- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 25 April 2018 12:00
- Hits: 1372
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงกรอบจำกัด แม้กังวล Bond Yield สหรัฐฯพุ่ง,ลุ้นบาทอ่อนเอื้อต่อส่งออกไทย
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ไม่น่าจะปรับตัวลงมาก แม้ว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะติดลบกัน จากความกังวลอัตราผลตอบแทนพันธบัตร(Bond Yield) ของสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นไปทะลุ 3% มองว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น
การปรับขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯยังมองว่าไม่น่ากังวลมากนัก เพราะเป็นความสอดคล้องตามเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อีกทั้งขึ้นตามราคาน้ำมันด้วย ซึ่งหากมองเงินเฟ้อสหรัฐฯก็ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของหสรัฐฯ ที่เอื้อต่อเศรษฐกิจที่ขยายตัว
ทั้งนี้ มองว่าตลาดบ้านเราไม่น่าจะตอบรับมาก ซึ่งหากมองที่ Bond Yield ของไทยก็มีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปตามสหรัฐฯบ้าง เพียงแต่ตอนนี้เงินเฟ้อของเราต่ำ ซึ่งหากมีการปรับขึ้น Bond Yield ของไทย ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจขายตราสารหนี้ออกมา และเมื่อใดที่ Bond Yield สูงขึ้น ก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่า ดังนั้น จะมีผลต่อกลุ่มส่งออก อย่างไรก็ดี หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธนาคาร
พร้อมแนะนำให้ทยอยเก็บหุ้นในกลุ่มธนาคาร เพราะที่สุดแล้วก็จะได้รับประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,780-1,800 จุด
ทั้งนี้ มองว่าตลาดบ้านเราไม่น่าจะตอบรับมาก ซึ่งหากมองที่ Bond Yield ของไทยก็มีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปตามสหรัฐฯบ้าง เพียงแต่ตอนนี้เงินเฟ้อของเราต่ำ ซึ่งหากมีการปรับขึ้น Bond Yield ของไทย ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจขายตราสารหนี้ออกมา และเมื่อใดที่ Bond Yield สูงขึ้น ก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่า ดังนั้น จะมีผลต่อกลุ่มส่งออก อย่างไรก็ดี หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธนาคาร
พร้อมแนะนำให้ทยอยเก็บหุ้นในกลุ่มธนาคาร เพราะที่สุดแล้วก็จะได้รับประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,780-1,800 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (24 เม.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,024.13 จุด ร่วงลง 424.56 จุด (-1.74%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,634.56 จุด ลดลง 35.73 จุด (-1.34%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,007.35 จุด ลดลง 121.25 จุด (-1.70%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 159.50 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 16.53 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 149.38 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 37.67 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 19.95 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 22.19 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.86 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (24 เม.ย.61) 1,788.20 จุด ลดลง 1.94 จุด (-0.11%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,676.18 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 เม.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (24 เม.ย.61) ปิดที่ระดับ 67.70ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 94 เซนต์ หรือ 1.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (24 เม.ย.61) ที่ 6.19 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.47 แนวโน้มยังอ่อนค่า มองกรอบ 31.40-31.55 หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง
- คสช.เห็นชอบออก ม.44 ช่วยทีวีดิจิทัล เคาะ 3 แนวทาง "พักชำระ 3 งวด -ลดค่าเช่าโครงข่าย 50%-เปิดทาง"ขายไลเซ่นส์" ด้าน "สุภาพ" ออกโรงหนุนเปรียบมาตรการเหมือนบันไดหนีไฟ ช่วยสภาพคล่องดีรอวันเศรษฐกิจฟื้น โบรกฯชี้ช่อง 3 ได้ประโยชน์สุด หุ้นพุ่งขานรับทั้งกลุ่ม ขณะที่ราชกิจกาฯเผยแพร่คำสั่ง "ประยุทธ์" ล้มสรรหา กสทช.ให้ชุดเดิมทำหน้าที่ยาว
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหวังเปิดประมูลเอราวัณ-บงกชจะทำให้ราคาก๊าซฯต่ำลง เป็นผลดีลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน เหตุกำหนดเงื่อนไขให้คะแนน 65% ยึดราคาก๊าซถูก ส่วนกำไรที่จะเสนอให้รัฐให้น้ำหนักเพียง 25% เปิดดาวน์โหลดข้อมูลได้วันนี้ (25 เม.ย.) เผย 28 พ.ค.นี้ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ ก่อนให้เสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ให้รัฐ
- สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 61 (ม.ค.-มิ.ย.) คาดว่า ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 19.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13% สร้างรายได้สูงถึง 1.16 ล้านล้านบาท และสูงกว่าปีก่อนถึง 16% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายรวมตลอดทั้งปีที่ตั้งเป้าหมายไว้ 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติยังเดินทางเที่ยวไทยต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชีย อย่างจีน ที่เพิ่มขึ้นถึง 30% อินเดีย เติบโต 15% ส่วนนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ที่มีการใช้จ่ายสูง อย่างสหรัฐ เติบโต 9% แม้มีแรงกดดันจากปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศ และค่าเงินบาทแข็งค่าก็ตาม
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยทางศูนย์ฯ ได้ศึกษาผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายใช้มาตรการทางภาษีกีดกันสินค้าระหว่างกันพบว่าทั้ง 2 ประเทศจะหันมานำเข้าสินค้าจากไทยเข้าไปทดแทนมากขึ้นและจะส่งผลให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 8,072-20,180 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.10-0.25% ของการส่งออกไทย และมีผลต่อจีดีพี 0.01-0.04%
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (24 เม.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,024.13 จุด ร่วงลง 424.56 จุด (-1.74%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,634.56 จุด ลดลง 35.73 จุด (-1.34%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,007.35 จุด ลดลง 121.25 จุด (-1.70%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 159.50 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 16.53 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 149.38 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 37.67 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 19.95 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 22.19 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.86 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (24 เม.ย.61) 1,788.20 จุด ลดลง 1.94 จุด (-0.11%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,676.18 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 เม.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (24 เม.ย.61) ปิดที่ระดับ 67.70ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 94 เซนต์ หรือ 1.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (24 เม.ย.61) ที่ 6.19 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.47 แนวโน้มยังอ่อนค่า มองกรอบ 31.40-31.55 หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง
- คสช.เห็นชอบออก ม.44 ช่วยทีวีดิจิทัล เคาะ 3 แนวทาง "พักชำระ 3 งวด -ลดค่าเช่าโครงข่าย 50%-เปิดทาง"ขายไลเซ่นส์" ด้าน "สุภาพ" ออกโรงหนุนเปรียบมาตรการเหมือนบันไดหนีไฟ ช่วยสภาพคล่องดีรอวันเศรษฐกิจฟื้น โบรกฯชี้ช่อง 3 ได้ประโยชน์สุด หุ้นพุ่งขานรับทั้งกลุ่ม ขณะที่ราชกิจกาฯเผยแพร่คำสั่ง "ประยุทธ์" ล้มสรรหา กสทช.ให้ชุดเดิมทำหน้าที่ยาว
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหวังเปิดประมูลเอราวัณ-บงกชจะทำให้ราคาก๊าซฯต่ำลง เป็นผลดีลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน เหตุกำหนดเงื่อนไขให้คะแนน 65% ยึดราคาก๊าซถูก ส่วนกำไรที่จะเสนอให้รัฐให้น้ำหนักเพียง 25% เปิดดาวน์โหลดข้อมูลได้วันนี้ (25 เม.ย.) เผย 28 พ.ค.นี้ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ ก่อนให้เสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ให้รัฐ
- สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 61 (ม.ค.-มิ.ย.) คาดว่า ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 19.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13% สร้างรายได้สูงถึง 1.16 ล้านล้านบาท และสูงกว่าปีก่อนถึง 16% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายรวมตลอดทั้งปีที่ตั้งเป้าหมายไว้ 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติยังเดินทางเที่ยวไทยต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชีย อย่างจีน ที่เพิ่มขึ้นถึง 30% อินเดีย เติบโต 15% ส่วนนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ที่มีการใช้จ่ายสูง อย่างสหรัฐ เติบโต 9% แม้มีแรงกดดันจากปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศ และค่าเงินบาทแข็งค่าก็ตาม
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยทางศูนย์ฯ ได้ศึกษาผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายใช้มาตรการทางภาษีกีดกันสินค้าระหว่างกันพบว่าทั้ง 2 ประเทศจะหันมานำเข้าสินค้าจากไทยเข้าไปทดแทนมากขึ้นและจะส่งผลให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 8,072-20,180 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.10-0.25% ของการส่งออกไทย และมีผลต่อจีดีพี 0.01-0.04%
*หุ้นเด่นวันนี้
- SYNEX (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 20 บาท คาดกำไรสุทธิ Q1/61 โต 13% Q-Q และ 25% Y-Y อยู่ที่ 186 ล้านบาท จากรายได้ที่คาดโต 8-10% Y-Y สะท้อนด้วยยอดนำเข้าสินค้าไอที ม.ค.-ก.พ. ที่โตสูง 17% Y-Y อีกทั้ง อัตรากำไรสุทธิจะยืนเหนือ 2% ได้ต่อเนื่องจาก 4Q60 เพราะผลของ Product Mixed และการบริหารคลังสินค้า+เงินทุนหมุนเวียนได้ดีขึ้น ด้าน PE2561 อยู่ที่ 14 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 17 เท่า ขณะที่ ราคาหุ้น -12% YTD ยัง Laggard ทั้ง COM7 +19% YTD และ SIS +13% YTD อยู่มาก ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้แตกต่างกัน
- MONO (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 5.30 บาท คาด Q1/61 เติบโตแข็งแกร่งทั้ง QoQ และ YoY จากค่าโฆษณาที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอันดับเรตติ้ง หลังขึ้นเป็นอันดับ 3 ได้ตลอดช่วง Q1/61 โดยอัตราค่าโฆษณาต่อนาที ถึงเดือนก.พ. 61 อยู่ที่ 35,000 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 25% จากเฉลี่ย 28,000 บาท เมื่อปี 60 ขณะที่ MONO ตั้งเป้าค่าโฆษณาเฉลี่ยปี 61 ที่ 40,000 บาท/นาที พร้อมคาดปี 61 กำไรสุทธิเติบโตแข็งแกร่งกว่า 5 เท่า จากค่าโฆษณาที่เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับการงดออกอากาศในช่วงเดือนตุลาคม เหมือนปี 59 และปี 60
- BLA (กรุงศรี) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 39 บาท ได้ประโยชน์โดยตรงจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐ และของไทยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพอร์ตลงทุนส่วนใหญ่ของบริษัทลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เมื่อ Bond yield สูงขึ้นจะทำให้กำไรจากพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น
- MONO (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 5.30 บาท คาด Q1/61 เติบโตแข็งแกร่งทั้ง QoQ และ YoY จากค่าโฆษณาที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอันดับเรตติ้ง หลังขึ้นเป็นอันดับ 3 ได้ตลอดช่วง Q1/61 โดยอัตราค่าโฆษณาต่อนาที ถึงเดือนก.พ. 61 อยู่ที่ 35,000 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 25% จากเฉลี่ย 28,000 บาท เมื่อปี 60 ขณะที่ MONO ตั้งเป้าค่าโฆษณาเฉลี่ยปี 61 ที่ 40,000 บาท/นาที พร้อมคาดปี 61 กำไรสุทธิเติบโตแข็งแกร่งกว่า 5 เท่า จากค่าโฆษณาที่เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับการงดออกอากาศในช่วงเดือนตุลาคม เหมือนปี 59 และปี 60
- BLA (กรุงศรี) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 39 บาท ได้ประโยชน์โดยตรงจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐ และของไทยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพอร์ตลงทุนส่วนใหญ่ของบริษัทลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เมื่อ Bond yield สูงขึ้นจะทำให้กำไรจากพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ หลังดาวโจนส์ปิดร่วงกว่า 400 จุด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้านี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 400 จุดเมื่อคืน เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 3% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีนั้น จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น และอาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,118.62 จุด ลดลง 159.50 จุด, -0.72% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,112.40 จุด ลดลง 16.53 จุด, -0.53% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,486.86 จุด ลดลง 149.38 จุด, -0.49% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,541.83 จุด ลดลง 37.67 จุด, -0.36% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,444.19 จุด ลดลง 19.95 จุด, -0.81% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,562.37 จุด ลดลง 22.19 จุด, -0.62% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,863.48 จุด ลดลง 1.86 จุด, -0.10%
ตลาดร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นักวิเคราะห์จากบริษัททาวเวอร์ บริดจ์ แอดไวเซอร์กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ความกังวลในเรื่องดังกล่าวยังได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน, เวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น, แคทเธอร์ พิลลาร์ และโคคา-โคล่า ต่างก็เปิดเผยตัวเลขกำไร และรายได้ในไตรมาส 1 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ตลาดร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นักวิเคราะห์จากบริษัททาวเวอร์ บริดจ์ แอดไวเซอร์กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ความกังวลในเรื่องดังกล่าวยังได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน, เวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น, แคทเธอร์ พิลลาร์ และโคคา-โคล่า ต่างก็เปิดเผยตัวเลขกำไร และรายได้ในไตรมาส 1 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: แรงซื้อหุ้นพลังงาน หนุนฟุตซี่ปิดบวก 26.53 จุด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนนี้ (24 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นเหนือระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากรายงานข่าวที่ว่า บริษัททาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ยังคงเดินหน้าเสนอซื้อกิจการของไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของยุโรป
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.40 จุด เพิ่มขึ้น 26.53 จุด หรือ +0.36%
หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 2.3% และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.2%
หุ้นไชร์ ทะยานขึ้น 3.4% หลังจากมีรายงานว่า ทาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ยังคงเดินหน้ายื่นข้อเสนอซื้อกิจการของไชร์ต่อไป โดยมีการคาดการณ์ว่า ทาเคดะอาจเพิ่มข้อเสนอในวงเงินสูงกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ทาเคดะมองว่า การเข้าซื้อกิจการของไชร์จะช่วยผลักดันให้ทาเคดะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจชีวเภสัชกรรมของโลก และมีบทบาทมากขึ้นในตลาดสหรัฐ
หุ้นลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์ กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 13%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า สหราชอาณาจักรมีตัวเลขขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 4.26 หมื่นล้านปอนด์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และยังต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าที่ระดับ 5 หมื่นล้านปอนด์เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 2.3% และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.2%
หุ้นไชร์ ทะยานขึ้น 3.4% หลังจากมีรายงานว่า ทาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ยังคงเดินหน้ายื่นข้อเสนอซื้อกิจการของไชร์ต่อไป โดยมีการคาดการณ์ว่า ทาเคดะอาจเพิ่มข้อเสนอในวงเงินสูงกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ทาเคดะมองว่า การเข้าซื้อกิจการของไชร์จะช่วยผลักดันให้ทาเคดะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจชีวเภสัชกรรมของโลก และมีบทบาทมากขึ้นในตลาดสหรัฐ
หุ้นลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์ กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 13%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า สหราชอาณาจักรมีตัวเลขขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 4.26 หมื่นล้านปอนด์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และยังต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าที่ระดับ 5 หมื่นล้านปอนด์เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง,ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีถดถอย
ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (24 เม.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 3% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีนั้น อาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนเม.ย.
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.02% ปิดที่ 383.11 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,550.82 จุด ลดลง 21.57 จุด หรือ -0.17% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,444.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.61 จุด หรือ +0.10% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.40 จุด เพิ่มขึ้น 26.53 จุด หรือ +0.36%
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังอ่อนแรงลงหลังจาก Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีร่วงลงสู่ระดับ 102.1 ในเดือนเม.ย. หลังจากอยู่ที่ระดับ 103.3 ในเดือนมี.ค. โดยปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 102.8 ขณะที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
หุ้นบังโค ซานตานเดร์ ซึ่งเป็นธนาคารของสเปส ดิ่งลง 3.3% แม้ว่าธนาคารเปิดเผยกำไรสุทธิไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 10% สู่ระดับ 2.51 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
หุ้นเอเอ็มเอส เอจี ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพและเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ร่วงลง 9% หลังบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 2.3% และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.2%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,550.82 จุด ลดลง 21.57 จุด หรือ -0.17% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,444.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.61 จุด หรือ +0.10% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.40 จุด เพิ่มขึ้น 26.53 จุด หรือ +0.36%
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังอ่อนแรงลงหลังจาก Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีร่วงลงสู่ระดับ 102.1 ในเดือนเม.ย. หลังจากอยู่ที่ระดับ 103.3 ในเดือนมี.ค. โดยปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 102.8 ขณะที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
หุ้นบังโค ซานตานเดร์ ซึ่งเป็นธนาคารของสเปส ดิ่งลง 3.3% แม้ว่าธนาคารเปิดเผยกำไรสุทธิไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 10% สู่ระดับ 2.51 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
หุ้นเอเอ็มเอส เอจี ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพและเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ร่วงลง 9% หลังบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 2.3% และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.2%
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 424.56 จุด วิตกบอนด์ยีลด์พุ่งทะลุ 3% หนุนเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ (24 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 3% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีนั้น จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น และอาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงแคทเธอร์พิลลาร์ และล็อคฮีด มาร์ติน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,024.13 จุด ร่วงลง 424.56 จุด หรือ -1.74% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,634.56 จุด ลดลง 35.73 จุด หรือ -1.34% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,007.35 จุด ลดลง 121.25 จุด หรือ -1.70%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นักวิเคราะห์จากบริษัททาวเวอร์ บริดจ์ แอดไวเซอร์กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ความกังวลในเรื่องดังกล่าวยังได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน, เวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น, แคทเธอร์ พิลลาร์ และโคคา-โคล่า ต่างเปิดเผยตัวเลขกำไร และรายได้ในไตรมาส 1 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
หุ้นแคทเธอร์ พิลลาร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปิดตลาดร่วงลง 6.2% หลังจากที่พุ่งขึ้นในช่วงแรก ภายหลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 2.82 ดอลลาร์ มากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 2.13 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ระดับ 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.21 หมื่นล้านดอลลาร์
หุ้นโคคา-โคล่า ร่วงลง 2.1% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 47 เซนต์ ขณะที่มีรายได้ 7.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า บริษัทจะมีกำไรต่อหุ้นที่ระดับ 46 เซนต์ และมีรายได้ 7.34 พันล้านดอลลาร์
หุ้นเวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น ดีดตัวขึ้น 2.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 3.178 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.125 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกำไรต่อหุ้นที่ระดับ 1.17 ดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.10 ดอลลาร์
หุ้นล็อคฮีด มาร์ติน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบ และอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก ร่วงลง 6.1% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 1.164 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.124 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ระดับ 4.02 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.40 ดอลลาร์
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดและอยู่ในความสนใจของนักลงทุนเมื่อคืนนี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 694,000 ยูนิต หลังจากแตะระดับ 667,000 ยูนิตในเดือนก.พ. ขณะที่ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 128.70 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 127 ในเดือนมี.ค. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีจะร่วงลงสู่ระดับ 126
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.001% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.171%
การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินดีดตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการลงทุน และลดการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา และถดถอยในที่สุด ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นักวิเคราะห์จากบริษัททาวเวอร์ บริดจ์ แอดไวเซอร์กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ความกังวลในเรื่องดังกล่าวยังได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน, เวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น, แคทเธอร์ พิลลาร์ และโคคา-โคล่า ต่างเปิดเผยตัวเลขกำไร และรายได้ในไตรมาส 1 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
หุ้นแคทเธอร์ พิลลาร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปิดตลาดร่วงลง 6.2% หลังจากที่พุ่งขึ้นในช่วงแรก ภายหลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 2.82 ดอลลาร์ มากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 2.13 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ระดับ 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.21 หมื่นล้านดอลลาร์
หุ้นโคคา-โคล่า ร่วงลง 2.1% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 47 เซนต์ ขณะที่มีรายได้ 7.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า บริษัทจะมีกำไรต่อหุ้นที่ระดับ 46 เซนต์ และมีรายได้ 7.34 พันล้านดอลลาร์
หุ้นเวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่น ดีดตัวขึ้น 2.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 3.178 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.125 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกำไรต่อหุ้นที่ระดับ 1.17 ดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.10 ดอลลาร์
หุ้นล็อคฮีด มาร์ติน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบ และอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก ร่วงลง 6.1% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 1/2561 ที่ระดับ 1.164 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.124 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ระดับ 4.02 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.40 ดอลลาร์
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดและอยู่ในความสนใจของนักลงทุนเมื่อคืนนี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 694,000 ยูนิต หลังจากแตะระดับ 667,000 ยูนิตในเดือนก.พ. ขณะที่ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 128.70 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 127 ในเดือนมี.ค. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีจะร่วงลงสู่ระดับ 126
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
OO7942