- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Thursday, 02 November 2023 20:12
- Hits: 5029
‘ณพ ณรงค์เดช’ พลิกปมคดีครอบครัว เปิดข้อมูลสำคัญ ยืนยันทุกความบริสุทธิ์ ศาลตัดสินชนะคดีรวดมาตลอด 6 ปี!
ด้าน ‘คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา’ ศาลยกฟ้องทุกคดี! เป็นผู้บริสุทธิ์คดีปลอมลายเซ็นและการปลอมเอกสาร
2 พ.ย. 2566 - ณพ ณรงค์เดช พร้อม วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษากฎหมาย และคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา พร้อม อภิวุฒิ ทองคำ ที่ปรึกษากฎหมาย เปิดข้อมูลสำคัญโต้กลับทุกข้อกล่าวหา คดีครอบครัว และคดีหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) พร้อมพิสูจน์ความจริง ยืนยันความบริสุทธิ์หลังอดกลั้นมานาน ศาลพิพากษาชนะคดีรวดมาตลอด 6 ปี ‘ไม่มีเหตุจำเป็นต้องปลอม! เนื่องจากครอบครัวณรงค์เดชไม่มีส่วนร่วมในการลงทุนหุ้นวินด์ฯ’ ศาลชี้ชัดเส้นทางการเงิน และเงินลงทุนมาจากคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา
เคลียร์ปมครอบครัวณรงค์เดช
ที่ผ่านมาตลอด 6 ปี ณพ ณรงค์เดช เลือกที่จะไม่ตอบโต้ เพื่อรอศาลพิพากษาให้ครบทุกคดี จึงออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในครั้งเดียว เพื่อให้เกิดความชัดเจน พร้อมพิสูจน์ความจริง ตอบทุกข้อกล่าวหาที่ถูกนำไปเบี่ยงเบนเป็นประเด็น โดยไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิด สำหรับการลงทุนในหุ้นวินด์ฯ เป็นการลงทุนส่วนตัวของ ณพ ไม่เกี่ยวกับครอบครัว! สำหรับเรื่องที่เสียใจที่สุดคือการที่ ‘คุณพ่อ (ดร.เกษม ณรงค์เดช) ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้’เพียงเพราะมีคนต้องการผลประโยชน์จากหุ้นวินด์ฯ
นอกจากนี้ ณพ ณรงค์เดช และลูกๆ ‘ไม่ได้รับโอกาส’ ให้เข้าไปพบคุณพ่อตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะความขัดแย้งของพี่น้อง แม้จะพยายามเข้าพบหลายรอบแล้วก็ตาม ซึ่งณพยังคงเฝ้ารอโอกาสที่จะได้เข้าพบคุณพ่อเสมอ
ปมธุรกิจครอบครัว
ปัจจุบันนี้ ธุรกิจที่มี กฤษณ์ ณพ และกรณ์ เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกันนั้น มีเพียง บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ เท่านั้น โดยถือหุ้นคนละ 1 ใน 3 จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ณพจึงถูกกันออกมา ไม่ได้ร่วมบริหารจัดการหรือร่วมตัดสินใจใดๆ
รวมทั้งการที่ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นของ บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยธุรกิจส่วนตัวของ ณพ ณรงค์เดช ยังมีสถาบันดนตรี KPN ซึ่งเป็นธุรกิจที่ภูมิใจที่สุด ที่ได้ทำขึ้นตามความปรารถนาของคุณแม่ (คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช) ซึ่งมีแฟรนไชส์อยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจโรงพยาบาล ที่ได้ร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนอีก 2 บริษัท
เผยข้อเท็จจริง! สรุปคำพิพากษาชนะคดีตลอด 6 ปีเต็ม
คดีที่ 1 – คดีฮ่องกง HCA 1525/2018 (ศาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกง)
เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์ ฟ้องโกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด จำเลยที่ 1 ณพ ณรงค์เดช จำเลยที่ 2 คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา จำเลยที่ 3 เรื่องละเมิดและขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เมื่อ 2561
คำพิพากษา: อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง โดยให้ชำระค่าใช้จ่ายในอัตราสูงสุด ให้แก่จำเลย
คดีที่ 2 – คดีใช้เอกสารปลอม อ.2497/2561 (ศาลอาญา รัชดา)
เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์อ้างว่าตนเองในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด ฟ้องคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา จำเลยที่ 1 ณพ ณรงค์เดช จำเลยที่ 2 และสุรัตน์ จิรจรัสพร จำเลยที่ 3 เรื่องความผิดเกี่ยวกับเอกสาร เมื่อปี 2561
คำพิพากษา: ยกฟ้อง พยานผู้เชี่ยวชาญยันกันไม่อาจรับฟังเป็นยุติ ลายมื่อชื่อไม่ได้ผิดแผกแตกต่างให้เห็นชัดเจนว่าเป็นลายมือชื่อปลอม เงินช่วยเหลือจากครอบครัวก็เป็นเงินกู้ยืม ซึ่ง ณพ รับผิดชอบภาระหนี้และการบริหารจัดการคนเดียวจึงไม่ใช่การร่วมลงทุนในความหมายของกฎหมาย พยานโจทก์รับฟังไม่ได้โดยปราศจากข้อสงสัย ว่าเอกสารทั้ง 3 ฉบับเป็นเอกสารปลอม
คดีที่ 3 – คดีเรียกทรัพย์คืน พ.1031/2562 (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้)
เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย 14 คน และมีจำเลยร่วมอีก 31 คน เมื่อปี 2562 เรื่องให้เรียกทรัพย์คืน (หุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด)
คำพิพากษา: โจทก์ขอถอนฟ้อง ไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเรื่องนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง หลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนการอายัตเงินปันผลของบริษัท วินด์ฯ โดยให้เหตุผลชัดเจนว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้หากฟังว่า เกษม ให้หุ้นดังกล่าวแก่ ณพ การเรียกคืนจะต้องปรากฏว่า ณพ ประพฤติเนรคุณ แต่ไม่ปรากฏเหตุว่า ประพฤติเนรคุณ
คดีที่ 4 – คดีผิดสัญญา เรียกทรัพย์คืน พ.978/2565 (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้)
กฤษณ์ และกรณ์ ณรงค์เดช เป็นโจทก์ร่วมฟ้อง ณพ ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 บริษัท โกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 และคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา เป็นจำเลยที่ 4 เมื่อปี 2565 เรื่องสัญญาเพิกถอนนิติกรรม เรียกทรัพย์คืน
คำพิพากษา: ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เอกสารดังกล่าวในการโอนหุ้นไม่เป็นเอกสารที่แท้จริง หรือเป็นพยานเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเหตุใด ข้อกล่าวอ้างต่าง ๆ เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานกฎหมาย เมื่อโจทก์สืบไม่ได้จึงต้องฟังว่า การโอนหุ้นพิพาทหรือการซื้อหุ้นพิพาทมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ก็ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไม่เป็นโมฆะ เรื่องความเห็นเจ้าของหุ้นของโจทก์ทั้งสอง เมื่อได้ความว่า เงินที่ซื้อหุ้นพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองและไม่ปรากฏว่าเอกสารที่อ้างเป็นเอกสารปลอม การโอนหุ้นพิพาทถูกต้องตามแบบของกฎหมาย จึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของหุ้นพิพาท ไม่จำต้องโอนหุ้นคืนแก่โจทก์ทั้งสอง
คดีที่ 5 – คดีปลอมลายเซ็น อ.1708/2564 (ศาลอาญากรุงเทพใต้)
คดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1) เป็นโจทก์ฟ้อง ณพ ณรงค์เดช กับพวกรวม 3 คน เมื่อปี 2564 ในฐานความผิด ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม ร่วมกันปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษา: ยกฟ้อง ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังว่า เอกสารทั้ง 6 ฉบับปลอม แต่ทางนำสืบและพยานหลักฐานรวมทั้งคำเบิกความของเกษมไม่มีข้อเท็จจริงใดที่ยืนยันว่า ณพ คุณหญิงฯ และสุภาพร เป็นผู้ปลอม มีส่วนเกี่ยวข้องในการลงลายมือชื่อหรือนำมาใช้หรืออ้างชื่อใด ซึ่ง กฤษณ์ ก็เบิกความว่า ไม่ทราบว่าใคร เป็นผู้ลงลายมือชื่อปลอม ส่วน กรณ์ ก็เบิกความว่า ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ในขณะลงลายมือชื่อ จึงไม่ทราบว่า ผู้ใดลงลายมือชื่อ จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ร่วมกันปลอมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการปลอม
คำพิพากษาเฉพาะส่วน คดี อ.2886_2563 ผู้จัดการมรดกยักยอก