WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11645 CHAYO Sooksan

CHAYO โชว์ไตรมาส 3/66 กำไรก้าวกระโดด แตะ 87.09 ลบ. เติบโต 103.76% พร้อมเปิดแผน Spin-Off หุ้นไอพีโอ ‘ชโย แคปปิตอล’ CCAP ลงกระดาน mai

          บมจ.ชโย กรุ๊ป หรือ CHAYO โชว์ไตรมาส 3/66 กำไรก้าวกระโดด แตะ 87.09 ลบ. เติบโต 103.76% หนุนกำไร 9 เดือนแตะ 308.15 ลบ. เติบโต 70.96% พร้อมเปิดแผน Spin-Off หุ้นไอพีโอ “ชโย แคปปิตอล” CCAP ลงกระดาน mai วางแผนนำเงินขยายธุรกิจ เติมขีดความสามารถการแข่งขัน-การขยายธุรกิจ-สร้างโอกาสการเติบโตทั้ง Organic Growth และ Inorganic Growth

          นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ธุรกิจเจรจาติดตามเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ และกิจการศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2566 (สิ้นสุด 30 กันยายน 2566) ว่า มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 87.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.76% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2565 ขณะที่กำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 308.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 70.96% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยทั้งนี้กำไรสำหรับงวด 9 เดือนสูงกว่ากำไรทั้งปีของปี 2565 แล้ว (ทั้งนี้กำไรทั้งปีในปี 2565 มีจำนวนเท่ากับ 274.46 ล้านบาท) โดยสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของกำไรส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและกำไรจากการขายจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายที่เพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ CHAYO มีรายได้รวมจากการดำเนินงานของบริษัท ประจำไตรมาส 3/2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 376.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.3% จากไตรมาส 3/2565 โดยสาเหตุการเพิ่มขึ้นของรายได้ส่วนใหญ่เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพและรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมจำนวน 110.69 ล้านบาท และ 7.67 ล้านบาทตามลำดับ นอกจากนี้ในไตรมาส 3/2566 มีรายได้จากธุรกิจบริการจัดหาคนอีก จำนวน 4.66 ล้านบาท

          สำหรับงวด 9 เดือนแรก บริษัทมีรายได้รวม 1,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.03% โดยส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ จำนวน 338.28 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของรายดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจำนวน 25.57 ล้านบาท 

          สำหรับ 9 เดือนปี 2566 บริษัทมียอดจัดเก็บจากหนี้ที่ไม่มีหลักประกันและยอดรายได้จากการขายหลักประกันของหนี้ด้อยคุณภาพจำนวน 302.48 ล้านบาท ซึ่งมากกว่างวดเดียวกันของปีก่อน อยู่จำนวน 68.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% โดยที่ยอดจัดเก็บหนี้ชนิดไม่มีหลักประกันยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากการซื้อพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพชนิดไม่มีหลักประกันมาบริหารเพิ่มเติมมากอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

11645 CHAYO Kitti

 

          นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ครั้งที่ 7/2566 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ได้มีมติอนุมัติแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของบริษัท ชโย แคปปิตอล จำกัด (“CCAP”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท (บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 71.25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) โดยการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และการนำหุ้นของ CCAP เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) (“แผนการ Spin-Off”)

          ภายใต้แผนการ Spin-Off ในครั้งนี้ CCAP คาดว่าจะดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ภายในปี 2567 และเมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย CCAP คาดว่าจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป และผู้ลงทุนประเภทอื่นๆ รวมทั้งหมดคิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อย 25 ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของ CCAP ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)

          ทั้งนี้ การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป และผู้ลงทุนประเภทอื่นๆ จะส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใน CCAP ลดลงจากเดิม 71.25% เหลือ 53.44% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ซึ่ง CCAP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทเช่นเดิม 

          “ตามที่บริษัทมีแนวทาง และแผนในการดำเนินธุรกิจโดยการแบ่งแยกธุรกิจการปล่อยสินเชื่อทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันออกจากบริษัทอย่างชัดเจน โดยบริษัท และบริษัทย่อยของบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่ม CCAP จะประกอบธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ ธุรกิจร่วมลงทุนและหรือธุรกิจอื่นที่ไม่เป็นการแข่งขันกับ CCAP ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสามารถและศักยภาพด้านการเงินของกลุ่มบริษัท จึงเห็นควรดำเนินการให้ CCAP เป็นบริษัทหลัก (Flagship Company) ของกลุ่มบริษัทในการดำเนินธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง(1) ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และ(2) ธุรกิจให้บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้า” นายกิตติกล่าว

          CCAP ดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อ ทั้งแบบที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน (Nano Finance) อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 33% ต่อปี และธุรกิจปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน (Personal Loan) อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปีภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย

          นายกิตติ กล่าวด้วยว่า การนำ CCAP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นการเพิ่มช่องทางการระดมทุนให้กับ CCAP ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้ CCAP มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการขยายธุรกิจของ CCAP เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตทั้งในลักษณะที่เป็นไปตามปกติของธุรกิจ (Organic Growth) และการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Inorganic Growth)

          เขากล่าวทิ้งท้ายว่า การเข้าระดมทุนครั้งนี้ CCAP จะได้รับเงินทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO เพื่อขยายธุรกิจในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน รวมถึงใช้ในธุรกิจของบริษัทและชำระคืนเงินกู้ยืม ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ซึ่งยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงของ CCAP ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมไปถึงเพิ่มโอกาสในการแสวงหาบุคลากรและ/หรือพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ CCAP ในอนาคต

 

 

11645

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!