- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 07 February 2018 11:09
- Hits: 1572
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ลุ้นรีบาวด์ตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลัง Bond Yield ของสหรัฐฯอ่อนตัวลง
นายกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะเกิดเทคนิคเคิลรีบาวด์ตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างอยู่ในแดนบวกกันหมดราว 1-3% เช่นเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ที่รีบาวด์ขึ้นมาได้ราวกว่า 2% ภายหลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) ได้อ่อนตัวลง แต่ก็มีโอกาสที่จะขึ้นไปใกล้ระดับ 3% อยู่
ทั้งนี้ มองว่าตลาดฯอาจจะใช้ระยะเวลา 2-8 สัปดาห์ในการปรับฐาน แต่ระหว่างนั้นก็อาจจะแกว่งตัวขึ้นได้บ้าง ดังนั้น ในทางกลยุทธ์สำหรับนักลงทุนระยะยาวให้หาจังหวะซื้อได้ แต่นักลงทุนระยะสั้นให้ขายบางส่วนเมื่อราคาหุ้นขยับขึ้นไปแล้วถือเงินสด เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปเร็วกว่ากำไรของบรืษัทจดทะเบียน ดังนั้น จำเป็นจะต้องเห็นภาพกำไรที่เติบโตเร็วที่ทำให้เห็นว่าราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นเร็วเกินไป
นอกจากนี้ ให้ติดตามทิศทางของ Bond Yield และการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯที่สัปดาห์นี้น่าจะทยอยออกมามากขึ้น พร้อมมองว่าหากดัชนีฯยังไม่เกินระดับ 1,820 จุด ทิศทางตลาดฯยังเป็นการปรับฐาน โดยให้แนวรับไว้ที่ 1,770 จุด ส่วนแนวต้าน 1,800-1,806 จุด โดยหุ้นขนาดกลาง-เล็กอาจจะมีบทบาทมากขึ้นในช่วงหุ้นใหญ่ปรับตัว
ทั้งนี้ มองว่าตลาดฯอาจจะใช้ระยะเวลา 2-8 สัปดาห์ในการปรับฐาน แต่ระหว่างนั้นก็อาจจะแกว่งตัวขึ้นได้บ้าง ดังนั้น ในทางกลยุทธ์สำหรับนักลงทุนระยะยาวให้หาจังหวะซื้อได้ แต่นักลงทุนระยะสั้นให้ขายบางส่วนเมื่อราคาหุ้นขยับขึ้นไปแล้วถือเงินสด เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปเร็วกว่ากำไรของบรืษัทจดทะเบียน ดังนั้น จำเป็นจะต้องเห็นภาพกำไรที่เติบโตเร็วที่ทำให้เห็นว่าราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นเร็วเกินไป
นอกจากนี้ ให้ติดตามทิศทางของ Bond Yield และการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯที่สัปดาห์นี้น่าจะทยอยออกมามากขึ้น พร้อมมองว่าหากดัชนีฯยังไม่เกินระดับ 1,820 จุด ทิศทางตลาดฯยังเป็นการปรับฐาน โดยให้แนวรับไว้ที่ 1,770 จุด ส่วนแนวต้าน 1,800-1,806 จุด โดยหุ้นขนาดกลาง-เล็กอาจจะมีบทบาทมากขึ้นในช่วงหุ้นใหญ่ปรับตัว
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (6 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,912.77 จุด พุ่งขึ้น 567.02 จุด (+2.33%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.14 จุด เพิ่มขึ้น 46.20 จุด (+1.74%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,115.88 จุด เพิ่มขึ้น 148.36 จุด ( +2.13%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 391.05 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 42.09 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 782.93 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 143.64 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 30.41 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 39.45 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 14.66 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (6 ก.พ.61) 1,788.43 จุด ลดลง 21.89 จุด (-1.21%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,220.15 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (6 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 63.39 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 76 เซนต์ หรือ 1.2%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (6 ก.พ.61) ที่ 7.39 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.46 กลับมาแข็งค่าตามทิศทางภูมิภาคจากแรงขายดอลล์ มองกรอบวันนี้ 31.40-31.50
- กกร. ห่วงค่าบาทแข็งกระทบขีดแข่งขันธุรกิจ ระบุเดือนม.ค. แข็งค่าขึ้น 4% คาดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ในระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ แนะธปท. เข้มงวดสกัดเก็งกำไรค่าเงิน หนุนเอกชนลงทุนนอก-ฝากเงินต่างประเทศ ขณะสรท.ประเมินบาทแข็งและขึ้นค่าแรง ฉุดส่งออกปี 61 โตลดลง 1.5-2% เหลือ 3.5-4% หวั่นคำสั่งซื้อ ไตรมาสสองลด กำไรหด จี้รัฐเร่งงัด 10 มาตรการช่วยเหลือ กู้วิกฤติส่งออก
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา เห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก วงเงินรวม 7.73 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 2.02 หมื่นล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2563
- ซิตี้ โกลด์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 เติบโตที่ระดับ 3.8% มีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่จะมีการปรับลดเล็กน้อย แต่ความต้องการของตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงทิศทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ยังดีต่อเนื่องเป็นผลจากกำไรในกลุ่มธุรกิจธนาคาร สุขภาพ และสินค้าบริโภคจะได้รับแรงหนุนให้ปรับต้วเพิ่มขึ้น
- สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้ประเมินผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 5-22 บาทต่อวัน ทำให้ผู้ส่งออกต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอาจทำให้การขยายตัวของส่งออกปีนี้ลดลงจากเป้าเดิมขยายตัว 5.5% เหลือ 3.5-4% โดยอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบหนัก ๆ มี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร, กลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกข้าว, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังและกลุ่มไก่สดแช่แข็งและแปรรูป
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (6 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,912.77 จุด พุ่งขึ้น 567.02 จุด (+2.33%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.14 จุด เพิ่มขึ้น 46.20 จุด (+1.74%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,115.88 จุด เพิ่มขึ้น 148.36 จุด ( +2.13%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 391.05 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 42.09 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 782.93 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 143.64 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 30.41 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 39.45 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 14.66 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (6 ก.พ.61) 1,788.43 จุด ลดลง 21.89 จุด (-1.21%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,220.15 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (6 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 63.39 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 76 เซนต์ หรือ 1.2%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (6 ก.พ.61) ที่ 7.39 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.46 กลับมาแข็งค่าตามทิศทางภูมิภาคจากแรงขายดอลล์ มองกรอบวันนี้ 31.40-31.50
- กกร. ห่วงค่าบาทแข็งกระทบขีดแข่งขันธุรกิจ ระบุเดือนม.ค. แข็งค่าขึ้น 4% คาดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ในระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ แนะธปท. เข้มงวดสกัดเก็งกำไรค่าเงิน หนุนเอกชนลงทุนนอก-ฝากเงินต่างประเทศ ขณะสรท.ประเมินบาทแข็งและขึ้นค่าแรง ฉุดส่งออกปี 61 โตลดลง 1.5-2% เหลือ 3.5-4% หวั่นคำสั่งซื้อ ไตรมาสสองลด กำไรหด จี้รัฐเร่งงัด 10 มาตรการช่วยเหลือ กู้วิกฤติส่งออก
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา เห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก วงเงินรวม 7.73 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 2.02 หมื่นล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2563
- ซิตี้ โกลด์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 เติบโตที่ระดับ 3.8% มีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่จะมีการปรับลดเล็กน้อย แต่ความต้องการของตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงทิศทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ยังดีต่อเนื่องเป็นผลจากกำไรในกลุ่มธุรกิจธนาคาร สุขภาพ และสินค้าบริโภคจะได้รับแรงหนุนให้ปรับต้วเพิ่มขึ้น
- สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้ประเมินผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 5-22 บาทต่อวัน ทำให้ผู้ส่งออกต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอาจทำให้การขยายตัวของส่งออกปีนี้ลดลงจากเป้าเดิมขยายตัว 5.5% เหลือ 3.5-4% โดยอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบหนัก ๆ มี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร, กลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกข้าว, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังและกลุ่มไก่สดแช่แข็งและแปรรูป
*หุ้นเด่นวันนี้
- KKP (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อเพื่อรับปันผล" เป้า 85 บาท KKP ยังโดดเด่นในแง่ของปันผล จากเงินกองทุนที่แข็งแกร่งในระดับเกือบ 18% ซึ่งคาดงวด H2/60 ที่ 4 บาท/หุ้น คิดเป็นผลตอบแทน 5% จากการถือหุ้นไม่ถึง 3 เดือน ทำให้มีความทนทานต่อความผันผวนของตลาดในช่วงนี้เป็นอย่างดี พร้อมคาดกำไรสุทธิปีนี้ 6 พันล้านบาท +5% Y-Y จากการขยายตัวของสินเชื่อและการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมโดยเฉพาะธุรกิจตลาดทุนและด้าน IB โดยยังไม่รวม Upside จากกำไรและรายได้การขายสินทรัพย์ SAM ซึ่งอาจเกิดขึ้นหากเศรษฐกิจดีขึ้นตามคาด
- BBL (ไอร่า) เป้า 234 บาท คาดเงินปันผล H2/60 จำนวนเดียวกับ H2/59 ประมาณ 4.50 บาท พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 61 เติบโต 11% คาดอยู่ที่ 36,635 ล้านบาท (EPS 19.19 บาท) หลักๆ จากการตั้งสำรองหนี้ ลดลง 8.60% จากปี 60 หลังเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว คาดวัฎจักร NPL เริ่มเป็นขาลง ทำให้คาดไม่ต้องตั้งสำรองหนี้จำนวนมากเช่นปี 60
- BGRIM (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) เป้า 34 บาท เลือกเป็น Stock pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยคาดผลประกอบการเติบโตสูงกว่า 38% และ 25% ในปี 61, 62 จากโครงการ SPP 3 แห่ง และมี Catalyst เชิงบวกจากการลงนามสัญญา PPA โรงไฟฟ้า SPP ต่ออายุ 3 โครงการ ตามแผนของ ERC ในช่วงกลางปี 2561 และแนวโน้ม Ft ปรับขึ้นในรอบเดือน พ.ค-ส.ค. 2561 ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น โดยคาดทุก 1 สตางค์/ kWh ต่อปีที่ปรับขึ้นจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ 10 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ในปีที่ 2560 มีการปรับขึ้น Ft สุทธิ 17.4 สตางค์ต่อ kWh หาก ค่า Ft ปี 2561 ปรับขึ้นใกล้เคียงกับปีก่อน BGRIM จะได้ผลบวกประมาณ 170 ล้านบาท คิดเป็น Upside 6.5% ของประมาณการปี 2561
- BANPU (เอเอสแอล) "ซื้อ"เป้า 25.50 บาท ปรับกำไรสุทธิปี 61 เพิ่ม จากการปรับราคาขายถ่านหิน โดยยังคงมุมมองเชิงบวกต่อราคาถ่านหิน โดยเฉพาะ H1/61 จากภาพของอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และอุปทานที่ตึงตัว ขณะที่ผู้ผลิตหลักในภูมิภาคยังไม่มีแผนเพิ่มกำลังผลิต เป็นปัจจัยหนุนราคาถ่านหิน ทั้งนี้ คาดหมายกำไรสุทธิ Q4/60 ที่แข็งแกร่ง (คาดกำไรสุทธิ Q4/60 ไว้ที่ 2.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19%QoQ) และการคาดหมายกำไรสุทธิปี 61 เติบโต 41%YoY รวมถึงมองราคาถ่านหินที่ยังอยู่ในระดับสูง
- BBL (ไอร่า) เป้า 234 บาท คาดเงินปันผล H2/60 จำนวนเดียวกับ H2/59 ประมาณ 4.50 บาท พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 61 เติบโต 11% คาดอยู่ที่ 36,635 ล้านบาท (EPS 19.19 บาท) หลักๆ จากการตั้งสำรองหนี้ ลดลง 8.60% จากปี 60 หลังเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว คาดวัฎจักร NPL เริ่มเป็นขาลง ทำให้คาดไม่ต้องตั้งสำรองหนี้จำนวนมากเช่นปี 60
- BGRIM (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) เป้า 34 บาท เลือกเป็น Stock pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยคาดผลประกอบการเติบโตสูงกว่า 38% และ 25% ในปี 61, 62 จากโครงการ SPP 3 แห่ง และมี Catalyst เชิงบวกจากการลงนามสัญญา PPA โรงไฟฟ้า SPP ต่ออายุ 3 โครงการ ตามแผนของ ERC ในช่วงกลางปี 2561 และแนวโน้ม Ft ปรับขึ้นในรอบเดือน พ.ค-ส.ค. 2561 ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น โดยคาดทุก 1 สตางค์/ kWh ต่อปีที่ปรับขึ้นจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ 10 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ในปีที่ 2560 มีการปรับขึ้น Ft สุทธิ 17.4 สตางค์ต่อ kWh หาก ค่า Ft ปี 2561 ปรับขึ้นใกล้เคียงกับปีก่อน BGRIM จะได้ผลบวกประมาณ 170 ล้านบาท คิดเป็น Upside 6.5% ของประมาณการปี 2561
- BANPU (เอเอสแอล) "ซื้อ"เป้า 25.50 บาท ปรับกำไรสุทธิปี 61 เพิ่ม จากการปรับราคาขายถ่านหิน โดยยังคงมุมมองเชิงบวกต่อราคาถ่านหิน โดยเฉพาะ H1/61 จากภาพของอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และอุปทานที่ตึงตัว ขณะที่ผู้ผลิตหลักในภูมิภาคยังไม่มีแผนเพิ่มกำลังผลิต เป็นปัจจัยหนุนราคาถ่านหิน ทั้งนี้ คาดหมายกำไรสุทธิ Q4/60 ที่แข็งแกร่ง (คาดกำไรสุทธิ Q4/60 ไว้ที่ 2.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19%QoQ) และการคาดหมายกำไรสุทธิปี 61 เติบโต 41%YoY รวมถึงมองราคาถ่านหินที่ยังอยู่ในระดับสูง
ภาวะตลาดหุ้นจีน: เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดบวก 42.09 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย
ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับฐานขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงเช้านี้ หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นกว่า 500 จุดเมื่อคืนนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดวันนี้ที่ 3,412.74 จุด เพิ่มขึ้น 42.09 จุด หรือ 1.25%
ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับฐานขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงเช้านี้ หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นกว่า 500 จุดเมื่อคืนนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดวันนี้ที่ 3,412.74 จุด เพิ่มขึ้น 42.09 จุด หรือ 1.25%
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 193.58 จุด เหตุวิตกเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อสกัดการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,141.40 จุด ร่วงลง 193.58 จุด หรือ -2.64%
ตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยล่าสุดมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 200,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 180,000 ตำแหน่ง
ขณะที่ตัวเลขรายได้ หรือค่าแรงต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานซึ่งเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้อนั้น เพิ่มขึ้น 9 เซนต์/ชั่วโมง หรือ 0.3% และเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบรายปี
หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2559 อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2553 ในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันหลายล้านบาร์เรลรั่วไหลลงสู่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโกเป็นเวลานานเกือบ 3 เดือน ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
หุ้นฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์ ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารการลงทุนรายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.4% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ เอเบอร์ดี และหุ้นชโรเดอร์ส ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทคู่แข่งของฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์นั้น ร่วงลงกว่า 5%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ารถยนต์แห่งประเทศอังกฤษ (SMMT) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์เดือนม.ค.ของอังกฤษปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน เนื่องจากความนิยมรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกนั้น เริ่มลดน้อยลง
ทั้งนี้ รายงานของ SMMT ระบุว่า ยอดขายรถยนต์โดยรวมในเดือนม.ค.ปรับตัวลง 6.3% สู่ระดับ 163,615 คัน ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่แล้ว
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อสกัดการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,141.40 จุด ร่วงลง 193.58 จุด หรือ -2.64%
ตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยล่าสุดมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 200,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 180,000 ตำแหน่ง
ขณะที่ตัวเลขรายได้ หรือค่าแรงต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานซึ่งเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้อนั้น เพิ่มขึ้น 9 เซนต์/ชั่วโมง หรือ 0.3% และเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบรายปี
หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2559 อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2553 ในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันหลายล้านบาร์เรลรั่วไหลลงสู่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโกเป็นเวลานานเกือบ 3 เดือน ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
หุ้นฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์ ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารการลงทุนรายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.4% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ เอเบอร์ดี และหุ้นชโรเดอร์ส ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทคู่แข่งของฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์นั้น ร่วงลงกว่า 5%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ารถยนต์แห่งประเทศอังกฤษ (SMMT) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์เดือนม.ค.ของอังกฤษปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน เนื่องจากความนิยมรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกนั้น เริ่มลดน้อยลง
ทั้งนี้ รายงานของ SMMT ระบุว่า ยอดขายรถยนต์โดยรวมในเดือนม.ค.ปรับตัวลง 6.3% สู่ระดับ 163,615 คัน ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่แล้ว
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อสกัดการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงในสหรัฐมีการขยายตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.4% ปิดที่ 372.79 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,392.66 จุด ร่วงลง 294.83 จุด หรือ -2.32% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,161.81 จุด ลดลง 124.02 จุด หรือ -2.35% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,141.40 จุด ลดลง 193.58 จุด หรือ -2.64%
หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2559 อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2553 ในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันหลายล้านบาร์เรลรั่วไหลลงสู่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโกเป็นเวลานานเกือบ 3 เดือน ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
หุ้นฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์ ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารการลงทุนรายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.4% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ เอเบอร์ดี และหุ้นชโรเดอร์ส ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทคู่แข่งของฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์นั้น ร่วงลงกว่า 5%
หุ้นมิวนิค รี ซึ่งเป็นธุรกิจประกันภัยต่อของเยอรมนี ร่วงลง 5.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรปี 2560 ลดลงอย่างมาก เนื่องจากการจ่ายเงินสินไหมชดเชยในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงพายุเฮอร์ริเคน
ส่วนหุ้นแอสซา แอ๊บลอย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกุญแจรายใหญ่ของสวีเดน ดีดตัวขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 4/2560
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีรายงานว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 3.8% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.7%
ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค.ขยายตัวได้ดีกว่าในเดือนพ.ย.ซึ่งปรับตัวขึ้น 2.2% และยังสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีนี้
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อสกัดการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงในสหรัฐมีการขยายตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.4% ปิดที่ 372.79 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,392.66 จุด ร่วงลง 294.83 จุด หรือ -2.32% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,161.81 จุด ลดลง 124.02 จุด หรือ -2.35% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,141.40 จุด ลดลง 193.58 จุด หรือ -2.64%
หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2559 อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2553 ในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันหลายล้านบาร์เรลรั่วไหลลงสู่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโกเป็นเวลานานเกือบ 3 เดือน ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
หุ้นฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์ ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารการลงทุนรายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.4% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ เอเบอร์ดี และหุ้นชโรเดอร์ส ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทคู่แข่งของฮาร์เกรฟ แลนด์ดาวน์นั้น ร่วงลงกว่า 5%
หุ้นมิวนิค รี ซึ่งเป็นธุรกิจประกันภัยต่อของเยอรมนี ร่วงลง 5.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรปี 2560 ลดลงอย่างมาก เนื่องจากการจ่ายเงินสินไหมชดเชยในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงพายุเฮอร์ริเคน
ส่วนหุ้นแอสซา แอ๊บลอย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกุญแจรายใหญ่ของสวีเดน ดีดตัวขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 4/2560
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีรายงานว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 3.8% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.7%
ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค.ขยายตัวได้ดีกว่าในเดือนพ.ย.ซึ่งปรับตัวขึ้น 2.2% และยังสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีนี้
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 567.02 จุด นักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังตลาดร่วงหนักก่อนหน้านี้
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นกว่า 500 จุดเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากดาวโจนส์ดิ่งลงอย่างหนักติดต่อกัน 2 วันทำการก่อนหน้านี้ โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มสินค้าผู้บริโภคพุ่งขึ้นนำตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการโหวตร่างงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ หรือการปิดหน่วยงานของรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,912.77 จุด พุ่งขึ้น 567.02 จุด หรือ +2.33% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.14 จุด เพิ่มขึ้น 46.20 จุด หรือ +1.74% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,115.88 จุด เพิ่มขึ้น 148.36 จุด หรือ +2.13%
นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกนกล่าวว่า นักลงทุนมองว่าการที่ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงอย่างหนักติดต่อกัน 2 วันทำการที่ผ่านมานั้น ถือเป็นโอกาสดีที่จะเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 665.75 จุด หรือ -2.54% และจากนั้นได้ร่วงลงอีก 1,175.21 จุด หรือ -4.60% ในวันจันทร์ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงในสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งกว่าการคาดการณ์
ด้านนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้เกี่ยวกับการทรุดตัวของตลาดหุ้นนิวยอร์กว่า การซื้อขายหุ้นที่มีการตั้งโปรแกรมคอมพิวตอร์ล่วงหน้า โดยกำหนดเงื่อนไขให้มีการใช้คำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น โดยฉุดให้ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 1,175 จุด ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงหนักเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ดี นายมนูชินกล่าวว่า สภาวะตลาดโดยรวมยังคงปกติ แม้ตลาดปรับตัวผันผวน แต่ปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นนำตลาด โดยหุ้นเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 2.2% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ดีดตัวขึ้น 2% หุ้นอเมซอนดอทคอม พุ่งขึ้น 3.8% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ทะยานขึ้น 4.5% และหุ้นไมโครซอฟต์ พุ่งขึ้น 3.7%
หุ้นไมครอน เทคโนโลยี พุ่งขึ้น 11% หลังจากนักวิเคราะห์ของคีย์แบงก์ แคปิตอล ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวสู่ระดับ "overweight" จากระดับ "sector weight"
หุ้นกลุ่มสินค้าเพื่อผู้บริโภคปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นยูนิลีเวอร์ พุ่งขึ้น 1.2% หุ้นอัลเลอร์แกน พีแอลซี ดีดตัวขึ้น 2%
หุ้นเจเนอรัล มอเตอร์ (GM) พุ่งขึ้น 5.9% หลังจากบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐรายนี้เปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ระดับ 1.65 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 1.38 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 3.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.655 หมื่นล้านดอลลาร์
นักลงทุนจับตาสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเตรียมลงมติร่างกฎหมายงบประมาณ ก่อนที่งบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันพฤหัสบดีนี้ โดยการลงมติครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างพรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครตเกี่ยวกับโครงการคุ้มครองผู้อพยพวัยเยาว์ที่เดินทางเข้ามาในสหรัฐ (DACA) จำนวนกว่า 7 แสนคน ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุว่า เขาจะยกเลิกโครงการดังกล่าวภายในวันที่ 5 มี.ค. ซึ่งจะส่งผลให้มีการเนรเทศผู้อพยพเหล่านี้กลับประเทศ
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงคืนของวันพฤหัสบดีนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือเวลาเที่ยงของวันศุกร์ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนธ.ค.
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า สหรัฐมีตัวเลขขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนธ.ค. สู่ระดับ 5.31 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 หลังจากที่ขาดดุล 5.04 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย.
--อินโฟเควสท์
OO5310
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นกว่า 500 จุดเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากดาวโจนส์ดิ่งลงอย่างหนักติดต่อกัน 2 วันทำการก่อนหน้านี้ โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มสินค้าผู้บริโภคพุ่งขึ้นนำตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการโหวตร่างงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ หรือการปิดหน่วยงานของรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,912.77 จุด พุ่งขึ้น 567.02 จุด หรือ +2.33% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.14 จุด เพิ่มขึ้น 46.20 จุด หรือ +1.74% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,115.88 จุด เพิ่มขึ้น 148.36 จุด หรือ +2.13%
นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกนกล่าวว่า นักลงทุนมองว่าการที่ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงอย่างหนักติดต่อกัน 2 วันทำการที่ผ่านมานั้น ถือเป็นโอกาสดีที่จะเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 665.75 จุด หรือ -2.54% และจากนั้นได้ร่วงลงอีก 1,175.21 จุด หรือ -4.60% ในวันจันทร์ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากตัวเลขจ้างงานและค่าแรงในสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งกว่าการคาดการณ์
ด้านนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้เกี่ยวกับการทรุดตัวของตลาดหุ้นนิวยอร์กว่า การซื้อขายหุ้นที่มีการตั้งโปรแกรมคอมพิวตอร์ล่วงหน้า โดยกำหนดเงื่อนไขให้มีการใช้คำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น โดยฉุดให้ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 1,175 จุด ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงหนักเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ดี นายมนูชินกล่าวว่า สภาวะตลาดโดยรวมยังคงปกติ แม้ตลาดปรับตัวผันผวน แต่ปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นนำตลาด โดยหุ้นเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 2.2% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ดีดตัวขึ้น 2% หุ้นอเมซอนดอทคอม พุ่งขึ้น 3.8% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ทะยานขึ้น 4.5% และหุ้นไมโครซอฟต์ พุ่งขึ้น 3.7%
หุ้นไมครอน เทคโนโลยี พุ่งขึ้น 11% หลังจากนักวิเคราะห์ของคีย์แบงก์ แคปิตอล ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวสู่ระดับ "overweight" จากระดับ "sector weight"
หุ้นกลุ่มสินค้าเพื่อผู้บริโภคปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นยูนิลีเวอร์ พุ่งขึ้น 1.2% หุ้นอัลเลอร์แกน พีแอลซี ดีดตัวขึ้น 2%
หุ้นเจเนอรัล มอเตอร์ (GM) พุ่งขึ้น 5.9% หลังจากบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐรายนี้เปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ระดับ 1.65 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 1.38 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 3.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.655 หมื่นล้านดอลลาร์
นักลงทุนจับตาสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเตรียมลงมติร่างกฎหมายงบประมาณ ก่อนที่งบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันพฤหัสบดีนี้ โดยการลงมติครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างพรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครตเกี่ยวกับโครงการคุ้มครองผู้อพยพวัยเยาว์ที่เดินทางเข้ามาในสหรัฐ (DACA) จำนวนกว่า 7 แสนคน ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระบุว่า เขาจะยกเลิกโครงการดังกล่าวภายในวันที่ 5 มี.ค. ซึ่งจะส่งผลให้มีการเนรเทศผู้อพยพเหล่านี้กลับประเทศ
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงคืนของวันพฤหัสบดีนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือเวลาเที่ยงของวันศุกร์ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนธ.ค.
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า สหรัฐมีตัวเลขขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนธ.ค. สู่ระดับ 5.31 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 หลังจากที่ขาดดุล 5.04 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย.
--อินโฟเควสท์
OO5310