WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มSET

   นายชัยพร น้อมพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะอยู่ในแดนลบเล็กน้อย แต่โดยรวมน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มาก และคงจะอยู่เหนือระดับ 1,500 จุดได้ในระยะหนึ่ง เนื่องจากช่วงนี้ให้ระวังเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นไปไม่ได้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันที่มองว่าซัพพลายที่จะปรับตัวลง ดังนั้นราคาน้ำมันอาจยืนไม่ได้ ในส่วนกลุ่มแบงก์ที่ผ่านมาโดยขายเป็นเพราะกลัวในเรื่องของ NPL ที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้เวลานี้หุ้นน้ำมันอยู่ในเขต Overbought ขณะที่หุ้นแบงก์อยู่ในเขต Oversold และมีการเทรด valuation ที่ต่ำ

   ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้อยู่ในแดนลบกันทั่วหน้า เนื่องจากหุ้นน้ำมันในตลาดสหรัฐฯเริ่มถูกขายออกมา นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ก็ได้ออกมาเตือนตลาดเรื่องตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรให้เตรียมรับการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งปัจจุบันตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรยังไม่ได้รับมือกับการปรับอัตราดอกเบี้ย

   ทั้งนี้ ตลาดบ้านเรามองว่ายังเป็นลักษณะเทรดดิ้งอยู่ โดยให้แนวรับ 1,514 จุด ส่วนแนวต้าน 1,524-1,525 จุด

 

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

     - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(6 พ.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,841.98 จุด ลดลง 86.22 จุด(-0.48%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,919.64 จุด ลดลง 19.69 จุด(-0.40%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,080.15 จุด ลดลง 9.31 จุด(-0.45%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 175.17 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 31.37 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 73.29 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 28.38 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 6.10 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 15.09 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 12.65 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(6 พ.ค.58) 1,519.88 จุด ลดลง 6.86 จุด(-0.45%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 58.28 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 พ.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(6 พ.ค.58) ปิดที่ 60.93 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 53 เซนต์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(6 พ.ค.58)ที่ 7.57 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 33.26/28 แนวโน้มยังอ่อนค่าต่อตามภูมิภาค จับตาเวียดนาม

                - ค่าบาทอ่อนค่ารอบ 5 ปี ผลจากกนง. ลดดอกเบี้ย-มาตรการผ่อนคลายของธปท. ขณะแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสร่วงแตะ 34 ด้านส.อ.ท.ชี้ค่าเงินยังแข็งกว่าคู่ค้า-คู่แข่ง คาดลดดอกเบี้ยอีกรอบ

                - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และการไร้การควบคุม (IUU) โดยได้สอบถามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1.การขึ้นทะเบียนเรือประมง 2.การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) 3.การปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) 4.การแก้ไขกฎหมาย 5.การทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (NPOA-IUU) และกำชับให้ทำให้เสร็จโดยเร็ว

                - ธปท.เผยผลสำรวจมุมมองนายแบงก์ คาดไตรมาส 2 ของปี 58 ความต้องการสินเชื่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเกี่ยวกับบริโภค เหตุแบงก์รัฐผ่อนคลายมาตรฐานให้สินเชื่อพยุงบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ความต้องการสินเชื่อธุรกิจเพิ่มขึ้นบ้างรับอนิสงส์ธุรกิจเน้นตลาดในประเทศและท่องเที่ยว แต่จะเพิ่มความเข้มงวดปล่อยกู้ให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจห่วงภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ ความน่าเชื่อถือผู้กู้ รวมถึงคุณภาพสินเชื่อโดยรวม

                - หม่อมอุ๋ยยันเศรษฐกิจไทยไม่เข้าภาวะเงินฝืด แต่ให้แบงก์ชาติกับสภาพัฒน์ติดตามเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด ลั่นไม่ห่วงหนี้ครัวเรือน เพราะหนี้เสียไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ไอเอ็มเอฟเข้าพบ รับฟังแผนพัฒนาประเทศระยะยาว 5 ด้าน ชมไทยมีการเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจอย่างดี

                - กบง.นัดถกวันนี้เตรียมพิจารณาประกาศราคาแอลพีจีเดือน พ.ค. 58 มีแนวโน้มลด 5-10 สตางค์ต่อกก. หรืออาจตรึงราคาเพื่อเก็บเงินสะสมเข้ากองทุน น้ำมันฯ พร้อมเตรียมเคาะแผนส่งเสริม โซลาร์เซลล์เสรี ตามข้อเสนอของ สปช.

                - แหล่งข่าวจากกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 2558 กรมยังเก็บภาษีเกินเป้า 3,600 ล้านบาท โดยภาษีน้ำมันเกินเป้า 8,200 ล้านบาท หรือ 147% จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ส่วนภาษีรถยนต์ยังต่ำเป้า 400 ล้านบาท แต่มูลค่าต่ำเป้าลดลงมาก แสดงถึงการฟื้นตัวของยอดขายรถยนต์ ส่วนภาษีเบียร์ สุรา และบุหรี่ ต่ำเป้า 400 1,600 และ 2,300 ล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากเดือนก่อนหน้ามีการกักตุนไว้มาก เพื่อเก็บไว้จำหน่ายในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ยอดสั่งสินค้าในเดือน เม.ย.ลดลง

*หุ้นเด่นวันนี้

                - SLP บมจ. สาลี่ พริ้นท์ติ้ง เทรดวันนี้วันแรก บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)ระบุว่า จุดแข็งของ SLP คือ การมีอัตรากำไรที่สูงมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ด้วยกัน โดยในปี 2557 SLP มีอัตรากำไรสุทธิ (14.4% vs 2.9%) และ ROE (26.1% vs 4.6%) เหนือกว่ากลุ่มอย่างชัดเจน ส่งผลให้ Valuation ของ SLP จึงมีแนวโน้มที่จะมี Premium จากกลุ่มฯได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ย PER กลุ่มฯ นั้น มองได้ 2 มุม ที่ 10.9 เท่า หรือ อาจสูงได้ถึง 34.4 เท่าก็ได้ในกรณีที่เอา TOPP (47.6x) และ PTL (45x) ซึ่งมี PER สูงมากเข้ามาคำนวนด้วย นั่นจึงทำให้ ราคาหุ้นอาจจะเหวี่ยงได้กว้างถึง 1.20 – 3.78 บาท/ หุ้น ดังนั้นการกำหนดราคาเสนอขายไว้ที่ 2.16 บาท/ หุ้น ซึ่งสะท้อนเป็น PER14 ที่ 21.6 เท่า และอยู่ใกล้กึ่งกลางกับช่วงดังกล่าว ทำให้คาดราคาหุ้นจะมีความผันผวนสูงระหว่างตลาดหาจุดร่วมของราคาหุ้นตัวนี้

                - GLOBAL(ฟินันเซีย ไซรัรส)"ซื้อ"เป้า 11.3 บาท กำไรปกติ 1Q15 ไม่รวม Stock Loss และ FX Loss ดีกว่าคาดเล็กน้อย +40% Q-Q และ +8% Y-Y เป็นกำไรสูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส แม้กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวนัก แต่เติบโตได้จากฐานต่ำและสาขาใหม่ ยังคาดกำไรปีนี้โต 33% Y-Y

                - TVO(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 26 บาท คาดกำไรปกติ 1Q15 เติบโต 4% Q-Q แม้ราคาถั่วเหลืองจะอ่อนตัวลง แต่ชดเชยได้ด้วยปริมาณขายที่สูงขึ้นทั้งกากถั่วเหลืองและน้ำมันถั่วเหลือง แนวโน้มกำไรจะอ่อนตัวลงใน 2Q15 ก่อนจะดีขึ้นอีกครั้งใน 3Q15 จากปัจจัยฤดูกาล ยังคาดกำไรปีนี้โต 3% Y-Y ส่วนแนวโน้มราคาถั่วเหลืองมองผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังไม่มีปัจจัยกระตุ้นราคาขึ้น และให้ผลตอบแทนเงินปันผลสูงปีละ 8% (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)

                - BCP(โกลเบล็ก)เป้า 37.80 บาท คาดกำไรสุทธิ 1Q58 ที่ 1.46 พันล้าน -6% YoY, +158%QoQ โดยคาดค่าการกลั่นอยู่ในระดับสูงที่ 10 เหรียญต่อบาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลงช้ากว่าราคาน้ำมันดิบ แต่ยังมี Stock loss ราว 934 ล้านบาท (ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 5.2 พันล้าน) พร้อมคาดธุรกิจผลิตและสำรวจเริ่มสร้างกำไร และรับรู้กำลังการผลิต 118 MW จากธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เต็มปี ในปีนี้มีการลงทุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นอีก 60 MW เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายปลายปี 250 MW

                - ILINK(บัวหลวง)"ซื้อ"เป้า 22 บาท คาดกำไร 1Q15 ที่ 85 ล้านบาท (+67%YoY, +4%QoQ) ได้ปัจจัยหนุนจากรายได้งานรับเหมาที่รับรู้อย่างรวดเร็วในไตรมาสนี้ หนุนให้ผลประกอบการ new high ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว และมีแนวโน้มปรับประมาณการกำไรขึ้น เนื่องจากบริษัทมีแนวโน้มได้รับงานเพิ่มขึ้นและอัตราการเติบโตที่มีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้ราคาเป้าหมายมีแนวโน้มปรับขึ้นเป็น 27.50 บาท

                - PYLON(บัวหลวง)"ซื้อ"เป้า 13.80 บาท คาดกำไร 1Q15 new high ที่ 61 ล้านบาท (+42%YoY, +20%QoQ) ได้ปัจจัยหนุนจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นเป็น 25% เนื่องจากงานที่รับรู้ส่วนใหญ่เป็นงานเฉพาะค่าแรงที่มาร์จิ้นดี และแนวโน้มกำไรดีต่อเนื่องใน 2Q15

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นนิวยอร์ก

                ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับอิทธิพลจากตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้

                ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.5% สู่ระดับ 151.69 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

                ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,356.46 จุด ลดลง 175.17 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 4,197.90 จุด ลดลง 31.37 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 27,567.62 จุด ลดลง 73.29 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,789.82 จุด ลดลง 28.38 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,098.48 จุด ลดลง 6.10 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,444.70 จุด ลดลง 15.09 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,808.32 จุด ลดลง 12.65 จุด

                ทั้งนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบจากความกังวลต่อถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้

                นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ซึ่งระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 169,000 รายในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : ถ้อยแถลงประธานเฟด ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ

   ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโร

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับลง 0.6% ปิดที่ 388.68 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,981.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.52 จุด หรือ +0.15% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,350.15 จุด เพิ่มขึ้น 22.47 จุด, +0.20% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,933.74 จุด เพิ่มขึ้น 6.16 จุด, +0.09%

    ตลาดหุ้นยุโรปอ่อนแรงลงหลังจากนางเยลเลนได้กล่าวแสดงความเห็นในที่ประชุม "Finance and Society" ซึ่งจัดขึ้นโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้ พร้อมกับกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจดีดตัวขึ้นทันทีที่เฟดปรับนโยบายกลับสู่ภาวะปกตินั้น จะทำให้เกิดผลกระทบทั่วระบบการเงินของสหรัฐ

   นักลงทุนจับตาดูการเจรจาหนี้กรีซอย่างใกล้ชิด ขณะที่มีรายงานว่าคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำลังหารือในประเด็นที่ว่าจะมีการปรับลดมูลค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกรีซใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินเพิ่มเติมหรือไม่

   นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ECB จะพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) เพิ่มเติมให้แก่ธนาคารของกรีซ หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปได้เพิ่มเพดาน ELA ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็น 7.69 หมื่นล้านยูโร หรือ 8.7 หมื่นล้านดอลลาร์

   หุ้นธนาคารโซซิเอเต เจนเนอราล ร่วงลง 2.3% หลังจากธนาคารเปิดเผยผลประกอบการลดลง ขณะที่หุ้นเจ แซนบิวรี ซึ่งเป็นบริษัทโกรเซอร์รี่รายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 3.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอเช่นกัน

   อย่างไรก็ตาม หุ้น Anheuser-Busch InBev ปรับขึ้น 1.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ไตรมาสแรกที่ดีเกินคาด และหุ้นอิมพีเรียล โทแบคโค ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบุหรี่ของอังกฤษ พุ่งขึ้น 1.8% หลังจากบริษัทประกาศแผนเพิ่มการจ่ายเงินปันผล

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 86.22 จุดหลังปธ.เฟดกังวลราคาหุ้นพุ่ง

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

  ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,841.98 จุด ลดลง 86.22 จุด หรือ -0.48% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,919.64 จุด ลดลง 19.69 จุด หรือ -0.40% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,080.15 จุด ลดลง 9.31 จุด หรือ -0.45%

   ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงหลังจากประธานเฟดกล่าวในที่ประชุม "Finance and Society" ซึ่งจัดขึ้นโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้ พร้อมกับกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจดีดตัวขึ้นทันทีที่เฟดปรับนโยบายกลับสู่ภาวะปกตินั้น จะทำให้เกิดผลกระทบทั่วระบบการเงินของสหรัฐ

  นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ซึ่งระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 169,000 รายในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย

   หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยหุ้นไมโครซอฟท์ และหุ้นฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 1.9% ขณะที่หุ้นอินเทล คอร์ป ร่วงลง 1.3%

    ส่วนหุ้นกลุ่มเวชภัณฑ์ปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นไฟเซอร์ดิ่งลง 1.9% และหุ้นอเล็กเซียน ฟาร์มาซูติคอล ร่วงลง 8%

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพฤหัสบดี สหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และสินเชื่อผู้บริโภคเดือนมี.ค. ส่วนวันศุกร์ ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย. และสต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนมี.ค.

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 พ.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,841.98 จุด                         ลดลง 86.22 จุด     -0.48%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,919.64 จุด                        ลดลง 19.69 จุด     -0.40%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,080.15 จุด                        ลดลง 9.31 จุด      -0.45%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,933.74 จุด                      เพิ่มขึ้น 6.16 จุด     +0.09%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,350.15 จุด                          เพิ่มขึ้น 22.47 จุด    +0.20%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,981.59 จุด                        เพิ่มขึ้น 7.52 จุด     +0.15%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,818.20 จุด                          ลดลง 1.93 จุด      -0.02%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,104.58 จุด                        ลดลง 27.65 จุด     -1.30%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,690.90 จุด             ลดลง 125.30 จุด    -2.15%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,692.20 จุด                ลดลง 134.30 จุด    -2.30%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 4,229.27 จุด                     ลดลง 69.44 จุด     -1.62%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,873.64 จุด                 ลดลง 45.57 จุด     -0.58%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 27,640.91 จุด                           ลดลง 114.63 จุด    -0.41%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,184.95 จุด           เพิ่มขึ้น 24.64 จุด    +0.48%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,820.97 จุด                      ลดลง 6.45 จุด      -0.35%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,459.79 จุด                      ลดลง 11.40 จุด     -0.33%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,717.37 จุด                        ลดลง 722.77 จุด    -2.63%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,841.98 จุด ลดลง 86.22 จุด หรือ -0.48% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,919.64 จุด ลดลง 19.69 จุด หรือ -0.40% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,080.15 จุด ลดลง 9.31 จุด หรือ -0.45%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโร

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับลง 0.6% ปิดที่ 388.68 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,981.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.52 จุด หรือ +0.15% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,350.15 จุด เพิ่มขึ้น 22.47 จุด, +0.20% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,933.74 จุด เพิ่มขึ้น 6.16 จุด, +0.09%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนจะมีการเลือกตั้งทั่วไปของอังกฤษ ขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน

          ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 6.16 จุด หรือ 0.09% ปิดที่ 6,933.74 จุด

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขาย หลังจากมีรายงานว่าภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้แสดงความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.24% ปิดที่ระดับ 1,190.30 ดอลลาร์/ออนซ์  

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 7.3 เซนต์ ปิดที่ 16.506 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,142.80 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 2.3 ดอลลาร์ ปิดที่ 792.65 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐปรับตัวลงเป็นครั้งแรกของปีนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 53 เซนต์ ปิดที่ 60.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 25 เซนต์ ปิดที่ 67.77 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลจ้างงานในภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด ซึ่งทำให้มีความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1356 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1195 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5248 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5177 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.35 เยน เทียบกับระดับ 119.87 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9148 ฟรังก์ จาก 0.9262 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7967 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7942 ดอลลาร์

           

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 575.00 จุด ลดลง 5.00 จุด, -0.86%

 

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!