WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

19ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามตปท. วิตกสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย-หวั่นศก.โลกรับผลกระทบจากสงครามการค้า
 
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลง เนื่องจากดาวโจนส์เมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลงแรงกว่า 300 จุด จากการวิตกการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าทำให้อัตราการเติบโตน้อยลง
 
ด้านตลาดในยุโรปก็ปรับตัวลงหลังจากที่เรื่องการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ยังไม่ได้ข้อสรุป และงบประมาณของอิตาลีก็ยังไม่รู้ว่าสหภาพยุโรป (อียู) จะยอมรับหรือไม่ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ของอิตาลีพุ่งขึ้นสูง 3.68%
 
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ร่วงลงอีกเป็นวันที่ 2 และเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มแข็งค่า ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า กดดันให้เงินทุนต่างประเทศยังไหลออกอยู่ ดังนั้น Sentiment ตลาดฯจึงเป็นลบในวันนี้ ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวในแดนลบกัน
 
พร้อมให้แนวรับ 1,675-1,665 จุด ส่วนแนวต้าน 1,686-1,695 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (18 ต.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,379.45 จุด ร่วงลง 327.23 จุด (-1.27%) ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,768.78 จุด ลดลง 40.43 จุด (-1.44%) และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,485.14 จุด ลดลง 157.56 จุด (-2.06%)
 
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 316.16 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 26.34 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 282.52 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 74.26 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 18.25 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 22.80 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 4.30 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 18.75 จุด
 
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (18 ต.ค.61) 1,682.91 จุด ลดลง 12.13 จุด (-0.72%)
- นักลงทุนต่างชาติต่างชาติขายสุทธิ 3,156.83 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 ต.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (18 ต.ค.61) ปิดที่ 68.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.6%
 
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (18 ต.ค.61) ที่ 4.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.61/63 แนวโน้มทรงตัว รอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง มอบกรอบวันนี้ 32.55-32.65
- กระทรวงท่องเที่ยวฯ ถกปฏิรูปท่องเที่ยวไทย หลังเหตุการณ์เรือล่มภูเก็ต ฉุดยอดนักท่องเที่ยวดิ่ง "ผู้ว่า ททท." ระบุเล็งครม.เว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง กับนักท่องเที่ยว 21 ชาติรวมจีน ระยะเวลา 2 เดือน "พ.ย.-ธ.ค." ฟื้นท่องเที่ยวไฮซีซัน ดันนักท่องเที่ยวจีนมาตามเป้า 12 ล้านคน ขณะ รมว.ท่องเที่ยวแจงไม่ปิดทางมาตรการวีซ่า ชี้ควรยกระดับปลอดภัยนักท่องเที่ยวอันดับแรกสุด
 
- ททท.เล็งปรับเป้าทั้งปีเหลือ 35 ล้านคน รายได้วูบ 1 แสนล้าน หลังทัวร์จีนเมินเที่ยวไทย คาดตรุษจีนวูบอีก 20% เชื่อฟรีวีซ่าไม่ช่วยเพิ่มยอดท่องเที่ยวสองเดือนสุดท้ายของปีนี้ รมว.ท่องเที่ยวสั่งปฏิรูปดูแลชาวจีน
 
- สรท.ยอมรับเป้าส่งออกปีหน้าโต 8% ท้าทาย เหตุสงครามการค้ากดดัน แนะรัฐ-เอกชนทำงานใกล้ชิด เสนอตั้งวอร์รูมเกาะติดสถานการณ์ ด้าน "สมคิด" จี้ทูตพาณิชย์ทำแผนรับมือการค้าโลกป่วน ห่วงเงินบาทแข็ง-น้ำมันพุ่ง ขณะ "สนธิรัตน์" หวังเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ดึงสินค้าที่โดนผลกระทบมาผลิตในไทยเพื่อส่งออกแทน
 
- "ประจิน" นัดประชุมบอร์ดอนุรักษ์พลังงาน 26 ต.ค.นี้ เคาะอนุมัติการใช้งบประมาณปี 61-62 รวมกว่า 1.5 หมื่นล้าน ระบุกลั่นกรองแล้ว เน้นใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด จ่อคลอดแผนพลังงานระยะสั้น 5 ปี (ปี 62-66) เพื่อจัดลำดับการทำงาน คาด "โซลาร์ภาคประชาชน" มาแน่ ส่วนโครงการช่วยวินมอเตอร์โซค์ใช้น้ำมันถูกเปิดตัวก่อนสิ้นปี
 
- ทีดีอาร์ไอค้านรัฐยก 4 สนามบินให้ ทอท. ชี้ผูกขาด คุณภาพลด แนะเปิดแข่งขันเสรี
*หุ้นเด่นวันนี้
- SONIC (บมจ. โซนิค อินเตอร์เฟรท) เทรดวันนี้วันแรก ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยมีราคาเสนอขาย 1.95 บาท/หุ้น ด้านบล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินราคาเป้าหมายปี 2562 โดยอิง PE Multiplier 20 เท่า ซึ่ง Implied จาก PEG ของอัตราการเติบโตในปี 2562-2564 ที่ 1 เท่า ได้เท่ากับ 3.00 บาท
 
บริษัทฯเป็นผู้ให้บริการจัดการระบบโลจิสติกส์อย่างครบวงจรทั้งทางทะเล ทางบก และอากาศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีศูนย์รวบรวมและกระจายของตัวเอง โครงสร้างรายได้หลักปัจจุบันอยู่ที่บริการขนส่งทางทะเล และกำลังขยายธุรกิจไปยังบริการขนส่งทางอากาศที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง โดยคาดว่ากำไรสุทธิปี 2561 โต 46% Y-Y อยู่ที่ 67 ล้านบาท และปี 2562-2563 โตเฉลี่ย 20% ต่อปี ปัจจัยหนุนมาจากภาพอุตสาหกรรม ที่ได้แรงส่งจากมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการเพิ่มกำลังการให้บริการของ SONIC ทั้ง 3 ช่องทางการขนส่ง
 
- BJC (ฟินันเซีย ไซรัส) แนะ"ซื้อ"เป้า 71 บาท คาดกำไรสุทธิ Q3/61 ที่ 1,635 ล้านบาท +17.1% Q-Q, +17.9% Y-Y แรงสุดในกลุ่มค้าปลีก เพราะ BIGC ทำผลงานได้โดดเด่นจากการจัดโปรโมชั่น การเปิดสาขาใหม่ และการนับสต็อก ขณะที่ 4Q61 จะเป็นจุดสูงสุดของปี เพราะเป็น High Season และ run โรงแก้วแห่งที่ 5 เต็มไตรมาส อีกทั้ง คาดว่าการปรับโครงสร้างภาษีจะแล้วเสร็จด้วย อีกทั้งเป็นหุ้นที่ Outperform ตลาดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แต่ทั้ง PE และ PBV ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต จึงเป็นหุ้นที่คาดว่าจะชนะตลาดสำหรับการลงทุนในช่วง 1 เดือนข้างหน้านี้ได้
 
- KSL (กรุงศรี) "ซื้อเก็งกำไร" เป้าสูงสุด Consensus 4.50 บาท ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 เดือน ที่ระดับ 13.87 เซนต์/ปอนด์ จากคาดการณ์ Supply น้ำตาลของโลกจะปรับตัวลงในปีหน้า(บราซิลเกิดภัยแล้งและเกษตรกรเปลี่ยนไปทำเอทานอล) เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มผู้ผลิตและขายน้ำตาล
 
 
ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ วิตกสัมพันธ์สหรัฐ-ซาอุฯ, ข้อพิพาทการค้าสหรัฐ-จีน
 
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย และความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
 
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,342.00 จุด ลดลง 316.16 จุด, -1.40% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,460.08 จุด ลดลง 26.34 จุด, -1.06% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,172.03 จุด ลดลง 282.52 จุด, -1.11% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,879.47 จุด ลดลง 74.26 จุด, -0.75% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,130.06 จุด ลดลง 18.25 จุด, -0.85% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,046.87 จุด ลดลง 22.80 จุด, -0.74% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,733.71 จุด ลดลง 4.30 จุด, -0.25% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,122.50 จุด ลดลง 18.75 จุด, -0.26%
 
ความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียยังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความวิตกกังวลต่อตลาด สืบเนื่องมาจากกรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาช็อกกี ผู้สื่อข่าวซาอุดีอาระเบีย โดยล่าสุดนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ได้ตัดสินใจยกเลิกการเข้าร่วมงานประชุม Future Investment Initiative (FII) ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย แม้ว่าก่อนหน้านี้เขายืนยันว่าจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
 
หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ เชื่อว่า นายจามาล คาช็อกกี ผู้สื่อข่าวซาอุดีอาระเบีย ได้เสียชีวิตแล้ว โดยอ้างอิงจากข้อมูลข่าวกรอง
 
"เว้นแต่ปาฎิหารย์ของปาฎิหารย์ทั้งหมดจะเกิดขึ้น ผมเชื่อว่าเขาได้เสียชีวิตแล้ว โดยทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวกรองที่มาจากทุกๆด้าน" ปธน.ทรัมป์กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์ก ไทม์ส
 
นักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้ง หลังจากนายแลร์รี คุดโลว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า การเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการค้ากับจีนยังคงไม่มีความคืบหน้า พร้อมกับระบุว่า จีนทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม และขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย โดยการเปิดเผยของนายคุดโลว์มีขึ้นก่อนการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค.
 
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 25-26 ก.ย. โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจสหรัฐ และควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงจากภาวะไร้สมดุลทางการเงิน ส่วนการประชุมในวันดังกล่าวนั้น คณะกรรมการเฟดมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00-2.25% พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.
 
 
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 27.61 จุด วิตกตลาดหุ้นทั่วโลกร่วง ขณะนลท.จับตาเจรจา Brexit
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดิ่งลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างอังกฤษ และสหภาพยุโรป (EU) ในกรณีการถอนตัวของอังกฤษจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit)
 
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,026.99 จุด ลดลง 27.61 จุด หรือ -0.39%
ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งรวมถึงตลาดสหรัฐ อันเนื่องมาการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย จากกรณีการหายตัวไปอย่างลึกลับของนายจามาล คาช็อกกี นักข่าวชาวซาอุฯ
 
หุ้นซีอาร์เอช ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.1% ขณะที่หุ้นอันโตฟากัสตา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเหมืองทองแดงรายใหญ่ ร่วงลง 3.5% และหุ้นแอชทีด ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าเครื่องมือด้านอุตสาหกรรม ร่วงลง 3.3%
 
นักลงทุนจับตาการเจรจาเรื่องการถอนตัวของอังกฤษจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) ว่าจะมีความคืบหน้าหรือไม่ โดยรายงานล่าสุดระบุว่า นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้แสดงความพร้อมที่จะพิจารณายืดระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเจรจาการค้าได้มากขึ้น
 
 
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐ ขณะนลท.จับตาเจรจา Brexit
 
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย จากกรณีการหายตัวไปอย่างลึกลับของนายจามาล คาช็อกกี นักข่าวชาวซาอุฯ
 
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 361.67 จุด
 
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,589.21 จุด ลดลง 125.82 จุด หรือ -1.07% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,026.99 จุด ลดลง 27.61 จุด หรือ -0.39% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,116.79 จุด ลดลง 28.15 จุด หรือ -0.55%
 
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย โดยล่าสุดนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ได้ตัดสินใจยกเลิกการเข้าร่วมงานประชุม Future Investment Initiative (FII) ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลหลังจากรายงานการประชุมประจำเดือนก.ย.ของเฟดบ่งชี้ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือนธ.ค.ปีนี้
 
สถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลียังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาด หลังจากมีรายงานข่าวว่า สหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธแผนการใช้จ่ายของรัฐบาลอิตาลี โดยรัฐบาลอิตาลีต้องการเพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณสู่ระดับ 2.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีหน้า ขณะที่ EU เรียกร้องให้อิตาลีดำเนินการไปสู่การมีงบประมาณสมดุล เนื่องจากอิตาลีมีหนี้ในภาครัฐจำนวนมาก
 
ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเจรจาเรื่องการถอนตัวของอังกฤษจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) ว่าจะมีความคืบหน้าหรือไม่ โดยรายงานล่าสุดระบุว่า นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้แสดงความพร้อมที่จะพิจารณายืดระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเจรจาการค้าได้มากขึ้น
 
หุ้นยูนิลีเวอร์ ปรับตัวลง 0.9% แม้บริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 3 ที่แข็งแกร่ง หลังจากสามารถจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ในราคาที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
 
หุ้นคาร์ฟูร์ ดีดตัวขึ้น 9% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายที่แข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาส 3
หุ้นอีริคสัน ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารชั้นนำจากสวีเดน พุ่งขึ้น 6.2% หลังจากบริษัทรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาดในไตรมาส 3 โดยได้แรงหนุนจากการดำเนินงานในอเมริกาเหนือ โดยบริษัทมียอดขายพุ่งขึ้น 9% เมื่อเทียบรายปี และเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบรายไตรมาส
 
นอกจากนี้ อีริคสันมีกำไรจากการดำเนินงาน 3.2 พันล้านโครนาสวีเดน (356.5 ล้านดอลลาร์) เมื่อเทียบกับตัวเลขขาดทุน 3.7 พันล้านโครนาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
 
 
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 327.23 จุด วิตกสัมพันธ์สหรัฐ-ซาอุฯตึงเครียด,เฟดส่งสัญญาณขึ้นดบ.
 
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยลบทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอิตาลี โดยความวิตกกังวลในเรื่องเหล่านี้ได้ฉุดหุ้นกลุ่มต่างๆร่วงลงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มสินค้าผู้บริโภค
 
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,379.45 จุด ร่วงลง 327.23 จุด หรือ -1.27% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,768.78 จุด ลดลง 40.43 จุด หรือ -1.44% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,485.14 จุด ลดลง 157.56 จุด หรือ -2.06%
 
ความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียยังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความวิตกกังวลต่อตลาด สืบเนื่องมาจากกรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาช็อกกี ผู้สื่อข่าวซาอุดีอาระเบีย โดยล่าสุดนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ได้ตัดสินใจยกเลิกการเข้าร่วมงานประชุม Future Investment Initiative (FII) ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย แม้ว่าก่อนหน้านี้เขายืนยันว่าจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ขณะที่นายไมค์ ปอมเปโอ รมว.ต่างประเทศสหรัฐได้เสนอให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กดดันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียด้วยการให้เวลาอีก 2-3 วันในการเสร็จสิ้นการสอบสวนกรณีการหายตัวไปของนายคาช็อกกี
 
นักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้ง หลังจากนายแลร์รี คุดโลว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า การเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการค้ากับจีนยังคงไม่มีความคืบหน้า พร้อมกับระบุว่า จีนทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม และขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย โดยการเปิดเผยของนายคุดโลว์มีขึ้นก่อนการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค.
 
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 25-26 ก.ย. โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจสหรัฐ และควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงจากภาวะไร้สมดุลทางการเงิน ส่วนการประชุมในวันดังกล่าวนั้น คณะกรรมการเฟดมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00-2.25% พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.
 
นักวิเคราะห์กล่าวว่า สถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลียังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาด หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาเตือนรัฐบาลอิตาลีในเรื่องการขาดดุลงบประมาณ ขณะที่ Der Spiegel ซึ่งเป็นสื่อของเยอรมนี รายงานว่า สหภาพยุโรป (EU) ได้ปฏิเสธแผนการใช้จ่ายของรัฐบาลอิตาลี โดยรัฐบาลอิตาลีต้องการเพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณสู่ระดับ 2.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีหน้า ขณะที่ EU เรียกร้องให้อิตาลีดำเนินการไปสู่การมีงบประมาณสมดุล เนื่องจากอิตาลีมีหนี้ในภาครัฐจำนวนมาก
 
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นแอปเปิล ดิ่งลง 2.3% หุ้นอเมซอนดอทคอม ร่วงลง 3.3% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ร่วงลง 2.6% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ร่วงลง 5% หุ้นไมโครซอฟท์ ลดลง 2% หุ้น Nvidia ร่วงลง 1.4% หุ้นไมครอน เทคโนโลยีส์ ลดลง 2.5% หุ้นซิสโก ซิสเต็มส์ ลดลง 1.04% หุ้นอินเทล ลดลง 2% หุ้นเฟซบุ๊ก ร่วงลง 2.8% และหุ้น IBM ร่วงลง 2.6%
 
หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลง โดยหุ้นโบอิ้ง ร่วงลง 1.7% หุ้นแคทเธอร์พิลลาร์ ดิ่งลง 3.8% หุ้น 3M ร่วงลง 1.2% หุ้นยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ ลดลง 0.8% หุ้นเอเมอร์สัน อิเล็กทริก ดิ่งลง 2.1% และหุ้นอีตัน คอร์ป ร่วงลง 1.8%
 
หุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภคร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) ร่วงลง 2.01% หุ้นเป๊ปซี่โค ลดลง 0.35% หุ้นโคคา-โคลา ปรับตัวลง 0.5%
 
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 212,000 ราย
 
ทางด้าน Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนต.ค. ซึ่งดีดตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยดัชนี LEI ถือเป็นสิ่งบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคำนวณจากตัวเลขเศรษฐกิจ 10 รายการ ซึ่งรวมถึง คำสั่งซื้อใหม่ของภาคการผลิต, ราคาหุ้น และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
 
นักลงทุนจับตาสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) ซึ่งมีกำหนดเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนก.ย. ในวันนี้ เวลา 21.00 น.ตามเวลาไทย
 
--อินโฟเควสท์ 
OO15197

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!