WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TISCOคมศร ประกอบผลกูรูทิสโก้ เตือนจับตา Bond Yield สหรัฐฯ หวั่นกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานหากพุ่งสูงเกิน 2.5%

      กูรูทิสโก้เตือนจับตาผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ หากพุ่งเกิน 2.5% อาจเริ่มกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐาน หลัง Fed ประกาศลดงบดุลดันเงินดอลลาร์แข็งค่า แถมจ่อขึ้นดอกเบี้ยอีก 4 ครั้งในปี 2560-2561 แนะโยกเงินลงหุ้นญี่ปุ่น ยุโรป เลี่ยงสินค้าโภคภัณฑ์

    นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (Mr.Komsorn Prakobpol, Head of Strategy Unit, TISCO Economic Strategy Unit : TISCO ESU) เปิดเผยว่า ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมามีมติให้ให้เริ่มดำเนินการลดขนาดงบดุลในเดือนต.ค.ตามคาด ในขณะเดียวกัน Fed ยังย้ำว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปี 2560 และปรับขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2561 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มกลับมาฟื้นตัวหรือแข็งค่าขึ้น

       ทั้งนี้ Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2551 มีส่วนสำคัญในการผลักดันตลาดหุ้นให้ปรับตัวขึ้นมาซื้อขายที่ระดับ Valuation ที่สูงกว่าในอดีต ดังนั้น ทิศทางของ Bond Yield สหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของตลาดหุ้นต่อไป

      โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อ Bond Yield ต่อไป ได้แก่ 1) การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ ในวันที่ 13 ต.ค. ซึ่งหากเงินเฟ้อยังส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว ก็จะส่งผลให้ตลาดประเมินโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น และ 2) การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 26 ต.ค. ซึ่งเราคาดว่า ECB จะประกาศลด QE ซึ่งจะส่งผลให้ Bond yield ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

       “Bond Yield สหรัฐอเมริกาที่ทยอยเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.2% อาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อ Valuation ของตลาดหุ้นมากนัก แต่เราประเมินว่า หาก Bond Yield ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าระดับ 2.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันเริ่มลดลง และส่งผลให้เงินเฟ้อลดลงมาทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ก็อาจส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐาน”นายคมศร กล่าว

       อย่างไรก็ตาม Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้น ประกอบกับความคาดหวังต่อนโยบายปฏิรูปภาษีที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในสภา Congress ในช่วงไตรมาส 4 นี้ จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากที่อ่อนค่าลงมาต่อเนื่องในปี 2560 เราแนะนำให้เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่จะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งได้แก่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และอาจซื้อเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวลงมาแรงก่อนหน้านี้ และแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน และโลหะอุตสาหกรรม ซึ่งจะถูกกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!