WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5162 AAI Ekaratch

AAI แย้มข่าวดี เริ่มเห็นสัญญาณบวกครึ่งปีหลัง 2566 ประกาศลุยจ่ายปันผลระหว่างกาล มั่นใจปีนี้อัตรากำไรขั้นต้น 12-14%

          ‘เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ AAI’ ประกาศเริ่มเห็นสัญญาณบวกท่ามกลางความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เชื่อมั่นผลประกอบการครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกหลังเจอวิกฤตส่งออกชะลอตัว อีกทั้งค่าแรงและราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ปรับเป้ารายได้ปีนี้ 5,800 ล้านบาท จากอาหารสัตว์เลี้ยง 4,700 ล้านบาท และอาหารพร้อมรับประทานบรรจุภาชนะปิดผนึก 1,100 ล้านบาท ขอชะลอลงทุนบางส่วนที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงเพื่อกำเงินสดท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยสูง พร้อมเดินหน้าประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.05 บาท

          นายเอกราช พรรณสังข์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ AAI ผู้รับจ้างผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Food) และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก (Human Food) ชั้นนำของประเทศ และเจ้าของแบรนด์ “monchou” “Hajiko” และ “Pro” ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับแมวและสุนัข เปิดเผยว่า รายได้ไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 1,196 ล้านบาท ลดลง 34.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1,814 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมียอดขายลดลงมากโดยมีปริมาณการขายลดลงถึง 34% เพราะยังได้รับผลกระทบจากการชะลอคำสั่งซื้อจากตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารพร้อมรับประทานบรรจุภาชนะปิดผนึกมีรายได้ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาทูน่ายังอยู่ในระดับสูง

          ขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 26 ล้านบาท ลดลง 85.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 183 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากที่ยอดขายลดลงอย่างมาก เป็นเหตุให้มีสัดส่วนต้นทุนค่าแรงและต้นทุนทางพลังงานที่สูงขึ้น กดดันอัตรากำไรขั้นต้นจนลดลงมาอยู่ 12.7% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 21.2% นอกจากนี้ ยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมาร่วมกดดันให้กำไรสุทธิสำหรับไตรมาสลดต่ำลง แม้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงกว่า 20% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งนี้ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.01 บาท/หุ้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.11 บาท/หุ้น 

          สำหรับครึ่งปีแรก 2566 AAI มีรายได้อยู่ที่ 2,587 ล้านบาท ลดลง 25.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 3,464 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 99 ล้านบาท ลดลง 72.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 364 ล้านบาท จากสาเหตุยอดขายอาหารสัตว์เลี้ยงลดลง โดยอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 10.9% ลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 19.1% และอัตรากำไรสุทธิปรับลงมาอยู่ที่ 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 10.5% โดยมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.05 บาท/หุ้น จากครึ่งปีแรกปีก่อนอยู่ที่ 0.21 บาท/หุ้น 

          การที่ปริมาณการขายครึ่งปีแรกอยู่ที่ 17,612 ตัน ลดลง 23% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 22,863 ตัน เนื่องจากกลุ่มอาหารสัตว์ยอดขายลดลงเหตุเพราะ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย สินค้ารอบใหม่มีระยะการส่งสั้นลง ลูกค้าเจ้าของแบรนด์จึงต้องเร่งระบายสต็อกให้มีจำนวนที่เหมาะสม และสถานการณ์ดังกล่าวใช้เวลานานกว่าที่คาด

          นายเอกราช กล่าวต่อถึงผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังว่า รายได้ในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก แต่อาจยังมีปัจจัยเรื่องการปรับลดปริมาณการถือครองสินค้าคงเหลือของลูกค้ารายสำคัญเพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาการสั่งซื้อ (Leadtime) ที่จะกดดันยอดขายในไตรมาส 3 บางส่วน ทำให้คาดการณ์รายได้บริษัทฯ ปีนี้อยู่ที่ 5,800 ล้านบาท หรือลดลง 18% เมื่อเทียบกับปี 2565 แบ่งเป็น รายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง 4,700 ล้านบาท เป็นการลดลงจากกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่รับจ้างผลิตให้กับลูกค้าเจ้าของแบรนด์ในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่มองว่ารายได้อาหารสัตว์เลี้ยงแบรนด์ของตัวเอง (เฮ้าส์แบรนด์) ในประเทศไทยจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งกำลังวางแผนเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายตามแผนงานในอนาคตที่ต้องการมีสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เป็น 10% และกำลังปรับกลยุทธ์การจัดจำหน่ายแบรนด์ในประเทศจีนหลังการเปิดประเทศของประเทศจีน 

          ขณะที่คาดว่ารายได้จากกลุ่มอาหารพร้อมรับประทานบรรจุภาชนะปิดผนึกจะอยู่ที่ 1,100 ล้านบาท โดยอัตรากำไรในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้น่าจะมีการปรับลดลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากราคาปลาทูน่าที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี และยังมีการแข่งขันที่รุนแรงภายในอุตสาหกรรม

          “ช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะสามารถปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับ 12-14% เนื่องจากประเมินว่าจะมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น ช่วยลดแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตที่บริษัทเผชิญในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา ทั้งจากการที่ราคาทูน่าปรับตัวสูง และจากการที่สัดส่วนค่าพลังานและค่าแรงเมื่อเทียบกับยอดขายค่อนข้างสูง” นายเอกราช กล่าว

          อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตตามแผนของ ปี 2566 ที่คาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงอีก 6,500 ตัน เป็น 56,000 ตัน ในช่วงต้นปี 2567 เพื่อให้มีความพร้อมในการรับจ้างผลิตจากลูกค้ารายใหม่ๆ ตลอดจนรองรับการกลับมาเติบโตของลูกค้า ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แต่บริษัทฯ ได้ชะลอลงทุนสร้างอาคารคลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 และอาคารผลิตแห่งใหม่ออกไปก่อน ในขณะที่ไปปรับแผนการใช้พี้นที่การผลิตในโครงการขยายอาคารผลิตที่เสร็จสิ้นไปแล้วให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด เพื่อที่จะสามารถเพิ่มเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังผลิตได้บางส่วน และจะเป็นการเก็บเงินสดไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นมาก จนกว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงจะมีความชัดเจนมากขึ้น

          ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล คิดเป็นอัตราหุ้นละ 0.05 บาท ในวันที่ 8 ก.ย. 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้สิทธิรับเงินปันผลวันที่ 25 ส.ค. 2566

 

 

A8713

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!