- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Thursday, 22 May 2014 10:57
- Hits: 3420
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ซึมอาจยืนเหนือ 1,400 ไม่อยู่ เหตุไร้คืบหน้าการเมือง
นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะซึม ๆ และอาจจะยืนเหนือระดับ 1,400 จุด ไม่อยู่ เนื่องจากยังไม่มีความคืบหน้าทางการเมือง และอาจจะยังต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงสุดสัปดาห์นี้ด้วย
"ตลาดบ้านเราเวลานี้จะอิงกับปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นหลักมากกว่า ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้า และอาจต้องติดตามต่อในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์นี้ด้วย"นายเกษม กล่าว
ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างปรับตัวขึ้นกันทั่วหน้า ตามดาวโจนส์
พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,390-1,400 จุด
ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :
- ตลาดหุ้นนิวยอร์ควานนี้(21 พ.ค.)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,533.06 จุด เพิ่มขึ้น 158.75 จุด (+0.97%), ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,888.03 จุด เพิ่มขึ้น 15.20 จุด(+0.81%),ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 4,131.54 จุด เพิ่มขึ้น 34.65 จุด(+0.85%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้านี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 146.11 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 105.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 37.40 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 7.08 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 3.74 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 1.06 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 1.80 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(21 พ.ค.) ที่ 1,402.92 จุด เพิ่มขึ้น 8.23 จุด(+0.59%
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,064.52 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 พ.ค.57
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(21 พ.ค.)ที่ 104.07 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.74 เซนต์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(21 พ.ค.)ที่ 5.48 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิดที่ 32.47/48 เกาะติดผลหารือกอ.รส.-ตัวแทน 7 ฝ่าย
- "ประยุทธ์" นั่งหัวโต๊ะประชุม 7 ฝ่าย หาทางออกประเทศ ทั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทย ปชป. กกต. วุฒิสภา กปปส. นปช. แต่ไร้เงา "นิวัฒน์ธำรง" ถกยกแรกเกือบ 3 ชั่วโมงไร้ข้อสรุป ผบ.ทบ.ให้การบ้านทุกฝ่ายกลับไปคิดทางออกฝ่ายละ 5 ข้อหารือต่อวันนี้ เปรยอยากให้ม็อบกลับบ้านก่อน
- ภาคธุรกิจถกประเมินใช้กฎอัยการศึกเชื่อระยะสั้นไม่ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เหตุทุกอย่างยังปกติ หวั่นใช้นานเกิน 4 เดือนกระทบลงทุน-การท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ เรียกร้องขอรัฐบาลที่มีอำนาจเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ "บุญชัย" เผยการเมืองยืดเยื้อฉุดยอดขายเครือสหพัฒน์ ลดลง10-15%
- มอร์แกน สแตนเลย์ วาณิชธนกิจชื่อดังจากสหรัฐ ออกรายงานคาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทหลังไทยประกาศใช้กฎอัยการศึก ระบุว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มน่าจะอ่อนลงแตะ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยมีเหตุจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยภายนอก ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยได้
- สถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ (ไอเอ็มดี) ในสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติของ 60 ประเทศทั่วโลก ประจำปี 2557 ผลปรากฏว่าไทยร่วงลงมาอยู่ที่ 29 จากอันดับ 27 เมื่อปี 2556 อันเป็นผลมาจากปัญหาไร้เสถียรภาพทางการเมือง
- นางเบญจา หลุยเจริญ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ช่วยตีความการต่ออายุภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ที่ขณะนี้ลดให้เหลือ 7% โดยจะหมดอายุการลดภาษีถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 หากไม่ต่ออายุการลดภาษีจะมีผลทำให้แวตปรับขึ้นตามเพดานทันที 10% ซึ่งอาจจะสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้
*หุ้นเด่นวันนี้
- AMATA(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 17.50 บาท ประเมินราคาหุ้นจะได้รับปัจจัยหนุนจากการที่กองทัพนัด 7 ฝ่ายทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันประชุมเพื่อหาทางออกให้กับประเทศอีกครั้งวันนี้ ซึ่งถ้าข้อสรุปที่ได้ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายลง เราประเมินว่าจะเห็นการเก็งกำไรเกี่ยวกับประเด็นการกลับเข้ามาของเงินลงทุนจากต่างประเทศอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่จะเข้ามาช่วยหนุนราคาหุ้นในระยะต่อไป จากการจัดตั้งกองทุน REIT และการนำ บริษัท อมตะวีเอ็น (เวียดนาม) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯใน 2H57 ด้วย
- THCOM (เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 43 บาท แนวโน้มผลการดำเนินงานปกติใน 2Q57 ของบริษัทจะแข็งแกร่งต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น 39% QoQ และ 21% YoY ใน 1Q57 เนื่องจากรายได้ดาวเทียมไทยคม 6 จะเพิ่มขึ้นตามอัตราการให้บริการที่ขึ้นมาอยู่ที่ 60% จาก 40% ใน 1Q57 และต้นทุนดาวเทียมไทยคม 6 ที่ลดลงสู่ปกติ หลังไม่มีค่าเช่าดาวเทียมชั่วคราว ขณะที่ประเด็นเก็งกำไรในระยะต่อไปจะอยู่ที่ความคืบหน้าการรับรู้รายได้ IPSTAR ในจีน รวมทั้งการให้บริการ IPSTAR ในอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์
- CPF(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซ์อ"เป้า 33 บาท ประกาศซื้อกิจการ 100% ใน Kaifeng Chia Tai ประเทศจีน (ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์) มูลค่า 1,642 ล้านบาท คิดเป็น PE 107 เท่า และขายกิจการทั้ง 100% ใน Rapid Thrive Ltd (ทำธุรกิจลงทุนและผลิตจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในจีน) มูลค่า 1,618 ล้านบาท คิดเป็น PE 17.1 เท่า การซื้อขายครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างในเครือเพราะเป็นการซื้อขายกับ CPG และมูลค่าก็ใกล้เคียงกัน จึงไม่กระทบกระแสเงินสดของบริษัทและประมาณการ เพราะดีลนี้ทำให้กำไรปีนี้เพิ่มเพียง 55 ล้านบาท
- SCB(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 204 บาท สินเชื่อเดือน เม.ย. ลดลง 0.5% M-M จากการชำระคืนเงินกู้ของลูกค้าทุกกลุ่ม ทำให้สินเชื่อรวม 4 เดือนแรกลดลง 0.5% YTD ส่วนเงินฝากลดลง 3.2% M-M ตามกลยุทธ์ของ SCB ที่ต้องการลดต้นทุนเงินฝาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อ NIM ใน 2Q14 ที่คาดว่าจะทรงตัวได้ที่ 3.2% เท่ากับในไตรมาสแรก แม้สินเชื่อแผ่วแต่กำไรสุทธิใน 2Q14 จะโดดเด่นกว่ากลุ่มเพราะมีกำไรจากการขาย SCSMG ประมาณ 3 พันล้านบาท
ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นเช้านี้ ขานรับรายงานการประชุมเฟด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยดีดตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันทำการ หลังจากที่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.4% แตะที่ 139.32 จุด เมื่อเวลา 9.27 น.ตามเวลาโตเกียว
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,188.28 จุด เพิ่มขึ้น 146.11 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,942.27 จุด เพิ่มขึ้น 105.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,899.82 จุด เพิ่มขึ้น 37.40 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,015.41 จุด เพิ่มขึ้น 7.08 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,265.52 จุด เพิ่มขึ้น 3.74 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,878.09 จุด เพิ่มขึ้น 1.06 จุด
หุ้นฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ บวกขึ้น 3.4% ในโตเกียว ขณะที่หุ้นเจมส์ ฮาร์ดี อินดัสทรีส์ พีแอลซี เพิ่มขึ้น 2.9% ในซิดนีย์
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นขานรับรายงานการประชุมของเฟดที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ และนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะเป็นไปอย่างค่อนข้างล่าช้า โดยขึ้นอยู่กับความคืบหน้าทางเศรษฐกิจและปฏิกิริยาในตลาดการเงิน
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 พ.ค.) ขานรับรายงานที่ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.6% ปิดที่ 340.34 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,469.03 จุด เพิ่มขึ้น 16.68 จุด หรือ +0.37% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,697.87 จุด เพิ่มขึ้น 58.79 จุด หรือ +0.61% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,821.04 จุด เพิ่มขึ้น 19.04 จุด หรือ +0.28%
ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนพ.ค.ของยูโรโซน เพิ่มขึ้นแตะระดับ -7.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2550 จากระดับของเดือนเม.ย.ที่ -8.6 ซึ่งเป็นสัญญาณในเชิงบวกเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของยูโรโซน
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงหนุนหลังจากรายงานการประชุมของเฟดที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ และนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะเป็นไปอย่างค่อนข้างล่าช้า โดยขึ้นอยู่กับความคืบหน้าทางเศรษฐกิจและปฏิกิริยาในตลาดการเงิน
หุ้นเมิร์ก ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือคอนเทนเนอร์รายใหญ่ของยุโรป พุ่งขึ้น 3.9% หลังจากบริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์ผลกำไรในปี 2557 เป็น 4 พันล้านดอลลาร์ จากก่อนหน้านี้ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์
ส่วนหุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ร่วงลง 1.3% ขณะที่หุ้นดับเบิลยูเอ็ม มอร์ริสัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิ่งลง 2.2% หลังจากดอยช์ แบงก์ ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 19.04 จุด ขานรับความเชื่อมั่นยูโรโซนแกร่ง
ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 พ.ค.) ขานรับข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเขตยูโรโซนที่ปรับตัวแข็งแกร่ง
ดัชนี FTSE 100 ปิดเพิ่มขึ้น 19.04 จุด หรือ 0.28% ที่ 6,821.04 จุด
ตลาดได้รับแรงหนุน หลังจากข้อมูลจากคณะกรรมาธิการยุโรปที่ระบุว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเขตยูโรโซนในเดือนพ.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ -7.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี เมื่อเทียบกับ -8.6 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษยังเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของอังกฤษเดือนเม.ย.ขยายตัว 1.3% จากเดือนมี.ค. และพุ่งขึ้น 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวแข็งแกร่งที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 158.75 จุดหลังเฟดส่งสัญญาณยังไม่ขึ้นดบ.
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,533.06 จุด พุ่งขึ้น 158.75 จุด หรือ +0.97% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,131.54 จุด เพิ่มขึ้น 34.65 จุด หรือ +0.85% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,888.03 จุด เพิ่มขึ้น 15.20 จุด หรือ +0.81%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานปิดบวกอย่างแข็งแกร่ง ขานรับรายงานการประชุมของเฟดที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ขณะที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดได้ยืนยันเจตนารมณ์ของนายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานเฟดที่ต้องการจะรักษาเสถียรภาพทางการเงินและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน
ตลาดได้รับแรงหนุนมากขึ้นหลังจากนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะเป็นไปอย่างค่อนข้างล่าช้า โดยขึ้นอยู่กับความคืบหน้าทางเศรษฐกิจและปฏิกิริยาในตลาดการเงิน
ส่วนในการประชุมนโยบายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมานั้น เฟดได้ประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเริ่มในเดือนพ.ค. พร้อมกับเน้นย้ำว่าท่าทีที่ผ่อนคลายอย่างมากด้านนโยบายการเงินยังคงมีความเหมาะสม
หุ้นทิฟฟานี ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐ พุ่งขึ้น 9.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายที่ดีเกินคาด ขณะที่หุ้นเน็ทฟลิกซ์ ดีดตัวขึ้น 5.1% ขานรับข่าวที่ว่าทางบริษัทจะรุกตลาดเยอรมนี ฝรั่งเศส และออสเตรีย
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล พุ่งขึ้น 1.4% หุ้นเชฟรอน ดีดตัวขึ้น 1.4% และหุ้นอ็อคซิเดนทอล ปิโตรเลียม ทะยานขึ้น 2.2%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนเม.ย.จากเฟดชิคาโก, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.
อินโฟเควสท์