WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3ASCG3SCG แถลงผลประกอบการไตรมาส ปี 2564 ชูกลยุทธ์ ESG ดันพลังงานทดแทน สู้ต้นทุนพลังงานพุ่ง และเงินเฟ้อ คว้าโอกาสหลังเปิดประเทศด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลก สร้างการเติบโตระยะยาว

    เอสซีจี เผยผลประกอบการไตรมาส ปี 2564 ธุรกิจยังมั่นคง แม้กำไรลดลงจากการปิดเมืองทั้งภูมิภาค ต้นทุนพลังงาน วัตถุดิบที่สูงขึ้นตามตลาดโลก ประกาศเดินหน้าสร้างการเติบโตระยะยาวด้วยกลยุทธ์ ESG (Environmental Social and Governance) มุ่งบริหารความเสี่ยงต้นทุนวัตถุดิบและเชื้อเพลิง เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนทั้งพลังงานชีวมวล และแสงอาทิตย์

     รวมถึงเตรียมความพร้อมรับมือภาวะเงินเฟ้อที่อาจรุนแรงขึ้น คาดหลังเปิดประเทศตลาดจะคึกคัก เศรษฐกิจโลกฟื้น เตรียมคว้าโอกาสด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและสุขอนามัยที่ดี อาทิ SCG Green Choice และ CPAC Green Solution พร้อมรุกธุรกิจผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตพลาสติกชีวภาพ เดินหน้าช่วยสังคมต่อเนื่อง ทั้งกระจายวัคซีนสู่ภาคใต้ด้วยขนส่งควบคุมความเย็น ช่วยน้ำท่วมและสร้างอาชีพ

     นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “งบการเงินรวมก่อนสอบทานของเอสซีจีในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2564 มีรายได้จากการขาย 131,825 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน และมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 9,066 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47 จากไตรมาสก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง 

     ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงงานซีเมนต์ในประเทศเมียนมา และกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนเป็นมูลค่ายุติธรรม จะทำให้มีกำไรสำหรับงวด 6,817 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60 จากไตรมาสก่อน

      เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปกติ ลดลงร้อยละ 11 จากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ และการปิดเมืองทั้งภูมิภาค ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ และกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าว จะมีกำไรสำหรับงวด ลดลงร้อยละ 30

    สำหรับ ผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 เอสซีจีมีรายได้จากการขาย 387,446 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสำหรับงวด 38,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

     เอสซีจี มียอดขายสินค้าและบริการ HVA (High Value Added Product & Services - HVA) ในช่วง 9 เดือนของปี 2564 อยู่ที่ 133,504 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายรวม ทั้งนี้ ยังมีสัดส่วนของการพัฒนาสินค้าใหม่ (New Products Development – NPD) และ Service Solution คิดเป็นร้อยละ 15 และ ของรายได้จากการขายรวม

     นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมการส่งออกจากประเทศไทย ใน 9 เดือนของปี 2564 ทั้งสิ้น 174,487 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45 ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีมูลค่า 850,339 ล้านบาท โดยร้อยละ 44 เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน

     ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 และ 9 เดือนของปี 2564 แยกตามรายธุรกิจ ดังนี้

1AA1A3ABscgq3

     ธุรกิจเคมิคอลส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 60,060 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาขายสินค้าและปริมาณขายที่สูงขึ้น มีกำไรสำหรับงวด 5,210 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าที่ลดลง 

      สำหรับ ผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 ธุรกิจเคมิคอลส์มีรายได้จากการขาย 172,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 56 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสำหรับงวด 24,431 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 107 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จ
ากส่วนต่างราคาสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น

     ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 44,059 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอื่นๆ นอกอาเซียนและความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ก่อสร้างภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 1,199 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ และการปิดเมืองทั้งภูมิภาค
       ทั้งนี้ 
หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์โรงงานซีเมนต์ในประเทศเมียนมา จะมีขาดทุนสำหรับงวด 2,400 ล้านบาท

     สำหรับ ผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีรายได้จากการขาย 136,660 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 6,476 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ดังกล่าว จะมีกำไรสำหรับงวด 2,877 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 57 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

     เอสซีจีพี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 31,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายธุรกิจแบบร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger and Partnership หรือ M&P) และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดในอินโดนีเซีย ส่งผลให้ความต้องการสินค้าขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และอิเล็คทรอนิกส์ มีกำไรสำหรับงวด 1,781 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21 จากไตรมาสก่อน สาเหตุหลักมาจากต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

     สำหรับ ผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2564 เอสซีจีพี มีรายได้จากการขาย 89,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 6,179 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  จากความต้องการซื้อในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารเครื่องดื่ม และสินค้าเพื่อสุขอนามัย ที่ยังสามารถเติบโตได้
      ประกอบกับการขยายธุรกิจทั้งแบบ 
Organic Expansion และ M&P ทั้งนี้ การที่บริษัทมีฐานการผลิตในหลายประเทศ และผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าในหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกได้ดี

     นายรุ่งโรจน์กล่าวว่า “สถานะทางการเงินของเอสซีจียังแข็งแกร่ง แม้ว่ากำไรลดลง จากการปิดประเทศทั้งภูมิภาค ต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น เอสซีจี ได้เร่งดำเนินกลยุทธ์ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับต้นทุนพลังงาน และวัตถุดิบที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีก รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต โดยเร่งบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาซื้อขายพลังงานล่วงหน้า การเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมกับ สถานการณ์ตลาดและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน (Alternative Energy)

     ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล (Biomass) จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเชื้อเพลิงจากขยะ RDF เท่ากับร้อยละ 12   (โดยเฉพาะในธุรกิจซีเมนต์ มีการใช้พลังงานชีวมวลและเชื้อเพลิง RDF ถึงร้อยละ 25) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) เท่ากับร้อยละ 3 หรือ 77,744 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

      อย่างไรก็ดี เชื่อว่าภายหลังการเปิดประเทศ กำลังการซื้อจะเริ่มกลับมา เพราะภาคธุรกิจและประชาชนจะสามารถ ปรับตัวในการอยู่กับร่วมโควิด 19 ได้เช่นเดียวกับหลายประเทศ นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ซึ่งเอสซีจี ได้เตรียมคว้าโอกาสสร้างการเติบโตระยะยาวด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและสุขอนามัย อาทิ ผลิตภัณฑ์ SCG Green Choice ที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยประหยัดพลังงานและส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี CPAC Green Solution ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มความรวดเร็ว ลดปัญหาฝุ่น ของเสียในงานก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังคงเดินหน้าสู่ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ธุรกิจผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น

     ธุรกิจเคมิคอลส์ มุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน’ โดยดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงาน และเร่งขยายธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ตลาดมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ลงนาม MOU กับ Braskem เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการพลาสติกชีวภาพ ส่วนความคืบหน้าการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัทซีพลาสต์ (Sirplasteผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส คาดว่าจะสามารถโอนหุ้นได้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

      ขณะเดียวกันโรงงานสาธิตกระบวนการรีไซเคิลทางเคมี (Advanced Recycling) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ‘ISCC PLUS’ โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) และนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ในเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-World Class ซึ่งเป็นรางวัลระดับสูงสุด จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 3 ปีต่อเนื่องเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

      สำหรับ โครงการปิโตรเคมีครบวงจร Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) ที่เวียดนามคืบหน้าตามแผนร้อยละ 87 โดยจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในครึ่งปีแรกของปี 2566

     นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ มีมติอนุมัติการจัดตั้งวงเงินหุ้นกู้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000      ล้านบาท ซึ่งเป็นการออกหุ้นกู้ของเอสซีจี เคมิคอลส์ ครั้งแรก โดยได้ยื่นขออนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้แบบโครงการ Medium Term Note (MTN) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว

      ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มุ่งจัดหาพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น โดยรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จาก Solar Farm และ Solar Floating รวมถึงการนำลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์กลับมาใช้ใหม่

       ขณะเดียวกัน ได้พัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชัน ตอบโจทย์การก่อสร้างและการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน อาทิ CPAC Green Solution ที่มีนวัตกรรมหลัก ได้แก่ CPAC BIM ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการสูญเสียเวลาและทรัพยากร ผลิตภัณฑ์กลุ่ม SCG Green Choice  เช่น ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด ที่ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ระบบหลังคา SCG Solar Roof ที่ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับเจ้าของบ้าน

      ด้วยการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ SCG Bi-Ionization Air Purifier ระบบไอออน กำจัด เชื้อโรค ที่ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในอากาศ นอกจากนี้ ธุรกิจได้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อติดต่อและบริหารการค้าขายกับคู่ค้าและลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     เอสซีจีพี มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและ Mega Trends ของเศรษฐกิจไทยและอาเซียน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน อาทิ เทคโนโลยีเครื่องจักร (Mechanizationระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AIArtificial Intelligenceเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตรวมถึงคุณภาพของสินค้า ให้กับภาคอุตสาหกรรมควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิต

     ขณะเดียวกัน ยังคงมุ่งขยายธุรกิจ ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต (Organic Expansion) และร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจให้ครอบคลุมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน รองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์
ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

      สำหรับ การช่วยเหลือสังคมด้านวิกฤตโควิด 19 เอสซีจีได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สยามยามาโตะ และคูโบต้า เร่งกระจายวัคซีนไฟเซอร์เชิงรุก 310,000 โดส ใน 4 จังหวัดภาคใต้ที่มีการแพร่ระบาดสูง ได้แก่ สงขลา นราธิวาส ปัตตานี  และยะลา ด้วยระบบควบคุมความเย็นของรถขนส่งบริษัทเอสซีจี โลจิสติกส์ เมเนจเม้นท์ จำกัด 

      ด้านการบรรเทาความเดือนร้อนจากน้ำท่วม เอสซีจีเปิดเหมืองดินในจังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับน้ำท่วมและยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และมูลนิธิเอสซีจีได้มอบสุขากระดาษ SCGP จำนวน 7,000 ชุด และถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย ทั่วประเทศ 

    นอกจากนี้ ยังช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) และชุมชนกว่า 400 ราย ภายใต้โครงการ ‘พลังชุมชน’ ให้พัฒนาอาชีพ แปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มช่องทางการขาย และสร้างรายได้เพิ่มในวิกฤตโควิด 19 ที่ผ่านมา

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!