WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามตปท.หลังสัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐฯอาจสูงกว่าเป้า 2% ส่ง Bond Yield พุ่ง
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงตามตลาดสหรัฐฯที่ปรับตัวลง หลังจากที่รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ครั้งก่อนส่งสัญญาณตัวเลขเงินเฟ้อมีโอกาสสูงกว่าเป้าหมาย 2% ทำให้มีการมองกันว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจจะเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) สหรัฐฯ ปรับขึ้นมาที่ 2.9% กดดันตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ต่างปรับฐานเฉลี่ยราว 0.8%
สำหรับตลาดบ้านเราภาพโดยรวมอาจเป็นลักษณะแกว่งไซด์เวย์ และเลือกเล่นเป็นรายตัว เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้ถือครองหุ้นไทยมากแล้ว และวานนี้ตัวเลขส่งออกเดือน ม.ค.ออกมาดีกว่าคาด ทำให้หุ้นในกลุ่มแบงก์อาจจะช่วยหนุนตลาดฯได้บ้าง
โดยแนะนำหุ้น AIT และหุ้นในกลุ่มพลังงานหากย่อตัวลงก็สามารถซื้อเพื่อเก็งการดีดตัวกลับ แนะนำหุ้น PTT ที่มีประเด็นเรื่องการแตกพาร์ ปันผล และงบฯดี ส่วน PTTEP ลุ้นผลประมูลปิโตรเลียมรอบใหม่ในแหล่งบงกชและเอราวัณมีโอกาสสูงเป็นผู้ชนะ
พร้อมให้แนวรับ 1,790-1,795 จุด ส่วนแนวต้าน 1,810 จุด ในระหว่งเทรดหากหลุดแนวรับก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (21 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,797.78 จุด ลดลง 166.97 จุด (-0.67%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,701.33 จุด ลดลง 14.93 จุด (-0.55%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,218.23 จุด ลดลง 16.08 จุด (-0.22%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 180.93 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 38.41 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 347.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 15.97 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 12.47 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 13.14 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.92 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (21 ก.พ.61) 1,801.16 จุด เพิ่มขึ้น 0.14 จุด (+0.01%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 869.96 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (21 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 61.88 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 11 เซนต์ หรือ 0.2%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (21 ก.พ.61) ที่ 7.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.58 แนวโน้มอ่อนค่าตามแรงซื้อดอลล์ มองกรอบวันนี้ 31.55-31.65
- พาณิชย์ เผยยอดส่งออก ม.ค.โต 17.6% สูงสุดในรอบ 5 ปี เหตุเศรษฐกิจโลกฟื้นชัด ดันส่งออกขยายตัวดีทุกตลาด เชื่อทั้งปี 8% ตามเป้า ด้าน "สมคิด" มั่นใจส่งออก ตัวแปรหลักดันจีดีพีปีนี้โต 4.1% ขณะสรท. ขอดูตัวเลขคู่แข่งฟันธงส่งออกไทยแกร่ง จับตามาตรการกีดกันการค้าฉุดส่งออก ธปท.เล็งปรับคาดการณ์ส่งออกใหม่
- ตลาดหลักทรัพย์ตั้ง นายภากร ปีตธวัชชัย เป็นผู้จัดการตลาดคนที่ 13 โบรกเกอร์มองช่วยสานงานให้ตลาดเดินหน้า หวังสร้างดีมานด์และซัพพลายในตลาด ผู้ลงทุนสถาบันต้องการ เพิ่มคุณภาพบริษัทจดทะเบียน หลังพบทำธุรกรรมไม่ปกติทั้งด้านการเปิดเผยข้อมูลและระบบบัญชี พร้อมคุมเข้มบริษัทเข้าระดมทุนให้มีศักยภาพ
- ส.อ.ท.เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตฯ ม.ค.อยู่ระดับ 91.0 เพิ่มสูงสุดในรอบ 36 เดือน ชี้ปัจจัยบวกจากบริโภคในประเทศขยายตัว การใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ผู้ประกอบการปรับปรุงการผลิต ค่าบาทแข็งหนุนนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร กังวลต้นทุนพุ่งจากปรับค่าแรงขั้นต่ำ
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ติดตามสถานการณ์เงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะขณะนี้มีสัญญาณความผันผวนมากขึ้น เพราะนโยบายการเงินประเทศขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสหรัฐที่ธนาคารกลางมีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยเหล่านี้กระทบให้เกิดความผันผวนของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้
- 'สมคิด' ย้ำรัฐบาลเร่งเปลี่ยนเศรษฐกิจของประเทศ ให้ขับเคลื่อนด้วยดิจิตอล ดันจีดีพีทะยาน ใน 3 ปีต้องเปลี่ยนผ่าน 'กานต์' ชี้งบลงทุนวิจัยพัฒนาแตะแสนล้าน เพิ่มเป็น 1% ของจีดีพีเป็นครั้งแรก
*หุ้นเด่นวันนี้
- MTLS (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 51 บาท ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2018 ขึ้น 5% เป็น 3.6 พันลบ. โดย 1.ปรับเพิ่มผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อ และทำให้คาดว่า Loan spread จะทรงตัวได้ที่ 20% เป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เข้าตลาดฯ 2. ปรับลด Credit cost จากคาดการณ์เดิมที่ 2.5% ลงเป็น 2.3% ใกล้เคียงกับปีก่อน เงินสำรองฯที่สะสมอยู่ที่ราว 265% ของ NPL เพียงพอและอาจเกินพอเมื่อเทียบกับคุณภาพสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยเซอร์ไพรส์ ROE ปี 2560 อยู่ 32% มาเร็วกว่าที่คาดไว้และเป็นระดับสูงสุดในกลุ่มการเงิน ยังชื่นชอบการบริหารคุณภาพหนี้ที่สะท้อนจาก NPL ที่ต่ำสุดในผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน
- TPIPP (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 9 บาท รายงานกำไร Q4/60 ที่ 593 ล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่ไม่ทำ New High ตามคาดหวัง และต่ำกว่าคาด โดยมีสาเหตุจากการบันทึกต้นทุนที่สูงกว่าปกติ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส Q4/60 ปรับลดลงเหลือ 48% เทียบกับ 53.2% ในไตรมาสก่อน แต่ดีกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อน 45.2% อย่างไรก็ดีในส่วนโรงไฟฟ้าความร้อนทิ้งและเชื้อเพลิงขยะ ยังคาดจะ COD ได้ราว มี.ค.นี้ ดังนั้นประเมินราคาหุ้นหากย่อเป็นโอกาสในการทยอยสะสม
- TTA (ยูโอบี เคย์เฮียน) คาดผลงานไตรมาส 4/60 ได้อานิสงส์ดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ยังสูง ทั้งนี้ค่าเสื่อมราคาต่อรายได้ที่ต่ำกว่า PSL คาดจะทำให้ TTA มีโอกาสรายงานกำไรดีกว่าคาด อีกทั้งค่าระวางมักพลิกกลับสู่ขาขึ้นหลังตรุษจีน ขณะที่การค้าโลกแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวพร้อม ๆ กัน(synchronous growth)

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ตามทิศทางดาวโจนส์ หลังเฟดเผยรายงานการประชุม
        ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงเมื่อคืน เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ หลังจากรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของเฟดระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะดีดตัวขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,789.88 จุด ลดลง 180.93 จุด, -0.82% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,237.57 จุด เพิ่มขึ้น 38.41 จุด, +1.20% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,084.45 จุด ลดลง 347.44 จุด, -1.11% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,698.47 จุด ลดลง 15.97 จุด, -0.15% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,417.18 จุด ลดลง 12.47 จุด, -0.51% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,503.09 จุด ลดลง 13.14 จุด, -0.37% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,854.25 จุด ลดลง 3.92 จุด, -0.21%
คณะกรรมการเฟดได้เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของวันที่ 30-31 ม.ค. เมื่อวานนี้ โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ความแข็งแกร่งของแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้นี้ ทำให้เฟดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปนั้น ถือเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นเนื่องจากรายงานการประชุมของเฟดได้หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 2.95% เมื่อคืนนี้ และยังได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 34.80 จุด รับเงินปอนด์อ่อน,ผลประกอบการสดใส
        ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งรวมถึงธนาคารลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์ยังช่วยหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติดีดตัวขึ้นด้วย
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,281.57 จุด เพิ่มขึ้น 34.80 จุด หรือ +0.48%
การอ่อนค่าของเงินปอนด์ช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลในด้านบวกต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
ทั้งนี้ เงินปอนด์อ่อนค่าลงหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า อัตราว่างงานในอังกฤษเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.4% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี จากระดับ 4.3% ในไตรมาส 3 ส่วนอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้น 2.5% ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาส 3 แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 3.1%
หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2.8% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 ที่ระดับ 5.28 พันล้านปอนด์ พร้อมกับประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นเป็นวงเงินสูงถึง 1 พันล้านปอนด์
หุ้นเกลนคอร์ ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองรายใหญ่ ทะยานขึ้น 5.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า สู่ระดับ 5.78 พันล้านดอลลาร์
ส่วนหุ้นบาร์แรตต์ ดิเวลลอปเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน ดีดตัวขึ้น 0.9% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัท

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก รับผลประกอบการแข็งแกร่ง
         ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซน ชะลอตัวลงในเดือนก.พ.
ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับขึ้น 0.2% ปิดที่ 381.10 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,302.17 จุด เพิ่มขึ้น 12.31 จุด หรือ +0.23% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,281.57 จุด เพิ่มขึ้น 34.80 จุด หรือ +0.48% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,470.49 จุด ลดลง 17.41 จุด หรือ -0.14%
ตลาดหุ้นยุโรปได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน โดยหุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2.8% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 ที่ระดับ 5.28 พันล้านปอนด์ พร้อมกับประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นเป็นวงเงินสูงถึง 1 พันล้านปอนด์
หุ้นเกลนคอร์ ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองรายใหญ่ ทะยานขึ้น 5.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในปี 2560 เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า สู่ระดับ 5.78 พันล้านดอลลาร์
ส่วนหุ้นบาร์แรตต์ ดิเวลลอปเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน ดีดตัวขึ้น 0.9% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างผันผวน หลังจากไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 57.5 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 58.8 ในเดือนม.ค. โดยการร่วงลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ซึ่งดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
สำหรับดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ 59.5 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 61.1 ในเดือนม.ค.
ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ 56.7 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 58.0 ในเดือนม.ค.

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 166.97 จุด หลังรายงานประชุมเฟดส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย
         ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ หลังจากรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของเฟดระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะดีดตัวขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป นอกจากนี้ รายงานการประชุมของเฟดส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น และนับเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงเมื่อคืนนี้ด้วย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,797.78 จุด ลดลง 166.97 จุด หรือ -0.67% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,218.23 จุด ลดลง 16.08 จุด หรือ -0.22% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,701.33 จุด ลดลง 14.93 จุด หรือ -0.55%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงหลังจากคณะกรรมการเฟดได้เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของวันที่ 30-31 ม.ค. เมื่อวานนี้ โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ความแข็งแกร่งของแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้นี้ ทำให้เฟดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปนั้น ถือเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม
รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า ข้อมูลเงินเฟ้อที่กรรมการเฟดได้รับมา ประกอบกับข้อมูลที่บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ช่วยสนับสนุนมุมมองที่ว่า อัตราเงินเฟ้อจะดีดตัวขึ้นในปี 2561 โดยกรรมการเฟดเกือบทุกคนคาดว่า ในระยะกลางนี้ อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% เนื่องจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้ และตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นเนื่องจากรายงานการประชุมของเฟดได้หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 2.95% เมื่อคืนนี้ และยังได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
หุ้นวอลมาร์ท ร่วงลง 2.8% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 2 วันทำการ หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 1.33 ดอลลาร์/หุ้น ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.37 ดอลลาร์/หุ้น
หุ้นโอเวนส์ คอร์นิ่ง ร่วงลง 4.8% ขณะที่หุ้นดิช เน็ตเวิร์ค คอร์ป ร่วงลง 3.1% หลังจากทั้งสองบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 4/2560
สำหรับการแสดงความเห็นล่าสุดของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดเมื่อคืนนี้ นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า เขายังคงคิดว่า เป็นการเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในปีนี้ แต่เขาก็เปิดกว้างต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง หากมีความจำเป็น ขณะที่นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เฟดควรเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวมากขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการปรับลดอัตราภาษี รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยล่าสุดและส่งผลต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาดเมื่อคืนนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนม.ค. สวนทางการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ เนื่องจากภาวะขาดแคลนบ้านได้ส่งผลให้ราคาบ้านแพงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาด
ทางด้านไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต และภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 55.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 53.8 ในเดือนม.ค.
OO5780

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!