WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซต์เวย์-อัพ รับจีนลดดบ./น้ำมันรีบาวน์/ECB ทำ QE

   นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวไซต์เวย์ ถึงไซต์เวย์-อัพ เนื่องจากจีนได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน ซึ่งน่าจะทำให้บรรยากาศการลงทุนเป็นบวกได้

    นอกจากนี้ เดือนนี้(มี.ค.)ก็เป็นเดือนแรกที่ทางธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะเข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE โดยจะมีการประชุม ECB ในวันที่ 5 มี.ค.นี้ด้วย ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอะไรออกมาอีกหรือไม่ อีกทั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้มีการรีบาวน์ขึ้นซึ่งก็น่าจะช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน และคงจะดันดัชนีฯได้บ้าง

    อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของดัชนีฯอาจจะจำกัด เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิอยู่ ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้มีการเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบคละกันราว 0.1-0.4%

พร้อมให้แนวรับ 1,580-1,585 จุด ส่วนแนวต้าน 1,600-1,605 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

    - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(27 ก.พ.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,132.70 จุด ลดลง 81.72 จุด(-0.45%), ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,963.53 จุด ลดลง 24.36 จุด(-0.5%), ดัชนี S&P500 ปิดที่  2,104.50 จุด ลดลง 6.24 จุด(-0.3%)

     - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 65.59 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 22.42 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 173.47 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 43.01 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 10.92 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 6.02 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 1.70 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(27 ก.พ.58)1,587.01 จุด ลดลง 6.54 จุด(-0.41%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 605.69 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 ก.พ.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(27 ก.พ.58) ปิดที่ 49.76 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับตัวขึ้น 1.59 ดอลลาร์ หรือ 3.3%

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(27 ก.พ.58)ที่ 9.62 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.36/36 อ่อนค่าตามภูมิภาคหลังดอลล์กลับมาแข็งค่า

                - "ศุภวุฒิ" ประเมิน "คิวอี" ยุโรป ส่อไหลเข้าไทย เหตุยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง-ดอกเบี้ยจูงใจ ด้าน "ทีเอ็มบี" มองไทยปฏิรูปคืบหน้า ดึงดูดเงินทุนเคลื่อนย้าย ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มฟันธงเงินไหลเข้าไม่แรง เหตุเงินทุนส่วนใหญ่ส่อไหลเข้าสหรัฐจากเศรษฐกิจที่ฟื้นชัด เชื่อเงินบาทแข็งค่าในระยะสั้น

                - แบงก์ชาติเผยตลาดอสังหาฯเดือน ม.ค. ยังแผ่ว ชะลอทั้ง "อุปสงค์-อุปทาน" ชี้ผลจากกำลังซื้อฟื้นตัวช้า ความต้องการคอนโดมิเนียมลดลง จากความกังวลภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่สถาบันการเงินระวังปล่อยกู้

                - นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า ในระยะต่อไปมองว่าระดับหนี้ครัวเรือนน่าจะทรงตัวจากระดับปัจจุบัน ซึ่งสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 84.74% ล่าสุดไตรมาส 3 ของปี 57 โดยขณะนี้เริ่มเห็นการขยายตัวหนี้ครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากอัตราการขยายตัวสินเชื่อชะลอลง ประกอบกับเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นในระยะต่อไปจะช่วยให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนดีขึ้น

                - "ประจิน" สั่งเร่งหารือพลังงานหาข้อสรุปโครงสร้างราคาก๊าซ NGV รถสาธารณะ หวั่นกระทบต้นทุนผู้ประกอบการ ก่อนตัดสินใจต้องปรับเสปก แผนซื้อรถเมล์ใหม่ ส่วนที่เหลือ 2,694 คันหรือไม่ ส่วนล็อตแรก 489 คัน เดินหน้าตามแผน จับขสมก. นำร่องทำสัญญาข้อตกลงคุณธรรมนำร่อง เผยเปิดสรรหาผอ.ขสมก.รอบสองมียื่นใบสมัคร 5 ราย

                - "สนพ." เตรียมเปิดเวทีรับฟังความเห็นแผน PDP 2015 ภายในมี.ค.นี้ เผยแผนใหม่มุ่งลดสัดส่วนก๊าซฯผลิตไฟจาก 67% เหลือ 35-40% ในช่วง 10 ปีสุดท้ายของแผน เพิ่มถ่านหินเป็น 25% ดันนิวเคลียร์ไว้ท้ายแผนเพื่อความมั่นคงและเบรกค่าไฟแพงจากการใช้ LNG ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เอกชนขู่อนาคตค่าไฟแพงผลักดันย้ายฐานซบเพื่อนบ้าน

*หุ้นเด่น

                - WHA (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 43.13 บาท ผลประกอบการ 4Q57 กำไรสุทธิ 914 ล้านบาท ขยายตัวสูงจาก 3Q57 ที่มีกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท เนื่องจากมีกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้าสู่กองทรัสต์ในเดือน ธ.ค. 2557 พร้อมทั้งประกาศแตกพาร์จาก 1.00 บาท เป็น 0.10 บาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขาย โดยจะเสนอวาระต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 เม.ย. 2558 โดยคงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตในระยะยาวจากการเข้าซื้อ HEMRAJ เนื่องจากจะส่งผลให้ WHA ก้าวขึ้นสู่ผู้นำธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ทั้งธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าแบบ Built to Suit และการขายที่ดินเชิงพาณิชย์ในนิคมอุตสาหกรรม

                - CPF(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ซื้อ"เป้า 32.75 บาท คาดว่ากำไรปี 2558 ยังเติบโตจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจกุ้งมีแนวโน้มฟื้นตัว การส่งออกไก่เพิ่มขึ้น ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง อีกทั้งคาดส่วนแบ่งกำไรจาก CPALL เพิ่มขึ้น

                - TUF(ทรีนีตี้)"ซื้อ"เป้า 24 บาท ประกาศกำไรปกติสำหรับ 4Q57 ที่ 942 ล้านบาท ดีกว่าคาด เนื่องจากผลกระทบจากการรวมงบของ MerAlliance และ King Oscar ตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย. นั้นดีกว่าคาด ทำให้ธุรกิจ Salmon และธุรกิจ Sardine & Mackerel ขยายตัวแรง ส่วนธุรกิจทูน่า Brand เข้าสู่ Low Season ทำให้ยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง ทั้งนี้บริษัทได้แจ้งมติกรรมการอนุมัติการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรับดีล Bumble Bee คาดว่าจะทำให้เกิด Price Dilution ราว 6% ซึ่งมองว่าการทำ M&A ของปีก่อนและ Bumble Bee ที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ผลประกอบการปี 58 โตสูง

                - CENTEL(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 40 บาท กำไรตามคาด กำไรสุทธิ 4Q14 +184% Q-Q, +64% Y-Y ทำให้กำไรสุทธิทั้งปี +7% แนวโน้มปี 2015 โดยคาดโตในอัตราเร่ง +23% จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ฟื้นเร็ว ส่วนธุรกิจอาหารจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคอย่างช้าๆ ทั้งนี้บริษัทจ่ายปันผล 0.40 บาท/หุ้น (yield 1.3%) XD 29 เม.ย.

ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นเช้านี้ ขานรับจีนลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นศก.

                ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่จีนเดินหน้าลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

                ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.2% แตะ 146.44 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

                ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,863.53 จุด เพิ่มขึ้น 65.59 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,332.72 จุด เพิ่มขึ้น 22.42 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,996.76 จุด เพิ่มขึ้น 173.47 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,665.11 จุด เพิ่มขึ้น 43.01 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,996.72 จุด เพิ่มขึ้น 10.92 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,408.88 จุด เพิ่มขึ้น 6.02 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,822.91 จุด เพิ่มขึ้น 1.70 จุด

                ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยมีผลตั้งแต่เมื่อวานนี้ หลังจากที่ได้ประกาศลดดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะลอตัว

                ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 5.35% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 2.50%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป หุ้นยุโรปปิดบวก รับผลประกอบการสดใส

                ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกต่อเมื่อคืนนี้ (27 ก.พ.) หลังจากที่แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ในการซื้อขายเมื่อวันก่อน โดยตลาดขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาดจากหลายบริษัท ซึ่งรวมถึงแอร์บัส นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้แรงหนุนจากข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐซึ่งออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

                ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.4% ปิดที่ 392.21 จุด สำหรับตลอดเดือนก.พ. ดัชนีพุ่งขึ้น 6.9% เพราะได้ปัจจัยบวกจากการที่กรีซบรรลุข้อตกลงความช่วยเหลือทางการเงิน และธนาคารกลางยุโรปประกาศทำ QE

                ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสพุ่งขึ้น 40.86 จุด หรือ 0.83% ปิดที่ 4,951.48 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันเพิ่มขึ้น 74.47 จุด หรือ 0.66% ปิดที่ 11,401.66 จุด ดัชนี FTSE 100 ขยับลง 3.07 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,946.66 จุด

                หุ้นยุโรปปรับตัวลงในช่วงแรกของการซื้อขาย โดยลดลงไปถึง 0.3% ก่อนที่จะพลิกกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวในแดนบวก ภายหลังจากที่มีการเปิดเผยผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนก.พ.ขยับขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 โดยถึงแม้ตัวเลขเดือนก.พ.ต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค. แต่ก็ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 94.0

                ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6% แต่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า GDP จะขยายตัว 2% ในไตรมาส 4

                ในส่วนของข้อมูลภาคธุรกิจ หุ้นแอร์บัส กรุ๊ป พุ่ง 7.2% หลังบริษัทรายงานผลกำไรที่ปรับตัวขึ้นถึง 15% จากการส่งมอบเครื่องบินพาณิชย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังเผยด้วยว่าจะเพิ่มการผลิตเครื่องบิน A320 เป็น 50 ลำต่อเดือนภายในปี 2560

                หุ้นอินเตอร์เนชั่นแนล คอนโซลิเดเต็ด แอร์ไลน์ส กรุ๊ป (IAG) พุ่งขึ้น 3.66% หลังจากบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้ 22% ซึ่งสร้างความพอใจให้กับนักลงทุน

                ด้านลอยด์ส แบงกิ้ง กรุ๊ป บวก 0.6% ภายหลังธนาคารเผยกำไรสุทธิที่ 1.499 พันล้านปอนด์ (2.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2557 ซึ่งดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับตัวเลขขาดทุนสุทธิ 802 ล้านปอนด์ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ธนาคารที่รัฐบาลอังกฤษถือครองหุ้นอยู่ 23.9% ยังได้ประกาศจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2551

                ส่วนหุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (RBS) ลดลง 5.02% ซึ่งร่วงหนักสุดในรอบปี หลังจากที่มีรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสอบสวนคดีการปั่นค่าเงิน

                สำหรับ ในสัปดาห์หน้า นักลงทุนจับตาการประกาศกรอบการทำงานของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ตามที่ ECB ได้เคยประกาศไว้เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรจำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือนก.ย.ปีหน้า โดยเริ่มต้นในเดือนมี.ค. ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าระดับ 5 หมื่นล้านยูโรที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 3.07 จุด หลังหุ้น RBS ร่วง, GDP สหรัฐลดลง

                ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (27 ก.พ.) หลังจากเคลื่อนไหวผันผวนในระหว่างวัน โดยการร่วงลงของหุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ บดบังการพุ่งขึ้นของหุ้น IAG ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายส่วนหนึ่งยังถูกกดดัน หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลข GDP ของสหรัฐซึ่งลดลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น

ดัชนี FTSE 100 ขยับลง 3.07 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,946.66 จุด

                กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6%

                ด้านลอยด์ส แบงกิ้ง กรุ๊ป เผยกำไรสุทธิที่ 1.499 พันล้านปอนด์ (2.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2557 ซึ่งดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับตัวเลขขาดทุนสุทธิ 802 ล้านปอนด์ในปีก่อนหน้า

                นอกจากนี้ ลอยด์ส แบงกิ้ง กรุ๊ป ซึ่งรัฐบาลถือครองหุ้นอยู่ 23.9% ยังได้ประกาศจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2551

                อินตู พรอพเพอร์ตีส์ เป็นแกนนำหุ้นลบ โดยร่วงลง 5.10% ตามด้วยรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (RBS) ลดลง 5.02% หุ้นบาร์เคลย์ลดลง 1.98% หุ้นเวียร์ กรุ๊ป ลบ 1.73% หุ้นอเบอร์ดีน แอสเสท แมเนจเมนท์ ลบ 1.53%

                หุ้น RBS ร่วงหนักสุดในรอบปี หลังจากที่มีรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสอบสวนคดีการปั่นค่าเงิน

                ส่วนหุ้นบวกนำโดย อินเตอร์เนชั่นแนล คอนโซลิเดเต็ด แอร์ไลน์ส กรุ๊ป (IAG) ที่พุ่งขึ้น 3.66% หลังจากบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายกำไรจากการดำเนินงานปีนี้ 22% ซึ่งสร้างความพอใจให้กับนักลงทุน หุ้นแอสโซสิเอเต็ด บริติช ฟูดส์ บวก 2.5% หลังบาร์เคลย์แนะนำให้ซื้อหุ้น หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป บวก 0.6% ภายหลังธนาคารประกาศว่าจะจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

                สำหรับ เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่ตลาดจับตาในสัปดาห์หน้าได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษในวันพฤหัสบดี และการประกาศกรอบการทำงานของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ตามที่ ECB ได้เคยประกาศไว้เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรจำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือนก.ย.ปีหน้า โดยเริ่มต้นในเดือนมี.ค. ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าระดับ 5 หมื่นล้านยูโรที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 81.72 จุด หลังGDPสหรัฐลดลงจากประมาณการเบื้องต้น

                ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4 ที่ลดลงจากรายงานเบื้องต้น

                ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 81.72 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 18,132.70 ดัชนี S&P 500 ลดลง 6.24 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 2,104.50 จุด และดัชนี Nasdaq ลบ 24.36 จุด หรือ 0.5% ปิดที่ 4,963.53 จุด

                อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งเดือนก.พ. ดัชนีหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 5.6% ซึ่งมากที่สุดในรอบ 2 ปี ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 5.5% ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2554 พร้อมทำนิวไฮได้ถึง 4 ครั้งในเดือนนี้ และ Nasdaq ทะยาน 7.1% ในเดือนก.พ.

                โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นหลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนางเยลเลนได้กล่าวในระหว่างการเข้าแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎร ว่าคณะกรรมการเฟดมองว่าขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มที่ภาวะเศรษฐกิจจะหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างน้อยในช่วงการประชุม 2 ครั้งข้างหน้า และเฟดจะพิจารณาปัจจัยที่หลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในขณะนี้เงินเฟ้อและการขยายตัวของค่าแรงยังต่ำเกินไปสำหรับการที่ธนาคารจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย

                สำหรับ ในวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6%

                ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนก.พ.ขยับขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 แต่ต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค.

                ดัชนี ความเชื่อมั่นในเดือนม.ค.อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2004 โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น

                ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 94.0 ในเดือนก.พ.

                ด้านสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ปรับตัวขึ้น 1.7% แตะระดับ  104.2 ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐ

                เมื่อเทียบรายปี ดัชนีพุ่งขึ้น 8.4% ในเดือนม.ค. โดยค่าดัชนีที่สูงกว่า 100 บ่งชี้ถึงการขยายตัว

                นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้น 2% ในเดือนม.ค.

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 ก.พ. 2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 18,132.70 จุด ลดลง 81.72 จุด, -0.45%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,963.53 จุด ลดลง 24.36 จุด, -0.49%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,104.50 จุด ลดลง 6.24 จุด, -0.30%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,951.48 จุด เพิ่มขึ้น 40.86 จุด, +0.83%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,401.66 จุด เพิ่มขึ้น 74.47 จุด, +0.66%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,946.66 จุด ลดลง 3.07 จุด, -0.04%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 29,220.12 จุด เพิ่มขึ้น 473.47 จุด, +1.65%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,402.86 จุด ลดลง 23.32 จุด, -0.68%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,450.29 จุด ลดลง 1.13 จุด, -0.02%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,821.21  จุด เพิ่มขึ้น 0.34 จุด, +0.02%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,823.29 จุด ลดลง 78.77 จุด, -0.32%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,730.57 จุด ลดลง 33.82 จุด, -0.44%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,310.30 จุด เพิ่มขึ้น 11.94 จุด, +0.36%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,985.80 จุด ลดลง 7.28 จุด, -0.37%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,797.94 จุด เพิ่มขึ้น 12.15 จุด, +0.06%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,928.80 จุด เพิ่มขึ้น 20.30 จุด, +0.34%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,898.50 จุด เพิ่มขึ้น 20.60 จุด, +0.35%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4 ที่ลดลงจากรายงานเบื้องต้น

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 81.72 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 18,132.70 ดัชนี S&P 500 ลดลง 6.24 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 2,104.50 จุด และดัชนี Nasdaq ลบ 24.36 จุด หรือ 0.5% ปิดที่ 4,963.53 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกต่อเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากที่แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ในการซื้อขายเมื่อวันก่อน โดยตลาดขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาดจากหลายบริษัท ซึ่งรวมถึงแอร์บัส นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้แรงหนุนจากข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐซึ่งออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

          ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.4% ปิดที่ 392.21 จุด สำหรับตลอดเดือนก.พ. ดัชนีพุ่งขึ้น 6.9% เพราะได้ปัจจัยบวกจากการที่กรีซบรรลุข้อตกลงความช่วยเหลือทางการเงิน และธนาคารกลางยุโรปประกาศทำ QE

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสพุ่งขึ้น 40.86 จุด หรือ 0.83% ปิดที่ 4,951.48 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันเพิ่มขึ้น 74.47 จุด หรือ 0.66% ปิดที่ 11,401.66 จุด ดัชนี FTSE 100 ขยับลง 3.07 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,946.66 จุด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากเคลื่อนไหวผันผวนในระหว่างวัน โดยการร่วงลงของหุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ บดบังการพุ่งขึ้นของหุ้น IAG ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายส่วนหนึ่งยังถูกกดดัน หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลข GDP ของสหรัฐซึ่งลดลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น

          ดัชนี FTSE 100 ขยับลง 3.07 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,946.66 จุด

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากที่สหรัฐเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ที่ลดลงจากประมาณการเบื้องต้น ขณะที่นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะยังไม่รีบคุมเข้มนโยบายการเงิน

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 3.00 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ระดับ 1,213.10 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวลง 6.6 เซนต์ หรือ 0.40% ปิดที่ 16.558 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 12 ดอลลาร์ หรือ 1.02% ปิดที่ 1,185.60 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้น 8.45 ดอลลาร์ ปิดที่ 819.50 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) เนื่องจากแรงซื้อทำกำไร หลังจากที่ราคาร่วงลงอย่างหนักแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์เมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนมองว่า ราคาน้ำมันที่ลดลงกำลังส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานลดการลงทุนในการผลิตน้ำมัน

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 1.59 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 49.76 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ ลดลง 2.1% และเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ.

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ดีดขึ้น 2.53 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 62.58 ดอลลาร์/บาร์เรล และเพิ่มขึ้น 3.9% ในรอบสัปดาห์ ขณะที่ตลอดทั้งเดือน สัญญาเบรนท์พุ่งขึ้น 18% มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2552

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินเยนและยูโรเมื่อวันศุกร์ (27 ก.พ.) หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ ซึ่งช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1193 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1199 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นแตะ 1.5434 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5406 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.68 เยน จากระดับ 119.44 เยน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9542 ฟรังก์ จาก 0.9536 ฟรังก์ และลดลงสู่ระดับ 1.2518 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.2527 ดอลลาร์แคนาดา

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7811 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7795 ดอลลาร์

     ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 540.00 จุด เพิ่มขึ้น 7.00 จุด, +1.31%

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!