- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Thursday, 22 March 2018 11:33
- Hits: 2726
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้รีบาวด์ตามภูมิภาคหลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง-ราคาน้ำมันขยับขึ้นหนุน
นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะรีบาวด์ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่อยู่ในแดนบวก หลังผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมาไม่ได้แย่อย่างที่คิด โดยสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ยังคงเป็น 3 ครั้ง
นอกจากนั้น เฟดยังคงเป้าหมายตัวเลขเงินเฟ้อ แสดงให้เห็นว่าไม่ได้กังวลมากนัก และมีการปรับเพิ่มเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐฯในปีนี้ จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.5% เป็น 2.7% และในปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 2.9% จากเดิม 2.7%
อีกทั้งราคาน้ำมันวานนี้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อว ซึ่งเป็นผลจากการเข้ามาเล่นเก็งกำไรหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้ไปเยือนสหรัฐฯ ทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น แต่ก็เป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน อย่างหุ้น PTT, PTTEP ส่วน AOT ก็ได้ผลดีจากการท่องเที่ยว ซึ่งวันนี้น่าจะได้เห็นนักลงทุนกล้าเข้ามาเล่นมากขึ้น
ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ตัวเลขการส่งออกและการท่องเที่ยวออกมาดี รวมถึงภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัว พร้อมให้แนวรับ 1,795 จุด ส่วนแนวต้าน 1,812-1,815 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (21 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,682.31 จุด ลดลง 44.96 จุด (-0.18%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.93 จุด ลดลง 5.01 จุด (-0.18%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,345.29 จุด ลดลง 19.02 จุด (-0.26%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 0.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 161.41 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 34.83 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 9.87 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 12.70 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.03 จุด, ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 28.81 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (21 มี.ค.61) 1,801.43 จุด เพิ่มขึ้น 1.59 จุด (+0.09%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,081.62 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (21 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 65.17
ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.63 ดอลลาร์ หรือ 2.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (21 มี.ค.61) ที่ 6.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.16 แข็งค่าตามภูมิภาค จากดอลล์อ่อนหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด
- ส่งออกก.พ.โต 10.3% ขยายตัวดีทุกตลาด อานิสงส์กำลังซื้อโลกพุ่ง สินค้าไทยยังแข่งขันได้ เผย"ยานยนต์"นำโด่งโต 31% "พาณิชย์" ห่วงบาทแข็งฉุดส่งออกสินค้าเกษตร สั่งจับตาใกล้ชิด มั่นใจทั้งปีโตตามเป้า 8% ด้าน "แบงก์ชาติ" ยอมรับขยายตัวเกินคาด เล็งปรับประมาณการปีนี้ใหม่ ขณะ "เอกชน" หวั่นพิษบาทแข็ง ฉุดส่งออกไตรมาส 2 เผยผู้ผลิตที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เริ่มชะลอขายสินค้า รอบาทอ่อน เหตุเสี่ยงขาดทุน
- กระทรวงท่องเที่ยวเผย 2 เดือน ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 7.1 ล้านคน โตเฉียด 15% ไทยโกยรายได้จีน 1.16 แสนล้าน ชี้ยอดเดินทางเข้าเมืองรอง 55 จังหวัดกระเตื้อง คนไทย-ต่างประเทศหนุนโตเกินค่าเฉลี่ย เผยแผนรับงบกลางเล็งปั้นโครงการริเวียร่า-อยุธยา-อีสานใต้ กระจายหนาแน่นจากเมืองหลัก
- ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก.พ. 61 แตะ 89.9 ลดลงครั้งแรกรอบ 4 เดือนจากที่ขึ้นมาต่อเนื่อง เหตุเชื่อมั่นเอสเอ็มอีดิ่งกังวลต้นทุนเพิ่มจากค่าแรงที่จ่อปรับ 1 เม.ย. ค่าเงินผันผวน ผู้ส่งออกกังวลมาตรการกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น ด้านรถยนต์ทิศทางสดใสลุ้นเป้าผลิตปีนี้ได้ 2 ล้านคันจากที่พลาดมาแล้ว 3 ปี
- ท่องเที่ยวคาดสงกรานต์หยุด 5 วันเงินสะพัด 19,820 ล้านบาท ด้าน ททท.หันเจาะตลาดกลุ่มผู้มีบุตรยากในจีน ชูกลุ่มเป้าหมาย 1 ล้านคู่ ชาญอิสสระบุกอสังหาทำเลชะอำ-หัวหิน
นอกจากนั้น เฟดยังคงเป้าหมายตัวเลขเงินเฟ้อ แสดงให้เห็นว่าไม่ได้กังวลมากนัก และมีการปรับเพิ่มเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐฯในปีนี้ จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.5% เป็น 2.7% และในปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 2.9% จากเดิม 2.7%
อีกทั้งราคาน้ำมันวานนี้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อว ซึ่งเป็นผลจากการเข้ามาเล่นเก็งกำไรหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้ไปเยือนสหรัฐฯ ทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น แต่ก็เป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน อย่างหุ้น PTT, PTTEP ส่วน AOT ก็ได้ผลดีจากการท่องเที่ยว ซึ่งวันนี้น่าจะได้เห็นนักลงทุนกล้าเข้ามาเล่นมากขึ้น
ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ตัวเลขการส่งออกและการท่องเที่ยวออกมาดี รวมถึงภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัว พร้อมให้แนวรับ 1,795 จุด ส่วนแนวต้าน 1,812-1,815 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (21 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,682.31 จุด ลดลง 44.96 จุด (-0.18%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.93 จุด ลดลง 5.01 จุด (-0.18%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,345.29 จุด ลดลง 19.02 จุด (-0.26%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 0.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 161.41 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 34.83 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 9.87 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 12.70 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.03 จุด, ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 28.81 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (21 มี.ค.61) 1,801.43 จุด เพิ่มขึ้น 1.59 จุด (+0.09%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,081.62 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (21 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 65.17
ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.63 ดอลลาร์ หรือ 2.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (21 มี.ค.61) ที่ 6.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.16 แข็งค่าตามภูมิภาค จากดอลล์อ่อนหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด
- ส่งออกก.พ.โต 10.3% ขยายตัวดีทุกตลาด อานิสงส์กำลังซื้อโลกพุ่ง สินค้าไทยยังแข่งขันได้ เผย"ยานยนต์"นำโด่งโต 31% "พาณิชย์" ห่วงบาทแข็งฉุดส่งออกสินค้าเกษตร สั่งจับตาใกล้ชิด มั่นใจทั้งปีโตตามเป้า 8% ด้าน "แบงก์ชาติ" ยอมรับขยายตัวเกินคาด เล็งปรับประมาณการปีนี้ใหม่ ขณะ "เอกชน" หวั่นพิษบาทแข็ง ฉุดส่งออกไตรมาส 2 เผยผู้ผลิตที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เริ่มชะลอขายสินค้า รอบาทอ่อน เหตุเสี่ยงขาดทุน
- กระทรวงท่องเที่ยวเผย 2 เดือน ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 7.1 ล้านคน โตเฉียด 15% ไทยโกยรายได้จีน 1.16 แสนล้าน ชี้ยอดเดินทางเข้าเมืองรอง 55 จังหวัดกระเตื้อง คนไทย-ต่างประเทศหนุนโตเกินค่าเฉลี่ย เผยแผนรับงบกลางเล็งปั้นโครงการริเวียร่า-อยุธยา-อีสานใต้ กระจายหนาแน่นจากเมืองหลัก
- ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก.พ. 61 แตะ 89.9 ลดลงครั้งแรกรอบ 4 เดือนจากที่ขึ้นมาต่อเนื่อง เหตุเชื่อมั่นเอสเอ็มอีดิ่งกังวลต้นทุนเพิ่มจากค่าแรงที่จ่อปรับ 1 เม.ย. ค่าเงินผันผวน ผู้ส่งออกกังวลมาตรการกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น ด้านรถยนต์ทิศทางสดใสลุ้นเป้าผลิตปีนี้ได้ 2 ล้านคันจากที่พลาดมาแล้ว 3 ปี
- ท่องเที่ยวคาดสงกรานต์หยุด 5 วันเงินสะพัด 19,820 ล้านบาท ด้าน ททท.หันเจาะตลาดกลุ่มผู้มีบุตรยากในจีน ชูกลุ่มเป้าหมาย 1 ล้านคู่ ชาญอิสสระบุกอสังหาทำเลชะอำ-หัวหิน
*หุ้นเด่นวันนี้
- CHAYO บมจ.ชโย กรุ๊ป เทรดวันนี้วันแรก ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในกลุ่มธุรกิจการเงิน โดยราคาขาย IPO 2.88 บาท/หุ้น กลุ่มบริษัท CHAYO ประกอบธุรกิจ 3 ประเภท ได้แก่ 1) ธุรกิจเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้
ตามเงื่อนไขที่ผู้ว่าจ้างกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ส่วนบุคคล หนี้ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น 2) ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินและบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และ 3) ธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า
- PTTEP (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ทยอยสะสม" เป้า 125 บาท ในระยะสั้นคาดราคาน้ำมันมีโอกาสฟื้นตัว ภายหลังเกิดความกังวลต่อแผนการบริหารภายใต้การดำเนินงานของ Trump อย่างต่อเนื่องส่งผลทางอ้อมกดดันค่าเงินดอลลาร์ สะท้อนการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง ส่งผลให้ระยะสั้นเราคาดเกิด Technical rebound ในราคาน้ำมันดิบ (brent) ที่บริเวณ 65-67 เหรียญ/บาร์เรล พร้อมปรับประมาณการกำไรปี 61-62 ขึ้น 5.2-9.8% เป็น 3.31 และ 3.46 หมื่นล้านบาท จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบขึ้นเป็น 60 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เชิงพื้นฐานคาดกำไร Q1/61 มีแนวโน้มเติบโต QoQ จากราคาขายที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น และต้นทุนต่อหน่วยที่คาดลดลง
- BGRIM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 32 บาท มีมุมมองเชิงบวกต่อแผนการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศต่อเนื่อง โดยคาดกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนในปี 2018-2022 จะเพิ่มเฉลี่ย 12.8% ต่อปี (CAGR) และจะหนุนต่อการเติบโตของกำไรปกติในอัตราเฉลี่ย 22% ต่อปี (CAGR) ในช่วงดังกล่าว โดยคาดกำไรปกติในปีนี้จะโตสูงเกือบ 40% Y-Y อยู่ที่ 2.4 พันลบ. จากโรงไฟฟ้า SPP ใหม่ 3 โรงมีกำหนดทยอย COD ตั้งแต่ Q1/61 อีกทั้ง ยังมีจุดเด่นด้านกระแสเงินสดค่อนข้างมั่นคงจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (PPA) และมี Upside จากโอกาสการลงทุนโครงการใหม่ เช่น โครงการ Solar ในเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้นในกลางปีนี้
- BANPU (ไอร่า) เป้า 28 บาท คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติ (Normalized profit) ในปี 61 อยู่ที่ 10,659 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี จากแนวโน้มราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้น คาดส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานเหมืองถ่านหินของ BANPU ทั้งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยเฉพาะเหมืองถ่านหินที่ออสเตรเลีย คาดผลการดำเนินฟื้นตัวโดดเด่น เนื่องจากเป็นเหมืองใต้ดินที่ต้นทุนผลิตค่อนข้างคงที่ โดยคาดราคาขายถ่านหินสำหรับเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียในปี’61 อยู่ที่ 80 USD/ton เพิ่มขึ้นจาก 75 USD/ton เมื่อปี 60 ขณะที่เราคาดราคาถ่านหินอ้างอิงปี’61 อยู่ที่ 85 USD/ton จากปัจจุบันที่ ประมาณ 100 USD/to
ตามเงื่อนไขที่ผู้ว่าจ้างกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ส่วนบุคคล หนี้ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น 2) ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินและบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และ 3) ธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า
- PTTEP (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ทยอยสะสม" เป้า 125 บาท ในระยะสั้นคาดราคาน้ำมันมีโอกาสฟื้นตัว ภายหลังเกิดความกังวลต่อแผนการบริหารภายใต้การดำเนินงานของ Trump อย่างต่อเนื่องส่งผลทางอ้อมกดดันค่าเงินดอลลาร์ สะท้อนการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง ส่งผลให้ระยะสั้นเราคาดเกิด Technical rebound ในราคาน้ำมันดิบ (brent) ที่บริเวณ 65-67 เหรียญ/บาร์เรล พร้อมปรับประมาณการกำไรปี 61-62 ขึ้น 5.2-9.8% เป็น 3.31 และ 3.46 หมื่นล้านบาท จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบขึ้นเป็น 60 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เชิงพื้นฐานคาดกำไร Q1/61 มีแนวโน้มเติบโต QoQ จากราคาขายที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น และต้นทุนต่อหน่วยที่คาดลดลง
- BGRIM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 32 บาท มีมุมมองเชิงบวกต่อแผนการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศต่อเนื่อง โดยคาดกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนในปี 2018-2022 จะเพิ่มเฉลี่ย 12.8% ต่อปี (CAGR) และจะหนุนต่อการเติบโตของกำไรปกติในอัตราเฉลี่ย 22% ต่อปี (CAGR) ในช่วงดังกล่าว โดยคาดกำไรปกติในปีนี้จะโตสูงเกือบ 40% Y-Y อยู่ที่ 2.4 พันลบ. จากโรงไฟฟ้า SPP ใหม่ 3 โรงมีกำหนดทยอย COD ตั้งแต่ Q1/61 อีกทั้ง ยังมีจุดเด่นด้านกระแสเงินสดค่อนข้างมั่นคงจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (PPA) และมี Upside จากโอกาสการลงทุนโครงการใหม่ เช่น โครงการ Solar ในเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้นในกลางปีนี้
- BANPU (ไอร่า) เป้า 28 บาท คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติ (Normalized profit) ในปี 61 อยู่ที่ 10,659 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี จากแนวโน้มราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้น คาดส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานเหมืองถ่านหินของ BANPU ทั้งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยเฉพาะเหมืองถ่านหินที่ออสเตรเลีย คาดผลการดำเนินฟื้นตัวโดดเด่น เนื่องจากเป็นเหมืองใต้ดินที่ต้นทุนผลิตค่อนข้างคงที่ โดยคาดราคาขายถ่านหินสำหรับเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียในปี’61 อยู่ที่ 80 USD/ton เพิ่มขึ้นจาก 75 USD/ton เมื่อปี 60 ขณะที่เราคาดราคาถ่านหินอ้างอิงปี’61 อยู่ที่ 85 USD/ton จากปัจจุบันที่ ประมาณ 100 USD/to
ตลาดหุ้นเอเชียบวกเช้านี้ หลังที่ประชุมเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในเช้าวันนี้ หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,281.27 จุด เพิ่มขึ้น 0.32 จุด, +0.01% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,575.93 จุด เพิ่มขึ้น 161.41 จุด, +0.51% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,045.90 จุด เพิ่มขึ้น 34.83 จุด, +0.32% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,494.84 จุด เพิ่มขึ้น 9.87 จุด, +0.40% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,523.83 จุด เพิ่มขึ้น 12.70 จุด, +0.36% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,865.83 จุด เพิ่มขึ้น 0.03 จุด, +0.00% ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,352.16 จุด ลดลง 28.81 จุด, -0.13%
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ และเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2558
ขณะเดียวกัน เฟดยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า และ 2 ครั้งในปี 2563
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 2.7% จากเดิมที่ 2.5% และได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้า สู่ระดับ 2.9% จากเดิมที่ระดับ 2.7% ส่วนการขยายตัวในปี 2563 คาดว่าจะชะลอตัวสู่ 2% ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวยังคงอยู่ที่ระดับ 1.8%
ขณะเดียวกัน เฟดยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า และ 2 ครั้งในปี 2563
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 2.7% จากเดิมที่ 2.5% และได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้า สู่ระดับ 2.9% จากเดิมที่ระดับ 2.7% ส่วนการขยายตัวในปี 2563 คาดว่าจะชะลอตัวสู่ 2% ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวยังคงอยู่ที่ระดับ 1.8%
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 22.30 จุด เหตุเงินปอนด์แข็ง,หุ้นค้าปลีกร่วง
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มค้าปลีก รวมทั้งเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้นหลังจากมีรายงานว่า ค่าจ้างในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นในเดือนม.ค. ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,038.97 จุด ลดลง 22.30 จุด หรือ -0.32%
ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น 24,000 คน สู่ระดับ 1.45 ล้านคนในเดือนม.ค. โดยเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
ส่วนค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งรวมโบนัส เพิ่มขึ้น 2.8% โดยเพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนธ.ค. และหากไม่นับรวมโบนัส ค่าจ้างเพิ่มขึ้น 2.6%
หุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลง นำโดยหุ้นคิงฟิสเชอร์ที่ดิ่งลงอย่างหนักถึง 10.7% หลังจากบริษัทได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561 ขณะที่หุ้นเอบี ฟู้ดส์ ดิ่งลง 3.1% หุ้นวิทเบรด ร่วงลง 3% หุ้นมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ ลดลง 0.8% และหุ้นเน็กซ์ ดิ่งลง 2.6%
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มผู้ผลิตเหล็กและทองแดงปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเอฟราซ พีแอลซี พุ่งขึ้น 3.4% และหุ้นอันโตฟากัสตา ปรับตัวขึ้น 2.9%
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ โดยมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ย และคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะจับตาการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลางอังกฤษ
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ นักลงทุนชะลอซื้อขายก่อนรู้ผลประชุมเฟด
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดหุ้นยุโรปได้ปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังปรับตัวลงหลังจากมีรายงานว่า หน่วยงานของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศจัดเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในยุโรป
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.2% ปิดที่ 374.96 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,239.74 จุด ลดลง 12.69 จุด หรือ -0.24% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,038.97 จุด ลดลง 22.30 จุด หรือ -0.32% และดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,309.15 จุด เพิ่มขึ้น 1.82 จุด หรือ +0.01%
นักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมเฟด โดยตลาดหุ้นยุโรปได้ปิดทำการซื้อขายไปก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันนี้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานข่าวที่ว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศจัดเก็บภาษีบริษัทที่ทำธุรกิจดิจิทัล โดยจะเรียกเก็บภาษีจากภูมิภาคที่บริษัทมีรายได้จากการทำธุรกิจ มากกว่าที่จะเก็บภาษีจากภูมิภาคที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
ทั้งนี้ คาดว่าการเก็บภาษีโดยใช้เกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้บริษัทกูเกิล อเมซอน และเฟซบุ๊กต้องเสียภาษีมากขึ้นในยุโรป
หุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลง นำโดยหุ้นคิงฟิสเชอร์ที่ดิ่งลงอย่างหนักถึง 10.7% หลังจากบริษัทได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561 ขณะที่หุ้นเอบี ฟู้ดส์ ดิ่งลง 3.1% หุ้นวิทเบรด ร่วงลง 3% หุ้นมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ ลดลง 0.8% และหุ้นเน็กซ์ ดิ่งลง 2.6%
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มผู้ผลิตเหล็กและทองแดงปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเอฟราซ พีแอลซี พุ่งขึ้น 3.4% และหุ้นอันโตฟากัสตา ปรับตัวขึ้น 2.9%
หุ้นแอร์เมส อินเตอร์เนชั่นแนล ดีดตัวขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ในปีงบการเงิน 2560 พุ่งขึ้น 11% นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้ปรับเพิ่มแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในปีนี้ด้วย
ธนาคารกลางอังกฤษจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยแม้มีการคาดการณ์กันว่า BOE จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ย และคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แต่นักลงทุนจะจับตาการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลางอังกฤษ
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 44.96 จุด หลังเฟดมีมติขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้น หลังจากราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่สองเมื่อคืนนี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านปรับตัวขึ้น ขานรับยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,682.31 จุด ลดลง 44.96 จุด หรือ -0.18% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.93 จุด ลดลง 5.01 จุด หรือ -0.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,345.29 จุด ลดลง 19.02 จุด หรือ -0.26%
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ และเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2558
ขณะเดียวกัน เฟดยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า และ 2 ครั้งในปี 2563
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 2.7% จากเดิมที่ 2.5% และได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้า สู่ระดับ 2.9% จากเดิมที่ระดับ 2.7% ส่วนการขยายตัวในปี 2563 คาดว่าจะชะลอตัวสู่ 2% ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวยังคงอยู่ที่ระดับ 1.8%
นักวิเคราะห์กล่าวว่า หลังจากเฟดเผยมติการประชุมได้ไม่นาน ดัชนีดาวโจนส์ได้ดีดตัวขึ้นสู่แดนบวก เนื่องจากนักลงทุนขานรับการแสดงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของคณะกรรมการเฟด อย่างไรก็ตาม การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นหลังจากเฟดเผยมติการประชุมนั้น ได้กดดันให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดในแดนลบ
หุ้นเจเนอรัล มิลส์ ร่วงลง 8.9% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของวอลล์สตรีท
หุ้นเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส ดิ่งลง 4.8% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์แนวโน้มรายได้ในไตรมาสแรกปีนี้
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้น หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กพุ่งขึ้นกว่า 2% ติดต่อกันเป็นวันที่สองเมื่อคืนนี้ ขานรับสต็อกน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล พุ่งขึ้น 1.4% หุ้นเชฟรอน ทะยานขึ้น 2.2% หุ้นโคโนโคฟิลิปส์ พุ่งขึ้น 4.2% หุ้นวาเลโร เอนเนอร์จี ปรับตัวขึ้น 1% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 3.8% หุ้นมาราธอน ออยล์ ดีดตัวขึ้น 6.8% และหุ้นฮัลลิเบอร์ตัน พุ่งขึ้น 3.5%
ส่วนหุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านปรับตัวขึ้น โดยหุ้นดีอาร์ ฮอร์ตัน พุ่งขึ้น 2.9% และหุ้นเลนนาร์ คอร์ป เพิ่มขึ้น 1.8% หลังจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 3.0% เทียบรายเดือน สู่ระดับ 5.54 ล้านยูนิต จากระดับ 5.38 ล้านยูนิตในเดือนม.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ.จะเพิ่มขึ้นเพียง 0.5%
หุ้นเฟซบุ๊ก ดีดตัวขึ้น 0.7% หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ อันเนื่องมาจากข่าวการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กจำนวน 50 ล้านคน
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. และยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ.
--อินโฟเควสท์
OO6816