- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Thursday, 06 September 2018 13:39
- Hits: 1034
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-มีลุ้นรีบาวด์ตามตลาดภูมิภาค แต่ Upside จำกัด หลังยังต้องจับตาสงครามการค้า
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ แต่เมื่อดัชนีฯย่อตัวลงมาแถว 1,680 จุด ก็มีลุ้นรีบาวด์ได้ เนื่องจากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียขณะนี้เริ่มรีบาวด์กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว หลังจากที่ค่าเงินอินโดนีเซียเช้านี้แข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อย และตลาดหุ้นอินโดนีเซียเริ่มทรงตัวได้
ทั้งนี้ ตลาดฯคงจะมี Upside จำกัดอยู่ เนื่องจากยังต้องติดตามการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในขณะนี้ และในปลายสัปดาห์ก็ต้องติดตามเรื่องสหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างไร หลังจากที่เสร็จสิ้นการทำประชาพิจารณ์แล้ว
พร้อมให้แนวรับ 1,680 จุด ส่วนแนวต้าน 1,695-1,700 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (5 ก.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,974.99 จุด เพิ่มขึ้น 22.51 จุด (+0.09%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,995.17 จุด ลดลง 96.07 จุด (-1.19%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,888.60 จุด ลดลง 8.12 จุด (-0.28%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 121.86 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 6.76 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 174.64 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 21.79 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.97 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 2.55 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.32 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 37.13 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (5 ก.ย.61) 1,686.37 จุด ลดลง 28.04 จุด (-1.64%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,233.73 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ก.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (5 ก.ย.61) ปิดที่ 68.72 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.15 ดอลลาร์ หรือเกือบ 1.7%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (5 ก.ย.61) ที่ 7.00 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.77 กลับมาแข็งค่าจากวานนี้ มองกรอบวันนี้ 32.70-32.85 จับตาตลาดหุ้นไทยหลังร่วงแรง
- กบง.ใช้เงินกองทุนน้ำมัน 8 พันล้านบาท อุ้มราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร และตรึงแอลพีจีขนาดถัง 15 ก.ก.ไว้ที่ 363 บาทต่อเนื่องถึงสิ้นปี ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบไม่เกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเดิมวันนี้ควักเงินกองทุน 15 สตางค์ต่อลิตร อุ้มดีเซลขณะที่แผนพีดีพีฉบับใหม่ ยันรักษาต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่เกิน 3.60 บาทต่อหน่วย
- ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2561 ได้เร่งรัดลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ 10 เขตเศรษฐกิจให้เป็นตามแผน คือแล้วเสร็จในปี 2562-2563 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ในพื้นที่ดังกล่าว
- ที่ประชุม กสทช.มีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำแผนการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ เพื่อจัดประมูลภายในปี 2561 และทบทวนหลักเกณฑ์การประมูล อาทิ การจัดทำแนวป้องกันคลื่นความถี่รบกวนของคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจัดทำแนวป้องกันคลื่นความถี่ด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่ผู้ชนะการประมูลเท่านั้น
*หุ้นเด่นวันนี้
- BDMS (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 29 บาท คาดกำไร Q3/61 โตแข็งแกร่งทั้ง Q-Q และ Y-Y จากโรคระบาดที่ลากยาวตามฤดูฝน และการควบคุมต้นทุนที่ทำได้ดีมากมาตั้งแต่ H2/60 ส่วนการเติบโตระยะยาวจะได้แรงหนุนจากสัดส่วนกลุ่มประกันที่เพิ่มขึ้น เพราะมีความได้เปรียบด้านสาขาที่กระจายทั่วประเทศ ขณะที่ Center of Excellent จะช่วยยกระดับอัตรากำไรจากการเป็นผู้นำรักษาโรคซับซ้อน โดยคาดจะหนุนให้กำไรปกติปี 2561-2563 โตเฉลี่ย 16% ต่อปี
- EPG (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 9.6 บาท ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และเป็นหุ้นที่ได้ผลบวกจากราคาน้ำมันที่ลดลง และค่าเงินบาทอ่อนค่า
- GULF (เออีซี) "ซื้อ"เป้า Consensus 16.25 บาท ช่วง Q3/61 คาดกำไรฟื้นตัว QoQ หลังได้รับอานิสงส์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น บวกกับ โรงไฟฟ้า GULF BL (126.8MW) เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ COD ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. บวกกับการรับรู้รายได้ต่อเนื่องของโรงไฟฟ้าซึ่งมีกำลังผลิตรวมกว่า 4,000 MW คาดหนุนปี 61 กำไรโต 18.3%YoY + Upside 12.5%YoY
ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ นักลงทุนยังวิตกข้อพิพาทการค้าสหรัฐ
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,458.97 จุด ลดลง 121.86 จุด, -0.54% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,697.58 จุด ลดลง 6.76 จุด, -0.25% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 27,069.21 จุด ลดลง 174.64 จุด, -0.64% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,016.92 จุด เพิ่มขึ้น 21.79 จุด, +0.20%
ส่วนดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,288.80 จุด ลดลง 2.97 จุด, -0.13% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,158.83 จุด เพิ่มขึ้น 2.55 จุด, +0.08% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,795.82 จุด เพิ่มขึ้น 0.32 จุด, +0.02% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,715.14 จุด ลดลง 37.13 จุด, -0.48%
ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างผันผวน ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้า โดยตัวแทนเจรจาการค้าของสหรัฐและแคนาดาได้เริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่เมื่อวานนี้ที่กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุไว้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น
นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวว่า แคนาดาจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐในการเจรจา NAFTA ฉบับใหม่ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐและเม็กซิโกสามารถเดินหน้าต่อไปโดยไม่ต้องมีแคนาดาในการทำข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่
ขณะเดียวกัน สหรัฐเตรียมทำสงครามการค้ารอบใหม่กับจีนในสัปดาห์นี้ โดยแหล่งข่าวระบุว่า ปธน.ทรัมป์กล่าวกับคนสนิทของเขาว่า เขาจะทำการเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าของจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ ทันทีที่มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปจากการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆของสหรัฐในวันนี้
นอกจากนี้ การที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. ยังส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลว่า รัฐบาลสหรัฐอาจให้มาตรการทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้นต่อจีน โดยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้น 9.5% สู่ระดับ 5.01 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะเดียวกันสหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนพุ่งขึ้น 10% สู่ระดับ 3.68 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 74.58 จุด วิตกข้อพิพาทการค้า,เงินปอนด์แข็งฉุดตลาด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้าอย่างจีนและแคนาดา นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ยังสร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติ
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,383.28 จุด ลดลง 74.58 จุด หรือ -1.00%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเนื่องจากการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เงินปอนด์แข็งค่านั้น มาจากรายงานข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่ว่า สหราชอาณาจักร และเยอรมนีเตรียมที่จะยกเลิกเงื่อนไขที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาในประเด็น Brexi โดยเยอรมนีพร้อมที่จะยอมรับข้อตกลงที่ไม่มีเงื่อนไขมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าในอนาคตของสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำข้อตกลง Brexit
รายงานยังระบุด้วยว่า สหราชอาณาจักรพร้อมที่จะยอมรับแถลงการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต โดยยอมเลื่อนการตัดสินใจในบางประเด็นจนกว่าจะผ่านพ้นวันที่มีการแยกตัวอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้า โดยตัวแทนเจรจาการค้าของสหรัฐและแคนาดาได้เริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่เมื่อวานนี้ที่กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุไว้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น
หุ้นดับเบิลยูพีพี ซึ่งเป็นบริษัทสื่อรายใหญ่ ดิ่งลง 4.1% หุ้นเบอร์เบอร์รี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแฟชั่นชั้นนำ ร่วงลง 3.8% ขณะที่หุ้นโคคา-โคล่า เอชบีซี ผู้ผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่มให้กับบริษัทโคคา-โคล่า ปรับตัวลง 3.6%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกข้อพิพาทการค้า ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 ก.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา รวมทั้งแนวโน้มการทำสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดลบ 0.4% แตะที่ระดับ 378.19 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,040.46 จุด ลดลง 169.75 จุด หรือ -1.39% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,260.22 จุด ลดลง 82.48 จุด หรือ -1.54% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,383.28 จุด ลดลง 74.58 จุด หรือ -1.00%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้า โดยตัวแทนเจรจาการค้าของสหรัฐและแคนาดาได้เริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่เมื่อวานนี้ที่กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุไว้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น
นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวว่า แคนาดาจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐในการเจรจา NAFTA ฉบับใหม่ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐและเม็กซิโกสามารถเดินหน้าต่อไปโดยไม่ต้องมีแคนาดาในการทำข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่
นอกจากนี้ สหรัฐเตรียมทำสงครามการค้ารอบใหม่กับจีนในสัปดาห์นี้ โดยแหล่งข่าวระบุว่า ปธน.ทรัมป์กล่าวกับคนสนิทของเขาว่า เขาจะทำการเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าของจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ ทันทีที่มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปจากการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆของสหรัฐในวันนี้
หุ้นดับเบิลยูพีพี ซึ่งเป็นบริษัทสื่อรายใหญ่ ดิ่งลง 4.1% หุ้นเบอร์เบอร์รี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแฟชั่นชั้นนำ ร่วงลง 3.8% ขณะที่หุ้นโคคา-โคล่า เอชบีซี ผู้ผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่มให้กับบริษัทโคคา-โคล่า ปรับตัวลง 3.6%
หุ้นไบเออร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยาและเคมีภัณฑ์ด้านการเกษตรของเยอรมนี ร่วงลง 3% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2 พร้อมกับปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปีงบการเงิน 2561 นอกจากนี้ ไบเออร์ยังได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย สืบเนื่องมาจากการที่ทางบริษัทได้เข้าซื้อกิจการบริษัทมอนซานโต ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของสหรัฐ
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น ไอเอชเอส มาร์กิต ระบุวว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.4 ในเดือนส.ค. จากระดับ 54.2 ในเดือนก.ค. โดยการดีดตัวขึ้นของดัชนี PMI ได้รับผลบวกจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 22.51 จุด ขณะ Nasdaq ร่วงหนักจากแรงฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนฯ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (5 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า ขณะที่ดัชนี Nadaq ร่วงลงกว่า 1% เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากผู้บริหารของบริษัทเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,974.99 จุด เพิ่มขึ้น 22.51 จุด หรือ +0.09% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,995.17 จุด ลดลง 96.07 จุด หรือ -1.19% และ ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,888.60 จุด ลดลง 8.12 จุด หรือ -0.28%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้า โดยตัวแทนเจรจาการค้าของสหรัฐและแคนาดาได้เริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่เมื่อวานนี้ที่กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุไว้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น
นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวว่า แคนาดาจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐในการเจรจา NAFTA ฉบับใหม่ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐและเม็กซิโกสามารถเดินหน้าต่อไปโดยไม่ต้องมีแคนาดาในการทำข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่
ขณะเดียวกัน สหรัฐเตรียมทำสงครามการค้ารอบใหม่กับจีนในสัปดาห์นี้ โดยแหล่งข่าวระบุว่า ปธน.ทรัมป์กล่าวกับคนสนิทของเขาว่า เขาจะทำการเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าของจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ ทันทีที่มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปจากการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่การเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนในวันที่ 22-23 ส.ค.ได้สิ้นสุดลง โดยไม่มีความคืบหน้าใดๆ ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันคิดเป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ การที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. ยังส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลว่า รัฐบาลสหรัฐอาจให้มาตรการทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้นต่อจีน โดยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้น 9.5% สู่ระดับ 5.01 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะเดียวกันสหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนพุ่งขึ้น 10% สู่ระดับ 3.68 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งได้ฉุดดัชนี Nasdaq ปิดร่วงกว่า 1% หลังจากมีรายงานว่า ผู้บริหารของเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวานนี้ หลังจากที่สื่อโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของสหรัฐถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว โดยหัวข้อที่ได้มีการกำหนดไว้สำหรับการให้ข้อมูลเมื่อวานนี้ คือ "Foreign Influence Operations’ Use of Social Media Platforms" หรืออิทธิพลของต่างชาติในเรื่องการดำเนินการและใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
ทั้งนี้ หุ้นเฟซบุ๊ก ร่วงลง 2.3% หุ้นทวิตเตอร์ ดิ่งลง 6.1% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ปรับตัวลง 0.9% หุ้นไมโครซอฟท์ ร่วงลง 2.9% หุ้นอเมซอนดอทคอม ร่วงลง 2.2% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ดิ่งลง 6.2% และหุ้นสแนป ปรับตัวลง 4.5%
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวผันผวน โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ดีดตัวขึ้น 1.3% หุ้นเชฟรอน ขยับขึ้น 0.4% แต่หุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ร่วงลงเกือบ 6% หลังจากบริษัทคาดการณ์ว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 อาจชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการขุดเจาะน้ำมันในแหล่งเพอร์เมียน เบซิน
หุ้น JD.com ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ร่วงลง 10.6% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่สอง สืบเนื่องมาจากข่าวที่ว่า นายหลิว เฉียงตง หรือ ริชาร์ด หลิว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ได้ถูกเจ้าหน้าที่สหรัฐจับกุมตัวในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศในระหว่างเดินทางไปทำธุรกิจในสหรัฐ
หุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ปรับตัวลง 1.2% หลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ (FBI) ได้เปิดฉากการตรวจสอบอเมริกัน เอ็กซ์เพรสในประเด็นที่ว่า ทางบริษัทให้ข้อมูลเท็จต่อลูกค้าเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศหรือไม่ โดยข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นบริษัทคู่แข่งรายอื่นๆร่วงลงด้วย โดยหุ้นวีซ่า ร่วงลง 3.5% และหุ้นมาสเตอร์การ์ด ดิ่งลง 2.6%
หุ้นไนกี้ ดีดตัวขึ้น 0.4% หลังจากที่ดิ่งลงอย่างหนักเมื่อวันอังคาร อันเนื่องมาจากข่าวที่ว่า บริษัทไนกี้ได้เลือกโคลิน เคเปอร์นิค อดีตควอเตอร์แบ็คของทีมซานฟรานซิสโก โฟร์ตี้ไนน์เนอร์ส ในลีกอเมริกันฟุตบอล NFL ให้แสดงในโฆษณาชุดใหม่ของบริษัท โดยเคเปอร์นิคเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ประท้วงการเหยียดผิวและการกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อคนผิวสี ด้วยการคุกเข่าในระหว่างที่เพลงชาติสหรัฐบรรเลงในสนาม NFL
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 2/2561, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค., ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.
--อินโฟเควสท์
OO13430