WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

17ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับขึ้นก่อนย่อตัว แม้ราคาน้ำมันพุ่งแต่หุ้นหลัก PTT-PTTEP ขึ้นมามากแล้ว,นลท.เลือกเล่นหุ้นขนาดกลาง
นายคณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยเช้านี้น่าจะปรับขึ้นได้ระหว่างเทรดก่อนจะย่อตัวลง แม้ว่าเมื่อคืนนี้ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้น หลังจากโกลด์แมน แซคส์ ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในปีนี้ แต่ราคาหุ้นหลักที่เกี่ยวข้องทั้ง PTT-PTTEP ปรับขึ้นมาค่อนข้างมากแล้วก็อาจจะลดช่วงบวกลงบ้าง
ด้านเม็ดเงินลงทุนที่เคยเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์,พลังงานและปิโตรเคมี จนทำให้ราคาหุ้น perform ในช่วงก่อนหน้านั้นก็เริ่มพักตัวในช่วง 1-2 วันนี้ เป็นทิศทางเดียวกับดัชนีที่ไม่ได้ปรับตัวขึ้นมากในสัปดาห์นี้ ขณะที่เม็ดเงินก็เริ่มเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล,อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มขนาดกลางมากขึ้น ทำให้ไม่มีผลต่อดัชนีหุ้นไทยมากนัก
ด้านตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนนี้ยังมีความผันผวน โดยดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นไปแรงกว่า 100 จุด ก่อนจะอ่อนตัวลงมาปิดบวกได้กว่า 37 จุดเท่านั้น ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ ส่วนตลาดภูมิภาคเช้านี้อย่างญี่ปุ่น ก็เปิดตลาดปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ในทางเทคนิครายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธ.ค.60 จนถึงปัจจุบัน ดัชนีหุ้นไทยทำยอดสูงใหม่ในแต่ละสัปดาห์ แต่สัปดาห์นี้น่าจะเป็นสัปดาห์แรกที่ดัชนีไม่สามารถทำยอดสูงใหม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนประเภทเก็งกำไรระยะสั้น ขายหุ้นออกมาตามแนวต้าน ทำให้ภาพดัชนีเมื่อขยับเข้าใกล้แนวต้านก็อาจจะอ่อนแรงมาได้
พร้อมมองแนวรับที่ระดับ 1,820 จุด และแนวต้านที่ 1,840 และ 1,843 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (1 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,186.71 จุด เพิ่มขึ้น 37.32 จุด (+0.14%) ,ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,821.98 จุด ลดลง 1.83 จุด (-0.06%) ,ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,385.86 จุด ลดลง 25.62 จุด (0.35%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 124.44 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 27.76 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 73.08 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 8.60 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.55 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 2.05 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 8.14 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 39.70 จุด,
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (1 ก.พ.61) 1,833.60 จุด เพิ่มขึ้น 6.74 จุด (+0.37%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 716.68 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (1 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 65.80ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ หรือ 1.7%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (1 ก.พ.61) ที่ 7.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.31 แนวโน้มแข็งค่า มองมีโอกาสหลุด 31.30 ตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ
- แบงก์ชาติผ่อนคลายเกณฑ์เปิดช่องให้นักลงทุนรายย่อยที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หวังเพิ่มความคล่องตัวให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ
- บสย.ออกหลักเกณฑ์ Single Guarantee Limit ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการ Micro Entrepreneurs หรือ SGL Micro โดยกำหนดให้กรอบวงเงินค้ำประกัน สินเชื่อ SGL Micro รวมทุกโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneurs (เฟส 1-2 และเฟสต่อๆ ไป) และรวมทุกสถาบันการเงิน ไม่เกิน 5 แสนบาท/ราย เป็นเวลา 10 ปี จากเดิมรับค้ำประกันต่อรายสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท/ราย จะช่วยรองรับความต้องการของเอสเอ็มอีได้มากขึ้น
- ธปท.ได้จัดทำรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เม.ย. 2561) ลดลงเล็กน้อย โดยรวมอยู่ที่ 55.9 ลดลงจากที่สำรวจครั้งก่อนหน้าอยู่ที่ 56.1 เบื้องต้นองค์ประกอบของดัชนีส่วนใหญ่จะยังอยู่เหนือระดับ 50 ถือเป็นระดับความ เชื่อมั่นที่ทรงตัว ยกเว้นความเชื่อมั่นด้านต้นทุนที่ลดลงมาก อยู่ที่ 38.6 ขณะที่การสำรวจเมื่อเดือนก่อนหน้าดัชนีนี้ อยู่ที่ 41.0 เป็นการลดลงทั้งจากภาคการผลิต การค้า และบริการ โดยปัจจัยที่มีผลทำให้ความเชื่อมั่นต้นทุนลดลงมาก คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการคาดว่าต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มขึ้นจากการประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
- รัฐบาลตั้งคณะทำงานวางกรอบคุมธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล คาดได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน "ปลัดคลัง" ย้ำเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และไม่มีกฎหมายรองรับ ปลื้มประชาชนแห่ผูกบัญชีกับระบบพร้อมเพย์ทะลักแตะ 37 ล้านบัญชี เร่งกระตุ้นนิติบุคคลใช้พร้อมเพย์เพิ่มขึ้น
- ส.อ.ท.รับพลาดเป้าผลิตรถยนต์ 3 ล้านคันในปี 60 ชี้เศรษฐกิจโลก-ไทยไม่กระเตื้อง ปัญหาน้ำท่วม พร้อมตั้งเป้าปีใหม่ 2 ล้านคัน เผยเพิ่มค่า แรงขั้นต่ำไม่กระทบผู้ผลิต
- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงได้ปรับคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (อัตราเงินเฟ้อ) ปี 61 ใหม่จากเดิมขยายตัว 0.6-1.6% เป็น 0.7-1.7% มาจากการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศวันละ 5-22 บาทต่อวัน รวมถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยและโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น, ราคาน้ำมันและราคาสินค้าบางประเภทปรับเพิ่มความต้องการของผู้บริโภค
- ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี จำนวน 168 โครงการกรอบวงเงินรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าการลงทุนจะเป็นเงินงบประมาณ 30% งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 10% และรัฐร่วมทุนกับเอกชน(พีพีพี) 60%

*หุ้นเด่นวันนี้
- BBL (แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 245 บาท โดยคาดกำไรเติบโตโดดเด่นใน FY61F เราตาดว่า BBL จะมีการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะธุรกิจ Bancassurance ที่น่าจะเห็นความชัดเจนขึ้นต่อแผนธุรกิจร่วมกันกับ AIA รวมถึงสินเชื่อเติบโตดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุนใน Infrastructure projects จะช่วยเพิ่มทั้งรายได้ดอกเบี้ย และรายได้ค่าธรรมเนียมด้านสินเชื่อ ทั้งนี้ ใช้สมมติฐานการตั้งสำรองถึง 2.0 หมื่นล้านบาท ตามสมมติฐานของ BBL แต่ก็ยังคงน้อยกว่าปีก่อนที่น่าจะเป็นจุดสูงสุดที่ 2.2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ยังทำให้ประมาณการกำไร FY61F ยังเติบโตโดดเด่นอยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท (+13%YoY)
- PRM (กสิกรไทย) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 12.40 บาท โดยการประชุมนักวิเคราะห์บริษัท PRM มื่อวานนี้ (1 ก.พ. 2561) มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ 1) บริษัทได้ปรับแผนการซื้อเรือปี 2561 จาก 10 ลำ เป็น 7-9 ลำ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปยังธุรกิจขนส่งเคมีภัณท์ เนื่องจากเป็นหน่วยธุรกิจที่มีอัตรากำไรที่ดีกว่าธุรกิจขนส่งน้ำมัน 2) บริษัทได้เปลี่ยนแผนการรับเรือในธุรกิจเรือบรรทุกน้ำมันลอยน้ำ (FSU) ให้มีขนาดเล็กลงจากประเภท VLCC เป็น LR 3) บริษัทคาดว่าจะเริ่มใช้วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบใหม่ (คิดจากราคาค่าซากเฉลี่ย) ตั้งแต่ไตรมาส 1/2561 เป็นต้นไป และ 4) บริษัทรายงานความล่าช้าการเริ่มงานเรือ Northern Pearl เนื่องจากต้องเปลี่ยนหลักยึดเรือ ทั้งนี้ กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการ โดยคาดว่าการเริ่มงานที่ล่าช้าของเรือ Northern Pearl จะส่งผลกระทบทางลบต่อกำไรไตรมาส 4/2560 ขณะที่แรงหนุนกำไรสุทธิปี 2561 จะมาจากการปรับวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาและการขยายกองเรือ
- D (เคทีบีฯ) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 11.40 บาท ขณะที่ D ได้ลงนามในหนังสือแสดงจำนงเข้าซื้อทรัพย์สิน (Letter of Intent) ประกอบด้วย คลินิกทันตกรรมจำนวน 3 แห่ง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ราคาประมาณ 25-35 ล้านบาท ซึ่งมีมุมมองเป็นบวกต่อข่าวดังกล่าวหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และบอร์ดอนุมัติเข้าซื้อกิจการ 3 คลินิก จะทำให้บริษัทฯรับรู้รายได้เข้ามาทันทีในช่วงปลายไตรมาส 1Q61 ทำให้รายได้ในปีนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำสถิติสูงสุดใหม่ และจะเติบโตอย่างโดดเด่นใน 2Q61 เนื่องจากการรับรู้รายได้และกำไรเข้ามาเต็มไตรมาส ขณะที่อาจจะมีการปรับประมาณการรายได้และกำไรใหม่

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ หลังหุ้นเทคโนโลยีร่วง
        ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนบางส่วนผิดหวังกับการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 23,361.67 จุด ลดลง 124.44 จุด, -0.53% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,419.22 จุด ลดลง 27.76 จุด, -0.81% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 32,569.01 จุด ลดลง 73.08 จุด, -0.22% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,151.65 จุด ลดลง 8.60 จุด, -0.08% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,565.99 จุด ลดลง 2.55 จุด, -0.10% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,545.18 จุด ลดลง 2.05 จุด, -0.06% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,875.34 จุด เพิ่มขึ้น 6.76 จุด, +0.36%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ หลังจากที่เฟดได้แถลงในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ว่า "อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบรายปีมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในปีนี้ และมีเสถียรภาพที่ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟดในระยะกลาง" โดยถ้อยแถลงดังกล่าวแตกต่างจากการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งเฟดระบุว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และเงินเฟ้อทั่วไป "ได้ปรับตัวลง และกำลังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2%"
นักลงทุนจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ในวันนี้ ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะพุ่งขึ้น 180,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค.
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 43.16 จุด วิตกผลประกอบการ,เงินปอนด์แข็งค่า
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นบริษัทยักใหญ่อย่างโวดาโฟน หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ยังคงสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทข้ามชาติ
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,490.39 จุด ลดลง 43.16 จุด หรือ -0.57%
หุ้นโวดาโฟนร่วงลง 4.5% ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักสุดในบรรดาหุ้นบลูชิพที่คำนวณในดัชนี FTSE 100 หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ผ่านมา
หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.5% แม้บริษัทเปิดเผยกำไร 4.3 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้น 140% เมื่อเทียบกับระดับ 1.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปี 2559 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 4.24 พันล้านดอลลาร์
นักลงทุนกังวลว่าการแข็งค่าของเงินปอนด์อาจสร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านดีดตัวขึ้น หลังจากผลสำรวจของเนชั่นไวด์ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านในอังกฤษปรับตัวขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% โดยหุ้นเทย์เลอย์ วิมพีย์ พุ่งขึ้น 1% และหุ้นเพอร์ซิมสัน ขยับขึ้น 0.6%
ส่วนหุ้นยูนิลีเวอร์ ปรับตัวขึ้น 0.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในปี 2560 เพิ่มขึ้น 9% พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2561

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกบอนด์ยีลด์พุ่ง,ข้อมูลภาคการผลิตซบเซา
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐและเยอรมนี รวมทั้งรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนและเยอรมนี ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 393.52 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,003.90 จุด ร่วงลง 185.58 จุด หรือ -1.41% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,454.55 จุด ลดลง 27.38 จุด หรือ -0.50% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,490.39 จุด ลดลง 43.16 จุด หรือ -0.57%
นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐและเยอรมนี โดยเมื่อคืนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.756% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.987% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีประเภท 10 ปี ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.179%
ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 59.6 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และทรงตัวเมื่อเทียบกับตัวเลขดัชนี PMI เบื้องต้น
นอกจากนี้ ไอเอชเอส มาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของเยอรมนี ลดลงสู่ระดับ 61.1 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 63.3 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
หุ้นโวดาโฟนร่วงลง 4.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ผ่านมา
หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.5% แม้บริษัทเปิดเผยกำไร 4.3 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้น 140% เมื่อเทียบกับระดับ 1.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปี 2559 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 4.24 พันล้านดอลลาร์
หุ้นเดมเลอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 2.2% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2561
ส่วนหุ้นยูนิลีเวอร์ ปรับตัวขึ้น 0.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในปี 2560 เพิ่มขึ้น 9% พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2561 ขณะที่หุ้นโนเกีย ทะยานขึ้น 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 4/2560

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 37.32 จุด รับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสดใส
       ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนม.ค. อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ต่างก็ปิดในแดนลบ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ หลังจากคณะกรรมการเฟดคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะดีดตัวขึ้นในปีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,186.71 จุด เพิ่มขึ้น 37.32 จุด หรือ +0.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,821.98 จุด ลดลง 1.83 จุด หรือ -0.06% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,385.86 จุด ลดลง 25.62 จุด หรือ -0.35%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดในแดนบวกเมื่อคืนนี้ ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 55.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2558 จากระดับ 55.1 ในเดือนธ.ค.
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนธ.ค. สู่ระดับ 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างในภาครัฐ และการลงทุนในภาคเอกชน
ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 230,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 238,000 ราย
อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า เฟดอาจจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ หลังจากที่เฟดได้แถลงในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ว่า "อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบรายปีมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในปีนี้ และมีเสถียรภาพที่ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟดในระยะกลาง" โดยถ้อยแถลงดังกล่าวแตกต่างจากการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งเฟดระบุว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และเงินเฟ้อทั่วไป "ได้ปรับตัวลง และกำลังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2%"
ทั้งนี้ การคาดการณ์เงินเฟ้อของเฟดส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นอีกเมื่อคืนนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.756% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.987%
หุ้นเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 2.21 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 1.95 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 1.297 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.255 หมื่นล้านดอลลาร์
หุ้นแอปเปิล ดีดตัวขึ้น 0.3% ก่อนที่บริษัทจะเปิดเผยผลประกอบการภายหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการแล้ว
หุ้นอีเบย์ พุ่งขึ้น 14% หลังจากบริษัทเปิดเผยแผนการเทคโอเวอร์ธุรกิจการชำระเงินจากเพย์พาล โฮลดิ้งส์ อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นเพย์พาล ดิ่งลง 8.1%
หุ้นกลุ่มธนาคารได้รับแรงหนุนหลังจากที่ประชุมเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ปีนี้ โดยหุ้นโกลด์แมน แซคส์ พุ่งขึ้น 1.5% หุ้นเจพีมอร์แกน ดีดตัวขึ้น 1.03% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ปรับตัวขึ้น 0.9%
หุ้นไมโครซอฟท์ ปรับตัวลง 0.8% แม้บริษัทเปิดเผยว่า กำไรในไตรมาสที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. ซึ่งเป็นไตรมาสที่ 2 ในปีงบดุลบัญชีของบริษัท อยู่ที่ระดับ 96 เซนต์/หุ้น ยสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 86 เซนต์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 2.892 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.840 หมื่นล้านดอลลาร์
หุ้นเฮอร์ชีย์ ผู้ผลิตช็อคโกแลตและขนมรายใหญ่ระดับโลก ร่วงลง 8% แม้ว่าบริษัทเปิดเผยกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ 181.1 ล้านดอลลาร์ หรือ 85 เซนต์/หุ้น สูงกว่าไตรมาส 4/2559 ซึ่งมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 116.9 ล้านดอลลาร์ หรือ 55 เซนต์/หุ้น
นักลงทุนจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ในวันนี้ ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะพุ่งขึ้น 180,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค.
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
--อินโฟเควสท์
OO5154

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!