WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MFC DennisChong BoonLimMFC เปิดวิสัยทัศน์เน้นกลยุทธ์เชิงรุกมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังอาเซียน ตั้งเป้ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิปี 2562

เติบโต 543,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.2 พร้อมเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

บลจ.เอ็มเอฟซี เน้นกลยุทธ์เชิงรุกมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขึ้นสู่ระดับภูมิภาค พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ในปีนี้เป็น 543,000 ล้านบาท หลังผลงานปี 2561 บริษัทมีรายได้ 913.94 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 168.08 ล้านบาท พร้อมเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปีนี้ ชะลอตัว แนะถือเป็นโอกาสในการกระจายการลงทุน

ในครึ่งปีแรกของปีนี้ (ม.ค. – มิ.ย. 62) เอ็มเอฟซีมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ 480,991 ล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวม 295,553 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 164,071 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 21,367 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 7 ของอุตสาหกรรม ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการของบริษัท 463,199 ล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวม 282,745 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 152,443 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 28,011 ล้านบาท 

ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีได้ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิล อินคัม หรือกองทุนเปิด MPII (เอ็มพาย)* ซึ่งลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหรือโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีผู้สนใจลงทุนจนล้นมูลค่าโครงการ เอ็มเอฟซีได้จดทะเบียนเพิ่มเงินลงทุนอีกถึง 2,000 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการลงทุนในกองทุนดังกล่าวที่มีอย่างต่อเนื่อง (ทั้งนี้กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และหรือโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก) 

นอกจากนี้ เอ็มเอฟซีได้จัดตั้งกองทุนใหม่ 9 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ 7 กองทุน กองทุนรวมตราสารทุน 1กองทุนและกองทุนรวมผสม 1 กองทุน มูลค่ารวม 7,212.64 ล้านบาท ส่วนในปี 2561 ที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีได้ตั้งกองทุนใหม่ โดยเป็นกองทุนรวม 16 กองทุน มูลค่ารวม 5,416 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 24 กองทุน มูลค่ารวม 2,965 ล้านบาท  

เอ็มเอฟซีได้จ่ายเงินปันผลในปี 2562 ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม 18 กองทุน รวม 630 ล้านบาท โดยกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไฮ-ดิวิเดนด์ ฟันด์ (HI-DIV) จ่ายเงินปันผลรวมสูงสุด 195 ล้านบาท และกองทุนเปิดสินภิญโญสี่ (SF4) จ่ายเงินปันผลต่อหน่วยสูงสุด 1.59 บาท ในขณะที่ปีที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม 43 กองทุน เป็นเงินกว่า 999.24 ล้านบาท โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) จ่ายปันผลสูงสุดกว่า 169.15 ล้านบาท และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี-บีทีอินคัมโกรทฟันด์ (M-BT) จ่ายเงินปันผลต่อหน่วยสูงสุด 1.97 บาท 

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมการจ่ายปันผลย้อนหลัง 5 ปีด้านล่าง)

 

ในปีนี้เอ็มเอฟซียังได้รางวัลมอร์นิ่งสตาร์อวอร์ด 2019 ถึง 2 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ รางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนหุ้นภายในประเทศ ปี 2019 (Best Fund House Awards – Domestic Equity) และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เซ็ท 50 (Best Thailand Equity Large – Cap Fund : M-S50) ได้รางวัลกองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2019 ประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่อีกด้วย (ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

เอ็มเอฟซีมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอตัวลงจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนรวมถึงความไม่แน่นอนของการเจรจา Brexit  และความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน โดย IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลงอย่างต่อเนื่องและคาดว่าในปี 2562 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.3% (yoy) โดย MFC คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะขยายตัวระหว่าง 3.1-3.5% (yoy) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำในช่วง 0.6-1.0% (yoy) และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากเป็นระดับที่ผ่อนคลายเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อดูแลความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม

การลงทุนในตลาดยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยเดิมที่ไม่แตกต่างจากช่วงครึ่งแรกของปี ดังนั้นคาดว่าสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบแบบขาขึ้น (sideway-up) แต่อาจมีความผันผวน โดยปัจจัยที่สนับสนุนตลาดหุ้นโลก ได้แก่ การที่รัฐบาลในแต่ละประเทศมีแนวโน้มประคองเศรษฐกิจโดยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง จึงทำให้เศรษฐกิจโลกเพียงแค่ชะลอตัวลงและไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครึ่งปีหลังนี้

ตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีแรกได้ปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น US-China เริ่มกลับมาเจรจาทางการค้า และธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งราคาน้ำมันปรับตัวทำ new high ที่ 64.4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่หลังการประชุม G20 ที่มีการพบกันระหว่างประธานาธิบดีจีน-สหรัฐและมีข้อตกลงว่าจะกลับมาเจรจากันอีกครั้งทำให้ตลาดคลายความกังวล นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่มีความชัดเจนหลังการจัดตั้งรัฐบาลก็มีผลบวกต่อตลาด ทำให้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 

SET Index ปิดที่ 1,730.34 จุด เพิ่มขึ้น 10.64% จากสิ้นปี 2561 แนวโน้มการลงทุนของช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามประเด็นสงครามการค้าระหว่าง US-China ที่คาดว่าจะเข้ามามีผลกระทบเป็นระยะๆ และปัจจัยเสี่ยงในเรื่องเศรษฐกิจโลกจะเติบโตในอัตราชะลอลง เริ่มจากประเทศเศรษฐกิจหลักๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังอาจจะมีความผันผวนสูงขึ้นและอ่อนไหวจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยซื้อขายในระดับ P/E ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15.6 เท่า ประกอบกับปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดยังไม่ชัดเจนมากนัก

ตลาดหุ้นต่างประเทศ MFC ยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) โดยคาดว่าตลาดจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบแบบขาขึ้น (sideway-up) โดยมีปัจจัยที่สนับสนุน คือ กระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง จึงทำให้เศรษฐกิจโลกเพียงแค่ชะลอตัวลงและไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทยังขยายตัวได้อยู่ แต่จะมีความผันผวนสูงจากปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบในช่วงสั้น

ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อโลกอยู่ระดับต่ำ ประกอบกับความเสี่ยงสงครามการค้า ส่งผลให้มีความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งคาดว่า เส้นอัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรสหรัฐจะทรงตัวหรือปรับตัวลง ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกรวมทั้งตลาดไทยในครึ่งปีหลังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นได้หากธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยนโยบายน้อยกว่าที่ตลาดคาดหรือไม่ลดดอกเบี้ยเลยในครึ่งปีหลังของปี 2562 ประกอบกับเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตราสารหนี้ไทยเนื่องจากแบงค์ชาติออกประกาศมาตรการสกัดกั้นการเก็งค่าเงินบาทที่รุนแรง

 

* กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน อาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนแรกเริ่มได้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

 

ข้อมูลการจ่ายเงินปันผลรวมย้อนหลัง

 

ปี 2562  กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีไฮ-ดิวิเดนด์ฟันด์(HI-DIV) จ่ายเงินปันผลรวมย้อนหลัง  

ปี 2557=1,265.38 ล้านบาท     ปี 2559=301.41 ล้านบาท     ปี 2560=488.73 ล้านบาท     ปี 2561=105.87 ล้านบาท     ปี 2562= 195.48 ล้านบาท

กองทุนเปิดสินภิญโญสี่(SF4) จ่ายเงินปันผลย้อนหลัง(ต่อหน่วยลงทุน)

ปี 2557=1.10 บาท    ปี 2559=0.52 บาท    ปี 2560=0.93 บาท    ปี 2561=0.85    ปี 2562=1.59 บาท  

     

ปี 2561  กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล(HPF)

ปี 2557=241.58 ล้านบาท    ปี 2558=315.16 ล้านบาท     ปี 2559=314.67 ล้านบาท     ปี 2560=133.95 ล้านบาท     ปี 2561=169.15 ล้านบาท   

 

กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี-บีทีอินคัมโกรทฟันด์(M-BT) (ต่อหน่วยลงทุน)

ปี 2557=1.65 บาท    ปี 2558= 0.79      ปี 2559=0.47 บาท     ปี 2560=0.75 บาท     ปี 2561=1.97 บาท

 

AO07274

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!