WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

31ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับตัวลงตามภูมิภาค เหตุกังวลนโยบายของสหรัฐฯ ,รอดูผลประชุมเฟด
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ต่างปรับตัวลงกันทั่วหน้า เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายจากสหรัฐฯเป็นหลัก โดยนโยบายต่าง ๆ ยังมีความไม่แน่นอน ทั้งเรื่องสงครามการค้า, การต่างประเทศ รวมไปถึงการเมืองที่มีการปลดเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายรายออกจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ ตลาดฯ ก็กำลังอยู่ในช่วงของการรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ด้วย พร้อมให้แนวรับ 1,790 จุด ส่วนแนวต้าน 1,810-1,820 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (19 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,610.91 จุด ร่วงลง 335.60 จุด (-1.35%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,712.92 จุด ลดลง 39.09 จุด (-1.42%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,344.24 จุด ลดลง 137.74 จุด (-1.84%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 182.92 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 22.03 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 198.34 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 30.05 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 0.23 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 13.87 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 2.45 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (19 มี.ค.61) 1,799.79 จุด ลดลง 11.97 จุด (-0.66%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,029.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (19 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 62.06
ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 28 เซนต์ หรือ 0.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (19 มี.ค.61) ที่ 7.04 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.19 ตลาดจับตาความชัดเจนนโยบายดอกเบี้ยในอนาคตของเฟด
- "แบงก์ชาติ"ศึกษาแผนการนำ"เงินดิจิทัล"ใช้ชำระราคาในตลาดอินเตอร์แบงก์ผ่านบล็อกเชน ร่วมกับ 5 ธนาคารพาณิชย์ ตลอด 24 ชั่วโมง ภายใต้ชื่อโครงการ"อินทนนท์"หวังลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ ย้ำไม่ใช้กับประชาชนทั่วไป ขณะสถาบันการเงินมองเป็นเรื่องดี ช่วยระบบโอนเงินพัฒนาขึ้น สะท้อน ธปท.ไม่ได้ปิดกั้น
- "สมคิด"ชี้ 2 ปีเศรษฐกิจไทย ดีขึ้นกว่าเท่าตัว รัฐเร่งลงทุน เชื่ออนาคตมีโอกาสขยายตัวเกิน 4% ขยายตัวได้เพิ่ม สั่งคมนาคมขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม-หัวหินถึงสุราษฎร์ธานี ไทยพร้อมลงทุนเส้นตะวันตก-ตะวันออกเชื่อมเวียดนาม "ไพรินทร์"เผยเกาหลีใต้ส่งผลศึกษาแล้ว เตรียมเปิดข้อมูลดึงนักลงทุนเร็วๆ นี้
- กนอ.เร่งศึกษาจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายผลไม้ในนิคมฯ สมาร์ทพาร์ค สนองนโยบายระเบียง ผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ดันไทยมหานครผลไม้โลก เล็งใช้รูปแบบตลาดกลางโอตะ โตเกียว ปรับใช้จ่อเสนอรัฐใช้กลไกสหกรณ์บริหาร
*หุ้นเด่นวันนี้
- INTUCH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 67.50 บาท ประกาศจ่ายปันผลงวด H2/60 ที่ 1.27 บาท/หุ้นและปันผลพิเศษอีก 0.19 บาท/หุ้น คิดเป็นผลตอบแทน 2.5% ขึ้น XD วันที่ 9 เม.ย. 61 ด้านราคาหุ้น Discount จาก NAV มากถึง 23% (ค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่ที่ 20%) พร้อมคาดกำไรสุทธิปีนี้ 13,316 ลบ. +25% Y-Y ส่วนกำไรปกติคาด 12,633 ลบ. +5% Y-Y โตครั้งแรกในรอบ 3 ปีเช่นเดียวกับ ADVANC
- EA (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 77 บาท มองราคาหุ้นลดลงกว่า 30% ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาได้สะท้อนความกังวลในเรื่อง Valuation, ความเสี่ยงของธุรกิจแบตเตอรี่ และข่าวการยกเลิก MOU กับ PTT ไปแล้ว ขณะที่ผลการดำเนินงานยังคงเดิม โดยคาดกำไรสุทธิปีนี้ 4.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24%yoy ขณะที่ธุรกิจแบตเตอรี่จะเพิ่มมูลค่าให้ในระยะยาว เบื้องต้นประเมินมูลค่าจากธุรกิจแบตเตอรี่ที่ 50 บาทต่อหุ้น แบ่งเป็นโครงการในประเทศ 21.7 บาท และต่างประเทศ 28.2 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ
- KKP (เอเชีย เวลท์) "ซื้อ"เป้า 90 บาท อัตราเงินปันผลตอบแทนที่ดีและสินเชื่อที่เติบโตโดดเด่น โดยประกาศจ่ายเงินปันผล 3 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทนครึ่งปีที่ 3.9% หรือ 7.7% ต่อปี กำหนดขึ้น XD 2 พ.ค.61 นอกจากนี้ สินเชื่อ KKP ณ สิ้น ก.พ.61 โตแข็งแกร่งที่ 2.6% YTD และ 11.0% YoY เทียบกับเป้าปีนี้ที่ 10% หนุนโดยสินเชื่อทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มรายย่อยที่ไม่ใช่เช่าซื้อ กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ และลอมบาร์ด จึงคาดการณ์ EPS จะโต 10.2% ในปี 61 และ 9.3% ในปี 62
- KTB (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 22.70 บาท คาดยังรอบันทึกกำไรจากขายทอดตลาดที่ดิน AQ สูงเกือบ 10,000 ล้านบาท (ยังไม่ได้รวมเข้าในประมาณการ) แต่กำไรพิเศษดังกล่าวบางส่วนจะนำกลับไปเป็นสำรองส่วนเกินเพื่อรองรับกับมาตรฐาน IFRS9 ต้นปี 62 พร้อมกำไรสุทธิปี 61 โตกว่า 40% คาดที่ 31,841 ล้านบาท หรือ 2.28 บาท/หุ้น โดยค่าใช้จ่ายสำรองหนี้จะลดลง 28.5% จากปี 60 จากคุณภาพสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น และคาดไม่มีการตั้งสำรองหนี้ก้อนใหญ่เช่นปี 60 (EARTH 12,000 ลบ.)

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังดาวโจนส์ปิดร่วงกว่า 300 จุด
       ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ สอดคล้องกับทิศทางของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืน โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ร่วงลง หลังหุ้นเฟซบุ๊กทรุดตัวลงจากรายงานข่าวที่ว่า แคมบริดจ์ อนาลิติกา ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การเมือง สามารถเข้าถึงข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กจำนวน 50 ล้านคนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,297.98 จุด ลดลง 182.92 จุด, -0.85% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,257.22 จุด ลดลง 22.03 จุด, -0.67% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,315.42 จุด ลดลง 198.34 จุด, -0.63% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,016.85 จุด ลดลง 30.05 จุด, -0.27% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,456.80 จุด ลดลง 0.23 จุด, -0.01% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,484.42 จุด ลดลง 13.87 จุด, -0.40% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,845.49 จุด ลดลง 2.45 จุด, -0.13%
นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้วงข้อมูลของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก หลังจากมีรายงานว่า แคมบริดจ์ อนาลิติกา ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การเมืองและมีความเกี่ยวข้องกับทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2559 นั้น สามารถเข้าถึงข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กจำนวน 50 ล้านคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์การถูกล้วงข้อมูลครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของเฟซบุ๊ก
นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค. ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 94.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 121.21 จุด วิตกเงินปอนด์แข็งฉุดผลประกอบการบริษัทข้ามชาติ
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากมีรายงานว่าสหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร สามารถบรรลุข้อตกลงในการอนุญาตให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ใน EU ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทข้ามชาติ
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,042.93 จุด ลดลง 121.21 จุด หรือ -1.69%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลง เนื่องจากการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้ โดยเมื่อคืนนี้ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3986 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3848 ดอลลาร์
ปัจจัยที่ทำให้สกุลเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนั้น มาจากรายงานที่ว่า EU และสหราชอาณาจักร สามารถบรรลุข้อตกลงเมื่อวานนี้ ในการอนุญาตให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ใน EU ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 แต่จะมีบทบาทและอำนาจที่ลดน้อยลง
ทั้งนี้ EU และสหราชอาณาจักรกำหนดช่วงเวลาดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 21 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.2562 จนถึงสิ้นปี 2563 ก่อนที่สหราชอาณาจักรจะแยกตัวออกจาก EU (Brexit) อย่างสมบูรณ์ โดยการกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจและพลเมืองทั้งในสหราชอาณาจักรและ EU มีเวลามากขึ้นในการเตรียมพร้อมสำหรับการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจาก EU และจะช่วยให้คณะเจรจาของสหราชอาณาจักรและ EU มีเวลาในการสรุปการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายขณะเริ่มปี 2564
หุ้นไมโคร โฟกัส ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ของอังกฤษ ทรุดฮวบลง 46% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
หุ้นแฮมเมอร์สัน พุ่งขึ้น 24% หลังจากแฮมเมอร์สันได้ปฏิเสธข้อเสนอเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 4.9 พันล้านปอนด์จากบริษัทเคลปิเยร์ ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของฝรั่งเศส ขณะที่รายงานดังกล่าวได้ฉุดหุ้นเคลปิเยร์ ร่วงลง 4%
หุ้นธนาคารบาร์เคลย์ ดีดตัวขึ้น 3.6% หลังจากบริษัทเชอร์บอร์น อินเวสเตอร์ส เมเนจเมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 5.2% ในธนาคารบาร์เคลย์ส

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกสงครามการค้า,นักลงทุนชะลอซื้อขายก่อนประชุมเฟด
      ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามการค้า นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.1% ปิดที่ 373.68 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,217.02 จุด ลดลง 172.56 จุด หรือ -1.39% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,222.84 จุด ลดลง 59.91 จุด หรือ -1.13% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,042.93 จุด ลดลง 121.21 จุด หรือ -1.69%
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม และสินค้าเพื่อผู้บริโภคจากจีน ในวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อตอบโต้การทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามกดดันให้จีนปรับลดยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐลง 1 แสนล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
หุ้นไมโคร โฟกัส ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ ทรุดฮวบลง 46% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
หุ้นแฮมเมอร์สัน พุ่งขึ้น 24% หลังจากแฮมเมอร์สันได้ปฏิเสธข้อเสนอเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 4.9 พันล้านปอนด์จากบริษัทเคลปิเยร์ ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของฝรั่งเศส ขณะที่รายงานดังกล่าวได้ฉุดหุ้นเคลปิเยร์ ร่วงลง 4%
หุ้นธนาคารบาร์เคลย์ ดีดตัวขึ้น 3.6% หลังจากบริษัทเชอร์บอร์น อินเวสเตอร์ส แมเนจเมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 5.20% ในธนาคารบาร์เคลย์ส
นักลงทุนให้ความสนใจต่อรายงานข่าวที่ว่า สหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร สามารถบรรลุข้อตกลงในการอนุญาตให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ใน EU ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 แต่จะมีบทบาทและอำนาจที่ลดน้อยลง
ทั้งนี้ EU และสหราชอาณาจักรกำหนดช่วงเวลาดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 21 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.2562 จนถึงสิ้นปี 2563 ก่อนที่สหราชอาณาจักรจะแยกตัวออกจาก EU (Brexit) อย่างสมบูรณ์
การกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจและพลเมืองทั้งในสหราชอาณาจักรและ EU มีเวลามากขึ้นในการเตรียมพร้อมสำหรับการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจาก EU และจะช่วยให้คณะเจรจาของสหราชอาณาจักรและ EU มีเวลาในการสรุปการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายขณะเริ่มปี 2564

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 335.60 จุด เหตุข่าวเฟซบุ๊กถูกล้วงข้อมูลฉุดหุ้นเทคโนฯดิ่งหนัก
        ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) เนื่องจากการดิ่งลงอย่างหนักของหุ้นเฟซบุ๊กได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงด้วย โดยหุ้นเฟซบุ๊กทรุดตัวลงจากรายงานข่าวที่ว่า แคมบริดจ์ อนาลิติกา ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การเมือง สามารถเข้าถึงข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กจำนวน 50 ล้านคนโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนทางการเมืองในสหรัฐ และการที่นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธนี้ตามเวลสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,610.91 จุด ร่วงลง 335.60 จุด หรือ -1.35% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,712.92 จุด ลดลง 39.09 จุด หรือ -1.42% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,344.24 จุด ลดลง 137.74 จุด หรือ -1.84%
นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้วงข้อมูลของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก หลังจากมีรายงานว่า แคมบริดจ์ อนาลิติกา ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การเมืองและมีความเกี่ยวข้องกับทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2559 นั้น สามารถเข้าถึงข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กจำนวน 50 ล้านคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์การถูกล้วงข้อมูลครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของเฟซบุ๊ก
ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นเฟซบุ๊ก ร่วงลง 6.8% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงในวันเดียวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2557 นอกจากนี้ ยังได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงด้วย โดยหุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ร่วงลง 3% หุ้นอเมซอน ปรับตัวลง 1.7% หุ้นไมโครซอฟท์ ร่วงลง 1.8% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ดิ่งลง 1.5% หุ้นทวิตเตอร์ ลดลง 1.7% หุ้นสแนป ดิ่งลง 3.5% และหุ้นแอปเปิล ร่วงลง 1.5%
หุ้นเคแอลเอ-เทนคอร์ คอร์ป ร่วงลง 3.9% หลังจากบริษัทประกาศแผนเข้าซื้อ ออร์โบเทค ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีไฟฟ้าของอิสราเอล ในวงเงิน 3.4 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนทางการเมืองในสหรัฐ หลังจากสื่อรายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เตรียมพิจารณาปลดนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ ออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ แม้ว่าทำเนียบขาวออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวก็ตาม ส่วนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ปธน.ทรัมป์ได้ตัดสินใจปลดพลโท เฮอร์เบิร์ต เรย์มอนด์ แมคมาสเตอร์ ออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ และปลดนายแอนดรูว์ แม็กเคบ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (CIA) ออกจากตำแหน่ง ขณะที่มีแนวโน้มปลดพล.อ.จอห์น เคลลี หัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาว ออกจากตำแหน่งเช่นกัน
นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค. ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 94.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/2560, ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมาร์กิต,
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. และยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ.
--อินโฟเควสท์
OO6681

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!