- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Saturday, 24 July 2021 22:26
- Hits: 26752
ทริสเรทติ้ง ช่วงเวลายากลำบากยังไม่ผ่านพ้น : แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564, Updated
Key Points
- ทริสเรทติ้ง ปรับลดประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Real GDP) ในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ระดับ 2.6% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดระลอกที่ 3 ของโรคโควิด 19 ทั้งนี้ ระบบสาธารณสุขใกล้ถึงขีดจำกัดและความล่าช้าในการฉีดวัคซีนจะส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมมีความล่าช้าออกไป โดยทริสเรทติ้งคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวเพียงแค่ระดับ 3.0%-3.5% เท่านั้นและมีแนวโน้มที่จะไม่ฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับก่อนการระบาดจนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566
- การระบาดใหม่ระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 ทำให้การบริโภคภาคเอกชนในประเทศที่เปราะบางอยู่แล้วกลับแย่ลงมากกว่าเดิม ในขณะที่มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของภาครัฐน่าจะช่วยบรรเทาสถานการณ์การบริโภคที่ตกต่ำลงได้ในระดับหนึ่ง แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนผู้ติดเชื้อและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดยังคงซ้ำเติมบาดแผลทางเศรษฐกิจจากปีก่อนที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจในภาค SME
- การฟื้นตัวทางการค้าที่เร็วกว่าคาดซึ่งได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของปริมาณการค้าก็กำลังเผชิญกับอุปสรรคจากต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและสร้างแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงจากปีก่อนหน้า
ตารางที่ 1: ประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ |
|||||
|
ปี 2562 |
ปี 2563 |
ไตรมาส1/2564 |
ปี 2564F |
|
|
|
|
|
กุมภาพันธ์ |
กรกฎาคม |
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (%) |
2.4 |
-6.1 |
-2.6 |
2.6 |
1.0 |
· การบริโภคขั้นสุดท้ายของภาคเอกชน |
4.5 |
-1.0 |
-0.5 |
1.5 |
0.5 |
· การบริโภคของภาครัฐ |
1.4 |
0.9 |
2.1 |
5.0 |
5.0 |
· การลงทุนของภาคเอกชน |
2.8 |
-8.4 |
3.0 |
3.7 |
4.1 |
· การลงทุนของภาครัฐ |
0.2 |
5.7 |
19.6 |
8.0 |
8.0 |
· การส่งออกสินค้าและบริการ |
-2.6 |
-19.4 |
-10.5 |
0.7 |
3.5 |
· การนำเข้าสินค้าและบริการ |
-4.4 |
-13.3 |
1.7 |
0.3 |
5.1 |
จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) |
39.9 |
6.7 |
0.03 |
3.5 |
0.1-0.3 |
F = ประมาณการ
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา และทริสเรทติ้ง
ทริสเรทติ้ง ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Real GDP) ในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.0% จากระดับ 2.6% ในประมาณการครั้งก่อนหน้าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดระลอกที่ 3 ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการระบาดในระลอกที่ผ่านมาจนทำให้ภาครัฐต้องเพิ่มระดับความเข้มงวดของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งนี้ ความเสี่ยงในด้านลบยังอยู่ในระดับสูงเมื่อพิจารณาถึงความสามารถของระบบสาธารณสุขของประเทศที่ใกล้ถึงขีดจำกัดซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของภาครัฐที่จะใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจตามระดับของมาตรการต่างๆ
ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ตลอดจนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมถดถอยลงจนส่งผลให้ระยะเวลาของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมต้องล่าช้าออกไป ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ระดับ 3.0%-3.5% ในปี 2565 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะยังไม่ฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับก่อนการแพร่ระบาดจนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566
การระบาดระลอกใหม่สร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุข |
|
ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ายิ่งขึ้น |
||
ภาพ 1: จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันและผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสะสม (คน) |
|
ภาพ 2: จำนวนวัคซีนที่ฉีด (ต่อประชากร 100 คน) |
||
|
|
|||
ที่มา: องค์การอนามัยโลก กรมควบคุมโรค และ CEIC Data |
|
ที่มา: One World in Data และ CEIC Data |
การค้าระหว่างประเทศจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จากการที่การค้าโลกขยายตัวเร็วกว่าคาดซึ่งเป็นอานิสงส์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศจีนและการเปิดเศรษฐกิจภายในประเทศที่รวดเร็วของประเทศเศรษฐกิจหลักต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าการค้าระหว่างประเทศจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว (V-shape) จนกลับมาสู่ระดับเทียบเท่ากับในปี 2562 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังประเทศตะวันตกนั้นก็กำลังเผชิญกับอุปสรรคจากต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งกรณีดังกล่าวคาดว่าจะยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญต่อไปจนถึงปลายปีนี้
ทริสเรทติ้งปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2564 เพิ่มขึ้นเป็น 6.7% จาก 6.1% ในประมาณการครั้งก่อนโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าระหว่างประเทศที่ขยายตัวสูงกว่าคาด อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันและการเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมตลอดจนความล่าช้าของการฉีดวัคซีนก็ยังคงลดทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการบริโภคภาคเอกชนต่อไป ทั้งนี้ เราคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศต่อวันน่าจะลดลงและคงที่ภายในปลายเดือนกันยายน 2564 และรัฐบาลจะสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี ในการนี้ เราจึงปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.0% จากการปรับลดการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้อยู่ที่ระดับเพียง 1-3 แสนคนเท่านั้นจากระดับ 3.5 ล้านคนในสมมติฐานครั้งก่อน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะอ่อนตัวลงจากผลของการบริโภคภาคเอกชนที่หดตัว |
||
ภาพ 3: ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรายไตรมาส |
||
ปัจจัยสนับสนุน + การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีน + การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจหลัก + มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลก + มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ปัจจัยจำกัด - การระบาดของโรคโควิด 19 รอบใหม่ - สถานการณ์การจ้างงาน หนี้ครัวเรือน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจที่ถดถอยลง - ความล่าช้าของการฉีดวัคซีนและความรุนแรงของเชื้อกลายพันธุ์ - ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น |
||
ที่มา: สศช. และทริสเรทติ้ง |
||
การบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอในขณะที่การปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
การระบาดใหม่ระลอกที่ 3 ของโรคโควิด 19 เมื่อผนวกกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดได้ทำให้การบริโภคภาคเอกชนที่เปราะบางอยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปกว่าเดิม ทริสเรทติ้งจึงปรับประมาณการการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนรายปีลงมาอยู่ที่ระดับ 0.5% จากระดับ 1.5% ในประมาณการครั้งก่อน ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่ามาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของภาครัฐจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจได้เพียงบางส่วนเท่านั้นและจะมีประสิทธิภาพลดลงหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ซึ่งระยะเวลาในการควบคุมการระบาดของโรคยังคงซ้ำเติมบาดแผลทางเศรษฐกิจที่ยังไม่หายจากปีก่อนหน้าต่อไปเนื่องจากการปิดกิจการของธุรกิจและการว่างงานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprise -- SME) ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจของประเทศและมีสัดส่วนต่อการจ้างงานถึง 70% ของแรงงานในระบบ
ปัญหาทางการเงินในภาค SME เริ่มส่งสัญญาณเมื่ออัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loan -- NPL) ของ SME ณ สิ้น
ไตรมาส 1/2564 พุ่งขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7.3% ของสินเชื่อรวมในกลุ่มธุรกิจ SME จากระดับ 4.8% ณ สิ้นไตรมาส 1/2563 โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธุรกิจ SME มีสัดส่วนคิดเป็น 45% ของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมดในระบบ หรือคิดเป็นประมาณ 2.4 แสนล้านบาท ทริสเรทติ้งเห็นว่าปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธุรกิจ SME มีแนวโน้มที่จะแย่ลงอีกเนื่องจากหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan -- SML) ของธุรกิจในกลุ่มนี้ทะยานขึ้นไปถึงระดับ 13.1% นอกจากนี้ จำนวนผู้ประกันตนที่ขอรับสิทธิ์เพื่อรับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (ตามมาตรา 33 ของระบบประกันสังคม) ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 307,833 คน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งทริสเรทติ้งคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นอีกจนกว่าการระบาดระลอกที่ 3 จะอยู่ภายใต้การควบคุม
ธุรกิจ SME ประสบปัญหาทางการเงินอย่างมาก |
|
จำนวนผู้ว่างงานในระบบคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกตามการระบาดรอบใหม่ |
||||
ภาพ4: หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) (% ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์) |
|
ภาพ 5: จำนวนผู้ขอรับผลประโยชน์ทดแทนสะสมกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม ม. 33 (คน) |
||||
|
|
|
||||
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
|
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม |
การค้าระหว่างประเทศจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากอานิสงส์ของการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน
จีนกลายเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ |
|
ทริสเรทติ้งปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการลงมาเป็นระดับ 3.5% และ 5.1% ตามลำดับจากประมาณการในครั้งก่อนที่ระดับ 0.7% และ 0.3% ตามลำดับ โดยได้ปรับการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเหลือ 1-3 แสนคนจาก 3.5 ล้านคนในประมาณการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าการค้าระหว่างประเทศจะฟื้นตัวโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากจีนและสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกไปยังสหรัฐฯ มีสัดส่วน 15% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยในปี 2563 (3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในขณะที่การส่งออกไปยังจีนและญี่ปุ่นมีสัดส่วน 13% (3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และ 10% (2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามลำดับ โดยอุปสงค์หลักของการส่งออกมาจากจีนและสหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกไปยังจีนได้แซงหน้าสหรัฐฯ มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 |
ภาพ 6: มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังคู่ค้าหลัก (พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) |
|
|
|
||
ที่มา: ธปท. และ CEIC Data |
|
การฟื้นตัวของปริมาณการค้ายังคงเผชิญกับอุปสรรคจากต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญต่อไปจนถึงปลายปีนี้ โดยการปรับตัวที่พุ่งสูงขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศทั้งในรูปแบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์และแบบเทกอง (Dry Bulk) มาตั้งแต่กลางปี 2563 นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของอุปสงค์ระหว่างซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกซึ่งส่งผลทำให้ราคาค่าระวางเรือระหว่างสายตะวันตกและสายตะวันออกมีความแตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้ ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยขาดรายได้รับจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งก็ยิ่งส่งผลให้มีการขาดดุลบริการมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2563 และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของทั้งปี 2564 จะขาดดุลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาซึ่งจะยิ่งสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงอย่างมากมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า
ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง |
|
ความไม่สมดุลของอุปสงค์ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของราคาค่าระวางเรือระหว่างเส้นสายตะวันตกและสายตะวันออก |
ภาพ 7: ดัชนีราคาตู้คอนเทนเนอร์และดัชนี Baltic Supramax (ดอลลาร์สหรัฐฯ) |
|
ภาพ 8: ดัชนีราคาตู้คอนเทนเนอร์ตามเส้นทาง (ดอลลาร์สหรัฐฯ) |
|
||
ที่มา: Bloomberg |
|
ที่มา: Bloomberg |
|
|
|
รายจ่ายค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากการขาดรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ |
|
ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุลไปตลอดทั้งปี ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาท |
ภาพ 9: ดุลบัญชีบริการ รายรับนักท่องเที่ยว และรายจ่ายค่าขนส่งสินค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) |
|
ภาพ 10: ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) |
|
||
ที่มา: ธปท. |
|
ที่มา: ธปท. |
บทความที่เกี่ยวข้อง
Country Research: มองเศรษฐกิจกัมพูชา 2564
- Country Research: Thai Economic Outlook 2021, 26 ก.พ. 2564
- Country Research: Vietnam in Focus
- Thai Industry Research: Hotel Industry (ธุรกิจโรงแรม)
- Thai Industry Research: Property (ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์)
- Thai Industry Research: Bank (ธุรกิจธนาคารพาณิชย์)
- Thai Industry Research: Non-bank (ธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์)
- Thai Industry Research: Sugar Industry (ธุรกิจน้ำตาล)
- Thai Industry Research: Industrial Estate Industry (ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม)
- Thai Industry Research: Natural Rubber Process Industry (ธุรกิจแปรรูปยางธรรมชาติ)
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02-098-3000
© บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง
ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website:
More Aticale
www.trisrating.com/article-research/
Contacts |