WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

UBS Logoยูบีเอส เผยรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจในเอเชียปี 2560 ประเทศไทยชะลอตัวแต่จะดีอีกครั้งปี 2561 จากการปรับงบดุล

    บริษัทหลักทรัพย์ ยูบีเอส เอเชีย จำกัด (UBS Securities Asia Limited) สถาบันการเงิน การบริหารความมั่งคั่ง และการบริหารจัดการสินทรัพย์ระดับโลกจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้จัดทำรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียในปี พ.ศ. 2560 ระบุทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้อาจชะลอตัวเนื่องจากแรงกระตุ้นเชิงบวกที่ลดลงซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค แต่เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาดีขึ้นได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2561 โดยการปรับงบดุล

 เศรษฐกิจในประเทศไทย

     ยูบีเอสระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศไทยปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งโดยรวมแล้วต่ำกว่าการคาดการณ์อื่นๆ เนื่องจากแรงกระตุ้นเชิงบวกที่กำลังจะสิ้นสุดลงและวงจรสินเชื่อในช่วงขาลง (Credit cycle) และจากการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของสินเชื่อในช่วงปี พ.ศ.  2553 - 2557 ทั้งหมดนี้ไแสดงถึงการจัดสรรเงินทุนที่ผิดพลาดและความจำเป็นที่จะต้องปรับงบดุล แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวก็น่าจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะหากงบดุลได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้รายได้มวลรวมประชาชาติของปีหน้า (2561) ปรับตัวขึ้นถึงราวร้อยละ 3 ก็เป็นได้

      ยูบีเอสมีความเห็นว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายการคลังส่งผลให้ไม่สามารถคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจของไทยได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นไปได้ที่จะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่รอคอยมาอย่างยาวนาน ในช่วงของรัฐบาลทหารก่อนจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งยังอาจส่งผลให้เอกชนชะลอการลงทุน ทั้งนี้จากการประเมินของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ระบุว่าผลจากแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2558   จนถึงช่วงต้นปี พ.ศ. 2559  จะหมดไปในปีนี้และปีหน้า ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นและถูกใช้ในการประเมินภาพเศรษฐกิจในครั้งนี้

      สำหรับ ในส่วนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งจากการคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ยูบีเอสเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะถูกปรับลงในช่วงต้นปีนี้ จากอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจนัก อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยดูจะไม่มีแนวโน้มในการผ่อนปรนนโยบายลงเลยเพราะความกังวลในเสถียรภาพทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของไทยที่อาจจะใกล้ถึงจุดต่ำสุดเช่นเดียวกับอีกหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แต่อย่างไรก็ตามยูบีเอสคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในปี 2561

    ทั้งนี้ หากว่าดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำและมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ย่อมเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนของภาคเอกชน และอาจจะทำให้การส่งออกฟื้นตัวกลับมาเติบโตใกล้เคียงเลขสองหลักมากขึ้น (ซึ่งไม่ใช่สถานการณ์ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้) อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากหนี้เสียที่ส่งสัญญาณเตือนถึงความจำเป็นในการแก้ไขงบดุลแล้ว ธุรกิจของภาคเอกชนอาจจะเลือกชะลอการลงทุนจนกว่าการเมืองจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

    ในขณะเดียวกัน ภาคเกษตรกรรมซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9 ของจีดีพี และร้อยละ 35-40 ของการจ้างงานทั้งหมด ถูกมองว่าจะเป็นปัจจัยบวกในการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 4 ในปี พ.ศ. 2558 จากสภาวะอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย โดยปัจจัยดังกล่าวอาจช่วยการบริโภคให้เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ยังไม่มากนักเมื่อเทียบตามสัดส่วนที่ภาคเกษตรกรรมมีผลต่อจีดีพี นอกจากนี้การบริโภคอาจเพิ่มขึ้นจากการหมดภาระชำระหนี้จากโครงการรถคันแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ก็เป็นได้เช่นกัน แม้ว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่และความต้องการก่อหนี้อาจจะลดลงจากระดับหนี้ครัวเรือนที่โดยทั่วไปยังคงสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง

     ในทางกลับกันแม้ว่าการท่องเที่ยวอาจลดบทบาทในการกระตุ้นการบริโภคลงอันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน อย่างไรก็ตามทั้งการท่องเที่ยว การลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลง รวมไปถึงการขยายตัวของสินเชื่อที่ไม่สูงมาก จะยังคงรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่สูงขึ้นไว้ได้ ขณะเดียวกันผลการเลือกตั้งสหรัฐยังทำให้ไทยลดความเสียเปรียบในการแข่งขันจากการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(TPP) แม้ว่านโยบายของสหรัฐจะยังคงส่งผลกระทบต่อการค้ากับไทยก็ตาม ยูบีเอสคาดว่าการเกินดุลครั้งนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 5-10 ของจีดีพีในปีนี้และปีหน้าแม้จะอยู่ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม จึงเป็นผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนน้อยกว่าค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจจะเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนนโยบายทางการเงินใหม่อีกครั้งก็เป็นได้

 เศรษฐกิจในเอเชีย แปซิฟิก

     สำหรับ เอเชีย แปซิฟิก ยูบีเอสคาดว่าจีดีพีของเอเชียไม่รวมประเทศญี่ปุ่น จะเติบโตต่ำลงอยู่ที่ ร้อยละ 5.9 ในปีนี้ (2560) และ 5.8 ในปีหน้า (2561) เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศยังคงมีแนวโน้มจะซบเซาเช่นเดิม ซึ่งเป็นผลจากปริมาณหนี้ของภาคเอกชนภายในภูมิภาคที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา และกลายเป็นภูมิภาคที่มีหนี้ภาคเอกชนสูงที่สุดในโลกหลังใช้วิธีการก่อหนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการส่งออกซบเซา และมีเพียงประเทศอินเดียเท่านั้นที่ถูกมองว่าจะเติบโตด้วยอัตราที่สูงกว่าการเติบโตโดยรวมของภูมิภาค นอกจากนี้มูลค่า

     การส่งออกในรูปแบบมูลค่าดอลลาร์สหรัฐนั้นก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 5 ในปีนี้ จากที่หดตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมา จากการที่ภาวะหนี้ของภาคเอกชนที่สูงขึ้นทั่วโลก ทำให้การบริโภคยังคงอยู่ในภาวะซบเซา รวมไปถึงมูลค่าการ

    ส่งออกในรูปแบบดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการประเมินราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นถึง 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะสูงขึ้นจะส่งผลให้มีแนวโน้มเกิดภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554

    ในขณะเดียวกัน นโยบายการคลังของเอเชียก็มีลักษณะเป็นนโยบายเชิงรับมากกว่าเชิงรุก หนี้ภาครัฐของประเทศในแถบนี้ (ไม่นับรวมญี่ปุ่น) อยู่ในระดับต่ำและขาดดุลทางการคลังเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม นโยบายปัจจุบันของประเทศเหล่านี้ไม่เน้นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย โดยรัฐบาลส่วนใหญ่ประกาศแผนงบประมาณในช่วง 2 ปี โดยไม่กระตือรือร้นที่จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ

    สำหรับ ปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจเอเชียนั้นมาจากความร่วมมือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังซึ่งน่าจะเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งการชนะการเลือกตั้งของทรัมป์อาจทำให้ปัจจัยนี้มีความเป็นไปได้สูงเพราะจากการดำเนินนโยบายของพรรครีพับลิกันในอดีต พรรคมีแนวโน้มที่จะลดภาษีโดยไม่ลดการใช้จ่าย ซึ่งถ้าเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นมา ก็อาจจะทำให้ประเทศอื่นๆ คล้อยตามการใช้นโยบายแบบเดียวกันทั่วโลก แม้จะมีความเสี่ยงสูงในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยและการเกิดภาวะเงินเฟ้อก็ตาม รวมไปถึงปัจจัยบวกที่อาจมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจของผู้นำคนใหม่ของจีนด้วยเช่นกัน

     ในขณะที่ปัจจัยลบนอกเอเชียน่าจะมาจากการที่เหล่าผู้นำแนว ประชานิยมได้รับการเลือกตั้งซึ่งจะทำให้มีการนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้มากขึ้น ในส่วนปัจจัยลบภายในเอเชียน่าจะมาจากการซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้นหรือความต้องการซื้อเปลี่ยนแปลงไป จนอาจกลายเป็นความท้าทายของรัฐบาลจีนในการรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!