WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TNSบญชย เกยรตธนาวทยบลจ.ธนชาต เปิดขายกองทุนตราสารหนี้เอล้วน ชูผลตอบแทนประมาณ 2.35-2.45% ต่อปี

    บลจ.ธนชาต ออก 2 กองทุนตราสารหนี้ ลงทุนหุ้นกู้เรทติ้งAชูผลตอบแทน 2.35-2.45% ต่อปี ,ขาย 24 ก.ค.-1 ส.ค.

    นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต เปิดเผยว่า บริษัทเปิดขายกองทุน TFixed3Y11M1AI และ กองทุน TFixed4Y10M1AI ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่จะลงทุนในหุ้นกู้เรทติ้ง A โดยเสนอขายตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.-1 ส.ค.61 มีขั้นต่ำของการลงทุนอยู่ที่ 500,000 บาทขึ้นไป โดยคาดว่าจะให้ผลตอบแทนประมาณ 2.35-2.45% ต่อปี

     สำหรับ กองทุน TFixed3Y11M1AI อายุประมาณ 3 ปี 11 เดือน จะลงทุนในหุ้นกู้เรทติ้ง A ได้แก่ หุ้นกู้ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) สัดส่วนการลงทุน 19.5% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.51% ต่อปี, หุ้นกู้ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด สัดส่วนการลงทุน 19.5% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.73%, หุ้นกู้บมจ.ช.การช่าง (CK) สัดส่วนการลงทุน 19.5% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.56%,

      หุ้นกู้บมจ.บ้านปู (BANPU) สัดส่วนการลงทุน 8% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.53%, หุ้นกู้บมจ.การบินไทย (THAI) สัดส่วนการลงทุน 19.5% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.66%, หุ้นกู้บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด สัดส่วนการลงทุน 6% อัตราผลตอบแทนประมาณ 3.15% และหุ้นกู้ บริษัท ไอซีบีซีลีสซิ่ง (ไทย) จำกัด สัดส่วนการลงทุน 8% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.43% โดยประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุนอยู่ที่ 0.27% คาดว่ากองทุนนี้จะให้ผลตอบแทนประมาณ 2.35% ต่อปี

      สำหรับ กองทุน TFixed4Y10M1AI อายุประมาณ 4 ปี 10 เดือน จะเน้นลงทุนในหุ้นกู้เรทติ้ง A เช่นกัน ได้แก่ หุ้นกู้ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ สัดส่วนการลงทุน 19.8% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.81%, หุ้นกู้บมจ.เบทาโกร สัดส่วนการลงทุน 10.2% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.79%, หุ้นกู้บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) สัดส่วนการลงทุน 19% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.67%, หุ้นกู้ บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สัดส่วนการลงทุน 11.4% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.53%, หุ้นกู้ของ CK สัดส่วนการลงทุน 19.8% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.75% และหุ้นกู้ IVL สัดส่วนการลงทุน 19.8% อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.83% โดยประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุนอยู่ที่ 0.29% คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 2.45% ต่อปี

       ด้านอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศระยะนี้ มีการปรับตัวขึ้นในช่วงแคบตามการปรับพอร์ตของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ หลังค่าเงินบาทยังคงมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตามเงินลงทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ อันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและอีกหลายๆประเทศ

        ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น อยู่ในช่วง 1.75 – 2.00% เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเฟดได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการปรับตัวดีขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นในอัตราที่แข็งแกร่ง การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนปรับตัวขึ้น ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลง อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากสงครามการค้ากับจีนและประเทศอื่นๆ ถ้าเกิดขึ้นจริงทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าลดลงได้

        สำหรับ ปัจจัยภายในประเทศ สภาพคล่องยังคงมีปริมาณมากอยู่ จากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล โดย 5 เดือนแรกปีนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ทยอยฟื้นตัว สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 4.7% ในไตรมาส 1 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าเป้าหมาย ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 0.9% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.5%(?1.5%) ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่น่าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ รอจนกว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นชัดเจนขึ้น คาดการณ์ว่าการปรับขึ้นน่าจะเริ่มในช่วงไตรมาส 1 ของปีหน้า และเป็นการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะมีการปรับขึ้นปีละ 0.5% ในอีก 2 ปีข้างหน้า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!