WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

19ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับขึ้นกรอบจำกัดหลังดีดแรงเมื่อวานหวังต่างชาติซื้อหนุน,จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้
         นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยวันนี้น่าจะยังปรับตัวขึ้นได้ แต่อยู่ในกรอบจำกัดหลังจากที่ดัชนีดีดตัวขึ้นแรงเมื่อวานนี้ ขณะที่ตลาดยังไม่มีประเด็นกดดันเข้ามา และนักลงทุนต่างชาติก็กลับเข้ามาซื้อสุทธิบ้าง หลังภาพการเมืองในประเทศมีความชัดเจนตามโรดแมพ แม้ช่วงที่ผ่านมาการลงทุนของต่างชาติจะไม่ได้มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะต่างชาติมีทิศทางขายมาตลอด แต่ก็คาดหวังว่าเมื่อการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นก็จะเห็นแรงซื้อของต่างชาติกลับเข้ามา ซึ่งจะช่วยพยุงตลาดได้บ้าง
สำหรับเมื่อวานนี้ตลาดได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันในประเทศที่เข้ามาซื้อสุทธิจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ภาพรวมตลาดยังเลือกลงทุนเป็นรายตัว เช่น SCC และ PTT ทำให้การลงทุนในระยะต่อไปยังต้องจับตาดูด้วยว่าจะมีความต่อเนื่องหรือไม่ และจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้ตลาดอยู่ในช่วงขึ้นเครื่องหมาย XD ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จ่ายปันผล ก็อาจจะกระทบต่อดัชนีด้วย
ด้านปัจจัยต่างประเทศที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงเมื่อวานนี้ แต่ตลาดหุ้นภูมิภาคที่เปิดทำการเช้านี้ก็มีทั้งบวกและลบในกรอบแคบ โดยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมายังมีแนวโน้มที่ดี ทำให้ภาพรวมยังเป็นบวกอยู่ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของสหรัฐฯที่จะออกมาในคืนนี้ เพื่อจับสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่จะมีการประชุมในวันที่ 20-21 มี.ค.ซึ่งตลาดยังรอดูด้วยว่าเฟดจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยกี่ครั้งในปีนี้
ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงเมื่อวานนี้ คาดว่าจะไม่ได้กระทบต่อภาพรวมตลาดมากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันดิบยังยืนเหนือระดับ 60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
พร้อมให้แนวรับที่ 1,793 จุด และแนวต้านที่ 1,804 และ 1,808 จุด

ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (12 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,178.61 จุด ลดลง 157.13 จุด(-0.62%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,783.02 จุด ลดลง 3.55 (-0.13%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,588.32 จุด เพิ่มขึ้น 27.51 จุด (+0.36%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 81.58 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 2.58 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 24.13 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 20.05 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 1.07 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 6.66 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 6.14 จุด,ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ลดลง 3.23 จุด,ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 0.59 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (12 มี.ค.61) 1,800.32 จุด เพิ่มขึ่น 24.95 จุด (+1.41%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 616.58 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (12 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 61.36
ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 68 เซนต์ หรือ 1.1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (12 มี.ค.61) ที่ 7.41 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.26/30 แนวโน้มแกว่งแคบรอปัจจัยใหม่ นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- โพลล์ FETCO เผยความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติพุ่งสวนตลาด เหตุกำไรบริษัทจดทะเบียนยังเติบโต ด้านสมาคมนักวิเคราะห์ ชี้ความเชื่อมั่นคนละส่วนกับการลงทุน เหตุราคาหุ้นยังแพง หวังการปรับฐานช่วยสร้างความน่าสนใจ ให้เป้าหมายดัชนีสิ้นปี 1,871 จุด รับอานิสงส์ผลประกอบการบจ.และเศรษฐกิจไทยหนุน ขณะที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าหดตัวแม้จะอยู่ในเกณฑ์"ร้อนแรง"เหตุนักลงทุนยังกังวลการเมืองในประเทศ-ดอกเบี้ยเฟด
- "พาณิชย์" เผยส่งออกข้าวไทย 2 เดือน ทำได้ 2 ล้านตัน เพิ่ม 4.17% มูลค่า 999 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 22.13% คาดดีต่อเนื่อง หลังคำสั่งซื้อเข้ามาตลอด และยังมีแผนจัดคณะผู้แทน ภาครัฐและเอกชนออกไปขยายตลาด มั่นใจเป้า 9.5 ล้านตันทำได้แน่ เตรียมชงนบข. อนุมัติขายข้าวที่ไม่ใช่คนบริโภค 2 ล้านตัน 29 มี.ค.นี้ ก่อนเปิดระบายทันที ตั้งเป้า ก.ย.เคลียร์ได้หมด ระบุยังได้ตั้งเป้าค้าชายแดนปี 61 มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท เพิ่ม 15%
- ส.อ.ท.ชี้ลงทุนเอกชนคึกคักรับตัวเลขส่งออกดี ยังห่วงเอสเอ็มอีในประเทศยอดขายนิ่ง ลุ้นไตรมาส 3 ฟื้น ชี้อีอีซีกระตุ้นความเชื่อมั่นแต่ต้องรอโครงการสร้างพื้นฐานสำเร็จก่อน กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดตัวเลข ร.ง.4 ขยายโรงงานมาแรง มูลค่าพุ่ง 22.79%
- ประชุม ครม.วันนี้ จะมีการเสนอแนวทางการกำกับดูแลการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล และการกำกับดูแลเรื่องการระดมทุนด้วยเงินดิจิตอล (ไอซีโอ) ให้จัดทำเป็นกฎหมายใหม่ ร่าง พ.ร.ก.การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอล เพื่อต้องการให้มีกฎระเบียบออกมากำกับดูแลเรื่องเงินดิจิตอลอย่างเร่งด่วน โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขณะ คลังเสนอแก้ไขประมวลรัษฎากรเก็บภาษีจากการลงทุนในเงินดิจิทัล จากส่วนต่างกำไร 10% ขณะวงการเงินดิจิทัลรอลุ้นเกณฑ์คุมไอซีโอเชื่อเน้นดูแลรายย่อย จำกัดวงเงิน ระดมทุน ย้ำมี 4-5 บริษัทชะลอขายไอซีโอ ขอรอดูเกณฑ์ พร้อมขีดเส้นก่อนสิ้นเดือนยังไม่ชัด เดินหน้าระดมทุนต่อ
- ผู้นำเข้าเหล็กของสหรัฐชะลอเจรจานำเข้าเหล็กจากไทย เพื่อรอดูผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐ และรอดูผลเจรจาของไทย ด้านกระทรวงพาณิชย์เตรียมแผนเจรจา 3 ขั้น ดึงเอกชนมีส่วนร่วมเจรจา
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังนายแจ็ก พี. วิลเลี่ยมส์ รองประธานอาวุโส บริษัท เอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น จากสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก เข้าพบ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า เอ็กซอนฯ มีแผนขยายการลงทุนที่ประเทศไทย โดยเตรียมจัดตั้งโรงงานแครกเกอร์ขนาดใหญ่ ที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี เพื่อผลิตวัตถุดิบที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก วงเงินลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท

*หุ้นเด่นวันนี้

- SENA (เคทีบีฯ) แนะ"ซื้อ"ราคาเป้าหมาย 5 บาท มองเชิงบวกจาก Opportunity Day นำเสนอแผนชิงรุกมากขึ้นในช่วง 3 ปีตั้งเป้ายอด Presales โตเฉลี่ยถึง 43% ต่อปี โดยในปี 61 มีแผนเปิดตัว 18 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 158% YoY คาดยอด Presales ที่ 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 61% YoY ด้านกำไรสุทธิเพิ่มคาดการณ์ขึ้นจากเดิม 6% เป็น 810 ล้านบาท กลับมาทำสถิติสูงสุดใหม่ เพิ่มขึ้น 9% YoY จากแผนเปิดโครงการใหม่ที่จะรับรู้ปีนี้เพิ่มขึ้น โดยปรับเพิ่มคาดการณ์รายได้ปีนี้ขึ้นจากเดิม 10% เป็นที่ 5.2 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 60 มี Backlog รอรับรู้ปีนี้แล้ว 2.48 พันล้านบาท
- SAPPE (ฟินันเซีย ไซรัส) แนะ"ซื้อ" แต่ปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 29 บาท จาก 38 บาท โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 10%-15% Y-Y ตามตลาดส่งออกที่มีสัดส่วน 64% ของรายได้รวม ส่วนในประเทศตั้งเป้าโตเพียง 5% เพราะกำลังซื้อยังฟื้นช้า มีแผนออกสินค้าใหม่ทั้งเครื่องดื่มเยลลี่ และ Healthy Snack คาดว่า SAPPE จะใช้สิทธิซื้อหุ้น All Coco เพิ่มจาก 40% เป็น 51% เพราะแนวโน้มธุรกิจดีกว่าคาด อย่างไรก็ตาม กำไรปี 60 น่าผิดหวังทำให้ปรับลดกำไรสุทธิปีนี้ลง 13% เหลือ 438 ล้านบาท (+9% Y-Y) หากไม่รวม fx คาดกำไรปกติ +15% Y-Y
- EA (ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบีฯ) แนะ"ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 70 บาท มองแรงเทขายทำให้ราคาปัจจุบันมี downside ค่อนข้างจำกัด ซึ่งสะท้อนเพียงธุรกิจโรงไฟฟ้าและไบโอดีเซล ส่วนการที่ผลดำเนินงาน Q4/60 ที่ต่ำกว่าคาดเป็นไตรมาสแรกหลังจากที่สูงกว่าคาดมา 16 ไตรมาสติดกันนั้น มองว่าเป็นเหตุผลที่ไม่เพียงพอสำหรับราคาที่หดตัวลงมาก อย่างไรก็ตามได้ปรับลดประมาณการ EPS FY61-63F ลง 8.5-25.3% เพื่อสะท้อนกำลังผลิตที่ลดลงในพลังงานลม

 ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์
           ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดลบเมื่อคืน เนื่องจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลงอย่างหนัก หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,742.45 จุด ลดลง 81.58 จุด, -0.37% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,324.12 จุด ลดลง 2.58 จุด, -0.08% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,570.20 จุด ลดลง 24.13 จุด, -0.08% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,022.15 จุด เพิ่มขึ้น 20.05 จุด, +0.18% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,483.05 จุด ลดลง 1.07 จุด, -0.04% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,533.53 จุด ลดลง 6.66 จุด, -0.19% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,855.08 จุด ลดลง 6.14 จุด, -0.33%
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค. ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเงินเฟ้อและข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ., ยอดค้าปลีกเดือนก.พ., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
 
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: แรงขายทำกำไร ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 9.75 จุด
         ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากตลาดพุ่งขึ้นติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของยุโรปยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐ
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,214.76 จุด ลดลง 9.75 จุด หรือ -0.13%
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งให้ใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% จากประเทศต่างๆ ยกเว้นแคนดาและเม็กซิโก ทั้งนี้ หุ้นริโอ ทินโต ปรับตัวลง 0.4% หุ้นเกล็นคอร์ ปรับตัวลง 0.2%
หุ้นจัสอีท ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารทางออนไลน์ ปรับตัวลง 0.9% หลังจากนักวิเคราะห์ของดอยซ์แบงก์ ได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวลงสู่ระดับ "sell" จากระดับ "hold"
หุ้นจีเคเอ็น ร่วงลง 2.5% หลังจากที่ดีดตัวขึ้นในระหว่างวัน จากข่าวที่ว่า บริษัทเมลโรส อินดัสทรีส์ ได้เพิ่มข้อเสนอซื้อกิจการของจีเคเอ็นขึ้นสู่ระดับ 8.1 พันล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับตัวเลขจ้างงานสหรัฐ,หุ้นสาธารณูปโภคพุ่ง
          ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนนี้ (12 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนก.พ. นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคของเยอรมนี
ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.3% ปิดที่ 379.20 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,418.39 จุด เพิ่มขึ้น 71.71 จุด หรือ +0.58% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,276.71 จุด เพิ่มขึ้น 2.31 จุด หรือ +0.04% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,214.76 จุด ลดลง 9.75 จุด หรือ -0.13%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 313,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี
หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคดีดตัวขึ้น นำโดยหุ้นอินโนจี ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทน ทะยานขึ้น 12% ส่วนหุ้น RWE พุ่งขึ้น 9.2% และหุ้น E.ON ดีดตัวขึ้น 5.4% หลังจากมีรายงานว่าบริษัท E.ON ได้ตกลงในหลักการ เพื่อเข้าซื้อหุ้น 76.8% ในบริษัท RWE
หุ้นจัสอีท ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารทางออนไลน์ ปรับตัวลง 0.9% หลังจากนักวิเคราะห์ของดอยซ์แบงก์ ได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวลงสู่ระดับ "sell" จากระดับ "hold"
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% จากประเทศต่างๆ ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโก โดยหุ้นอาร์เซลอร์มิททัล ปรับตัวลง 0.7% หุ้นเทนาริส ผู้ผลิตท่อเหล็ก ร่วงลง 1.5% หุ้นริโอทินโต ลดลง 0.4% และหุ้นเกล็นคอร์ ปรับตัวลง 0.2%
ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนร่วงลงเมื่อคืนนี้ หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะยังคงอยู่ที่ระดับต่ำมากต่อไป
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีประเภทอายุ 10 ปีอ่อนตัวลง 0.01% สู่ะดับ 0.64% ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
นายเบนัวต์ โคเออร์ สมาชิกคณะกรรมการ ECB กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะยังคงอยู่ที่ระดับต่ำมากต่อไป และขณะนี้ อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนยังไม่ได้อยู่ในระดับที่ ECB ต้องการ โดยคำกล่าวของนายโคเออร์บ่งชี้ว่า ECB ยังไม่มีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในเร็วๆนี้ แม้ว่าในแถลงการณ์หลังการประชุมเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ECB ได้ตัดข้อความที่ระบุว่า "ECB อาจเพิ่มวงเงิน QE หรือขยายเวลาใช้มาตรการ QE หากมีความจำเป็น"
 
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 157.13 จุด หลังหุ้นอุตสาหกรรมร่วงหนัก จากความกังวลสหรัฐเก็บภาษีเหล็ก
         ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (12 มี.ค.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงหุ้นโบอิ้ง และหุ้นแคทเธอร์พิลลาร์ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวก โดยส่วนหนึ่งได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,178.61 จุด ลดลง 157.13 จุด หรือ -0.62% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,783.02 จุด ลดลง 3.55 จุด หรือ -0.13% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,588.32 จุด เพิ่มขึ้น 27.51 จุด หรือ +0.36%
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์บอสตัน พาร์ทเนอร์ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ มาจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นบริษัทอุตสาหกรรมข้ามชาติ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโก
ทั้งนี้ หุ้นโบอิ้งร่วงลง 2.9% ขณะที่หุ้นแคทเธอร์พิลลาร์ ดิ่งลง 2.4% ส่วนหุ้นอุตสาหกรรมตัวอื่นๆปรับตัวลงเช่นกัน รวมถึงหุ้นเอเมอร์สัน อิเล็กทริก หุ้นอีตัน คอร์ป หุ้นเคแอลเอ็กซ์ และหุ้นยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์
หุ้นไบโอเจน ร่วงลง 2.2% ขณะที่หุ้นไฟเซอร์ ปรับตัวลง 0.4% หลังจากมีรายงานว่า ไบโอเจนได้บรรลุข้อตกลงซื้อธุรกิจผลิตยาบำบัดรักษาโรคจิตเภท จากบริษัทไฟเซอร์ ในวงเงิน 590 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 313,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ ดัชนี Nasdaq ยังได้รับปัจจัยหนุนหลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐได้แสดงความกังวลต่อกรณีที่บริษัทบรอดคอมได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการควอลคอม อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ อันเนื่องมาจากเหตุผลด้านความมั่นคง ทั้งนี้ หุ้นบรอดคอม พุ่งขึ้น 3.6% ขณะที่หุ้นควอลคอมปิดตลาดทรงตัว
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค. ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเงินเฟ้อและข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ., ยอดค้าปลีกเดือนก.พ., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
--อินโฟเควส
OO6342

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!