- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Sunday, 03 July 2022 22:39
- Hits: 1984
ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน และหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
บ.ซีพี ออลล์ ที่ ‘A+’ และคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน ที่ ‘A-‘ และจัดอันดับเครดิต หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันวงเงินไม่เกิน 1.9 หมื่นล้านบาท ที่ ‘A+’ แนวโน้ม ‘Stable’
ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กร หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน และหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ ‘A+’ และคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน ไม่มีประกันและไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ (Hybrid Debentures) ของบริษัทที่ระดับ ‘A-‘ พร้อมคงแนวโน้มอันดับเครดิต ‘Stable’ หรือ ‘คงที่’ ด้วย
ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังจัดอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 1.9 หมื่นล้านบาทของบริษัทที่ระดับ ‘A+’ ด้วยเช่นกัน โดยเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ครั้งนี้จะนำไปใช้ชำระคืนหนี้เดิมของบริษัท
อันดับเครดิตองค์กรสะท้อนถึงพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัทจากปัจจัยต่างๆ อาทิ การเป็นผู้นำในธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทย การมีเครือข่ายสาขาที่แข็งแกร่งและครอบคลุมทั่วประเทศ และการมีธุรกิจสนับสนุนที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทยังมาจากสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกของบริษัทย่อยอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากภาระหนี้ของบริษัทที่อยู่ในระดับสูง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการซื้อของทางออนไลน์ ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) รวมถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต
การซื้อกิจการเทสโก้เอเชียช่วยเสริมธุรกิจของบริษัท
ทริสเรทติ้ง มองว่า การซื้อกิจการเทสโก้เอเชีย ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ ‘Lotus’s’ (เดิมชื่อ ‘Tesco Lotus’) ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ช่วยเสริมสถานะความแข็งแกร่ง และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่บริษัท ซีพี ออลล์ นอกจากสถานะความเป็นผู้นำของบริษัทในธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ และความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งของบริษัทย่อย สยามแม็คโคร (MAKRO) แล้ว
ความแข็งแกร่งทางธุรกิจของบริษัทยังถูกเสริมด้วยสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ขนาดใหญ่หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตและการเป็นผู้บริหารพื้นที่เช่าของ Lotus’s
Lotus’s ในประเทศไทย มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ต บริษัทมีร้านค้าในหลากหลายรูปแบบจำนวนรวม 2,600 สาขาทั่วประเทศ มีพื้นที่ขายจำนวน 1.5 ล้านตารางเมตร (ตร.ม.) และพื้นที่ให้เช่าจำนวน 0.7 ล้าน ตร.ม. ในประเทศมาเลเซีย Lotus’s เป็นผู้ประกอบธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของประเทศ โดยมีสาขารวม 64 สาขา มีพื้นที่ขาย 0.3 ล้าน ตร.ม. และพื้นที่ให้เช่าจำนวน 0.3 ล้าน ตร.ม.
ยอดขายจากสาขาเดิม (Same Store Sales) จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทริสเรทติ้ง คาดว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากโรคโควิด 19 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทาง
ยอดขายจากสาขาเดิมของร้านสะดวกซื้อ ‘7-Eleven' หดตัวลงมากในปี 2563-2564 ก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างมากด้วยการเติบโต 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าในไตรมาสแรกของปี 2565 ในขณะที่ห้าง ‘แม็คโคร’ ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งสินค้าด้านอาหาร มีผลประกอบการที่มีเสถียรภาพมากกว่า โดยยอดขายสาขาเดิมสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องแม้ในช่วงเกิดการระบาดของโรคโควิด 19
ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จาก 7-Eleven จะเติบโต 6%-13% ต่อปีในช่วงปี 2565-2567 ซึ่งมาจากอัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด 19 และยอดขายจากสาขาที่เปิดใหม่ ส่วนรายได้จากแม็คโคร คาดว่าจะเติบโตที่ระดับ 7%-9% ต่อปี โดยมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของยอดขายสาขาเดิม และแผนการเปิดสาขาใหม่ทั้งในและต่างประเทศ
ขนาดของธุรกิจเติบโตอย่างมากจากการซื้อกิจการ
บริษัทมีขนาดของธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการรวมกิจการ Lotus’s ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จาก Lotus’s ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซียรวมกันอยู่ที่ระดับ 2.2-2.6 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 27% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2565-2567 ในขณะที่กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA) ของ Lotus’s รวมอยู่ที่ 2.4-3 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 35% ของงบการเงินรวมของบริษัทในช่วงเวลาเดียวกัน
ในไตรมาสแรกของปี 2565 รายได้จากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น 49.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ในขณะที่ EBITDA เติบโตขึ้น 57.9% มาอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากของระดับรายได้และกำไรมาจากการรวมงบการเงินของ Lotus’s และการฟื้นตัวของยอดขายที่ 7-Eleven
ในอนาคตข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด ทริสเรทติ้งคาดว่ากลยุทธ์ของบริษัทที่มุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าในช่องทางที่หลากหลาย (Omni-channel) ประกอบกับการเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการผสานประโยชน์จากการซื้อกิจการในช่วงที่ผ่านมาน่าจะช่วยส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าได้
สมมติฐานพื้นฐานของทริสเรทติ้ง คาดว่า รายได้จากการดำเนินงานรวมของบริษัทจะอยู่ที่ 8.2-9.6 แสนล้านบาทในปี 2565-2567 ในขณะที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ จะอยู่ที่ 8.6%-8.9%
ภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการก่อหนี้เพื่อซื้อกิจการ Lotus’s ในปี 2563 และจากการรวมงบการเงินของ บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (CPRD) และธุรกิจ Lotus’s ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ในปี 2564
หนี้สินทางการเงินของบริษัทเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3.9 แสนล้านบาท ณ เดือนมีนาคม 2565 จากระดับ 1.8 แสนล้านบาทในปี 2562 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 7.1 เท่า (ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปีโดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 12 เดือน) ในไตรมาสแรกของปี 2565 เทียบกับระดับ 3.5 เท่าในปี 2562
อย่างไรก็ตาม ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3 แสนล้านบาท จากระดับ 1.1 แสนล้านบาทในช่วงปี 2562-2563 อันเป็นผลมาจากการรวมกิจการกับ Lotus’s และการเพิ่มทุนของ MAKRO ในช่วงปลายปี 2564 ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนของบริษัทลดลงอยู่ที่ระดับ 58.2% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 จากระดับ 68%-75% ในปี 2562-2563
ทริสเรทติ้ง คาดว่า บริษัทจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 3.6-3.9 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วง 3 ปีข้างหน้าเพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์การเติบโตในทุกช่องทางการจัดจำหน่ายและทุกรูปแบบสาขาของกลุ่มบริษัท เงินลงทุนนี้คาดว่าจะใช้ในกิจการ 7-Eleven จำนวน 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี กิจการ MAKRO จำนวน 1-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี และสำหรับกิจการ Lotus’s ในไทยและประเทศมาเลเซียจำนวนรวม 1.1-1.3 หมื่นล้านบาท
แม้ว่า จะมีแผนการลงทุนจำนวนมาก แต่ทริสเรทติ้ง ก็คาดว่า หนี้สินทางการเงินของบริษัทจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลง โดยทริสเรทติ้งประมาณการว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8 เท่าในปี 2565 และลดลงต่ำกว่า 5 เท่าในปี 2567 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนของบริษัทจะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 58% ในช่วงเวลาเดียวกัน
สภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ทริสเรทติ้ง ประเมินว่า สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทจะมีเพียงพอในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 แหล่งเงินทุนของบริษัท ประกอบด้วยเงินสดในมือจำนวน 8.2 หมื่นล้านบาทและคาดว่าเงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทในปี 2565 จะอยู่ที่ระดับประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท
ทริสเรทติ้ง ประเมินว่า เงินสดในมือและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทมีเพียงพอสำหรับใช้ในการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดและเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายตามแผนลงทุนรวมประมาณ 7.8 หมื่นล้านบาท
สมมติฐานกรณีพื้นฐาน
- รายได้จากการดำเนินงานของบริษัทจะเพิ่มขึ้น 39% ในปี 2565 จากการรวมงบการเงินของ Lotus’s และจะเติบโตที่ระดับ 7%-10% ต่อปีในช่วงปี 2566-2567
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จะอยู่ที่ระดับประมาณ 8.6%-8.9% ในระหว่างปี 2565-2567
- ค่าใช้จ่ายลงทุนจะอยู่ที่ระดับประมาณ 3.6-3.9 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2565-2567
แนวโน้มอันดับเครดิต
แนวโน้มอันดับเครดิต ‘Stable’ หรือ ‘คงที่’ สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะความเป็นผู้นำและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนยังคงมีผลการดำเนินงานทางการเงินที่ดีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าการมีเงินสดในระดับที่สูงและกระแสเงินสดที่มั่นคงจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินในการลงทุนในอนาคตตามแผนของบริษัทได้
ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง
อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากโครงสร้างเงินทุนและกระแสเงินสดเพื่อการชำระหนี้ของบริษัทปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่ำกว่า 5 เท่าอย่างต่อเนื่อง
ในทางตรงกันข้าม อันดับเครดิตอาจถูกปรับลดลงหากผลการดำเนินงานของบริษัทอ่อนแอลงกว่าที่คาด หรือบริษัทมีการก่อหนี้เพื่อขยายการลงทุนจำนวนมากจนคาดว่าจะส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุน ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายสูงเกินกว่า 8 เท่าเป็นระยะเวลานาน
เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงินสำหรับธุรกิจทั่วไป, 11 มกราคม 2565
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564
- วิธีการจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 26 กรกฎาคม 2562
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
อันดับเครดิตองค์กร: |
A+ |
อันดับเครดิตตราสารหนี้: |
|
CPALL23OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน 4,132 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL23OB: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน 10,990 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL243A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน 5,379.2 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 |
A+ |
CPALL243B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน 9,934.5 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 |
A+ |
CPALL248B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีหลักประกัน 10,439 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 |
A+ |
CPALL22NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 9,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 |
A+ |
CPALL233A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 937 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL233B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 6,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL236A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL238A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 |
A+ |
CPALL246A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 |
A+ |
CPALL256B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 13,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 |
A+ |
CPALL256C: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 6,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 |
A+ |
CPALL263A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,074 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 |
A+ |
CPALL263B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 10,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 |
A+ |
CPALL266A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 17,773 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 |
A+ |
CPALL268A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 748 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 |
A+ |
CPALL271A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,466 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 |
A+ |
CPALL275A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,698.7 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 |
A+ |
CPALL275B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 8,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 |
A+ |
CPALL278A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 |
A+ |
CPALL27NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 9,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 |
A+ |
CPALL283A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,607 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 |
A+ |
CPALL283B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 6,800 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 |
A+ |
CPALL286A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 7,376 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 |
A+ |
CPALL288A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 4,851 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 |
A+ |
CPALL291A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,920 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 |
A+ |
CPALL293A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 4,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 |
A+ |
CPALL305A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,169.3 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2573 |
A+ |
CPALL305B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,350 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2573 |
A+ |
CPALL311A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 5,614 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 |
A+ |
CPALL313A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,600 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 |
A+ |
CPALL316A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 21,351 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 |
A+ |
CPALL325A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,632 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2575 |
A+ |
CPALL336A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 7,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2576 |
A+ |
CPALL359A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,450 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2578 |
A+ |
CPALL363A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2579 |
A+ |
CPALL17PA: หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน 10,000 ล้านบาท |
A- |
CPALL21PA: หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน 10,000 ล้านบาท |
A- |
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ในวงเงินไม่เกิน 19,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายใน 15 ปี |
A+
|
แนวโน้มอันดับเครดิต: |
Stable |
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com
ติดต่อ [email protected] โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500
© บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้
ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html