WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KTAM ChanidaKTAM ขายตราสารหนี้6เดือนชู 1.75%ต่อปี ปลื้มบริหารกองทุนบอนด์ผลตอบแทนเด่น

    นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 83 ( KTFF83) และกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 2 (KTSIV3M2) โดยกองทุน KTFF83 เสนอขายในวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์  2559  อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ได้แก่  MTN ที่ออกโดย  Banco  Latinoamericano de Comercio Exterior , S.A., เงินฝากประจำ  Agricultural  Bank of CHINA ,Bank of China  (Macau) , Abu Dhabi Commercial  Bank PJSC และ Ahli Bank QSC ผลตอบแทนประมาณ 1.75% ต่อปี

     ส่วนกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน2 ( KTSIV3M2)เสนอขายรอบใหม่ (Roll Over )ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ประเภทเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ในสัดส่วน 44% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ประกอบด้วย บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง,บมจ.บัตรกรุงไทย และ บมจ.แสนสิริ ผลตอบแทนประมาณ 1.50% ต่อปี

     นางชวินดา กล่าวต่อไปว่า  ในปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถบริหารกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ให้ได้ผลตอบแทนที่ดี  โดยอยู่อันดับ 1ใน 3 ของอุตสาหกรรม เช่น กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF2) มีผลตอบแทน ณ วันที่ 29 มกราคม 2559 ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.50%YTD อยู่ที่ 7.34% เกณฑ์มาตรฐาน AIMC ย้อนหลัง1 ปี อยู่ที่ 3.26% YTD อยู่ที่ 9.68% และกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล(KTDF) ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.47% YTD อยู่ที่ 6.69%เกณฑ์มาตรฐาน AIMC ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 3.26 % YTD อยู่ที่ 9.68% โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่บริษัทพิจารณาแล้วว่า ผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล มีความมั่นคง และมีความสามารถในการชำระหนี้ และตราสารหนี้นั้นให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยง รวมทั้งจะต้องมีสภาพคล่อง  โดยผู้จัดการกองทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้ตามความเหมาะสม

     ส่วนกองทุนเปิดกรุงไทย คอนเซอเวทีฟ 25/75 เพื่อการเลี้ยงชีพ(KT25/75 ) ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.05% YTDอยู่ที่ 2.54% เกณฑ์มาตรฐาน AIMC ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ -0.82% YTD อยู่ที่ 0.85% เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง  และลงทุนในตราสารทุน  ไม่เกินร้อยละ 25 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน   ทั้งนี้ บริษัทมีการบริหารกองทุนอย่างใกล้ชิด ติดตามความเคลื่อนไหว ที่จะส่งผลกระทบกับกองทุนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

      แนวโน้มอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุตามแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติหลังธนาคารกลางสหรัฐ ( FED) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในช่วงแรกของสัปดาห์ตลาดมีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนประเภทสถาบันที่ขายออกมา  ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ สลับกับแรงซื้อจากต่างชาติที่เข้าซื้อตราสารหนี้ทั้งภูมิภาคหลัง FED คงดอกเบี้ย และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ( BOJ) ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ในขณะที่ตราสารออกใหม่ในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการลงทุน โดยตลาดตอบรับการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุคงเหลือ 13 ปี ค่อนข้างดี  สำหรับนักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิจำนวน 41,412 ล้านบาท

     ด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุคงเหลือตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ ตามความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยหลัง Fed ยังคงอัตราดอกเบี้ยคงเดิม ไว้ที่ระดับ 0.25% - 0.50% และได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่ BOJ ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมด้วยการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.10% ต่อปี และ อาจมีการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมในฝั่งของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการประชุมเดือนมีนาคม โดยสรุปอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุคงเหลือ 2 ปี ปรับตัวลดลง 11 bps มาอยู่ที่ 0.77% ต่อปี อายุคงเหลือ 5 ปี ปรับลดลง 16 bps มาอยู่ที่ 1.33% ต่อปี และอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับตัวลดลง 15 bps.มาอยู่ที่ 1.92% ต่อปี 

      สำหรับ ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทิศทางของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ / สำนักประชาสัมพันธ์

คุณแสงสิริ  เนตรอัมพร /   โทรศัพท์  0-2686-6206  / 082-082-2121

คุณณพรรษกร  ธโนปจัย  โทรศัพท์ 0-2686-6207

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!