- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Wednesday, 14 August 2024 18:18
- Hits: 6145
CPALL มีรายได้ 248,026 ล้านบาท เพิ่ม 6.9% กำไร 6,239 ล้านบาท
CPALL สรุปผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 มีรายได้รวม 248,026 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% มีกำไรสุทธิ 6,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6%
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ.ซีพีออลล์ CPALL รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 ปี 2567 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า รายได้รวมในไตรมาส 2 ปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 248,026 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจร้านสะดวกซื้อ
ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ตามการบริโภคภายในประเทศที่ยังมีการขยายตัวรวมถึงการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้ที่ปรับตัวดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งสร้างบรรยากาศที่ดีในการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ กลยุทธ์ O2O ของแต่ละหน่วย ธุรกิจยังคงเป็นปัจจัยเสริมในการเติบโตของรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
กำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 ปี 2567 มีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการเท่ากับ 54,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งยังคงมาจากกลยุทธ์ด้านสินค้า สามารถส่งมอบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และออกสินค้าตามกระแสในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรอีกด้วย ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในงบการเงินรวม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.4 จากร้อยละ 22.0
ผลการดำเนินงานงวดหกเดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 489,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในขณะที่กำไร 12,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7 และกำไรต่อหุ้นตามงบการเงินรวม 1.37 บาท จากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นของทุกกลุ่มธุรกิจ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังคงดีต่อเนื่อง สัดส่วนรายได้รวม และกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกันตามธุรกิจหลัก สำหรับ 6 เดือนแรกของปี 2567 รายได้รวมก่อนหักรายการระหว่างกัน แบ่งสัดส่วนตามธุรกิจหลัก ได้ดังนี้ (กลุ่ม1) รายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ 52 และ (กลุ่ม 2) รายได้จากธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 48 ซึ่งสัดส่วนกำไรของ (กลุ่ม 1) เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน
โดยหลักมาจากการเติบโตของรายได้ของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ กำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกัน แบ่งสัดส่วนตามธุรกิจหลัก ได้ดังนี้ (กลุ่ม 1) กำไรจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ 74 ในขณะที่ (กลุ่ม 2) กำไรจากธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 26 ทั้งนี้ สัดส่วนกำไรของ (กลุ่ม1) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ทุกธุรกิจมีการสร้างการเติบโตของกำไรให้อยู่ในระดับสูง อันเป็นผลจากการดำเนินงานและการบริหารต้นทุนทางการเงิน ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเปิดร้านสาขาใหม่ 124 สาขา ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2567 มีร้านสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 14,854 สาขา แบ่งเป็น (1) ร้านสาขาบริษัท 7,546 สาขา (ประมาณ ร้อยละ 51) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 61 สาขา ในไตรมาสนี้ (2) ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 7,308 สาขา (ประมาณ ร้อยละ 49) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 63 สาขา ในไตรมาสนี้
ทั้งนี้ ร้านสาขาส่วนใหญ่ยังเป็นร้านที่ตั้งเป็นเอกเทศ ซึ่งประมาณร้อยละ 86 ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในไตรมาส 2 ปี 2567 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 112,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ในไตรมาสนี้มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน เท่ากับ 86,656 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 3.8 โดยมียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณ 85 บาท ในขณะที่จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,007 คน ทั้งนี้ ลูกค้ามีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน
นอกจากนี้ มาตรการของรัฐในช่วงวันหยุดยาวก็มีส่วนช่วยสนับสนุนเช่นกัน ซึ่งธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังคงใช้แผนกลยุทธ์ที่สอดรับกับสถานการณ์ตลอดเวลา โดยคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ โดยนำเสนอสินค้าใหม่ๆพร้อมกับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา ประกอบกับรายได้จากการขายสินค้าส่วนเพิ่มผ่านกลยุทธ์ O2O อาทิ 7-Delivery และ All Online ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาวะปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11 ของรายได้จากการขายสินค้ารวม
More Articles
ผลการดำเนินงานงวดหกเดือนแรกปี 2567