WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kassetด.กำพล อดเรกสมบตบล.กสิกรไทยจับตาการฟื้นตัวอุปสงค์ในประเทศ แนะวางกลยุทธ์ลงทุน 3 แนวทาง

      บล.กสิกรไทยมองการฟื้นตัวในครึ่งปีหลังจะมาจากการลงทุนของภาครัฐ การท่องเที่ยว และการส่งออก คาดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงที่ตลอดปี 2560 มอง EPS ปี 2560 ที่ 105.8 บาทต่อหุ้น และคงเป้าหมายSET Index สิ้นปีไว้ที่ 1,570 จุด วางกลยุทธ์การลงทุน 3 ธีม จับตาเงินปันผล นโยบายรัฐบาลและการฟื้นตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

       ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มองทิศทางเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังความผันผวนหลักน่าจะมาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา จากประเด็นนโยบายทางการคลังของสหรัฐที่ยังคงสร้างความไม่แน่นอนในตลาด เช่น การเจรจาเรื่องเพดานหนี้สหรัฐช่วงสิ้นเดือนกันยายน2560 และมาตรการด้านภาษีและงบประมาณของทรัมป์ เป็นต้น ขณะเดียวกันตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวและระดับหนี้ครัวเรือนล่าสุดที่สูงกว่าก่อนช่วงวิกฤตซับไพร์มน่าจะทำให้เฟดยังคงส่งสัญญานการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นต่อไปและยังคงคาดการณ์ในเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเช่นกัน ในส่วนของการประกาศเริ่มปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet shrinking)  น่าจะเกิดขึ้นอย่างระมัดระวังในช่วงสิ้นปี 2560

       ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าน่าจะไม่รีบปรับทิศทางนโยบายทางการเงินให้ตึงตัวขึ้นภายในปีนี้ แม้ว่ามีทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมากขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ฟื้นตัว สำหรับมุมมองต่อราคาน้ำมันคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างจำกัด  โดยมีปัจจัยกดดันจาก ข้อตกลงในการขยายกรอบเวลาปรับลดปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC)  และนอกกลุ่มโอเปก(Non-OPEC) ที่เป็นเพียงการซื้อเวลา และกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐอมริกาที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว

     ในส่วนของสถานการณ์เศรษฐกิจไทย เรายังคงมุมมองการฟื้นตัวที่ค่อนข้างช้าในอุปสงค์ภายในประเทศ ด้วยจำนวนคนว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น 25% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จึงคาดว่าการฟื้นตัวของค่าจ้างนอกภาคเกษตรจะยังคงเป็นไปอย่างช้าๆและจะยังคงเป็น Missing Link ระหว่างการฟื้นตัวของการส่งออกที่กระจุกตัวและการบริโภคที่อ่อนแอต่อไป ตัวเลขยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เติบโตได้ดีในช่วง 4เดือนแรกของปี อาจไม่ใช่สัญญานการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ออกจากโรงงานไปสู่ดีลเลอร์ ซึ่งมีทิศทางต่างกับตัวเลขจดทะเบียนรถยนต์นั่งที่ยังคงเติบโตค่อนข้างช้า

        การลงทุนภาครัฐจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ Backlog ที่มีในมือยังเพียงพอที่จะกระตุ้นให้การลงทุนภาครัฐเติบโตขึ้นในระดับ 10% แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีการอนุมัติและการประมูลของการของภาครัฐน้อย แต่คาดว่ารัฐบาลจะใช้มาตรา44 เป็นเครื่องมือหลักในการปลดล็อคข้อติดขัดของโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ทำให้มีการอนุมัติและประมูลโครงการมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2560 - ครึ่งปีแรก 2561  เช่นเดียวกันกับกลุ่มท่องเที่ยวที่จะค่อยๆฟื้นตัว จากการที่นักท่องเที่ยวจากจีนและมาเลเซียเริ่มกลับมา รวมถึงตัวเลขนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางที่คาดว่าจะกลับมาหลังจากสิ้นสุดการถือศีลอดในช่วงปลายไตรมาส 2

       ด้านการลงทุนของภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2561 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ก็ตาม เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดกลุ่มนักลงทุนได้ คือการบังคับใช้ พรบ.EEC ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ภายในเดือนตุลาคม 2560 ดังนั้นการกลับมาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนของเอกชนน่าจะกลับมาได้ในปี 2561 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 น่าจะอยู่ที่ระดับ 1% โดยเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดมีสาเหตุมาจากราคาอาหารสดที่ไม่สูงเท่าปีที่แล้วและการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน จึงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ไปตลอดทั้งปี 2560

       นายประกิต สิริวัฒนเกตุ  ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3 ตลาดจะเผชิญความเสี่ยงจากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียน ที่มีแนวโน้มจะปรับลดลงทั้ง QoQ และ YoY ซึ่งน่าจะทำให้ดัชนีไม่สามารถไปได้ไกลกว่า PER 15 เท่า ที่ 1,587 จุดได้มากนัก โดยสุดท้ายแล้วคาดว่าดัชนีจะกลับลงมาเคลื่อนไหวที่เป้าหมาย 1,570 จุด

      สำหรับ ช่วงไตรมาส 3  กสิกรไทยวางกลยุทธ์การลงทุนสำหรับนักลงทุนไว้ 3 แนวทาง คือ 1.)อย่ามองข้ามเงินปันผล แม้จะยังคาดถึง bond yield ที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า แต่เชื่อว่าเงินปันผลจะยังคงเป็นส่วนสำคัญต่อผลตอบแทนทั้งหมด โดยหุ้นเด่นในไตรมาส 3/2560 ได้แก่ PTT BBL และ SCB ต่างก็มี อัตราปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด มีความมั่นคงและศักยภาพการเติบโตที่ดี  2.) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล การลงทุนของภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยและเชื่อว่าตลาดจะให้ความสำคัญกับประเด็นนี้  หุ้นเด่น ได้แก่ STEC (ผู้รับเหมางานโยธา) และ TPCH (พลังงานทดแทน)  3.) การฟื้นตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จาก เท่ากับตลาดเป็น มากกว่าตลาดโดยมีหุ้นเด่น คือ PSH และ SPALI เพราะจะได้ประโยชน์โดยตรงจากการฟื้นตัวของกลุ่ม (และมี DY ที่น่าดึงดูด) รวมถึง HMPRO ซึ่งที่มีสัดส่วนยอดขาย 20% มาจากโครงการใหม่ๆ

บล.กสิกรฯ มองดัชนี Q3/60 อาจรับผลลบงบ Q2/60 แย่ แต่มีลุ้นอุปสงค์ในประเทศฟื้นหนุน แนะวางกลยุทธ์ 3 แนวทาง

Kassetประกต สรวฒนเกต            นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3 ตลาดจะเผชิญความเสี่ยงจากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียน ที่มีแนวโน้มจะปรับลดลงทั้ง QoQ และ YoY ซึ่งน่าจะทำให้ดัชนีไม่สามารถไปได้ไกลกว่า PER 15 เท่า ที่ 1,587 จุดได้มากนัก โดยสุดท้ายแล้วคาดว่าดัชนีจะกลับลงมาเคลื่อนไหวที่เป้าหมาย 1,570 จุด

        สำหรับช่วงไตรมาส 3 กสิกรไทยวางกลยุทธ์การลงทุนสำหรับนักลงทุนไว้ 3 แนวทาง คือ 1.)อย่ามองข้ามเงินปันผล แม้จะยังคาดถึง bond yield ที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า แต่เชื่อว่าเงินปันผลจะยังคงเป็นส่วนสำคัญต่อผลตอบแทนทั้งหมด โดยหุ้นเด่นในไตรมาส 3/2560 ได้แก่ PTT BBL และ SCB ต่างก็มี อัตราปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด มีความมั่นคงและศักยภาพการเติบโตที่ดี

        2.) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล การลงทุนของภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยและเชื่อว่าตลาดจะให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ หุ้นเด่น ได้แก่ STEC (ผู้รับเหมางานโยธา) และ TPCH (พลังงานทดแทน) 3.) การฟื้นตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จาก เท่ากับตลาด" เป็น มากกว่าตลาด" โดยมีหุ้นเด่น คือ PSH และ SPALI เพราะจะได้ประโยชน์โดยตรงจากการฟื้นตัวของกลุ่ม (และมี DY ที่น่าดึงดูด) รวมถึง HMPRO ซึ่งที่มีสัดส่วนยอดขาย 20% มาจากโครงการใหม่ๆ

         นายประกิต กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปถือว่ามีความท้าทายและไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เพราะสภาพคล่องในระบบมีแนวโน้มลดลง จากการพิจารณาปรับลดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปัจจุบันมีมูลค่า 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการทยอยปรับลดไปเรื่อยๆตั้งแต่ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ/เดือน ไปจนถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ/เดือน และจะไม่นำเงินมาลงทุนต่อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระแสเงินทุนที่ไหลเข้ามามีปริมาณที่ลดลง ทำให้ดัชนีของตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบ และปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ไม่มาก ทำให้มองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงกลางปี 61 จะอยู่ที่ 1,650 จุด จากสิ้นปี 60 ที่คาดว่าอยู่ที่ 1,570 จุด

       โดยระยะสั้น มองว่าดัชนีจะปรับตัวลดลงในไตรมาส 3/60 แต่ไม่เกินระดับแนวรับที่ 1,530 จุด ซึ่งจะเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในไตรมาส 3/60 เพราะตลาดหุ้นไทยยังเผชิญกับความผันผวนของกระแสเงินทุนจากต่างชาติที่มีโอกาสไหลออกไปในช่วงไตรมาส 3/60 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาต่างชาตินำเงินมาพักไว้ในประเทศไทย หลังจากค่าบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่หากเฟด พิจารณาปรับลดงบดุลหรือปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ จะส่งผลให้นักลงทุนทยอยนำเงินออกไปก่อนหน้าราว 1 เดือน เพื่อทยอยลดความเสี่ยง

       อีกทั้ง การอุปโภคและบริโภคในประเทศช่วงไตรมาส 3/60 ยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัวอยู่ หลังจากรายได้นอกภาคการเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายไม่เพิ่มขึ้น จากที่ประชาชนชะลอการจับจ่าย ส่งผลกระทบต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ อีกทั้งแนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะลดลงได้อีก ทำให้กลุ่มหุ้นพลังงานและปิโตรเคมีจะมีผลขาดทุนสต็อกน้ำมัน และหากค่าบาทอ่อนค่าในช่วงครึ่งปีหลัง จะทำให้เห็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีก และทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วงไตรมาส 3/60 ยังไม่เห็นทิศทางการเติบโตที่ดี จากไตรมาส 2/60 ที่คาดว่ากำไรบจ.ในตลาดหลักทรัพย์ฯจะออกมาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/60 และช่วงเดียวกันของปีก่อน

       ส่วนไตรมาส 4/60 ยังมีปัจจัยในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อ sentiment ของตลาดให้ซึมได้ในระยะหนึ่ง ทำให้การตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจะต้องมีความระมัดระวัง โดยแนะนำว่าหากดัชนีปรับเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 1,587 จุด มี P/E ที่ระดับ 15 เท่า ก็นับว่าอยู่ในระดับที่ตึงตัว ซึ่งนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุน

        แต่หากต้องการลงทุนให้เน้นการเลือกหุ้นที่ให้เงินปันผลสูง และมี P/E ที่ต่ำ เพราะปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณการการเพิ่มขึ้นของกำไรบริษัทจดทะเบียนในทิศทางที่ดี ซึ่งยังคงกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 60 อยู่ที่ 102.68 บาท/หุ้น

        ขณะที่นายกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นปีนี้ค่อนข้างลำบาก โดยในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมาแม้ดัชนีหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนเกิดขึ้น แต่ตลาดหุ้นเกิดใหม่รวมถึงตลาดหุ้นไทยตั้งแต่เดือนม.ค.ถึงปัจจุบันมีการปรับตัวขึ้นทุกเดือนเฉลี่ย 3-4%

       อย่างไรก็ตาม หากเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ด้วยกัน จะพบว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเพียง 2% ส่วนประเทศเกิดใหม่อื่น ๆ ปรับเพิ่มขึ้น 10% ทำให้การเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วงที่ผ่านมาถึงปัจจุบันยังคงไม่ไปไหน แต่มองว่าหุ้นไทยยังมีปัจจัยที่น่าสนใจ เพราะในช่วงที่ผ่านมาดัชนีไม่ได้ปรับลดลงหรือปรับขึ้นมากนัก ขณะที่มองว่าในช่วงไตรมาส 3/60 หากมีปัจจัยเข้ามากดดันดัชนี ก็เชื่อว่าจะ downside ที่ไม่มากเกินไป

        ด้านนายกำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังความผันผวนหลักน่าจะมาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา จากประเด็นนโยบายทางการคลังของสหรัฐที่ยังคงสร้างความไม่แน่นอนในตลาด เช่น การเจรจาเรื่องเพดานหนี้สหรัฐช่วงสิ้นเดือน ก.ย.60 และมาตรการด้านภาษีและงบประมาณของทรัมป์ เป็นต้น

       ขณะเดียวกัน ตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวและระดับหนี้ครัวเรือนล่าสุดที่สูงกว่าก่อนช่วงวิกฤตซับไพร์มน่าจะทำให้เฟดยังคงส่งสัญญานการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นต่อไปและยังคงคาดการณ์ในเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเช่นกัน ในส่วนของการประกาศเริ่มปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet shrinking) น่าจะเกิดขึ้นอย่างระมัดระวังในช่วงสิ้นปี 2560

      ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าน่าจะไม่รีบปรับทิศทางนโยบายทางการเงินให้ตึงตัวขึ้นภายในปีนี้ แม้ว่ามีทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมากขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ฟื้นตัว สำหรับมุมมองต่อราคาน้ำมันคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างจำกัด โดยมีปัจจัยกดดันจาก ข้อตกลงในการขยายกรอบเวลาปรับลดปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC) และนอกกลุ่มโอเปก(Non-OPEC) ที่เป็นเพียงการซื้อเวลา และกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐอมริกาที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว

      ในส่วนของสถานการณ์เศรษฐกิจไทย เรายังคงมุมมองการฟื้นตัวที่ค่อนข้างช้าในอุปสงค์ภายในประเทศ ด้วยจำนวนคนว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น 25% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จึงคาดว่าการฟื้นตัวของค่าจ้างนอกภาคเกษตรจะยังคงเป็นไปอย่างช้าๆและจะยังคงเป็น Missing Link ระหว่างการฟื้นตัวของการส่งออกที่กระจุกตัวและการบริโภคที่อ่อนแอต่อไป ตัวเลขยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เติบโตได้ดีในช่วง 4เดือนแรกของปี อาจไม่ใช่สัญญานการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ออกจากโรงงานไปสู่ดีลเลอร์ ซึ่งมีทิศทางต่างกับตัวเลขจดทะเบียนรถยนต์นั่งที่ยังคงเติบโตค่อนข้างช้า

       การลงทุนภาครัฐจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ Backlog ที่มีในมือยังเพียงพอที่จะกระตุ้นให้การลงทุนภาครัฐเติบโตขึ้นในระดับ 10% แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีการอนุมัติและการประมูลของการของภาครัฐน้อย แต่คาดว่ารัฐบาลจะใช้มาตรา44 เป็นเครื่องมือหลักในการปลดล็อคข้อติดขัดของโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ทำให้มีการอนุมัติและประมูลโครงการมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2560 - ครึ่งปีแรก 2561 เช่นเดียวกันกับกลุ่มท่องเที่ยวที่จะค่อยๆฟื้นตัว จากการที่นักท่องเที่ยวจากจีนและมาเลเซียเริ่มกลับมา รวมถึงตัวเลขนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางที่คาดว่าจะกลับมาหลังจากสิ้นสุดการถือศีลอดในช่วงปลายไตรมาส 2

                ด้านการลงทุนของภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2561 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ก็ตาม เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดกลุ่มนักลงทุนได้ คือการบังคับใช้ พ.ร.บ.ที่ออกมารองรับ EEC ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ภายในเดือนตุลาคม 2560 ดังนั้นการกลับมาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนของเอกชนน่าจะกลับมาได้ในปี 2561

                ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 น่าจะอยู่ที่ระดับ 1% โดยเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดมีสาเหตุมาจากราคาอาหารสดที่ไม่สูงเท่าปีที่แล้วและการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน จึงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ไปตลอดทั้งปี 2560

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!