WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามตลาดเอเชีย หลังเห็นภาพชัดศก.โลกเริ่มชะลอ

     นายเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ต่างปรับฐาน เนื่องจากเห็นภาพชัดเจนในเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว จากทั้งเยอรมัน และจีน รวมถึงราคาน้ำมันที่ดิ่งลงอย่างรวดเร็วมาก

      ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยรอบนี้อาจสร้าง New low ได้เหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการประกาศผลประกอบการของกลุ่มแบงก์ก็ตาม แต่ตลาดทั่วโลกต่างกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอเป็นหลัก

พร้อมให้แนวรับ 1,540-1,535 จุด ส่วนแนวต้าน 1,550 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(15 ต.ค.)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,141.74 จุด ร่วงลง 173.45 จุด(-1.06%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,215.32 จุด ลดลง 11.85 จุด(-0.28%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,862.49 จุด ลดลง 15.21 จุด(-0.81%)

     - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 268.36 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 12.54 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 226.55 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 52.86 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 14.46 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 19.37 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 2.00 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(15 ต.ค.)1,547.41 จุด เพิ่มขึ้น 0.63 จุด(+0.04%)

      - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,228.10 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 ต.ค.57

      - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(15 ต.ค.)ที่ 81.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 6 เซนต์

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(15 ต.ค.)ที่ 4.25 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

    - เงินบาทเปิด 32.40/42 แข็งค่า นลท.วิตกเฟดส่งสัญญาณคงดบ.ต่ำต่อหลังศก.สหรัฐฯไม่ดี

    - "ปรีดิยาธร" ดึงผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ-ไทย เดินหน้า "ดิจิทัล อีโคโนมี" คาดแก้กฎหมาย เสร็จ 13 ฉบับภายในปีนี้ พร้อมปรับโครงสร้างกระทรวงไอซีทีใหม่ ด้าน รมว.ไอซีทีดึง "พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์" เป็นหัวหน้าทีม เตรียมตั้งสำนักงานใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อกระทรวง

     - น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) แถลงว่า ธนาคารคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยปีหน้ามีโอกาสจะเติบโตได้สูงถึง 6% จากปีนี้ที่น่าจะขยายตัว 2.7% ปัจจัยสนับสนุนมาจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น รัฐบาลมีนโยบายบริหารประเทศที่ชัดเจนมากขึ้นจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมา

      - นายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า มาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำใบเสร็จการจัดงานประชุมสัมมนาในประเทศไทยมาหักลดหย่อนได้ 100% และมาตรการหักลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา นำใบเสร็จการท่องเที่ยวหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 หมื่นบาท จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2558 ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้ท่องเที่ยวไทยมากนัก เนื่องจากหักลดหย่อนน้อยเกินไป

      - "ก.ล.ต." ออกโรงเตือนบริษัทหลักทรัพย์ กำชับเจ้าหน้าที่การตลาด ระมัดระวังการปล่อยข่าวทางไลน์ ชี้มีความผิดทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.หลักทรัพย์ รับตลาดหลักทรัพย์ส่งข้อมูลการซื้อขายหุ้นร้อน เร่งสอบการเชื่อมโยงการซื้อขาย ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันบจ.ได้รับความร่วมมือเกินเป้า ชี้ 28 บจ. มีการต่อต้านสูงสุด

*หุ้นเด่นวันนี้

      - SAMART, SAWAD(เคทีบี)"เก็งกำไร"โดย SAMART ระยะสั้นมีปัจจัยหนุนจากการนำคูปอง 690 บาทของ กสทช.ไปแลกกล่องดิจิตอลทีวี ซึ่งคาดว่า SAMART จะเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในฐานะผู้นำธุรกิจเสาอากาศและเสารับสัญญาณของไทยมายาวนาน  ส่วน SAWAD มีแนวโน้มได้รับแรงผลักดันทางบวกจากเงินช่วยเหลือชาวนาของรัฐบาลมูลค่า 1,000 บาท/ไร่ (แต่ไม่เกิน 15,000 บาท/ราย) ซึ่งเม็ดเงินจะเริ่มออกสู่ชาวนาผ่าน ธกส. ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.57 เป็นต้นไป โดยให้ราคาเป้าหมาย SAMART, SAWAD เท่ากับ 36.50(high range) และ 23.20(แนวต้าน)บาท ตามลำดับ

     - DELTA(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้าปี 2015 ที่ 67 บาท คาดกำไรสุทธิ 3Q14 +25% Q-Q, +14% Y-Y ส่วนกำไรปกติ คาด +16% Q-Q, +8% Y-Y เป็น 1,666 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส จากทั้งคำสั่งซื้อที่เพิ่มต่อเนื่องและอัตรากำไรขั้นต้นที่สดใส เรายังคงกำไรปกติปี 2014-15 ที่คาดโต 16.4% Y-Y และ 12.7% Y-Y ตามลำดับ

     - สายการบิน-โรงแรม(ฟินันเซีย ไซรัส)ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันตกต่ำ มองทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกในปีนี้และปีหน้าปรับลงต่อเนื่องจากปีก่อน ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการปรับลงของราคาน้ำมัน ได้แก่ กลุ่มสายการบิน ขนส่ง โรงแรม รับเหมาก่อสร้าง ยานยนต์ และ TASCO สำหรับกลุ่มสายการบินและโรงแรมเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยตรงมากสุด และได้อานิสงส์จากมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับการเที่ยวในประเทศของครม. โดยแนะนำ AAV(เป้าปี 2015 ที่ 5.40 บาท)เพราะมีส่วนแบ่งตลาดการบินในประเทศสูงสุด และ ERW(เป้าปี 2015 ที่ 5.90 บาท)เพราะมีโรงแรมในระดับกลางและล่างมากที่สุด สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของมาตรการกระตุ้นในครั้งนี้

     - SVI(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ซื้อเก็งกำไร"เป้า 7 บาท คาดหุ้นขนาดกลางจะเคลื่อนไหว Outperform ตลาดที่ผันผวนได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างจำกัดจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ พร้อมคาดกำไรปกติ 3Q57 เติบโต +52.8% yoy และ +15.3% qoq เป็น 234 ล้านบาท จากผลบวกตามฤดูกาล และคำสั่งซื้อของลูกค้าเก่าและใหม่ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่าผลประกอบการ 4Q57 จะยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี และมี Catalyst รออยู่ คือการเข้าซื้อกิจการในยุโรปที่อาจได้ข้อสรุปเร็วขึ้น โดยคาดกำไรปกติปี 2557 เติบโต +68.7% yoy เป็น 825 ล้านบาท และปี 2558 เติบโต +36.4% yoy เป็น 1,126 ล้านบาท และฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็น Net Cash Company และมี Valuation น่าสนใจ

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซบเซา

    ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

     ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ร่วงลง 1.1% เมื่อเวลา 10.01 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,805.16 จุด ลดลง 268.36 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,361.13 จุด ลดลง 12.54 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,913.50 จุด ลดลง 226.55 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,602.65 จุด ลดลง 52.86 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,911.45 จุด ลดลง 14.46 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,179.35 จุด ลดลง 19.37 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,784.84 จุด ลดลง 2.00 จุด

     ตลาดหุ้นเอเชียได้รับปัจจัยถ่วงหลังจากที่สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ร่วงลง 0.3% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.1% ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์จากผู้บริโภคที่อ่อนแอลง

     ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย.ของสหรัฐลดลง 0.1% ซึ่งปรับตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว และดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ซึ่งเป็นการสำรวจกิจกรรมการผลิตในเขตนิวยอร์ก ร่วงลงแตะ 6.17 ในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ระดับ 27.54 ส่วนสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจขยับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. น้อยกว่าที่ที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 181.04 จุด หลังข้อมูลศก.สหรัฐแย่,หุ้น Shire ดิ่ง

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแรง และการร่วงลงของหุ้น Shire ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของอังกฤษ

   ดัชนี FTSE 100 ลดลง 181.04 จุด หรือ 2.83% ปิดที่ 6,211.64 จุด

    หุ้น Shire ดิ่งลง 22% เนื่องจากบริษัท AbbVie Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์สหรัฐ เปิดเผยว่าบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนแผนการซื้อกิจการมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐได้ออกกฎระเบียบใหม่เมื่อเร็วๆนี้เพื่อสกัดการเลี่ยงภาษีของบริษัทเอกชน

     นอกจากนี้ ตลาดยังอ่อนแรงลงหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนก.ย. ซึ่งนับว่าหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐปรับตัวลดลง 0.3% ในเดือนก.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์จากผู้บริโภคที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ยังปรับตัวลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะลดลง 0.1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดร่วง หลังสหรัฐเผยข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลงรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดค้าปลีกและข้อมูลด้านการผลิต

     ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 3.2% ปิดที่ 311.36 จุด

     ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,939.72 จุด ร่วงลง 148.53 จุด หรือ -3.63% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,571.95 จุด ร่วงลง 253.26 จุด หรือ -2.87% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,211.64 จุด ลดลง 181.04 จุด หรือ -2.83%

     ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงเนื่องนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ซึ่งเป็นการสำรวจกิจกรรมการผลิตในเขตนิวยอร์ก ร่วงลงแตะ 6.17 ในเดือนต.ค. จากระดับ 27.54 ในเดือนก.ย. ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ร่วงลง 0.3% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.1% ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์จากผู้บริโภคที่อ่อนแอลง

   นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือนก.ย.ขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับเดือนส.ค.และก.ค. โดยเงินเฟ้อของเยอรมนี ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปนั้น ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และคาดว่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ให้ดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหนุนเศรษฐกิจที่ตกต่ำในภูมิภาค

     หุ้นไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ ร่วงลง 22% หลังจากมีรายงานว่าบริษัท AbbVie Inc. ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐซึ่งบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการของบริษัทไชร์ในกรุงดับลินและมีแผนจะย้ายที่อยู่ตามกฎหมายไปยังต่างประเทศเพื่อลดภาระด้านภาษีของบริษัทนั้น จะจัดการประชุมผู้บริหารในวันที่ 20 ต.ค.นี้ เพื่อพิจารณาผลกระทบของการที่รัฐบาลสหรัฐออกกฎระเบียบใหม่เพื่อจัดการกับการหลีกเลี่ยงภาษี

    หุ้นแอสทราเซเนก้าในกลุ่มเวชภัณฑ์ ร่วงลง 3.2% ขณะที่หุ้นสมิธ แอนด์ เนฟิว ร่วงลง 5.4%

ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดร่วงลง หลังนักลงทุนผิดหวังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

    ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดปรับตัวลดลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากที่สหรัฐได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

     หลังจากตลาดเปิดทำการ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 240.67 จุด หรือ 1.5% สู่ระดับ 16,074.52 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 1.5% แตะ 1,849.46 จุด และดัชนี Nasdaq หดตัวลง 1.2%

    นักลงทุนเทขายหุ้นหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐปรับตัวลดลง 0.3% ในเดือนก.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์จากผู้บริโภคที่อ่อนแอลง

    ขณะเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ซึ่งเป็นการสำรวจกิจกรรมการผลิตในเขตนิวยอร์ก ร่วงลงแตะ 6.17 ในเดือนต.ค. จากระดับ 27.54 ในเดือนก.ย.

    นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจขยับขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนส.ค. ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ส่วนยอดขายของภาคธุรกิจปรับตัวลดลง 0.4% ในเดือนส.ค. ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบครึ่งปี แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเผชิญอุปสรรค

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!