WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ลุ้นเกิดเทคนิคเคิลรีบาวด์ เล็ง Domestic plays เด่นหลังกนง.ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปีนี้
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะเกิดเทคนิคเคิลรีบาวด์ที่บริเวณ 1,780 จุด โดยมองว่าหุ้นพวก Domestic plays จะเด่น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มค้าปลีก, สื่อสาร, โรงพยาบาล เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีนี้ขึ้นเป็น 4.1% จากเดิม 3.9%
ในส่วนของหุ้นกลุ่มแบงก์ที่เมื่อวานนี้ได้ปรับตัวลงไปมากจากความกังวลเรื่องไม่เก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งทางฝ่ายวิจัยได้ประเมินผลกระทบแล้วพบว่ากระทบกำไรของแบงก์ในปี 2561 ประมาณ 4-5% ซึ่งถ้าวันนี้หุ้นในกลุ่มแบงก์ฟื้นตัวขึ้นได้ ก็จะช่วยหนุนให้ดัชนีฯฟื้นตัวขึ้นได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี หุ้นพวก Global plays วันนี้น่าจะพักฐาน เพราะราคาน้ำมันทรงตัว และตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ก็เคลื่อนไหวในลักษณะทรงตัว โดยยังต้องติดตามปัจจัยเดิมในเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่เตรียมจะเจรจากัน และรอดูว่าตลาดสหรัฐฯในส่วนของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีจะหยุดการปรับตัวลงหรือไม่ เพราะล่าสุดยังปรับตัวลงแต่ก็เล็กน้อยเท่านั้น
พร้อมให้แนวรับ 1,780 จุด ส่วนแนวต้าน 1,795 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (28 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,848.42 จุด ลดลง 9.29 จุด (-0.04%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,605.00 จุด ลดลง 7.62 จุด (-0.29%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,949.23 จุด ลดลง 59.58 จุด (-0.85%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 219.65 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 4.97 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 131.65 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 10.00 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.41 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 11.08 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.47 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (28 มี.ค.61) 1,784.99 จุด ลดลง 17.59 จุด (-0.98%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 892.04 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (28 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 64.38
ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 87 เซนต์ หรือ 1.3%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (28 มี.ค.61) ที่ 7.55 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.27 อ่อนค่าตามตลาดโลกรับแรงซื้อดอลลาร์ มองกรอบ 31.20-31.35
- สหพัฒน์ประเมินเศรษฐกิจ ปีนี้แม้ดีกว่าปีก่อนแต่ฟื้นตัวช้า ห่วงการเมือง ปัจจัยเสี่ยงกระทบเชื่อมั่นบริโภค ชี้ไตรมาสแรก อุปโภคบริโภคยัง"อืด" เร่งปรับกลยุทธ์ผนึก "คู่ค้า"โหมตลาดหนัก เข้มบริหารหลังบ้าน เล็ง"ซื้อกิจการ"ลุยธุรกิจใหม่ ดันยอดปีนี้ กลับมาโต 9% โกย 3.4 หมื่นล้านบาท
- การประชุม กนง. เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมติลงคะแนน 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% และได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2561 จากเดิมที่คาดว่าโต 3.9% เพิ่มเป็น 4.1% ขณะเดียวกันให้ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 เติบโต 4.1% เช่นกัน เนื่องจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวดี และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้
- รฟท.เผยทีโออาร์รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ให้เอกชนเข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รับหนี้กว่า 3 หมื่นล้านบาท พร้อมลงทุนซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มและเข้าบริหารเก็บค่าโดยสารได้เต็มตัวหลังเซ็นสัญญา 2 ปี ยืนยันจอดทุกสถานีเหมือนเดิม
- ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า ในปีนี้แนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยบ้านไม่น่าจะมีหรือขึ้นไม่มาก ทั้งนี้คาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวเพิ่ม 6% หรือเพิ่มขึ้นอีกราว 2 แสนล้านบาท จากปีที่แล้วมีการขยายตัว 5.5-6% หรือประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท
*หุ้นเด่นวันนี้
- UKEM-W2 (ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ ของบมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล (UKEM)) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 103,011,586 หน่วย ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาท/หน่วย อายุ 2 ปี มีอัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ที่ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 0.50 บาท กำหนดใช้สิทธิครั้งแรกวันที่ 31 พ.ค.61 และใช้สิทธิครั้งสุดท้าย วันที่ 14 มี.ค.63
- MONO (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 5.30 บาท คาด Q1/61 เติบโตแข็งแกร่งทั้ง QoQ และ YoY จากค่าโฆษณาที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอันดับเรตติ้ง หลังขึ้นเป็นอันดับ 3 ได้ตลอดช่วง Q1/61 โดยอัตราค่าโฆษณาต่อนาทีเพิ่มขึ้น ขณะที่ MONO ตั้งเป้าค่าโฆษณาเฉลี่ยปี 61 ที่ 40,000 บาท/นาที พร้อมคาดปี 61 กำไรสุทธิเติบโตแข็งแกร่งกว่า 5 เท่า จากค่าโฆษณาที่เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับการงดออกอากาศในช่วงเดือนตุลาคม เหมือนปี 59 และปี 60
- CPN (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 93 บาท ผลประกอบการจะสดใสตั้งแต่ Q1/61 เพราะคอนโด Escent แห่งแรกที่ระยองเริ่มโอนตั้งแต่ มี.ค. และรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากเซ็นทรัลโคราชและมหาชัยซึ่งเป็นฤดูจับจ่ายและท่องเที่ยว ชดเชยรายได้จาก CTW ที่ปิดปรับปรุงบางส่วน เบื้องต้นคาดกำไร Q1/61 +15% Q-Q, +2% Y-Y เป็น 2.8 พันล้านบาท กำไรในช่วงที่เหลือของปีอยู่ในทิศทางขาขึ้นจากคอนโดอีก 2 แห่งที่จะโอน และเปิดห้างใหม่อย่างน้อย 2 แห่ง ส่วนห้างที่ 3 คาดเผยภายใน Q2/61 ปัจจุบันมี PE 27 เท่า EV/EBITDA 19 เท่า สูงกว่า Regional peers ที่ 18 เท่าและ 13 เท่าตามลำดับ แต่ถือว่าเหมาะสม เพราะกำไรปีนี้ที่คาด +22% Y-Y สูงกว่าภูมิภาคที่ 15% Y-Y มาก
- HTC (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 35 บาท เก็งกำไรราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลง 12.2 เซนต์/ปอนด์ ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี เป็นบวกกับกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากปัจจุบันไทยประกาศให้ราคาขายในประเทศลอยตัวตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก โดยมอง HTC ได้ประโยชน์มากสุด โดยทุก ๆ 1 บาท ที่ราคาน้ำตาลในประเทศลดลงจะเพิ่มกำไรให้กับ HTC ประมาณ 60 ล้านบาท

ตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้นเช้านี้ ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสดใส
      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในเช้าวันนี้ โดยการนำของตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ได้แรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นตลาดยังขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,250.96 จุด เพิ่มขึ้น 219.65 จุด, +1.04% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,127.26 จุด เพิ่มขึ้น 4.97 จุด, +0.16% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,154.18 จุด เพิ่มขึ้น 131.65 จุด, +0.44% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,855.66 จุด ลดลง 10.00 จุด, -0.09%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,421.70 จุด เพิ่มขึ้น 2.41 จุด, +0.10% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,393.86 จุด เพิ่มขึ้น 11.08 จุด, +0.33% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,859.34 จุด เพิ่มขึ้น 1.47 จุด, +0.08%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการขั้นสุดท้าย ของ GDP ประจำไตรมาส 4/2560 โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.9% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่ระดับ 2.5% และตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 2.6%
ทางด้านสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ปรับตัวขึ้น 3.1% สู่ระดับ 107.5 ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ดัชนีดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 3 ปี

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 44.60 จุด รับหุ้นไชร์พุ่งแรง,เงินปอนด์อ่อนค่า
     ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ รวมทั้งการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงหุ้นยูนิลีเวอร์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากสกุลเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลง ซึ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มบริษัทข้ามชาติปรับตัวขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,044.74 จุด เพิ่มขึ้น 44.60 จุด หรือ +0.64%
หุ้นไชร์ พุ่งขึ้น 15.6% หลังจากมีรายงานว่า ทาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ของญี่ปุ่น กำลังพิจารณาเข้าซื้อกิจการของไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง
หุ้นยูนิลีเวอร์ ดีดตัวขึ้น 4.7% หลังจากนักวิเคราะห์ของยูบีเอสได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นยูนิลีเวอร์ขึ้นสู่ระดับ "buy" จากระดับ "neutral"
หุ้นแอสโซซิเอทเต็ด บริติช ฟู้ดส์ (ABF) พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของ ABF ขึ้นสู่ระดับ "equal weight" จากระดับ "overweight"
ตลาดหุ้นลอนดอนได้ปัจจัยหนุนจากเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลง ซึ่งช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลในด้านบวกต่อบริษัทเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นบีพี ขยับลง 0.8% หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก รับหุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพพุ่งแรง
      ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 มี.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพ นำโดยหุ้นไชร์ พีแอลซี และกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งแรงซื้อหุ้นกลุ่มเหล่านี้ได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มพลังงาน
ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.5% ปิดที่ 369.26 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,130.44 จุด เพิ่มขึ้น 14.70 จุด หรือ +0.29% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,044.74 จุด เพิ่มขึ้น 44.60 จุด หรือ +0.64% และดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,940.71 จุด ลดลง 30.12 จุด หรือ -0.25%
หุ้นไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ พุ่งขึ้น 15.6% หลังจากมีรายงานว่า ทาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ของญี่ปุ่น กำลังพิจารณาเข้าซื้อกิจการของไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง
หุ้นยูนิลีเวอร์ ดีดตัวขึ้น 4.7% หลังจากนักวิเคราะห์ของยูบีเอสได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นยูนิลีเวอร์ขึ้นสู่ระดับ "buy" จากระดับ "neutral"
หุ้นแอสโซซิเอทเต็ด บริติช ฟู้ดส์ (ABF) พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของ ABF ขึ้นสู่ระดับ "equal weight" จากระดับ "overweight"
ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงตามทิศทางตลาดวอลล์สตรีท โดยหุ้นเอเอ็มเอส เอจี ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ร่วงลง 9.8% หุ้นเอสทีเอ็มไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ดิ่งลง 5.3% หุ้นเอเอสเอ็มแอล ร่วงลง 4.5% และหุ้นอินฟิเนียน เทคโนโลยีส์ ร่วงลง 4%
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นบีพี ขยับลง 0.8% หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 1%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุด สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส (Insee) รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 100 ซึ่งทรงตัวจากสถิติเดือนก.พ. และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า ความเชื่อมั่นจะทรงตัวที่ระดับ 100 เช่นกัน

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 9.29 จุด เหตุหุ้นเทคโนฯร่วงต่อเนื่อง,หุ้นอเมซอนดิ่งหนัก
        ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (28 มี.ค.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าทุบขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ การดิ่งลงอย่างหนักของหุ้นอเมซอนยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนลบเช่นกัน โดยการร่วงลงของหุ้นเหล่านี้ได้สกัดปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 4/2560
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,848.42 จุด ลดลง 9.29 จุด หรือ -0.04% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,605.00 จุด ลดลง 7.62 จุด หรือ -0.29% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,949.23 จุด ลดลง 59.58 จุด หรือ -0.85%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวนเมื่อคืนนี้ เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังคงถูกเทขาย อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่า ทางการสหรัฐอาจใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อบริษัทเทคโนโลยี เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมทั้งรายงานงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์กซึ่งระบุว่า คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ กำลังพิจารณาจำกัดการลงทุนจากจีนในภาคเทคโนโลยีของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยี 5G โดยการควบคุมดังกล่าวจะดำเนินการภายใต้กฎหมายควบคุมสถานการณ์พิเศษแห่งชาติ
ในบรรดาหุ้นเทคโนโลยีที่ร่วงลงเมื่อคืนนี้ หุ้นแอปเปิล ร่วงลง 1.1% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ดิ่งลง 4.96% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ปรับตัวลง 0.17% ส่วนหุ้นเฟซบุ๊ก ขยับขึ้น 0.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยแนวทางการปรับปรุงการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก
หุ้นอเมซอน ร่วงลง 6.7% ส่งผลให้มูลค่าทางตลาดของอเมซอนลดลงกว่า 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ หลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณว่าต้องการครอบครองบริษัทค้าปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ในเวลาต่อมาว่า คณะทำงานของปธน.ทรัมป์ยังไม่ได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวในขณะนี้
หุ้นเทสลา มอเตอร์ ร่วงลง 7.7% หลังจากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทเทสลา ลงสู่ระดับ B3 จากระดับ B2 อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพคล่อง และจากการที่คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐได้ทำการสอบสวนกรณีผู้ใช้รถยนต์เทสลาประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
หุ้น Nvidia ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ ร่วงลง 1.9% หลังจากบริษัทประกาศระงับการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับ ภายหลังจากรถยนต์ไร้คนขับของอูเบอร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเรียกใช้พาหนะตามสั่ง (ODM) ประสบอุบัติเหตุจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในรัฐแอริโซนา
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 1.2% หุ้นเชฟรอน ร่วงลง 2.2% หุ้นมาราธอน ออยล์ ดิ่งลง 3.1% และหุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ร่วงลง 1.7%
ทั้งนี้ แรงขายที่ส่งเข้าฉุดหุ้นต่างๆเหล่านี้ ได้สกัดปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการขั้นสุดท้าย ของตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2560 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 2.9% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่ระดับ 2.5% และตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 2.6%
ทางด้านสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ปรับตัวขึ้น 3.1% สู่ระดับ 107.5 ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ดัชนีดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 3 ปี
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้และเป็นที่จับตาของนักลงทุน ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
--อินโฟเควสท์
OO7182

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!