WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บลจ.กสิกรไทย โชว์ผลงานกอง'KEET1'วิ่งเข้าเป้า 8% ภายใน เดือน เผยปัจจัยหนุนจากมาตรการ QE ของยุโรป

  นายนาวิน อินทรสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ บลจ.กสิกรไทย ได้เสนอขายกองทุนเปิดเค ยูโรเปียน อิควิตี้ ทริกเกอร์ 1 (KEET1) ไปเมื่อวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา กองทุน KEET1 มีมูลค่าหน่วยลงทุนแตะที่ระดับ 10.9503 บาทต่อหน่วย โดยใช้ระยะเวลาบริหารเพียง 6 เดือน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุน ที่ระบุว่า บลจ.กสิกรไทยจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทั้งหมดเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 10.95 บาทต่อหน่วย หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ 8% ดังนั้น บลจ.กสิกรไทยจึงทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทั้งหมดในวันที่ 30 มกราคม 2558 และจะชำระเงินค่าขายคืนให้กับผู้ลงทุนในราคาไม่ต่ำกว่า 10.95 บาทต่อหน่วย ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558

 สำหรับ กองทุนเปิดเค ยูโรเปียน อิควิตี้ ทริกเกอร์ 1 (KEET1) มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศ คือ กองทุน iShares STOXX Europe 600 (DE) ซึ่งบริหารจัดการโดย iShares บริษัทผู้นำในกลุ่มกองทุน ETF (Exchange Traded Fund) รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยกองทุนหลักดังกล่าวจะมุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงกับดัชนี The STOXX Europe 600 (EUR) ที่ประกอบไปด้วยหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นยุโรปทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวน 600 หุ้น จาก 18 ประเทศทั่วทวีปยุโรป ทั้งนี้ กองทุน KEET1 ตั้งเป้าหมายที่จะให้ผู้ลงทุนได้โอกาสรับผลตอบแทนที่ 8% ภายใน 1 ปี โดยกำหนดเป้าหมายแรกที่ 4% หรือเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 10.40 บาทต่อหน่วย และกำหนดเป้าหมายต่อมาอีก 4% หรือเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 10.95 บาทต่อหน่วย ซึ่งบลจ.กสิกรไทยจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทั้งหมดและเลิกกองทุนเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าถึงระดับดังกล่าว

 สำหรับ ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปมีการปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าได้รับปัจจัยบวกมาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร และตราสารหนี้ ด้วยวงเงินประมาณ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 จนสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2559 หรือคิดเป็นเม็ดเงินรวมกว่า 1.1 ล้านล้านยูโร ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5 แสนล้านยูโร ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป รวมถึงตลาดหุ้นและตลาดการเงินทั่วโลกในภาพรวมเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากเป็นการเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกให้มีมากขึ้น

    ทั้งนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะยังมีแรงกดดันด้านตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณชะลอตัว จนเกิดความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดในอนาคต อย่างไรก็ดี เชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ECB น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวได้ และส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในระยะยาวได้

    นอกจากนี้ การอัดฉีดเม็ดเงินของ ECB ยังส่งผลให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากประกาศมาตรการ QE ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงกว่า 2% มาสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อบริษัทจดทะเบียนในยุโรป โดยเฉพาะบริษัทที่มีการส่งออก ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้สูงขึ้น โดยข้อมูลจากนักวิเคราะห์หลายสำนักได้ประเมินว่าอัตราการเติบโตของผลกำไรบริษัทยุโรปในปี 2558 จะอยู่ที่ประมาณ 9-14% ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นยุโรปให้สามารถเติบได้อย่างต่อเนื่องด้วย

   นายนาวิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นยุโรปในระยะยาวยังมีความน่าสนใจ แม้ว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจยุโรปจะยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่นัก แต่ดัชนี MSCI Europe ก็สามารถปรับตัวขึ้นมาได้เกือบ 5% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ตั้งแต่ต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ดัชนี MSCI Europe กลับสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยปรับตัวขึ้นมากว่า 8% ในช่วงเวลาไม่ถึงเดือน โดยระดับราคาปัจจุบันค่า Forward P/E อยู่ที่ระดับประมาณ 15 เท่า ซึ่งแม้จะปรับตัวขึ้นมาใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีตแล้ว แต่หากเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งมี Forward P/Eอยู่ที่ระดับ 17 เท่า ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระดับน่าสนใจ

  อย่างไรก็ดี จากระดับราคาที่ขึ้นมาค่อนข้างเร็วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการปรับฐาน หรือขายทำกำไรออกมาในระยะสั้น ผู้ลงทุนจึงควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการเข้าลงทุน นอกจากนี้เศรษฐกิจยุโรปยังมีปัจจัยเสี่ยงที่กดดันให้ตลาดมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะสั้น คือกรณีผลการเลือกตั้งของกรีซที่ออกมาพบว่า การได้รับชัยชนะของพรรคไซรีซ่าซึ่งมีนโยบายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของ ECB จะทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะส่งผลให้กรีซตัดสินใจออกจากยูโรโซน และก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนจะต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!