- Details
- Category: บลจ.
- Published: Sunday, 26 April 2015 17:34
- Hits: 1573
ทิสโก้ แนะช้อนหุ้นแดนมังกรต่อเนื่อง ส่ง'ไชน่า ทริกเกอร์'กอง 19 ชี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดันหุ้นจีนพุ่งต่อ อัพไซด์สูง 17%
บลจ.ทิสโก้ แนะเข้าลงทุนในหุ้นจีนต่อเนื่อง หลังรัฐบาลแดนมังกรกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหุ้นยังถูกที่สุดในเอเชีย อัพไซด์รออีกกว่า 17% คว้าจังหวะส่งกอง
ทริกเกอร์ฟันด์ 'ไชน่า ทริกเกอร์ 8%'กองที่ 19 ช้อนหุ้นจีนต่อเนื่อง เป้าหมายเลิกโครงการ 8% ภายใน 8 เดือน IPO 23 – 28 ก.พ. นี้
นายสาห์รัช ชัฎสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (Mr. Saharat Chudsuwan, Head of Marketing and Wealth Advisory, Mutual & Private Fund Business, TISCO Asset Management Co.,Ltd.) กล่าวว่า บลจ.ทิสโก้ยังคงมุมมองว่าตลาดหุ้นจีนเป็น Top Pick และแนะนำนักลงทุนให้เข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะปรับตัวดีขึ้นจากผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งทางด้านการเงินและการคลัง หลังจากเมื่อ19 เม.ย. 58 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้ประกาศปรับลดอัตราสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 1% สู่ระดับ 18.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยปรับลด 100 bps สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป และอีก 100 bps สำหรับสถาบันการเงินท้องถิ่น เช่น สหกรณ์และธนาคารกลางหมู่บ้าน และอีก 200 bps สำหรับธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร (Agricultural Development Bank of China) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.58 ที่ผ่านมา และคาดว่าธนาคารกลางและรัฐบาลจีนจะยังดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้
นอกจากนี้ อีกปัจจัยบวกสำคัญคือ ปัจจุบันตลาดหุ้นจีนยังถูกที่สุดในเอเชีย และเริ่มเห็นการ Re-rate P/E หลังรัฐบาลใช้มาตรการผ่อนคลาย บวกกับสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากผลของการเชื่อมตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง หลังกองทุนรวมในจีนแผ่นดินใหญ่สามารถลงทุนในตลาดหุ้นจีนในฮ่องกงได้ โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ได้ประเมิน Upside ของตลาดหุ้นจีนไว้ที่ 17% จากเป้าหมายดัชนีในปี 2558 ที่ระดับ 16,500 จุด ทำให้การลงทุนในหุ้นจีนตอนนี้ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
จากมุมมองดังกล่าว ล่าสุด บลจ. ทิสโก้ จึงเปิดเสนอขาย “กองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า ทริกเกอร์ 8% #19” ซึ่งเป็นกองทริกเกอร์ฟันด์ในซีรีส์หุ้นจีนที่ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในตลาดหุ้นจีนผ่านกองทุน Hang Seng H-Share Index ETF โดยมีเป้าหมายเลิกโครงการที่ 8% ภายใน 8 เดือน หรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหลังจากเปิดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซื้อขายสับเปลี่ยนได้ทุกวันทำการ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี HSCEI หรือ H-Shares โดยเปิดเสนอขายครั้งแรก 23 – 28 เม.ย. 58 นี้
“ที่ผ่านมาบลจ.ทิสโก้แนะนำเข้าลงทุนในหุ้นจีนมาโดยตลอด จาก Valuation ที่ยังถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนอัพไซด์ที่ยังมีอยู่สูง สามารถพิสูจน์มุมมองการลงทุนที่แม่นยำและความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุนได้จากผลงานกองทุนซีรีย์ ทิสโก้ ไชน่า ทริกเกอร์ 3 กองล่าสุดที่ถึงเป้าหมายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ กองที่ 16, 17 และ 18 ที่เข้าเป้าหมายในระยะเวลารวดเร็ว สามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับนักลงทุนในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะกองที่ 18 ใช้เวลาบริหารเพียง 21 วันก็ถึงเป้าหมายเลิกโครงการที่ 8%” นายสาห์รัช กล่าว
โดย ณ ปัจจุบัน บลจ.ทิสโก้ ได้ออกกองทุนทริกเกอร์หุ้นจีนในซีรีย์ “ทิสโก้ ไชน่า อิควิตี้ ทริกเกอร์” มาแล้วทั้งสิ้น 18 กอง โดยเข้าเป้าหมาย 14 กองทุน เลิกโครงการเมื่อครบกำหนด 3 กองทุน และอยู่ในระหว่างเปิดเสนอขาย 1 กองทุน ซึ่งได้แก่ กองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า ทริกเกอร์ 8% #19 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 5,000 บาท เสนอขายครั้งแรก 23 – 28 เม.ย. 58 นี้ ผู้สนใจสามาถติดต่อ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ TISCO Contact Center โทร. 02-633-6000 กด 4
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
เนื่องจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนควรตระหนักว่า ตัวเลข 8%เป็นเพียงการกำหนดเป้าหมายที่เป็นเหตุให้เลิกโครงการเท่านั้น
ไม่ใช่การประมาณการหรือการรับประกันว่า ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในอัตราตามตัวเลขที่ระบุไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้หากภาวะตลาดหรือภาวการณ์ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปจากคาดการณ์ทำให้มูลค่ากองทุนรวมไม่ถึงตัวเลขเป้าหมายในเวลาที่กำหนด กองทุนรวมจะเปิดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ โดยที่เป้าหมายที่เป็นเหตุให้เลิกโครงการยังคงดำเนินอยู่ต่อไป ทั้งนี้เป้าหมายเลิกโครงการ เป็นเป้าหมายก่อนหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง(ถ้ามี)
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต