- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 30 May 2018 10:58
- Hits: 1494
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามตปท. วิตกความมั่นคงยูโรโซนจากปัญหาการเมืองในอิตาลี ,เงินยูโรอ่อนค่าหนัก
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภุมิภาคเอเชียที่ต่างปรับตัวลงกันทั่วหน้า ภายหลังจากที่อิตาลียังไม่สามารถที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นมาได้ และมีแนวโน้มที่จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้คนวิตกถึงความมั่นคงในยูโรโซน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) อายุ 10 ปี ของอิตาลี พุ่งขึ้น 3% สร้างความกังวลมากให้กับนักลงทุน และเงินยูโรก็อ่อนค่าหนักมากเมื่อเทียบกับเงินดอลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากมีการหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงหันไปสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย ทำให้ Bond Yield อายุ 10 ปี ของสหรัฐฯได้อ่อนลงมาอยู่ที่ 2.8%
นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงด้วยทำให้ไปกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานให้ปรับตัวลงตาม ขณะที่นักลงทุนต่างชาติก็คาดว่าจะยังคงขายต่อเนื่องในหุ้นหลัก ๆ พร้อมให้ติดตามวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และในวันพรุ่งนี้ (31 พ.ค.) การปรับลดน้ำหนักหุ้นไทยก็มีผลตามที่ทาง MSCI ได้ประกาศไว้
พร้อมให้แนวรับ 1,724 จุด ส่วนแนวต้าน 1,738 จุด
นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงด้วยทำให้ไปกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานให้ปรับตัวลงตาม ขณะที่นักลงทุนต่างชาติก็คาดว่าจะยังคงขายต่อเนื่องในหุ้นหลัก ๆ พร้อมให้ติดตามวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และในวันพรุ่งนี้ (31 พ.ค.) การปรับลดน้ำหนักหุ้นไทยก็มีผลตามที่ทาง MSCI ได้ประกาศไว้
พร้อมให้แนวรับ 1,724 จุด ส่วนแนวต้าน 1,738 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (29 พ.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,361.45 จุด ร่วงลง 391.64 จุด (-1.58%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,689.86 จุด ลดลง 31.47 จุด (-1.16%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,396.59 จุด ลดลง 37.26 จุด (-0.50%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 306.46 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 39.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 375.21 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 38.91 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 10.44 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 65.00 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 16.28 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 26.98 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (28 พ.ค.61) 1,734.54 จุด ลดลง 6.67 จุด (-0.38%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,883.59 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 พ.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (29 พ.ค.61) ปิดที่ 66.73 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.7%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (29 พ.ค.61) ที่ 6.73 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.09 แนวโน้มอ่อนค่า หลังดอลล์แข็ง มองกรอบวันนี้ 32.00-32.15
- รัฐบาลจะขับเคลื่อนแผนยกระดับครัวไทยสู่ครัวโลกครบวงจรให้เป็นนโยบายแห่งชาติ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีประชากรอยู่ห่วงโซ่ทั้งหมดในกลุ่มสินค้าเกษตร 20-30 ล้านคน หากอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวและมีผลต่อสินค้าเกษตร เพราะอุตสาหกรรมอาหาร 80% ใช้วัตถุดิบการผลิตภายในประเทศ ซึ่ง 85% ใช้วัตถุดิบการเกษตร
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทย ณ สิ้นเดือน เม.ย. 2561 ว่า มีตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือน เม.ย. ขยายตัว 25.2% เพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกที่ 14.8% เนื่องจากมียอดการโอนที่ดินของบุคคลธรรมดาเพิ่มสูงขึ้นกับค่าอากรที่ดินเพิ่มขึ้น
- ผลิต-ไฟฟ้าลาว เล็งออกระดมทุนครั้งใหญ่วงเงิน 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 17,500 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าไซยะบุรีและดอนสะหง อีกทั้งชำระคืนเงินกู้ที่จะครบดีลปี 62 วงเงิน 1,500 ล้านบาท ขณะนี้ได้รับอนุมัติจาก สบน.ไทยแล้ว เตรียมเดินสายโรดโชว์กลางเดือนมิ.ย.นี้ก่อนเสนอขาย คาดได้รับการตอบรับดีจากนักลงทุน เผยมีบริษัทพลังงานจากประเทศทั่วภูมิภาคร่วมลงทุนลุยพลังงาน
- กลุ่มเหล็ก ส.อ.ท. เกาะติดสงครามทางการค้าใกล้ชิดหลัง สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ พร้อมโต้กลับสหรัฐฯ ผวาสินค้าเหล็กที่ส่งเข้าจีนไม่ได้และที่โดนมาตรการเซฟการ์ดจากอียูกว่า 34 ล้านตัน จะทะลักเข้าไทยซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อม ส่วนผลกระทบทางตรงคาดว่าจะกระทบต่อราคาถั่วเหลือง และข้าวโพดลดต่ำลงได้
- สภาผู้ผลิตสุกรแห่งชาติของสหรัฐร้องเรียน 'ยูเอสทีอาร์' พิจารณาตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย อ้างไทยห้ามนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐ ทำให้ไม่เข้าข่ายประเทศที่จะได้รับสิทธิ จับตา ต.ค.นี้ รู้ผล ด้านสมาคมสุกรไทย เกาะติดประกาศหากเปิดนำเข้าจะฟ้องศาลเอาผิดทันที
- "สมคิด" ชี้อุตสาหกรรมอาหารสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานราก แนะคิดค้นนวัตกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เชื่องานไทยเฟ็กซ์ปี 2561 มีผู้ประกอบการร่วมงาน 2,537 คน คาดเงินสะพัด 1.15 หมื่นล้านบาท
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (29 พ.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,361.45 จุด ร่วงลง 391.64 จุด (-1.58%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,689.86 จุด ลดลง 31.47 จุด (-1.16%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,396.59 จุด ลดลง 37.26 จุด (-0.50%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 306.46 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 39.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 375.21 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 38.91 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 10.44 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 65.00 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 16.28 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 26.98 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (28 พ.ค.61) 1,734.54 จุด ลดลง 6.67 จุด (-0.38%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,883.59 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 พ.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (29 พ.ค.61) ปิดที่ 66.73 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.7%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (29 พ.ค.61) ที่ 6.73 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.09 แนวโน้มอ่อนค่า หลังดอลล์แข็ง มองกรอบวันนี้ 32.00-32.15
- รัฐบาลจะขับเคลื่อนแผนยกระดับครัวไทยสู่ครัวโลกครบวงจรให้เป็นนโยบายแห่งชาติ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีประชากรอยู่ห่วงโซ่ทั้งหมดในกลุ่มสินค้าเกษตร 20-30 ล้านคน หากอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวและมีผลต่อสินค้าเกษตร เพราะอุตสาหกรรมอาหาร 80% ใช้วัตถุดิบการผลิตภายในประเทศ ซึ่ง 85% ใช้วัตถุดิบการเกษตร
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทย ณ สิ้นเดือน เม.ย. 2561 ว่า มีตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือน เม.ย. ขยายตัว 25.2% เพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกที่ 14.8% เนื่องจากมียอดการโอนที่ดินของบุคคลธรรมดาเพิ่มสูงขึ้นกับค่าอากรที่ดินเพิ่มขึ้น
- ผลิต-ไฟฟ้าลาว เล็งออกระดมทุนครั้งใหญ่วงเงิน 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 17,500 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าไซยะบุรีและดอนสะหง อีกทั้งชำระคืนเงินกู้ที่จะครบดีลปี 62 วงเงิน 1,500 ล้านบาท ขณะนี้ได้รับอนุมัติจาก สบน.ไทยแล้ว เตรียมเดินสายโรดโชว์กลางเดือนมิ.ย.นี้ก่อนเสนอขาย คาดได้รับการตอบรับดีจากนักลงทุน เผยมีบริษัทพลังงานจากประเทศทั่วภูมิภาคร่วมลงทุนลุยพลังงาน
- กลุ่มเหล็ก ส.อ.ท. เกาะติดสงครามทางการค้าใกล้ชิดหลัง สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ พร้อมโต้กลับสหรัฐฯ ผวาสินค้าเหล็กที่ส่งเข้าจีนไม่ได้และที่โดนมาตรการเซฟการ์ดจากอียูกว่า 34 ล้านตัน จะทะลักเข้าไทยซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อม ส่วนผลกระทบทางตรงคาดว่าจะกระทบต่อราคาถั่วเหลือง และข้าวโพดลดต่ำลงได้
- สภาผู้ผลิตสุกรแห่งชาติของสหรัฐร้องเรียน 'ยูเอสทีอาร์' พิจารณาตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย อ้างไทยห้ามนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐ ทำให้ไม่เข้าข่ายประเทศที่จะได้รับสิทธิ จับตา ต.ค.นี้ รู้ผล ด้านสมาคมสุกรไทย เกาะติดประกาศหากเปิดนำเข้าจะฟ้องศาลเอาผิดทันที
- "สมคิด" ชี้อุตสาหกรรมอาหารสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานราก แนะคิดค้นนวัตกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เชื่องานไทยเฟ็กซ์ปี 2561 มีผู้ประกอบการร่วมงาน 2,537 คน คาดเงินสะพัด 1.15 หมื่นล้านบาท
*หุ้นเด่นวันนี้
- BANPU (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 28 บาท แนวโน้มราคาถ่านหินยังอยู่ในระดับสูง ล่าสุดราคาถ่านหิน Newcastle อยู่ที่ 106-107 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน สูงสุดในรอบ 5 ปี จากปริมาณความต้องการใช้ถ่านหินในภูมิภาคที่เติบโตดี ในขณะที่ Supply เติบโตได้อย่างจำกัด โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพิ่มขึ้นจากออสเตรเลีย พร้อมคาดกำไรจากการดำเนินงานปกติในปี 61 อยู่ที่ 7,040 ล้านบาท (รวมผลกระทบจากค่าชดเชยกรณีโรงไฟฟ้าหงสาจำนวน 2,714 ล้านบาทแล้ว) โดยผลดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มราคาถ่านหินที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานเหมืองถ่านหินทั้งที่อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยเฉพาะที่ออสเตรเลีย คาดผลการดำเนินงานฟื้นตัวโดดเด่น ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าเติบโตโดดเด่น จากโรงไฟฟ้าหงสาที่กลับมาเดินเครื่องได้เป็นปกติ
- AMATA (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 30 บาท กลุ่มนิคมมีภาพการเติบโตที่ชัดเจนมากขึ้น หลัง พ.ร.บ. EEC มีผลบังคับใช้ ทำให้ยอดขายที่ดินทั้งปีนี้ของ AMATA น่าจะทะลุเป้าที่ 925 ไร่ได้ไม่ยาก และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ตามมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านโลจิสติกส์ของภาครัฐฯ นอกจากนี้ความเสี่ยงต่ำ โดย PE2561-62 อยู่ที่ 12-14 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 16 เท่า และกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีมีธุรกิจสาธารณูปโภคช่วยจำกัด Downside อยู่ราว 35% ของกำไรรวม ส่วน NVDR ซื้อสุทธิใน พ.ค. 61 มากถึง 240 ล้านบาท ทำให้ยอด YTD พลิกจากขายเป็นซื้อ 98 ล้านบาท
- EPG (เออีซี) "ซื้อ"เป้า 9.2 บาท ช่วง Q4/60-61 กำไรปกติโต 36.2%QoQ หนุนด้วยยอดขายอะไหล่ยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นและเริ่มรวมงบ Flexiglass เต็มไตรมาสครั้งแรกบวกกับยอดขายบรรจุภัณฑ์ที่เริ่มฟื้นตัวส่วนทั้งปี 61-62 คาดกำไรปกติโต 25.9%YoY จากพัฒนาการเชิงบวกของทั้ง 3 ธุรกิจหลักที่สดใสขึ้น และราคาหุ้นยังมี Upside 26.5% และมีเงินปันผลจ่าย 0.15 บาท คิดเป็น Div.Yield 2.1% (XD 6 ส.ค. และจ่ายปันผล 23 ส.ค.)
- AMATA (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 30 บาท กลุ่มนิคมมีภาพการเติบโตที่ชัดเจนมากขึ้น หลัง พ.ร.บ. EEC มีผลบังคับใช้ ทำให้ยอดขายที่ดินทั้งปีนี้ของ AMATA น่าจะทะลุเป้าที่ 925 ไร่ได้ไม่ยาก และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ตามมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านโลจิสติกส์ของภาครัฐฯ นอกจากนี้ความเสี่ยงต่ำ โดย PE2561-62 อยู่ที่ 12-14 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 16 เท่า และกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีมีธุรกิจสาธารณูปโภคช่วยจำกัด Downside อยู่ราว 35% ของกำไรรวม ส่วน NVDR ซื้อสุทธิใน พ.ค. 61 มากถึง 240 ล้านบาท ทำให้ยอด YTD พลิกจากขายเป็นซื้อ 98 ล้านบาท
- EPG (เออีซี) "ซื้อ"เป้า 9.2 บาท ช่วง Q4/60-61 กำไรปกติโต 36.2%QoQ หนุนด้วยยอดขายอะไหล่ยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นและเริ่มรวมงบ Flexiglass เต็มไตรมาสครั้งแรกบวกกับยอดขายบรรจุภัณฑ์ที่เริ่มฟื้นตัวส่วนทั้งปี 61-62 คาดกำไรปกติโต 25.9%YoY จากพัฒนาการเชิงบวกของทั้ง 3 ธุรกิจหลักที่สดใสขึ้น และราคาหุ้นยังมี Upside 26.5% และมีเงินปันผลจ่าย 0.15 บาท คิดเป็น Div.Yield 2.1% (XD 6 ส.ค. และจ่ายปันผล 23 ส.ค.)
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ วิตกการเมืองอิตาลี,สเปน
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงเกือบ 400 จุดเมื่อคืน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลีและสเปน
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,051.97 จุด ลดลง 306.46 จุด, -1.37% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,081.14 จุด ลดลง 39.32 จุด, -1.26% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,109.37 จุด ลดลง 375.21 จุด, -1.23% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,925.21 จุด ลดลง 38.91 จุด, -0.35% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,446.81 จุด ลดลง 10.44 จุด, -0.42% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,453.48 จุด ลดลง 65.00 จุด, -1.85% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,759.56 จุด ลดลง 16.28 จุด, -0.92% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,575.38 จุด ลดลง 26.98 จุด, -0.35%
นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ประสบความล้มเหลวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,051.97 จุด ลดลง 306.46 จุด, -1.37% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,081.14 จุด ลดลง 39.32 จุด, -1.26% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,109.37 จุด ลดลง 375.21 จุด, -1.23% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,925.21 จุด ลดลง 38.91 จุด, -0.35% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,446.81 จุด ลดลง 10.44 จุด, -0.42% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,453.48 จุด ลดลง 65.00 จุด, -1.85% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,759.56 จุด ลดลง 16.28 จุด, -0.92% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,575.38 จุด ลดลง 26.98 จุด, -0.35%
นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ประสบความล้มเหลวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 97.64 จุด วิตกการเมืองอิตาลีไร้ทิศทาง
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (29 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของอิตาลี รวมทั้งความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอิตาลีอาจเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,632.64 จุด ลดลง 97.64 จุด หรือ -1.26%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ร่วงลง 3.4% หลังจากสำนักข่าวสกายของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษเตรียมขายหุ้นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ที่ถือครองอยู่ในธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
หุ้นดิกซอนส์ คาร์โฟน ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องไฟฟ้าและโทรศัพท์ ดิ่งลง 21% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรก่อนหักภาษีในปีงบการเงิน 2562
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,632.64 จุด ลดลง 97.64 จุด หรือ -1.26%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ร่วงลง 3.4% หลังจากสำนักข่าวสกายของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษเตรียมขายหุ้นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ที่ถือครองอยู่ในธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
หุ้นดิกซอนส์ คาร์โฟน ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องไฟฟ้าและโทรศัพท์ ดิ่งลง 21% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรก่อนหักภาษีในปีงบการเงิน 2562
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดร่วง หวั่นการเมืองอิตาลี,สเปนกระทบเสถียรภาพยูโรโซน
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (29 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิตาลีและสเปนอาจส่งผลให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพในยูโรโซน รวมทั้งแนวโน้มที่รัฐบาลอิตาลีอาจผิดนัดชำระหนี้เป็นจำนวนมาก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.37% ปิดที่ 384.47 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,438.06 จุด ลดลง 70.87 จุด หรือ -1.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,666.51 จุด ลดลง 196.95 จุด หรือ -1.53% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,632.64 จุด ลดลง 97.64 จุด หรือ -1.26%
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่รัฐบาลอิตาลีอาจผิดนัดชำระหนี้ของประเทศที่สูงถึง 2.3 ล้านล้านยูโร (2.68 ล้านล้านดอลลาร์)
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยคาดว่านายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ร่วงลง 3.4% หลังจากสำนักข่าวสกายของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษเตรียมขายหุ้นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ที่ถือครองอยู่ในธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
หุ้นดิกซอนส์ คาร์โฟน ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องไฟฟ้าและโทรศัพท์ ดิ่งลง 21% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรก่อนหักภาษีในปีงบการเงิน 2562
หุ้นกลุ่มธนาคารของอิตาลีปรับตัวลง โดยหุ้นอินเทซา ซานเปาโล ร่วงลง 4.1% หุ้นยูเนียน เดอ บองช์ อิตาลี ร่วงลง 4.9% และหุ้นยูนิเครดิต ร่วงลง 5.6%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.37% ปิดที่ 384.47 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,438.06 จุด ลดลง 70.87 จุด หรือ -1.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,666.51 จุด ลดลง 196.95 จุด หรือ -1.53% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,632.64 จุด ลดลง 97.64 จุด หรือ -1.26%
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่รัฐบาลอิตาลีอาจผิดนัดชำระหนี้ของประเทศที่สูงถึง 2.3 ล้านล้านยูโร (2.68 ล้านล้านดอลลาร์)
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยคาดว่านายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ร่วงลง 3.4% หลังจากสำนักข่าวสกายของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษเตรียมขายหุ้นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ที่ถือครองอยู่ในธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
หุ้นดิกซอนส์ คาร์โฟน ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องไฟฟ้าและโทรศัพท์ ดิ่งลง 21% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรก่อนหักภาษีในปีงบการเงิน 2562
หุ้นกลุ่มธนาคารของอิตาลีปรับตัวลง โดยหุ้นอินเทซา ซานเปาโล ร่วงลง 4.1% หุ้นยูเนียน เดอ บองช์ อิตาลี ร่วงลง 4.9% และหุ้นยูนิเครดิต ร่วงลง 5.6%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 391.64 จุด วิตกการเมืองอิตาลี,สเปน
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 400 จุดเมื่อคืนนี้ (29 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลีและสเปน ขณะที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้หนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับผลกระทบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,361.45 จุด ร่วงลง 391.64 จุด หรือ -1.58% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,689.86 จุด ลดลง 31.47 จุด หรือ -1.16% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,396.59 จุด ลดลง 37.26 จุด หรือ -0.50%
นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ประสบความล้มเหลวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับปัจจัยการเมืองในอิตาลีและสเปน โดยแรงซื้อพันธบัตรส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาพันธบัตรและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
ทั้งนี้ หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 3.4% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ดิ่งลง 5.8% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ร่วงลง 4.3% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ดิ่งลง 4% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลงกว่า 4% หุ้นสเตท สตรีท คอร์ป ร่วงลง 5.4% และหุ้นพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล ปรับตัวลง 5%
หุ้นอาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง ปรับตัวลง 0.6% หลังจากมีรายงานว่า ไช่เหนียว เน็ตเวิร์ค ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ในเครืออาลีบาบา ได้เข้าลงทุนมูลค่า 1.38 พันล้านดอลลาร์ ในบริษัทแซททีโอ เอ็กซ์เพรส (เคย์แมน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขนส่งของจีน
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านดีดตัวขึ้น หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐเพิ่มขึ้น 6.5% ในเดือนมี.ค. โดยหุ้นดีอาร์ ฮอร์ตัน ปรับตัวขึ้น 0.9% ขณะที่หุ้นพัลทธ์กรุ๊ป เพิ่มขึ้น 0.7%
นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการจัดประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐและเกาหลีเหนือ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ทวีตข้อความล่าสุดว่า นายคิม ยอง ชอล รองประธานคณะกรรมาธิการพรรคแรงงานเกาหลีเหนือ กำลังเดินทางมายังสหรัฐ เพื่อหารือกับนายไมค์ ปอมเปโอ รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดระหว่างปธน.ทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค.จาก ADP, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 (ประมาณการครั้งที่ 2), สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนเม.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และยอดขายรถยนต์เดือนพ.ค.
--อินโฟเควสท์
OO9353
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,361.45 จุด ร่วงลง 391.64 จุด หรือ -1.58% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,689.86 จุด ลดลง 31.47 จุด หรือ -1.16% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,396.59 จุด ลดลง 37.26 จุด หรือ -0.50%
นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจในการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ และเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ประสบความล้มเหลวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ถ้าหากรัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับปัจจัยการเมืองในอิตาลีและสเปน โดยแรงซื้อพันธบัตรส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาพันธบัตรและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
ทั้งนี้ หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 3.4% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ดิ่งลง 5.8% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ร่วงลง 4.3% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ดิ่งลง 4% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลงกว่า 4% หุ้นสเตท สตรีท คอร์ป ร่วงลง 5.4% และหุ้นพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล ปรับตัวลง 5%
หุ้นอาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง ปรับตัวลง 0.6% หลังจากมีรายงานว่า ไช่เหนียว เน็ตเวิร์ค ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ในเครืออาลีบาบา ได้เข้าลงทุนมูลค่า 1.38 พันล้านดอลลาร์ ในบริษัทแซททีโอ เอ็กซ์เพรส (เคย์แมน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขนส่งของจีน
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านดีดตัวขึ้น หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐเพิ่มขึ้น 6.5% ในเดือนมี.ค. โดยหุ้นดีอาร์ ฮอร์ตัน ปรับตัวขึ้น 0.9% ขณะที่หุ้นพัลทธ์กรุ๊ป เพิ่มขึ้น 0.7%
นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการจัดประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐและเกาหลีเหนือ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ทวีตข้อความล่าสุดว่า นายคิม ยอง ชอล รองประธานคณะกรรมาธิการพรรคแรงงานเกาหลีเหนือ กำลังเดินทางมายังสหรัฐ เพื่อหารือกับนายไมค์ ปอมเปโอ รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดระหว่างปธน.ทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค.จาก ADP, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 (ประมาณการครั้งที่ 2), สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนเม.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และยอดขายรถยนต์เดือนพ.ค.
--อินโฟเควสท์
OO9353