WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TRIS7 6ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กร ‘บ.โออิชิ กรุ๊ป’ ที่ ‘A+’ เแนวโน้ม ‘Stable’

     ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ ‘A+’ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต ‘Stable’ หรือ’คงที่’ โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะทางการแข่งขันที่แข็งแกร่งของบริษัทในตลาดเครื่องดื่มชาพร้อมดื่มในประเทศไทยซึ่งมีตราสินค้าเป็นที่รู้จักอย่างดีและเครือข่ายการกระจายสินค้าที่กว้างขวาง ตลอดจนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท

    อันดับเครดิตดังกล่าวยังได้รวมการปรับเพิ่มสถานะเครดิตขึ้นมา 1 ขั้นจากอันดับเครดิตเฉพาะของบริษัท (Stand-alone Credit Profile : SACP) ที่ระดับ ‘a’ ซึ่งสะท้อนถึงสถานะของบริษัทในการเป็นบริษัทย่อยเชิงกลยุทธ์ (Strategic Subsidiary) ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (ได้รับอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้งที่ระดับ ‘AA/Stable’)

      นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงผลการดำเนินงานในธุรกิจอาหารของบริษัทที่คาดว่าน่าจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจหลักของบริษัท รวมถึงความท้าทายจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

เป็นผู้นำในตลาดชาพร้อมดื่ม

       บริษัทยังคงสถานะทางการแข่งขันที่แข็งแกร่งโดยเป็นผู้นำในตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศไทยด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 48.3% ของมูลค่าตลาดรวมในช่วง 12 เดือนย้อนหลังสิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน 2565 ทั้งนี้ ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทค่อนข้างคงที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

       โดยความแข็งแกร่งทางการแข่งขันของบริษัทมีปัจจัยสนับสนุนจากตราสินค้าของบริษัทซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี รวมถึงการมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ กิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ 

      ทริสเรทติ้ง มองว่า ตลาดชาพร้อมดื่มของไทยมีทิศทางที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2565 จากอุปสงค์ที่ฟื้นตัว รวมทั้งกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ที่กลับมาดำเนินได้ตามปกติ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยในปี 2564 ตลาดชาพร้อมดื่มมีมูลค่า 1.12 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2563

อีกทั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ยอดขายชาพร้อมดื่มก็เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ประเภทอื่นๆ โดยมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นถึง 20.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 6.9 พันล้านบาท

 

ธุรกิจเครื่องดื่มมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง

ในช่วง 3 ปีข้างหน้าทริสเรทติ้งคาดว่าธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัทจะยังคงสร้างผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งตามสภาวะตลาดที่เติบโตและจากสถานะการแข่งขันที่แข็งแกร่งของบริษัทในตลาด ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้ง คาดว่า รายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัทจะเติบโตเพิ่มขึ้น 5%-13% ต่อปีในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ยอดขายชาพร้อมดื่มของบริษัทที่จัดจำหน่ายในประเทศได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดีในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และคาดว่าจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปในปี 2565 ซึ่งขณะนี้ยอดขายเครื่องดื่มภายในประเทศของบริษัทอยู่ในระดับสูงกว่าในช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดแล้ว

ทั้งนี้ บริษัทรายงานยอดขายเครื่องดื่มในประเทศสำหรับปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ซึ่งไม่รวมยอดขายสินค้าที่รับจ้างผลิตตามสัญญาอยู่ที่ระดับ 5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากปีงบประมาณ 2563 ในขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 ยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 16% จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนโดยมาอยู่ที่ระดับ 4.5 พันล้านบาท

ส่วนเครื่องดื่มที่บริโภคระหว่างเดินทาง (On-the-go Products) ซึ่งจัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อนั้นก็มียอดขายที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งโดยได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนอกบ้านที่มีมากขึ้น ทั้งนี้ ยอดขายของบริษัทจากช่องทางจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 21% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ในขณะที่ยอดขายจากร้านค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) เพิ่มขึ้น 9%

ทริสเรทติ้ง เชื่อว่า การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการออกผลิตภัณฑ์ในหมวดหมู่ใหม่ๆ จะช่วยเติมเต็มศักยภาพยอดขายและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผลการดำเนินงานในธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัทให้มากยิ่งขึ้น บริษัทยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

โดยเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้เปิดตัวชาเขียวน้ำผึ้งมะนาวสูตรไม่มีน้ำตาลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพที่มีจำนวนมากขึ้นซึ่งทำให้บริษัทมีฐานลูกค้าที่กว้างมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ และจัดรายการรณรงค์ส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย

สำหรับ ตลาดในต่างประเทศนั้น ทริสเรทติ้งคาดว่ายอดขายสินค้าส่งออกของบริษัทจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาในช่วง 3 ปีข้างหน้าภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในวงกว้างทั่วโลก ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 ยอดขายสินค้าส่งออกของบริษัทฟื้นตัวขึ้นที่ระดับ 9% จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนแต่ยังคงต่ำกว่ายอดขายในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2019 อยู่ 24%

ในขณะที่ยอดขายชาเขียวในประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของบริษัทนั้นกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งโดยเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ ทริสเรทติ้ง คาดว่า การฟื้นตัวของตลาดส่งออกจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างการเติบโตของยอดขายโดยรวมในธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัท

 

ธุรกิจอาหารเริ่มฟื้นตัว

ทริสเรทติ้ง มองว่า ธุรกิจค้าอาหารของบริษัทมีทิศทางที่จะฟื้นตัวกลับมาอย่างแข็งแกร่งหลังจากซบเซาเป็นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์โรคโควิด 19

ในปีงบประมาณ 2564 บริษัทมียอดขายจากธุรกิจอาหารอยู่ที่ระดับ 3.6 พันล้านบาท ลดลง 29.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีงบประมาณก่อน โดยเปรียบเทียบกับยอดขายที่ระดับ 7.1 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ในขณะที่ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 รายได้จากธุรกิจอาหารของบริษัทเพิ่มขึ้น 35.3% จากช่วงเดียวกันในปีงบประมาณก่อนมาอยู่ที่เกือบ 4 พันล้านบาท โดยยอดขายที่เติบโตเพิ่มขึ้นนั้นได้รับแรงหนุนจากการคลายความกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม (Same-store Sales) ที่ฟื้นตัว

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 ยอดขายจากร้านอาหารของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้น 32.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีงบประมาณก่อน

ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จากธุรกิจอาหารของบริษัทจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีสาระสำคัญต่อไป โดยคาดว่ารายได้จะฟื้นตัวมาอยู่ที่ระดับ 5.3 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2565 และจะเติบโตที่ระดับ 11%-20% ต่อปีในช่วงปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนจะมาจากทั้งยอดขายจากสาขาเดิมและจากการขยายสาขา

โดยการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมน่าจะได้รับแรงหนุนจากการที่ร้านอาหารกลับมาเปิดบริการให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ตามปกติ รวมทั้งจำนวนลูกค้าที่รับประทานอาหารในร้านที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติการณ์โรคโควิด 19 นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดว่ารายได้จากสินค้าอาหารแช่เย็นและแช่แข็งของบริษัทจะเติบโตขึ้นจากการออกสินค้าสำเร็จรูปในรูปแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นและจากการที่บริษัทมีตลาดที่ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น

ในอนาคตบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะขยายสาขาร้านอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายสาขาร้านอาหารจะมุ่งเน้นแบรนด์ร้านอาหาร’ชาบูชิ’ (Shabushi) และ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ (Oishi Biztoro) ซึ่งเป็นร้านอาหารแบรนด์ใหม่ของบริษัทรวมแล้วที่ประมาณปีละ 30 สาขา

ทริสเรทติ้ง คาดว่า’ชาบูชิ’ จะยังคงเป็นแบรนด์ร้านอาหารหลักของบริษัทต่อไปและมองว่า ‘โออิชิ บิซโทโระ’ จะมีศักยภาพในการเติบโตที่ดีเนื่องจากการขยายสาขานั้นใช้เงินลงทุนน้อยกว่าและเมนูต่างๆ ก็เหมาะสำหรับอาหารจานด่วนอีกทั้งยังสะดวกต่อการซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน (Grab-and-go) และการจัดส่งผ่านการสั่งซื้อ (Delivery) ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของวิถีชีวิตที่ต้องการความรวดเร็วในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะขยายฐานลูกค้าด้วยการขยายสาขาใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายในทำเลใหม่ๆ เช่น ในสถานีบริการน้ำมัน ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ เป็นต้น

กำไรจะฟื้นตัว

ในปีงบประมาณ 2564 บริษัทมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ที่ระดับ 1.4 พันล้านบาท ซึ่งลดลงจากระดับ 2.2 พันล้านบาทในช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 นั้น บริษัทมี EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 1.8 พันล้านบาท

โดยเพิ่มขึ้น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 3 ปีข้างหน้าทริสเรทติ้งคาดว่า EBITDA ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของยอดขายจากธุรกิจอาหารและผลการดำเนินงานในธุรกิจเครื่องดื่มที่ดีขึ้น

ทริสเรทติ้ง คาดว่า กำไรของบริษัทน่าจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากราคาวัตถุดิบหลักๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและแผนการขยายเครือข่ายร้านอาหาร

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อรักษาอัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (Margin) เอาไว้ เช่น การบริหารจัดการวัตถุดิบ การหาส่วนประกอบอาหารทดแทน การจัดรายการรณรงค์ส่งเสริมการขายในระดับที่เหมาะสม และการปรับราคาสำหรับรายการอาหารบางเมนู เป็นต้น

ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าการประหยัดต่อขนาดและยอดขายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่บริษัทได้รับจากต้นทุนที่สูงขึ้นได้บ้าง นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การควบคุมการสูญเสียและสิ้นเปลือง (Waste Control) และการบริหารจัดการกำลังคนเพื่อบรรเทาผลกระทบ

ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตรากำไรต่อยอดขาย (EBITDA Margin) ของบริษัทน่าจะอยู่ในช่วง 17.5%-18.5% โดยมี EBITDA อยู่ในช่วง 2.3-2.7 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปีงบประมาณ 2565-2567 ในขณะที่เงินทุนจากการดำเนินงานน่าจะอยู่ในช่วง 2.1-2.5 พันล้านบาทต่อปี

 

หนี้สินอยู่ในระดับต่ำและมีสภาพคล่องเพียงพอ

ทริสเรทติ้ง คาดว่า โครงสร้างเงินทุนของบริษัทจะยังคงแข็งแกร่งโดยมีสภาพคล่องที่เพียงพอ ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนขนาดใหญ่และมีการจ่ายเงินปันผลด้วยอัตราที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ บริษัทจึงมีสถานะทางการเงินเป็นเงินสดสุทธิ (Net Cash Position)

โดย ณ เดือนมิถุนายน 2565 บริษัทมีเงินสดในมือและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 2.9 พันล้านบาท รวมถึงยังมีวงเงินกู้จากธนาคารที่ยังไม่ได้เบิกใช้อีกจำนวน 5 พันล้านบาทด้วย

ความต้องการในการใช้เงินทุนหลักๆ ของบริษัทนั้นคือการลงทุนซึ่งคาดว่าบริษัทจะมีการใช้เงินลงทุนประมาณปีละ 0.5-1.2 พันล้านบาทในช่วงปีงบประมาณ 2565-2567 เพื่อขยายสาขาร้านอาหารและขยายกำลังการผลิตในธุรกิจเครื่องดื่ม ในการนี้ หากไม่มีการซื้อกิจการโดยการก่อหนี้ขนาดใหญ่ ทริสเรทติ้งก็คาดว่าบริษัทจะยังคงมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง อีกทั้งจะมีสภาพคล่องที่เพียงพอโดยมีความต้องการในการกู้ยืมเพียงเล็กน้อยในช่วง 3 ปีข้างหน้า

 

เป็นบริษัทเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ

ทริสเรทติ้ง พิจารณาสถานะของบริษัทโออิชิ กรุ๊ป ว่าเป็นบริษัทย่อยเชิงกลยุทธ์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ โดยเป็นไปตาม’เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ’ (Group Rating Methodology) ของทริสเรทติ้ง ทั้งนี้ บริษัทมีบูรณาการในเชิงกลยุทธ์ทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจและทางการเงินร่วมกับบริษัทไทยเบฟเวอเรจ ในปีงบประมาณ 2564 บริษัทสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 35% ของรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์และธุรกิจอาหารของกลุ่มและสร้างกำไรในสัดส่วน 55% ของ EBITDA

ในกลุ่มธุรกิจนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของบริษัทในการเป็นบริษัทหลักในธุรกิจนี้ ทริสเรทติ้งจึงเชื่อว่าบริษัทจะยังคงสถานะในการเป็นบริษัทเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจโดยมีบูรณาการเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารของกลุ่มในระยะยาวต่อไป

 

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

  • รายได้จะฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ระดับ 2-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วงปีงบประมาณ 2565-2567
  • EBITDA Margin จะอยู่ที่ระดับประมาณ 5%-18.5%
  • เงินลงทุนโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณปีละ 5-1.2 พันล้านบาทในช่วงปีงบประมาณ 2565-2567

 

แนวโน้มอันดับเครดิต

แนวโน้มอันดับเครดิต ‘Stable’ หรือ ‘คงที่’ สะท้อนความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะยังคงสถานะในการเป็นบริษัทย่อยเชิงกลยุทธ์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจต่อไป นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดว่าบริษัทจะยังคงรักษาสถานะผู้นำตลาดในธุรกิจชาพร้อมดื่มในประเทศไทยเอาไว้ได้แม้จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง

อีกทั้ง บริษัทน่าจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอาหารในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้

 

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับลดลงหากบริษัทมีสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลงจากที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญ หรือบริษัทมีการลงทุนด้วยการก่อหนี้เชิงรุกจนทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทอ่อนแอลงอย่างมาก

ในทางตรงกันข้าม อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากบริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและอย่างต่อเนื่องจากฐานรายได้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ อันดับเครดิตของบริษัทอาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเช่นกันในกรณีที่ทริสเรทติ้งเห็นว่าระดับการสนับสนุนที่บริษัทได้รับจากบริษัทไทยเบฟเวอเรจนั้นเปลี่ยนแปลงไป 

 

เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ, 7 กันยายน 2565

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 15 กรกฎาคม 2565

- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงินสำหรับธุรกิจทั่วไป, 11 มกราคม 2565

 

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (OISHI)

อันดับเครดิตองค์กร:

A+

แนวโน้มอันดับเครดิต:

Stable

 

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com 

ติดต่อ [email protected]  โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500

      © บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้

     ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!