WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ต้นทุนประมูลคลื่น 900 MHz สูงเกินคาด กดดันประสิทธิภาพการทำกำไร และความสามารถจ่ายเงินปันผลลดลง แนะให้ขายหุ้นสื่อสารตัวรอง (TRUE, DTAC และ JAS) ระยะสั้นให้เริ่มสะสมหุ้นปันผลเด่น (EASTW, MCS, SCC) และหุ้นได้ประโยชน์น้ำมันขาลง TASCO([email protected]) คือ Top pick

Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตลาดน่าจะซึมซับข่าวไปแล้ว
       สรุปผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) วันที่ 15 -16 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 0.5% (เป็นการขึ้นครั้งแรกหลังจากคงที่ 0.25% ติดต่อกันตั้งแต่ ธ.ค. 51) เป็นไปตามที่ความเห็นของคนส่วนใหญ่ในตลาดคาด โดยเหตุผลในการปรับขึ้นครั้งนี้มาจากตลาดแรงงานแสดงให้เห็นแล้วว่าฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หนุนกำลังซื้อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดบ้านฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการประชุมในครั้งนี้ มีการเผยประมานการณ์เศรษฐกิจปี 2559 ซึ่งมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้น โดย Fed ปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2559 โต 2.4%( เดิมคาดโต 2.3%) V.S IMF คาดโต 2.8% รวมทั้งคาดอัตราการว่างงาน ปี2559 ลดลง 4.7% ( เดิมคาด 4.8%) แม้เงินเฟ้อยังต่ำ 0.5% แต่ได้มีการประเมินในปี 2559 ไว้ที่ 1.6% (ลดลงจาก เดิมคาด 1.7% ยังห่างจากเป้าหมายที่ 2%) สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไป Fed จะให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น โดยที่ประชุมคาดว่า สิ้นปี 2559 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 1.375% ซึ่งเชื่อว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
      หลัง Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Dollar Index ยังคงทรงตัว หลังปรับตัวแตะระดับ 100 จุดในช่วงก่อนหน้านี้ คาดเกิดจากตลาดได้ซึมซับข่าวการปรับอัตราดอกเบี้ยแล้วไปก่อนแล้ว เช่น เดียวกับเงินสกุลอื่นๆ ในเอเชียที่ยังคงทรงตัว เนื่องจากได้ปรับตัวอ่อนค่ามาก่อนหน้าแล้ว อาทิ เงินบาท ริงกิต และรูเปียะห์ ที่ปรับตัวอ่อนค่าราว 8.74%, 18.63% และ 11.43% นับจากต้นปี อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว เชื่อว่าค่าเงินเอเชียยังมีแนวโน้มตัวอ่อนค่า สวนทางดอลลาร์ ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียยังคงฟื้นตัวล่าช้า จึงหนุนให้ความจำเป็นที่ธนาคารกลางในภูมิภาค จะต้องใช้มาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องในปี 2559 ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยและปรับลดอัตราเงินสำรองธนาคารพาณิชย์ (RRR) หรือ ผ่านมาตรการทางการคลัง อาทิ อินโดนีเซีย ทำการยกเว้นภาษีรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักลงทุนต่างชาติ หนุนเงินทุนไหลเข้าพยุงค่าเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ลดน้ำหนักหุ้นสื่อสาร ประมูลคลื่น 900 สูงไป กดดันกำไรและงินปันผล
      ย่างเข้าวันที่ 3 แล้ว การประมูลคลื่น 900 Mhz ยังไม่สิ้นสุด การแข่งขันรุนแรงน่าจะกดดันต้นทุนดำเนินการของทุกรายเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้หลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ในช่วง 13 พ.ย. สรุปว่าต้นทุนสูงกว่านักวิเคราะห์ ASPS คาด โดยสูงถึง 4 หมื่นล้านบาทต่อใบอนุญาต ขณะที่คาดเพียง 2.0 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ได้ทำการทบทวนปรับลดประมาณการไปแล้ว ขณะที่การประมูลคลื่น 900 MHz ที่กำลังจะเข้าสู่วันที่ 3 ราคาประมูลต่อใบอนุญาตถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนรอบการประมูลราคาทั้ง 2 ใบล่าสุดสูงเฉลี่ยใบละ 4.8 หมื่นล้านบาทแล้ว มากกว่าราคาตั้งต้น (ราคา 1.6 หมื่นล้านบาท) ถึง 4 เท่า และสูงกว่าที่ ASPS ตั้งสมมติฐานในประมาณการปี 2559 ที่ 3 หมื่นล้านบาท หรือ สูงกว่าสมมติฐาน 60% ขณะที่โอกาสที่จะสูงกว่านี้ยังมีอยู่สูง หากวันนี้การประมูลยังมีบรรยากาศแบบ 2 วันที่ผ่านมา
       เชื่อว่าบรรยายกาศการแข่งขันที่รุนแรงน่าจะมาจากเหตุผลหลักคือ 1) ผู้ให้บริการรายเดิม ต้องการกีดกันรายใหม่ (JAS แม้ว่าพิจารณาองค์ประกอบรอบด้านแล้วไม่สามารถแข่งขันกับรายเดิมได้ ทั้งเรื่อง CFO หรือ ฐานลูกค้าที่ไม่มีเลยในขณะนี้) และ 2) สกัดกั้น คู่แข่งรายเดิม ไม่ให้มีคลื่นเพิ่ม ซึ่งในกรณีน่าจะเห็น TRUE มีคลื่นมากเพียงพอ หลังประมูลคลื่น 1800 ไปได้แล้ว (โดย TRUE จะมีคลื่นทั้งหมด 45 Mhz แบ่งเป็นดังนี้ 5 MHz สำหรับ 2G ( 5 MHz จากคลื่น 1800) 20 Mhz สำหรับ 3G (คลื่น 850 15 Mhz และ คลื่น 2100 5Mhz) 20 Mhz สำหรับ 4G (10 Mhz จากป็นคลื่น 1800 Mhz และ 2100 Mhz คลื่น 2100 )
     ขณะที่ ADVANC มีคลื่น รวม 30 Mhz แบ่งเป็น 2100 15 Mhz สำหรับ 3G และ 1800 15 MHz สำหรับ 4G การประมูลคลื่น 900 ในครั้งนี้จะทำให้สามารถรองรับ 2G ในส่วนของลูกค้าที่ยังไม่ได้มีการโอนมายัง 3G อีกจำนวนหนึ่ง ถือว่า ADVANC ยังมีความจำเป็น
ส่วน DTAC มีความจำเป็นมากที่สุดที่ต้องประมูลในครั้งนี้ เพราะจะต้องจะเผชิญความเสี่ยงในปี 2561 เมื่อคลื่นสัมปทาน 850 ( 10 Mhz ให้บริการ 3G) และ 1800 MHz (10 Mhz ให้บริการ 2G 15 MHz ให้บริการ 4G) สิ้นสุดสัมปทานใน ก.ย. ซึ่งจะทำให้ DTAC มีคลื่นให้บริการอยู่เพียงคลื่นเดียวคือ 2100 รวม 15 Mhz แบ่งเป็น 10 Mhz สำหรับให้บริการ 3G และ 5Mhz ให้บริการ 4G)
การที่ต้นทุนประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่สูงกว่าประมาณการ ถือเป็นปัจจัยกดดันต้นทุนดำเนินงาน และอาจจะมีผลต่อการปรับประมาณการและมูลค่าพื้นฐานหุ้นในกลุ่มอีกครั้ง ซึ่งฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มทบทวนปรับลดประมาณการอีกครั้ง หลังจากทราบเป้าหมายทางการเงินของผู้ประกอบการที่ชัดเจนภายหลังประกาศงบปี 2558 ช่วงต้นปีหน้า
      ทั้งนี้ แม้ค่าใบอนุญาตจะทยอยตัดตามอายุใบอนุญาต (1800 MHz 18 ปี ส่วน 900 MHz 15 ปี) แต่ต้องไม่ลืมว่าทุกรายยังมีภาระการลงทุนจำนวนมากอีกส่วน คือ การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทั้งของเดิม และ ของใหม่ (2G,3G และ 4G) อีกราวปีละ 2.0-3.0 หมื่นล้านบาท ตรงกันข้ามกับ ทางรายได้ค่าบริการที่ดูเหมือนจะปรับขึ้นได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ ที่ทำได้จำกัด สะท้อนจากอัตราส่วนผู้ถือครองมือถือในประเทศไทยต่อจำนวนประชากร (Penetration Rate) ที่สูงกว่า 100% แล้ว ขณะที่การปรับเพิ่มรายได้ค่าบริการต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) ยังทำได้ยาก แม้คาดปริมาณการใช้งานข้อมูลจะเติบโตก้าวกระโดดอย่างมากในยุค 4G แต่รูปแบบแพ็คเกจในประเทศไทยนั้นกลับมีข้อจำกัด อยู่ในรูปแบบ Tiered By Speed คือ ให้ลูกค้าใช้บริการข้อมูลจำกัดปริมาณข้อมูลที่ใช้งานความเร็ว 3G/4G ถึงระดับที่แพ็คเกจกำหนด ขณะที่ปริมาณส่วนที่เกินกว่าแพ็คเกจสามารถใช้งานต่อได้ ด้วยความเร็วที่ลดลง
     ทั้งนี้ล่าสุด เห็นผู้ประกอบการทุกราย ได้ปรับลดความเร็วแพ็คเกจรายเดือนสำหรับลูกค้าใหม่ ซึ่งมีราคาต่ำกว่า 800 บาท/เดือน ส่วนที่เป็นการใช้งานแบบ unlimited ลงจาก 384 Kpbs มาอยู่ที่ 128 Kbps ซึ่งความเร็วดังกล่าว ใช้งานได้น้อยและไม่สะดวก จึงมีโอกาสที่จะเป็นจุดผลักดันให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้งานแพ็คเกจราคาแพงขึ้น หรือ ซื้อปริมาณข้อมูลที่สามารถใช้งานด้วยความเร็ว 3G/4G เพิ่ม อย่างไรก็ตาม รูปแบบดังกล่าวยังเพียงช่วยเพิ่ม ARPU ของผู้ประกอบการในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปอยู่ดี (สอดคล้องกับสมมติฐาน ARPU ฝ่ายวิจัยหลังยุค 4G ที่กำหนดให้ทรงตัว) ซึ่งไม่สามารถชดเชยต้นทุนที่เข้ามาได้ ดังนั้น ประสิทธิภาพการทำกำไรของทุกรายนับจากนี้คงน่าจะอยู่ในลักษณะทรงหรือทรุดจากปัจจุบันมากกว่า ดังนั้น โดยภาพรวมแล้ว จึงยังคงน้ำหนักลงทุนกลุ่มสื่อสารที่ "น้อยกว่าตลาด" และแนะนำให้ขายหุ้นทุกบริษัทในกลุ่ม จนกว่าจะเห็นการปรับลดลงราคาหุ้นลงมาในระดับที่เหมาะสม โดยหุ้นที่แนะนำให้เลือกสะสมเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวคือ ADVANC

แรงขายหุ้นในภูมิภาคเริ่มแผ่วลง
      แรงขายของต่างชาติในภูมิภาคเอเซียเริ่มแผ่วลง โดยวานนี้ขายสุทธิเพียง 47 ล้านเหรียญ (หลังขายสุทธิต่อเนื่อง 7 วัน) และเริ่มกลับมาซื้อ 2 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุด ราว 114 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังขายสุทธิ แต่ลดน้อยลง คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 150 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) และ หุ้นไทยต่างชาติขายสุทธิลดน้อยลงเหลือเพียง 15 ล้านเหรียญ หรือ 551 ล้านบาท สวนทางต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 2,388 ล้านบาท แต่ยอดซื้อสะสมในเดือน ธ.ค. ยังถือว่าน้อยคือ เพียง 5.8 พันล้านบาท จากเป้าหมายที่ ASPS ประเมินว่าน่าจะสูงเกือบ 1 หมื่นล้านบาทในเดือน ธ.ค. ค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี
เช่นเดียวกับตลาดตราสารหนี้ พบว่านักลงทุนสถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิ 5,914 ล้านบาทต่อเนื่องเป็นเป็นเวลา 1 เดือน ด้วยยอดซื้อสุทธิ 2.35 แสนล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 863 ล้านบาท ที่ต่อเนื่องวันที่ 6 (ขายสุทธิ 2.3 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่กดดันเงินบาทอ่อนค่า แม้ล่าสุดเริ่มทรงตัว โดยอยู่ที่ 35.94 บาท/ดอลลาร์ ก็ตาม

 

กลยุทธ์แนะสะสมหุ้นปันผล มี CFO+PER ต่ำ + ROE สูง : EASTW, MCS
      ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นไทย การเลือกลงทุนในหุ้นในระยะนี้ จึงจำเป็นต้องค้นหาหุ้นรายตัว ที่นอกจากจะมีปัจจัยบวกสนับสนุนแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ตามที่ระบุด้านล่าง ได้ชุดหุ้นมา 2 ชุด ดังนี้
1. หุ้นที่มีระดับ P/E ต่ำกว่า 13 เท่า) มี Dividend Yield คาดหวังได้สูงกว่า 4% และมี ROE สูงเกินกว่า 10% ได้ชุดหุ้นดังตารางด้านล่าง
หุ้นเด่นที่ฝ่ายวิจัยคัดเลือก คือ MCS, SPALI, IRPC และ TVO


2. หากต้องการค้นหาหุ้นที่มีความแข็งแกร่งด้านการเงิน โดยใช้เงื่อนไขเป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสม่ำเสมอต่อเนื่องเพิ่มเติมจากเงื่อนไขเดิม คือ มีระดับ P/E ต่ำกว่า 13 เท่า มี Dividend Yield คาดหวังได้สูงกว่า 4% และมี ROE สูงเกินกว่า 10% ได้ชุดหุ้นดังตารางด้านล่าง
หุ้นเด่นที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ คือ EASTW,PTT และ INTUCH โดย PTT นั้น แม้จะมีปัจจัยเรื่องของราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้วยโครงสร้างธุรกิจที่มีการกระจายตัวแบบ Conglomerate จึงทำให้ลดความเสี่ยงไปได้ระดับหนึ่ง ส่วน INTUCH นั้น เนื่องจากเป็นบริษัทแม่ของ ADVANC ที่อาจถูกกดดันจากการประมูลคลื่น 900 MHz ทำให้ราคาย่อตัวลงมา แต่หากมองกันที่ Dividend Yield ที่สูงเกินกว่า 8% เหมาะสำหรับลงทุนในระยะยาว จึงแนะนำให้สะสมเมื่ออ่อนตัว


นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : ภราดร เตียรณปราโมทย์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!