WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET18ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-อิงบวกเล็กน้อยตามตปท. ขานรับสหรัฐฯจะเพิ่มเพดานหนี้-คืบหน้าเจรจาการค้า-ราคาน้ำมันขึ้น
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ อิงบวกเล็กน้อย ตามตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่บวกกันเล็กน้อย ขานรับทำเนียบขาวและสมาชิกพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรสใกล้บรรลุข้อตกลงปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐเป็นเวลา 2 ปี และยังมีความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ด้วย โดยจะมีการพบปะกันในสัปดาห์หน้า รวมถึงราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้น 2 วันติดต่อกันเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มพลังงาน
 
อย่างไรก็ดีการปรับตัวขึ้นของดัชนีฯอาจจะอยู่ในกรอบจำกัด เนื่องจากยังต้องรอดูผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงสิ้นเดือนก.ค.นี้ และรอดูวันที่ 25-26 ก.ค.นี้รัฐบาลจะแถลงนโยบาย
 
พร้อมให้แนวรับ 1,720-1,715 จุด ส่วนแนวต้าน 1,735-1,40 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (22 ก.ค.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,171.90 จุด เพิ่มขึ้น 17.70 จุด (+0.07%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,985.03 จุด เพิ่มขึ้น 8.42 จุด (+0.28%) และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,204.14 จุด เพิ่มขึ้น 57.65 จุด (+0.71%)
 
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 8.65 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 0.07 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 20.78 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 19.33 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.42 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 2.96 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.67 จุด
 
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (22 ก.ค.62) 1,727.58 จุด ลดลง 7.52 จุด (-0.43%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,188.27 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2562
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (22 ก.ค.62) ปิดที่ 56.22 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 59 เซนต์ หรือ 1.1%
 
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (22 ก.ค.62) ที่ 7.91 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 30.87/88 แนวโน้มอ่อนค่า ผิดหวังตัวเลขส่งออกไทย-รอติดตามผลประชุม ECB
- "สนธิรัตน์" กางนโยบายเร่งด่วน สั่งถก ปตท. ขยายมาตรการดูแลราคา LPG หาบเร่ แผงลอย 2 แสนราย และ NGV รถโดยสารสาธารณะต่อไปอีก 2 เดือน ทำให้ราคา NGV รถสาธารณะที่จะปรับ 16 ก.ย.นี้ ต้องชะลอออกไป เผยหลังจากนี้ จะหาความชัดเจนในการช่วยเหลือที่จะไปผูกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมสั่งพลังงานจังหวัดดูแลผลกระทบภัยแล้ง ช่วยเกษตรกรสูบน้ำบาดาล เร่งทำแผนแก้ปัญหากรณีรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม ปรับแผนพีดีพี 2018 และดูแลราคาปาล์ม
 
 
 
- ส่งออกติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 พาณิชย์ผวานำเข้ามิ.ย.ลดลงต่ำ ทำไตรมาส 3 ไม่สดใส ยันเป้าส่งออกโต 3% ผลสงครามการค้าต่อไปถึงจุดต่ำสุดแล้ว นักวิเคราะห์ชี้ ส่งออกทองคำเดือน มิ.ย.พุ่ง 317% เผยหากหักส่วนนี้ไป ฉุดการส่งออกเดือน มิ.ย.ติดลบ 8% ด้าน "ศูนย์วิจัยกสิกร" ประเมินแนวโน้มครึ่งปีหลังดีขึ้น
 
- บีทีเอสเด้งรับนโยบายคมนาคม พร้อมปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งหากกระทรวงคมนาคม มีนโยบายชัดเจนออกมาก็พร้อมร่วมมือ ส่วนแนวทางจะปรับราคาค่าโดยสารลงมาเหลือเท่าไหร่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาคุยกัน ทั้งกระทรวงคมนาคม และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบคือ บีทีเอส และ BEM ด้านกรมรางหนุนหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้า ชี้เป็นนโยบายที่ทำได้ สายสีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์มีลุ้นสุด ชง รมว.คมนาคม ตั้งทีมพัฒนาโครงสร้างค่าโดยสารแล้ว ส่วนผู้ว่าการ รฟม.แบ่งรับแบ่งสู้เกรงเอกชนฟ้องร้องภายหลัง ขณะที่ "ศักดิ์สยาม" ให้เวลา 1 เดือน หามาตรการแบ่งเบาภาระเพื่อลดค่าโดยสารให้ได้
 
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรด (MTSI) ไตรมาส 2 ปี 2562 เกินกว่า 50 ทุกรายการไม่ว่าจะเป็นรายรับจากการขายหรือให้บริการ กำไรจากการขายหรือบริการ จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการ ราคาขายสินค้าโดยรวมเฉลี่ย การจ้างงาน ยกเว้นต้นทุนค่าดัชนีอยู่ในระดับ 48.2 โดยดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 51.2 และอนาคตในช่วง 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 51.1 ดังนั้น เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวใกล้เคียงร้อยละ 2.8-3.0 และครึ่งปีแรกจะขยายตัวร้อยละ 2.9-3.0
 
- รมว.คลัง เปิดเผยถึงแนวทางการปรับลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% ตามที่รัฐบาลหาเสียงไว้ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาเรื่องนี้ โดยให้ดูทั้งระบบว่าจะทำให้ฐานภาษีและรายได้หายไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการปรับภาษีจะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนและต้องดูภาพรวมทั้งระบบ ซึ่งยังไม่เคยบอกว่าต้องขึ้นภาษีตัวอื่นเพื่อมาชดเชยการลดอัตราภาษีบุคคลธรรมดา 10%
 
*หุ้นเด่นวันนี้
- KTB (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 23 บาท เป็นหนึ่งในสองธนาคารที่กำไรดีกว่าคาดกว่า 10% จากค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯที่ต่ำกว่าคาด (-24% Q-Q, -18% Y-Y สอดคล้องกับ NPL ที่ลดลง) และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิดีกว่าคาด ตามรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุนในตราสารหนี้) แม้กำไร H1/62 (+7% Y-Y) จะคิดเป็น 56% ของทั้งปีที่คาด 2.75 หมื่นล้านบาท แต่ยังคงประมาณการเพราะครึ่งปีหลังจะมี Employee benefit ราคาหุ้นมี Valuations ถูก มี PBV เพียง 0.8x และ Dividend yield ราว 4% ต่อปี
 
- TOP (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 80 บาท มองว่าตลาดมองข้ามผลประกอบการที่อ่อนแอใน Q2/62 ไปแล้ว และเริ่มคาดหวังถึงผลกำไรที่จะกลับมาฟื้นตัวในครึ่งปีหลังและปี 2563 มากขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากค่าการกลั่นที่กลับมาฟื้นตัว (2-3$/bbl ใน H1/62 ขึ้นมาเป็น 7-8$/bbl ในปัจจุบัน และปีหน้าจะได้ผลบวกจากมาตรการใหม่ของ IMO ที่บังคับให้กองเรือปล่อยกำมะถันและซัลเฟอร์ลดลงคาดว่าจะหนุนให้ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มมากขึ้น
 
- JKN (เคทีบีฯ) แนะ"ซื้อ" ให้ราคาเป่าหมายที่ 12.40 บาท โดยประเมิน 2Q62 กำไรสุทธิจะทรงตัว YoY อยู่ที่ 68 ล้านบาท จาก 1) รายได้ขยายตัวอยู่ที่ 426 ล้านบาท (+25%YoY) 2) GPM ขยายตัว YoY จากรายได้ลิขสิทธิ์ของทีวีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น และ 3) SG&A expenses ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับ CNBC ซึ่งเริ่มออกอากาศเดือน ก.ค. สำหรับผลประกอบการ 2Q62 จะลดลง 16% QoQ เป็นไปตาม Seasonality อย่างไรก็ตามประเมินว่ากำไรสุทธิ 2H62 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 54%YoY จากฐานที่ต่ำใน 2H61, เริ่มรับรู้รายได้ค่าโฆษณาจาก CNBC ตั้งแต่ 3Q62 และรายได้ค่าลิขสิทธิ์ทั้งในและต่างประเทศขยายตัว ทั้งนี้ คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 ที่ 285 ล้านบาท (+25%YoY)
 
--อินโฟเควสท์
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!