- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 21 February 2018 13:49
- Hits: 3737
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้มีโอกาสหลุด 1,800 จุดหลัง Sentiment ไม่ดี-ดาวโจนส์ร่วง ลุ้นหุ้นใหญ่ช่วยพยุง
นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะหลุดแนว 1,800 จุด ซึ่งทิศทางวันนี้คงเป็นลักษณะ Sideway Down เนื่องจาก Sentiment ตลาดบ้านเราในช่วงปลายตลาดเมื่อวานนี้ไม่ค่อยดี และตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ก็แกว่งทั้งในแดนบวก-ลบไม่มาก หลังจากที่ดาวโจนส์ปรับตัวลงไปมากราว 1%
อย่างไรก็ดี ตลาดฯไม่น่าจะปรับตัวลงลึก เนื่องจากยังมีผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ช่วยประคองดัชนีฯอยู่ อย่าง PTT, IVL ที่งบฯออกมาดีน่าจะช่วยพยุงตลาดฯ พร้อมให้ติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อไป และให้ติดตามรายงานผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ครั้งก่อนด้วย
พร้อมให้แนวรับ 1,790 จุด ส่วนแนวต้าน 1,800 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (20 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,964.75 จุด ลดลง 254.63 จุด (-1.01%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,716.26 จุด ลดลง 15.96 จุด (-0.58%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,234.31 จุด ลดลง 5.16 จุด (-0.07%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 17.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 176.89 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 138.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.61 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 2.19 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 2.48 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 45.19 จุด
ส่วนตลาดหุ้นจีน ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันตรุษจีน
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (20 ก.พ.61) 1,801.02 จุด ลดลง 8.65 จุด (-0.48%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,014.34 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (20 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 61.90 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือ 0.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (20 ก.พ.61) ที่ 7.28 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.50 ทรงตัวจากวานนี้ รอตัวเลขส่งออก-นำเข้าของไทย, รายงานประชุม FOMC
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกประกาศผ่อนผันหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในช่วงนี้ที่กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กำลังเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาส่งมอบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ จากเดิมทีบวก 3 คือหลังวันซื้อขาย 3 วัน เหลือทีบวก 2 หรือหลังวันซื้อขาย 2 วัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานวันที่เปลี่ยนแปลงระยะเวลาส่งมอบ
- ธนาคารพาณิชย์ สนใจตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ มองเกณฑ์ธปท.ที่เปิดกว้างมากขึ้นเป็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า แต่ยังเร็วไปที่จะตัดสินใจ เพราะต้องดูควบคู่กับแผน เรื่องสาขา และแนวโน้มการทำธุรกรรมผ่านสาขา ชี้พฤติกรรมลูกค้าเป็นตัวตัดสินว่าจะตั้งแบงกิ้งเอเยนต์หรือไม่
- กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ พพ.พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อรองรับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เกิดขึ้นในภาคใต้ตามแผน ล่าสุด พพ.มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศิลปากรตรวจสอบศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากข้อมูลเดิมได้มีการตรวจสอบไว้ตั้งแต่ปี 57-58 ซึ่งนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังาน มีนโยบายรองรับโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งการวางระบบสายส่งไปยังภาคใต้ การเพิ่มโรงไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อีก 200-300 เมกะวัตต์
- นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2561 มีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านจะเติบโต 10% หรือมีมูลค่ากว่า 15,000-16,000 ล้านบาท
- คลังเตรียมดัน 3 กรมภาษี เป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ "SARA" หวังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บลดต้นทุนการดำเนินงาน ดันรายได้จากภาษีขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต
*หุ้นเด่นวันนี้
- PCSGH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 13 บาท โดยมีงบ Q4/60 เป็นปัจจัยหนุนระยะสั้น และการผลิตชิ้นส่วน EV เป็นรายแรกในประเทศเป็นปัจจัยหนุนระยะยาว ส่วนปันผลเฉพาะ H2/60 คาด 2% (ทั้งปี 4%) โดยได้รับจิตวิทยาการลงทุนเชิงบวกจาก ผลประกอบการของ Q4/60 ของ STANLY และ SAT ออกมาดี จึงคาดกำไรสุทธิ Q4/60 ของ PCSGH ที่ 166 ลบ. +20% Y-Y จากยอดผลิตรถยนต์ที่ +9% Y-Y และสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม Non-Auto ซึ่งมีอัตรากำไรสูง ด้านเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าเป็นบวกต่อกลุ่มยานยนต์ เพราะสัดส่วนการผลิตรถยนต์ในประเทศราว 60% คือการผลิตเพื่อส่งออก
- PSH (ทรีนีตี้) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 25.65 บาท จากระยะเวลาการก่อสร้างเร็วขึ้น ส่งผลให้การรับรู้รายได้เร็วขึ้นเช่นกัน, ปรับมาเน้นโครงการระดับบนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจาก Rejection rate และมียอดขายที่สูงกว่าคาด โดยที่โครงกากลุ่ม Premium จะเริ่มรับรู้เป็นรายได้ในปี 62, ลดจำนวนแบรนด์จาก 48 แบรนด์เป็น 14 แบรนด์หลัก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำ Branding และประกาศจ่ายเงินปันผล 2H60 ที่ 0.72 บาท/หุ้น และขึ้น XD 8 มี.ค.61
- SPALI (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 30 บาท มองว่า ฐานกำไรยังแข็งแกร่งแม้ในปี 61 จะมี Dilution จาก warrant ที่ SPALI-W4 แต่เป็นจังหวะของการเข้าลงทุนหุ้นได้เนื่องจาก H1/61 จะเป็นช่วงของการเริ่มกลับมาจ่ายเงินปันผลหลังจากเว้นไปในปี 60 ทั้งนี้รายงานรายได้ปี 60 ที่ 25,020 ล้านบาท (+7.2% YoY) ใกล้เคียงกับคาดที่ 24,932 ล้านบาท รวมทั้งอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ 38% และค่าใช้จ่าย SG&A ที่ 11.7% ใกล้เคียงคาดทำให้กำไรสุทธิทำ New Record High ตามคาดที่ 5,812 ล้านบาท (+19% YoY) ใกล้กับที่คาดที่ 5,702 ล้านบาท โดยใน Q4/60 ทำกำไรสุทธิได้ที่ 1,703 ล้านบาท
นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะหลุดแนว 1,800 จุด ซึ่งทิศทางวันนี้คงเป็นลักษณะ Sideway Down เนื่องจาก Sentiment ตลาดบ้านเราในช่วงปลายตลาดเมื่อวานนี้ไม่ค่อยดี และตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ก็แกว่งทั้งในแดนบวก-ลบไม่มาก หลังจากที่ดาวโจนส์ปรับตัวลงไปมากราว 1%
อย่างไรก็ดี ตลาดฯไม่น่าจะปรับตัวลงลึก เนื่องจากยังมีผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ช่วยประคองดัชนีฯอยู่ อย่าง PTT, IVL ที่งบฯออกมาดีน่าจะช่วยพยุงตลาดฯ พร้อมให้ติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อไป และให้ติดตามรายงานผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ครั้งก่อนด้วย
พร้อมให้แนวรับ 1,790 จุด ส่วนแนวต้าน 1,800 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (20 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,964.75 จุด ลดลง 254.63 จุด (-1.01%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,716.26 จุด ลดลง 15.96 จุด (-0.58%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,234.31 จุด ลดลง 5.16 จุด (-0.07%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 17.32 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 176.89 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 138.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.61 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 2.19 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 2.48 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 45.19 จุด
ส่วนตลาดหุ้นจีน ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันตรุษจีน
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (20 ก.พ.61) 1,801.02 จุด ลดลง 8.65 จุด (-0.48%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,014.34 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (20 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 61.90 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือ 0.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (20 ก.พ.61) ที่ 7.28 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.50 ทรงตัวจากวานนี้ รอตัวเลขส่งออก-นำเข้าของไทย, รายงานประชุม FOMC
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกประกาศผ่อนผันหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในช่วงนี้ที่กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กำลังเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาส่งมอบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ จากเดิมทีบวก 3 คือหลังวันซื้อขาย 3 วัน เหลือทีบวก 2 หรือหลังวันซื้อขาย 2 วัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานวันที่เปลี่ยนแปลงระยะเวลาส่งมอบ
- ธนาคารพาณิชย์ สนใจตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ มองเกณฑ์ธปท.ที่เปิดกว้างมากขึ้นเป็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า แต่ยังเร็วไปที่จะตัดสินใจ เพราะต้องดูควบคู่กับแผน เรื่องสาขา และแนวโน้มการทำธุรกรรมผ่านสาขา ชี้พฤติกรรมลูกค้าเป็นตัวตัดสินว่าจะตั้งแบงกิ้งเอเยนต์หรือไม่
- กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ พพ.พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อรองรับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เกิดขึ้นในภาคใต้ตามแผน ล่าสุด พพ.มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศิลปากรตรวจสอบศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากข้อมูลเดิมได้มีการตรวจสอบไว้ตั้งแต่ปี 57-58 ซึ่งนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังาน มีนโยบายรองรับโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งการวางระบบสายส่งไปยังภาคใต้ การเพิ่มโรงไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อีก 200-300 เมกะวัตต์
- นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2561 มีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านจะเติบโต 10% หรือมีมูลค่ากว่า 15,000-16,000 ล้านบาท
- คลังเตรียมดัน 3 กรมภาษี เป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ "SARA" หวังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บลดต้นทุนการดำเนินงาน ดันรายได้จากภาษีขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต
*หุ้นเด่นวันนี้
- PCSGH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 13 บาท โดยมีงบ Q4/60 เป็นปัจจัยหนุนระยะสั้น และการผลิตชิ้นส่วน EV เป็นรายแรกในประเทศเป็นปัจจัยหนุนระยะยาว ส่วนปันผลเฉพาะ H2/60 คาด 2% (ทั้งปี 4%) โดยได้รับจิตวิทยาการลงทุนเชิงบวกจาก ผลประกอบการของ Q4/60 ของ STANLY และ SAT ออกมาดี จึงคาดกำไรสุทธิ Q4/60 ของ PCSGH ที่ 166 ลบ. +20% Y-Y จากยอดผลิตรถยนต์ที่ +9% Y-Y และสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม Non-Auto ซึ่งมีอัตรากำไรสูง ด้านเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าเป็นบวกต่อกลุ่มยานยนต์ เพราะสัดส่วนการผลิตรถยนต์ในประเทศราว 60% คือการผลิตเพื่อส่งออก
- PSH (ทรีนีตี้) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 25.65 บาท จากระยะเวลาการก่อสร้างเร็วขึ้น ส่งผลให้การรับรู้รายได้เร็วขึ้นเช่นกัน, ปรับมาเน้นโครงการระดับบนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจาก Rejection rate และมียอดขายที่สูงกว่าคาด โดยที่โครงกากลุ่ม Premium จะเริ่มรับรู้เป็นรายได้ในปี 62, ลดจำนวนแบรนด์จาก 48 แบรนด์เป็น 14 แบรนด์หลัก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำ Branding และประกาศจ่ายเงินปันผล 2H60 ที่ 0.72 บาท/หุ้น และขึ้น XD 8 มี.ค.61
- SPALI (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 30 บาท มองว่า ฐานกำไรยังแข็งแกร่งแม้ในปี 61 จะมี Dilution จาก warrant ที่ SPALI-W4 แต่เป็นจังหวะของการเข้าลงทุนหุ้นได้เนื่องจาก H1/61 จะเป็นช่วงของการเริ่มกลับมาจ่ายเงินปันผลหลังจากเว้นไปในปี 60 ทั้งนี้รายงานรายได้ปี 60 ที่ 25,020 ล้านบาท (+7.2% YoY) ใกล้เคียงกับคาดที่ 24,932 ล้านบาท รวมทั้งอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ 38% และค่าใช้จ่าย SG&A ที่ 11.7% ใกล้เคียงคาดทำให้กำไรสุทธิทำ New Record High ตามคาดที่ 5,812 ล้านบาท (+19% YoY) ใกล้กับที่คาดที่ 5,702 ล้านบาท โดยใน Q4/60 ทำกำไรสุทธิได้ที่ 1,703 ล้านบาท
ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าปรับตัวขึ้น นักลงทุนจับตาผล ประกอบการ-รายงานการประชุมเฟด
ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าวันนี้ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักลงทุนรอดูการเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นจีนจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้หลังจากที่ปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าพุ่งขึ้น 139.45 จุด หรือ 0.64% แตะที่ 22,064.55 จุด ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 31,153.39 จุด เพิ่มขึ้น 279.76 จุด, +0.91% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดภาคเช้าที่ 1,858.34 จุด เพิ่มขึ้น 2.35 จุด, +0.13%
สำหรับความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจนั้น เกาหลีใต้ได้ยื่นคำร้องต่อองค์กรการค้าโลก (WTO) ในกรณีที่สหรัฐได้ออกมาตรการเรียกเก็บภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) และการอุดหนุนตลาด (CVD) ต่อสินค้าจำพวกเหล็กและหม้อแปลงไฟฟ้า
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของเกาหลีใต้มีขึ้นหลังจาก WTO ระบุว่า ในช่วงต้นปีนี้ แคนาดาและเวียดนามได้เรียกร้องให้มีการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับสหรัฐ อันเนื่องมาจากความกังวลที่สหรัฐได้ออกมาตรการเรียกเก็บภาษี AD และ CVD
สำหรับบริษัทที่จะเปิดเผยข้อมูลผลประกอบการในวันนี้ ได้แก่ เกลนคอร์, วูลเวิร์ทส์, บาร์เคลย์ส และโรยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าวันนี้ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักลงทุนรอดูการเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นจีนจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้หลังจากที่ปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าพุ่งขึ้น 139.45 จุด หรือ 0.64% แตะที่ 22,064.55 จุด ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 31,153.39 จุด เพิ่มขึ้น 279.76 จุด, +0.91% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดภาคเช้าที่ 1,858.34 จุด เพิ่มขึ้น 2.35 จุด, +0.13%
สำหรับความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจนั้น เกาหลีใต้ได้ยื่นคำร้องต่อองค์กรการค้าโลก (WTO) ในกรณีที่สหรัฐได้ออกมาตรการเรียกเก็บภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) และการอุดหนุนตลาด (CVD) ต่อสินค้าจำพวกเหล็กและหม้อแปลงไฟฟ้า
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของเกาหลีใต้มีขึ้นหลังจาก WTO ระบุว่า ในช่วงต้นปีนี้ แคนาดาและเวียดนามได้เรียกร้องให้มีการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับสหรัฐ อันเนื่องมาจากความกังวลที่สหรัฐได้ออกมาตรการเรียกเก็บภาษี AD และ CVD
สำหรับบริษัทที่จะเปิดเผยข้อมูลผลประกอบการในวันนี้ ได้แก่ เกลนคอร์, วูลเวิร์ทส์, บาร์เคลย์ส และโรยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 0.89 จุด เหตุวิตกผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,246.77 จุด ลดลง 0.89 จุด หรือ -0.01%
หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 4.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า กำไรสุทธิงวด 6 เดือนจนถึงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลง 37% แตะ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากบริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของโลกต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับบริษัทชั้นนำระดับโลกรายอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากมาตรการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐ
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.1% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นอินเตอร์คอนติเนนทัล โฮลเทลส์ ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,246.77 จุด ลดลง 0.89 จุด หรือ -0.01%
หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 4.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า กำไรสุทธิงวด 6 เดือนจนถึงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลง 37% แตะ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากบริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของโลกต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับบริษัทชั้นนำระดับโลกรายอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากมาตรการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐ
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.1% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นอินเตอร์คอนติเนนทัล โฮลเทลส์ ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก หลังเงินยูโรอ่อนหนุนหุ้นกลุ่มส่งออก
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) โดยได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีรายงานว่า อังกฤษและสหภาพยุโรปมีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับการที่อังกฤษแยกตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างไรก็ตาม แรงบวกได้ถูกสกัดลงในระหว่างวัน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี
ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับขึ้น 0.6% ปิดที่ 380.51 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,487.90 จุด เพิ่มขึ้น 102.30 จุด, +0.83% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,289.86 จุด เพิ่มขึ้น 33.68 จุด, +0.64% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,246.77 จุด ลดลง 0.89 จุด, -0.01%
ตลาดหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากสกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขานรับรายงานของสำนักข่าวบิสิเนส อินไซเดอร์ ซึ่งระบุว่า อังกฤษและสหภาพยุโรปมีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับ Brexit ทั้งนี้ การอ่อนค่าของยูโรได้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มบริษัทยุโรปที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นรายได้หลัก
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 4.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า กำไรสุทธิงวด 6 เดือนจนถึงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลง 37% แตะ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากบริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของโลกต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับบริษัทชั้นนำระดับโลกรายอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากมาตรการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐ
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.1% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นอินเตอร์คอนติเนนทัล โฮลเทลส์ ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และ 2.1% เมื่อเทียบรายปี โดยดัชนี PPI ในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ. และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.ของประเทศต่างๆในวันนี้ ซึ่งรวมถึง ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาอัตราว่างงานประจำเดือนธ.ค.ของอังกฤษซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้เช่นกัน
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) โดยได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีรายงานว่า อังกฤษและสหภาพยุโรปมีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับการที่อังกฤษแยกตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างไรก็ตาม แรงบวกได้ถูกสกัดลงในระหว่างวัน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี
ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับขึ้น 0.6% ปิดที่ 380.51 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,487.90 จุด เพิ่มขึ้น 102.30 จุด, +0.83% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,289.86 จุด เพิ่มขึ้น 33.68 จุด, +0.64% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,246.77 จุด ลดลง 0.89 จุด, -0.01%
ตลาดหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากสกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขานรับรายงานของสำนักข่าวบิสิเนส อินไซเดอร์ ซึ่งระบุว่า อังกฤษและสหภาพยุโรปมีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับ Brexit ทั้งนี้ การอ่อนค่าของยูโรได้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มบริษัทยุโรปที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นรายได้หลัก
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างบีเอชพี บิลลิตัน และธนาคารเอชเอสบีซี โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 4.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า กำไรสุทธิงวด 6 เดือนจนถึงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลง 37% แตะ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากบริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของโลกต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับบริษัทชั้นนำระดับโลกรายอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากมาตรการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐ
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.1% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นอินเตอร์คอนติเนนทัล โฮลเทลส์ ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และ 2.1% เมื่อเทียบรายปี โดยดัชนี PPI ในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ. และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.ของประเทศต่างๆในวันนี้ ซึ่งรวมถึง ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาอัตราว่างงานประจำเดือนธ.ค.ของอังกฤษซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้เช่นกัน
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 254.63 จุด หลังหุ้นวอลมาร์ทดิ่งหนัก,บอนด์ยีลด์พุ่ง
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นวอลมาร์ทที่ดิ่งลงกว่า 10% หลังจากบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่รายนี้ได้เปิดเผยกำไรไตรมาส 4/2560 ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซาลง ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,964.75 จุด ลดลง 254.63 จุด หรือ -1.01% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,716.26 จุด ลดลง 15.96 จุด หรือ -0.58% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 7,234.31 จุด ลดลง 5.16 จุด หรือ -0.07%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ หลังจากหุ้นวอลมาร์ทดิ่งลง 10.2% จากการที่บริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 1.33 ดอลลาร์/หุ้น ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.37 ดอลลาร์/หุ้น แม้รายได้โดยรวมของบริษัทอยู่ที่ 1.3627 แสนล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.3493 แสนล้านดอลลาร์ก็ตาม
การร่วงลงอย่างหนักของหุ้นวอลมาร์ทได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวลงด้วย โดยหุ้นทาร์เก็ต ดิ่งลง 3% และหุ้นโครเกอร์ ร่วงลง 4.2% อย่างไรก็ตาม หุ้นอเมซอน ดีดตัวขึ้น 1.4%
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.4% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นโฮม ดีโปท์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ปิดตลาดขยับลง 0.03% หลังจากราคาหุ้นดังกล่าวทะยานขึ้นในระหว่างวัน จากการที่บริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ 1.69 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.61 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ 2.39 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.37 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.904% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.152% เมื่อคืนนี้
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทเอกชนปรับตัวขึ้น ซึ่งจะสร้างผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้น นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังลดความน่าดึงดูดในตลาดหุ้นเช่นกัน
นักลงทุนจับตากระทรวงการคลังสหรัฐซึ่งจะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอายุ 5 ปี วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และประเภทอายุ 7 ปี วงเงิน 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ หลังจากก่อนหน้านี้ทางกระทรวงได้เปิดประมูลพันธบัตรประเภทอายุ 2 ปี วงเงิน 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีอัตราส่วนความต้องการประมูลพันธบัตรมากกว่าปริมาณพันธบัตร (bid to cover ratio) สูงถึง 2.72 เท่า
ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 30-31 ม.ค.ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
--อินโฟเควสท์
OO5740
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นวอลมาร์ทที่ดิ่งลงกว่า 10% หลังจากบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่รายนี้ได้เปิดเผยกำไรไตรมาส 4/2560 ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซาลง ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,964.75 จุด ลดลง 254.63 จุด หรือ -1.01% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,716.26 จุด ลดลง 15.96 จุด หรือ -0.58% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 7,234.31 จุด ลดลง 5.16 จุด หรือ -0.07%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ หลังจากหุ้นวอลมาร์ทดิ่งลง 10.2% จากการที่บริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 1.33 ดอลลาร์/หุ้น ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.37 ดอลลาร์/หุ้น แม้รายได้โดยรวมของบริษัทอยู่ที่ 1.3627 แสนล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.3493 แสนล้านดอลลาร์ก็ตาม
การร่วงลงอย่างหนักของหุ้นวอลมาร์ทได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวลงด้วย โดยหุ้นทาร์เก็ต ดิ่งลง 3% และหุ้นโครเกอร์ ร่วงลง 4.2% อย่างไรก็ตาม หุ้นอเมซอน ดีดตัวขึ้น 1.4%
หุ้นธนาคารเอชเอสบีซี ดิ่งลง 3.4% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.23 หมื่นล้านปอนด์) แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้รายใหญ่ 2 ราย ได้แก่บริษัทคาริลเลียน และบริษัทสเตนฮอฟฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หุ้นโฮม ดีโปท์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ปิดตลาดขยับลง 0.03% หลังจากราคาหุ้นดังกล่าวทะยานขึ้นในระหว่างวัน จากการที่บริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ 1.69 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.61 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ 2.39 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.37 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.904% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.152% เมื่อคืนนี้
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทเอกชนปรับตัวขึ้น ซึ่งจะสร้างผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้น นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังลดความน่าดึงดูดในตลาดหุ้นเช่นกัน
นักลงทุนจับตากระทรวงการคลังสหรัฐซึ่งจะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอายุ 5 ปี วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และประเภทอายุ 7 ปี วงเงิน 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ หลังจากก่อนหน้านี้ทางกระทรวงได้เปิดประมูลพันธบัตรประเภทอายุ 2 ปี วงเงิน 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีอัตราส่วนความต้องการประมูลพันธบัตรมากกว่าปริมาณพันธบัตร (bid to cover ratio) สูงถึง 2.72 เท่า
ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 30-31 ม.ค.ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
--อินโฟเควสท์
OO5740