรือ 1.22% ปิดที่ 359.34 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปรับตัวลง 68.06 จุด หรือ 1.46% ปิดที่ 4,596.53 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันลดลง 92.68 จุด หรือ 0.90% ปิดที่ 10,210.44 จุด และดัชนี FTSE100 ปิดลดลง 73.20 จุด หรือ 1.18% ที่ 6,155.81 จุด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) โดยเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบสี่วัน เนื่องจากนักลงทุนกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอีกครั้ง ก่อนที่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยายของธนาคารกลางสหรัฐจะประชุมกันในสัปดาห์หน้า ด้านแบงก์ชาติอังกฤษส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า ชี้เศรษฐกิจยังไม่ถูกกระทบจากวิกฤตจีน       

          ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 73.20 จุด หรือ 1.18% ที่ 6,155.81 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการผลิตน้ำมันดิบที่ลดลงในสหรัฐและการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์ก แม้ว่ามีการเปิดเผยปริมาณสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ปิดปรับขึ้น 1.77 ดอลลาร์ แตะที่ 45.92 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ปิดเพิ่มขึ้น 1.31 ดอลลาร์ ที่ 48.89 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) จากแรงซื้อชดเชย ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาดูสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดปรับขึ้น 7.30 ดอลลาร์ ที่ 1,109.30 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดบวก 6.90 เซนต์ ที่ 14.645 ดอลลาร์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดทรงตัวที่ 981.20 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดเพิ่มขึ้น 14.55 ดอลลาร์ ที่ 592.50 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (10 ก.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้หรือไม่

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1284 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1198 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5470 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5365 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 120.68 เยน จาก 120.56 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9716 ฟรังก์ จาก 0.9745 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7085 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7017 ดอลลาร์

   ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 830.00 จุด ลดลง 25.00 จุด, -2.92%               

                        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!