- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Friday, 20 April 2018 11:22
- Hits: 2058
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-สร้างฐานเล็กน้อย หลังราคาน้ำมันย่อตัว-Bond Yield สหรัฐฯพุ่งหวั่นเฟดขึ้นดบ.เร็ว
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ และสร้างฐานเล็กน้อย เนื่องจากราคาน้ำมันได้ย่อตัวลงมาเล็กน้อยราว 0.3% หลังจากที่ขึ้นไปแรง ทำให้หุ้นในกลุ่ม PTT อาจเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง และกลุ่มพลังงานก็คงจะแกว่งตัวเพื่อรอดูผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จะปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีกในวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ (Bond Yield) อายุ 10 ปี ได้พุ่งขึ้นมา 2.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ก็ติดลบกันเล็กน้อย พร้อมให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต (JMMC) ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งจัดขึ้นที่ซาอุดิอาระเบียในวันนี้
พร้อมให้แนวรับ 1,789-1,790 ถัดไป 1,785 บวก/ลบ ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,800-1,810 จุด
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ และสร้างฐานเล็กน้อย เนื่องจากราคาน้ำมันได้ย่อตัวลงมาเล็กน้อยราว 0.3% หลังจากที่ขึ้นไปแรง ทำให้หุ้นในกลุ่ม PTT อาจเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง และกลุ่มพลังงานก็คงจะแกว่งตัวเพื่อรอดูผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จะปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีกในวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ (Bond Yield) อายุ 10 ปี ได้พุ่งขึ้นมา 2.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ก็ติดลบกันเล็กน้อย พร้อมให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต (JMMC) ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งจัดขึ้นที่ซาอุดิอาระเบียในวันนี้
พร้อมให้แนวรับ 1,789-1,790 ถัดไป 1,785 บวก/ลบ ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,800-1,810 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (19 เม.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,664.89 จุด ลดลง 83.18 จุด (-0.34%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,693.13 จุด ลดลง 15.51 จุด (-0.57%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,238.06 จุด ลดลง 57.18 จุด (-0.78%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 42.96 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.92 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 60.50 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 168.80 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 7.51 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 19.88 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.37 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 15.84 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (19 เม.ย.61) 1,794.94 จุด เพิ่มขึ้น 23.38 จุด (+1.32%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,615.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 เม.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (19 เม.ย.61) ปิดที่ระดับ 68.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 18 เซนต์ หรือ 0.3%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (19 เม.ย.61) ที่ 5.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.26 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังดอลล์แข็ง คาดกรอบวันนี้ 31.20-31.30
- "แจ็ค หม่า" เผยร่วมมือไทย หนุนเอสเอ็มอี ท่องเที่ยวไทย เปิดสู่ตลาดสากลเข้าตลาดจีนที่มีกำลังซื้อกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ ในอีก 5 ปี ย้ำจะไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง ด้านอีคอมเมิร์ซไทย หวั่นสินค้าออนไลน์จีนทะลักไทย ประเมินการแข่งหนักกว่าเดิม ระบุหลังอาลีบาบา ซื้อกิจการลาซาด้า สินค้าจีนทะลักอาเซียน แนะ ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว
- สนช.ลงมติไม่คัดเลือกกสทช. ชุดใหม่ หลังพบผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อ 10 คน คุณสมบัติไม่เหมาะสม ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเริ่มสรรหาใหม่อีกรอบ ด้าน"ฐากร"เตรียมถกบอร์ดรักษาการ 23 เม.ย.เดินหน้าประมูลคลื่นฯ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อหรือไม่ ขณะนักวิชาการโทรคมนาคมชี้กระทบประมูลคลื่น เยียวยาทีวีดิจิทัล มือถือ
- 6 ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้รวมกัน 24,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยธนาคารที่กำไรเติบโตสูงสุดคือ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHBANK) มีกำไร 771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จากปี 2557 อยู่ที่ 1.0% มาปี 2558 อยู่ที่ 3.0% ปี 2559 อยู่ที่ 3.3% ปี 2560 อยู่ที่ 3.9% และปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% เป็นการขยายตัวในระดับเต็มศักยภาพ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการ ส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะที่การบริโภคและการลงทุนโดยรวมยังสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี
- ทางหลวงยกทางด่วนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ให้ กทพ.เก็บ ค่าผ่านทางตั้งแต่ ก.ค.นี้ แต่ยังไม่เคาะส่วนแบ่งรายได้ ให้ 2 ฝ่ายตกลงกันแล้วนัดเคลียร์อีกทีสัปดาห์หน้า พร้อมเบรกกรมทางหลวง เรียกค่าเสียหาย 5.4 พันล้านบาท ข้อพิพาทเก็บค่าผ่านทางเส้นดังกล่าว เหตุยังไม่เคยเปิดเก็บค่าผ่านทาง
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (19 เม.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,664.89 จุด ลดลง 83.18 จุด (-0.34%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,693.13 จุด ลดลง 15.51 จุด (-0.57%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,238.06 จุด ลดลง 57.18 จุด (-0.78%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 42.96 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.92 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 60.50 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 168.80 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 7.51 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 19.88 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.37 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 15.84 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (19 เม.ย.61) 1,794.94 จุด เพิ่มขึ้น 23.38 จุด (+1.32%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,615.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 เม.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (19 เม.ย.61) ปิดที่ระดับ 68.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 18 เซนต์ หรือ 0.3%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (19 เม.ย.61) ที่ 5.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.26 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังดอลล์แข็ง คาดกรอบวันนี้ 31.20-31.30
- "แจ็ค หม่า" เผยร่วมมือไทย หนุนเอสเอ็มอี ท่องเที่ยวไทย เปิดสู่ตลาดสากลเข้าตลาดจีนที่มีกำลังซื้อกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ ในอีก 5 ปี ย้ำจะไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง ด้านอีคอมเมิร์ซไทย หวั่นสินค้าออนไลน์จีนทะลักไทย ประเมินการแข่งหนักกว่าเดิม ระบุหลังอาลีบาบา ซื้อกิจการลาซาด้า สินค้าจีนทะลักอาเซียน แนะ ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว
- สนช.ลงมติไม่คัดเลือกกสทช. ชุดใหม่ หลังพบผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อ 10 คน คุณสมบัติไม่เหมาะสม ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเริ่มสรรหาใหม่อีกรอบ ด้าน"ฐากร"เตรียมถกบอร์ดรักษาการ 23 เม.ย.เดินหน้าประมูลคลื่นฯ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อหรือไม่ ขณะนักวิชาการโทรคมนาคมชี้กระทบประมูลคลื่น เยียวยาทีวีดิจิทัล มือถือ
- 6 ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้รวมกัน 24,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยธนาคารที่กำไรเติบโตสูงสุดคือ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHBANK) มีกำไร 771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จากปี 2557 อยู่ที่ 1.0% มาปี 2558 อยู่ที่ 3.0% ปี 2559 อยู่ที่ 3.3% ปี 2560 อยู่ที่ 3.9% และปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% เป็นการขยายตัวในระดับเต็มศักยภาพ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการ ส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะที่การบริโภคและการลงทุนโดยรวมยังสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี
- ทางหลวงยกทางด่วนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ให้ กทพ.เก็บ ค่าผ่านทางตั้งแต่ ก.ค.นี้ แต่ยังไม่เคาะส่วนแบ่งรายได้ ให้ 2 ฝ่ายตกลงกันแล้วนัดเคลียร์อีกทีสัปดาห์หน้า พร้อมเบรกกรมทางหลวง เรียกค่าเสียหาย 5.4 พันล้านบาท ข้อพิพาทเก็บค่าผ่านทางเส้นดังกล่าว เหตุยังไม่เคยเปิดเก็บค่าผ่านทาง
*หุ้นเด่นวันนี้
- U-W4 (ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบมจ. ยู ซิตี้ (U)) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวน 141,895,485,954 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ : 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาการใช้สิทธิ 0.06 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 5 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (16 มี.ค. 2561) ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาทต่อหน่วย กำหนดวันใช้สิทธิครั้งแรก 29 มี.ค.2562 ส่วนวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 15 มี.ค.2566
- BEM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 10 บาท แนวโน้มกำไร Q1/61 เติบโตดีทั้ง Q-Q และ Y-Y จากสถิติผู้โดยสารรถไฟฟ้า +6% Y-Y และรถบนทางด่วนเพิ่มทุกเส้นทาง +2% Y-Y บวกกับมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน พร้อมคาดกำไรปีนี้ +18% Y-Y เป็น 3.7 พันล้านบาท จากต้นทุนที่ลดลงตามการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อเต็มปี นอกจากนี้มีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ล้านบาท ใน Q2/61 รวมถึงมี Upside จากการเปิดประมูลทางด่วน 2 สาย และรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ซึ่ง BEM มีความได้เปรียบเพราะเป็นส่วนต่อเนื่องจากของเดิม
- GULF (เคทีบี) เป้า 80 บาท ประเมินกำไรไตรมาส 1/2561 มีโอกาสเห็น 1,450 ล้านบาท หรือกว่านั้น ซึ่งน่าจะสูงกว่ากำไรที่นักวิเคราะห์มีการประเมินกัน หลัง COD โรงไฟฟ้าเพิ่ม 2 โรง ดันกำลังผลิตโต 8% แถมรับอานิสงส์บาทแข็งค่า ชี้อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ทยอย COD อีกเพียบใน 7 ปีข้างหน้า พร้อมเจรจาลงทุนโครงการใหม่อีก
- AEONTS (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 210 บาท เกาะกระแสสังคมไร้เงินสด (cashless socities) เป็นบวกต่อ Sentiment กลุ่มบัตรเครดิต โดยเลือก AEONTS เป็น TOP pick คาดกำไรสุทธิ Q4 ปี 60/61 จะออกมาที่ 825 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 10% yoy หนุนงบรวมของปี 60/61 เป็น 2,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% yoy ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงราคาปัจจุบันซื้อขายบน forward P/E ปี 61 ที่ 12.6 เท่า ต่ำกว่า KTC ซึ่งซื้อขายที่ P/E 19.3 เท่า
- BEM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 10 บาท แนวโน้มกำไร Q1/61 เติบโตดีทั้ง Q-Q และ Y-Y จากสถิติผู้โดยสารรถไฟฟ้า +6% Y-Y และรถบนทางด่วนเพิ่มทุกเส้นทาง +2% Y-Y บวกกับมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน พร้อมคาดกำไรปีนี้ +18% Y-Y เป็น 3.7 พันล้านบาท จากต้นทุนที่ลดลงตามการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อเต็มปี นอกจากนี้มีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ล้านบาท ใน Q2/61 รวมถึงมี Upside จากการเปิดประมูลทางด่วน 2 สาย และรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ซึ่ง BEM มีความได้เปรียบเพราะเป็นส่วนต่อเนื่องจากของเดิม
- GULF (เคทีบี) เป้า 80 บาท ประเมินกำไรไตรมาส 1/2561 มีโอกาสเห็น 1,450 ล้านบาท หรือกว่านั้น ซึ่งน่าจะสูงกว่ากำไรที่นักวิเคราะห์มีการประเมินกัน หลัง COD โรงไฟฟ้าเพิ่ม 2 โรง ดันกำลังผลิตโต 8% แถมรับอานิสงส์บาทแข็งค่า ชี้อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ทยอย COD อีกเพียบใน 7 ปีข้างหน้า พร้อมเจรจาลงทุนโครงการใหม่อีก
- AEONTS (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 210 บาท เกาะกระแสสังคมไร้เงินสด (cashless socities) เป็นบวกต่อ Sentiment กลุ่มบัตรเครดิต โดยเลือก AEONTS เป็น TOP pick คาดกำไรสุทธิ Q4 ปี 60/61 จะออกมาที่ 825 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 10% yoy หนุนงบรวมของปี 60/61 เป็น 2,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% yoy ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงราคาปัจจุบันซื้อขายบน forward P/E ปี 61 ที่ 12.6 เท่า ต่ำกว่า KTC ซึ่งซื้อขายที่ P/E 19.3 เท่า
ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วง
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดลบเมื่อคืน โดยได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัท ไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพให้บรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เช่น แอปเปิล ได้ออกมาคาดการณ์อุปสงค์ที่อ่อนแอของตลาดสมาร์ทโฟน
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,148.22 จุด ลดลง 42.96 จุด, -0.19% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,105.46 จุด ลดลง 11.92 จุด, -0.38% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,647.94 จุด ลดลง 60.50 จุด, -0.20% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,802.42 จุด ลดลง 168.80 จุด, -1.54% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,478.59 จุด ลดลง 7.51 จุด, -0.30% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,578.85 จุด ลดลง 19.88 จุด, -0.55% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,895.55 จุด เพิ่มขึ้น 0.37 จุด, +0.02% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,698.08 จุด เพิ่มขึ้น 15.84 จุด, +0.21%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงหลังจากที่บริษัท ไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) คาดการณ์ว่ารายได้ในไตรมาส 2 จะอยู่ที่ 7.8-7.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.8 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
ด้านมอร์แกน สแตนลีย์ ระบุว่า ยอดขาย iPhone ของบริษัทแอปเปิลเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ TSMC ระบุตัวเลขคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคา
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 11.58 จุด รับหุ้นเหมืองพุ่ง,เงินปอนด์อ่อนหนุนแรงซื้อ
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ที่ดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคานิกเกิลและอลูมิเนียม นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์ยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนบวก
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,328.92 จุด เพิ่มขึ้น 11.58 จุด หรือ +0.16
ตลาดหุ้นลอนดอนได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์ ซึ่งช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยเงินปอนด์อ่อนค่าลงหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรปรับตัวลง 1.2% ในเดือนมี.ค. ซึ่งลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยได้รับผลกระทบจากยอดขายน้ำมันที่ร่วงลงถึง 7.4% เนื่องจากขณะนั้นเกิดภาวะหิมะตกหนัก จนส่งผลกระทบต่อการเดินทางของผู้บริโภค
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่พุ่งขึ้น โดยหุ้น Evraz ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ พุ่งขึ้น 1.6% ขณะที่หุ้นเกลนคอร์ ดีดตัวขึ้น 1%
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 1.4% และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.9%
หุ้นไชร์ ทะยานขึ้น 5.9% หลังจากไชร์ได้ปฏิเสธข้อเสนอการเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์จากบริษัททาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทยังคงเจรจาต่อรองกันในขณะนี้
หุ้นบริติช อเมริกัน โทแบคโค และหุ้นอิมพีเรียล แบรนด์ส ซึ่งเป็นสองผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 5.4% และ 2.9% ตามลำดับ หลังจากฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งและเป็นผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของสหรัฐได้เปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาด โดยรายงานดังกล่าวยังได้ฉุดหุ้นฟิลลิป มอร์ริส ร่วงลงกว่า 15% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้
หุ้นยูนิลีเวอร์ ร่วงลง 2.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรลดลง 5.2% ในไตรมาสแรกปีนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังได้ประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นในวงเงินสูงถึง 6 พันล้านยูโร (7.43 พันล้านดอลลาร์)
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นพลังงานพุ่ง หนุนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก
ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (19 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด
ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับขึ้น 0.02% ปิดที่ 381.95 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,391.64 จุด เพิ่มขึ้น 11.47 จุด, +0.21% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 7,328.92 จุด เพิ่มขึ้น 11.58 จุด, +0.16% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,567.42 จุด ลดลง 23.41 จุด หรือ -0.19%
หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบเบรนท์ โดยหุ้นบีพี พุ่งขึ้น 1.4% หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.9% หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ทะยานขึ้น 3.8% และหุ้นโททาล เพิ่มขึ้น 1.2%
หุ้นไชร์ ทะยานขึ้น 5.9% หลังจากไชร์ได้ปฏิเสธข้อเสนอการเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์จากบริษัททาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทยังคงเจรจาต่อรองกันในขณะนี้
หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นเช่นกัน นำโดยหุ้นเวียร์ กรุ๊ป ทะยานขึ้น 6.2% หลังจากเวียร์ กรุ๊ป ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัทเอสโค คอร์ป ในสหรัฐ คิดเป็นมูลค่า 1.05 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม หุ้นยูนิลีเวอร์ ร่วงลง 2.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรลดลง 5.2% ในไตรมาสแรกปีนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังได้ประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นในวงเงินสูงถึง 6 พันล้านยูโร (7.43 พันล้านดอลลาร์)
ส่วนหุ้นผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของยุโรปปรับตัวลง โดยหุ้นบริติช อเมริกัน โทแบคโค และหุ้นอิมพีเรียล แบรนด์ส ร่วงลง 5.4% และ 2.9% ตามลำดับ หลังจากฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งและเป็นผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของสหรัฐได้เปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาด โดยรายงานดังกล่าวยังได้ฉุดหุ้นฟิลลิป มอร์ริส ร่วงลงกว่า 15% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ด้วย
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจในวันนี้ โดยเยอรมนีจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค. และยูโรสแตทจะเปิดเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเบื้องต้นเดือนเม.ย.ของกลุ่มยูโรโซน
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 83.18 จุด หลังหุ้นเทคโนโลยีร่วงหนัก
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (19 เม.ย.) โดยได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพให้แก่บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เช่น แอปเปิล ได้ออกมาคาดการณ์อุปสงค์ที่อ่อนแอของตลาดสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ การร่วงลงของหุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงหุ้นฟิลลิป มอร์ริส และหุ้นพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนลบเช่นกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,664.89 จุด ลดลง 83.18 จุด หรือ -0.34% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,693.13 จุด ลดลง 15.51 จุด หรือ -0.57% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,238.06 จุด ลดลง 57.18 จุด หรือ -0.78%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง หลังจากบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) คาดการณ์ว่ารายได้ในไตรมาส 2 จะอยู่ที่ 7.8-7.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.8 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากสงค์ที่อ่อนแอจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
ด้านมอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า ยอดขาย iPhone ของบริษัทแอปเปิลเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ TSMC ระบุตัวเลขคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาด
รายงานดังกล่าวส่งผลให้หุ้นแอปเปิลปิดตลาดร่วงลง 2.8% และได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ ร่วงลง 2.4% หุ้น Nvidia ดิ่งลง 3.1% ส่วนหุ้นของบริษัทที่เป็นซัพพลายเออร์ให้กับแอปเปิลนั้น ร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นสกายเวิร์ค โซลูชั่น ดิ่งลง 5.1% หุ้นควอลคอม ร่วงลง 4.8% หุ้นเซอร์รัส ลอจิค ร่วงลง 3.1% หุ้นบรอดคอม ร่วงลง 2.7% และหุ้นอนาลอก ดีไวเซส ดิ่งลง 4.9%
หุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภคร่วงลง นำโดยหุ้นฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ ดิ่งลงอย่างหนักถึง 15.58% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาด ขณะที่หุ้นพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) ร่วงลง 3.3% หลังจาก P&G ประกาศเข้าซื้อธุรกิจสินค้าเพื่อสุขภาพผู้บริโภคของบริษัทเมิร์ค เคจีเอเอ ผู้ผลิตเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์รายใหญ่ของเยอรมนี ด้วยวงเงิน 4.2 พันล้านดอลลาร์ (3.4 พันล้านยูโร)
หุ้นอเมซอน ดีดตัวขึ้น 1.9% หลังจากนายเจฟฟ์ เบซอส ซีอีโอของอเมซอนเปิดเผยว่า มีผู้สมัครเป็นสมาชิกการบริการ "Amazon Prime" ทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 232,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงสู่ระดับ 230,000 ราย
ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 1,250 ราย สู่ระดับ 231,250 รายในสัปดาห์ที่แล้ว
--อินโฟเควสท์
OO7744