WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CGSCGS จับตาผลประชามติ ตัดสินชะตาอังกฤษ ออกจากสมาชิกยูโร!ชี้กระทบไทยไม่มาก แต่หวั่นลามทำศก.ประเทศกลุ่มยูโรโซนถดถอย ฉุดภาคส่งออกไทยในอนาคต

     กูรูหุ้นค่าย บล.คันทรี่กรุ๊ป (CGS) ลุ้นผลประชามติ ชี้ชะตาอังกฤษ ออกจากสมาชิกยูโรหรือไม่ รณกฤต สารินวงศ์ระบุกระทบไทยไม่มาก แต่หวั่นผลกระทบลามเป็นลูกโซ่ ทำเศรษฐกิจยูโรถดถอย กดดันภาคการส่งออกของไทยในอนาคต

     นายรณกฤต สารินวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CGS) กล่าวถึงการทำประชามิติถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit)  ว่า  โพลล์ล่าสุดที่สํารวจจาก Bloomberg เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ปรากฏว่าตัวเลขยังไม่นิ่ง โดยตัวแปรสําคัญคือ กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจที่มีสัดส่วนถึง 11.5% ซึ่งเพียงพอที่จะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะการโหวต

    อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสนับสนุนให้อังกฤษออกจากอียูมองว่า อังกฤษเสียเปรียบมาโดยตลอด อาทิ  เศรษฐกิจอังกฤษดีกว่า มีการเติบโต ของ GDP สูงกว่า และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก มีศักยภาพเพียงพอที่จะออกจากอียูได้ นอกจากนี้ จะสามารถควบคุมคนเข้าเมืองได้อย่างอิสระและสามารถจัดระเบียบผู้ขอลี้ภัย รวมทั้งจะเป็นอิสระจากข้อกํากับและกฎเกณฑ์วุ่นวายของอียู ซึ่งฝ่ายสนับสนุนให้ออกมองว่าต้นทุนในการออกไม่น่าจะมาก ซึ่งเงินที่ต้องจ่ายให้อียูเกือบ 1 ล้านล้านบาท/ปี ก็สามารถเอามาพัฒนาประเทศได้

    ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนให้เป็นสมาชิกอยู่ในอียูต่อไป มองว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจสูงและอาจฉุดให้เศรษฐกิจอังกฤษชะลอตัว โดยมองว่าต้นทุนเศรษฐกิจในการออกจากอียูจะสูงมาก โดยผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น คือ ผลต่อเศรษฐกิจต่อทั้งอังกฤษและกลุ่มประเทศยูโรโซน ที่มีสัดส่วนการค้าค่อนข้างสูงถึง 54% และส่วนใหญ่ไม่มีกําแพงภาษีระหว่างกัน ดังนั้นจะส่งผลให้ต้องมีรายการภาษีนําเข้าระหว่างประเทศกันเกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนว่าอังกฤษจะสามารถคงสภาพการเป็นตลาดเดียวกันต่อไปได้หรือไม่ อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนต่อข้อตกลงทางการค้าที่อังกฤษทํากับประเทศอื่นๆ ในฐานะสมาชิกของอียู เช่น เกาหลีใต้ และ สวิตเซอร์แลนด์  อีกทั้ง บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้ง Fitch Ratings และ Moody’s ต่างก็ออกมาให้ความเห็นว่า จะลดระดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษ

     ด้านผลกระทบต่อตลาดเงิน จะเพิ่มความผันผวนต่อตลาดเงินในระยะสั้น ซึ่งปัจจุบันการอ่อนตัวเพิ่มขึ้นของทั้งปอนด์และยูโร แสดงให้เห็นถึงความกังวลของตลาดต่อผลเสียที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายหากเกิด BREXIT และผลกระทบต่อตลาดแรงงาน การเปลี่ยนแปลงด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีระหว่างประเทศจะทําให้บริษัทข้ามชาติพิจารณา ย้ายสํานักงานใหญ่ออกจากกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จะเห็นได้ว่า ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทําให้เศรษฐกิจของทั้งอังกฤษ และกลุ่มยูโรโซนเข้าสู่ภาวะ ถดถอยได้

    สำหรับ ผลกระทบต่อประเทศไทยน่าจะมีไม่มาก เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกไปอังกฤษ อยู่เพียงประมาณ 2% ของการส่งออกทั้งหมด แต่ถึงกระนั้น หากเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซนเกิดภาวะถดถอย ภาคส่งออกของไทยก็ต้องได้รับผลกระทบตามมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่อังกฤษยังคงสภาพเป็นสมาชิก EU (No exit) นักวิเคราะห์ นักการเมือง และผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ส่วนใหญ่ มองว่าจะเป็นผลดีมากกว่าผลเสียต่อเศรษฐกิจของทั้งอังกฤษและกลุ่มประเทศยูโรโซน 

    ทั้งนี้ เศรษฐกิจอังกฤษ (UK Economy) มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากเทียบในกลุ่มสหภาพยุโรป มีขนาดเป็นอันดับสองรองจาก เศรษฐกิจเยอรมัน และเป็นอันดับ 5 ของโลก มีจุดแข็งที่ภาคบริการ คิดเป็นสัดส่วน 73% ของ GDP โดย ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเงินโลกเทียบได้กับนิวยอร์ก และ ลอนดอนยังเป็นเมืองที่มี GDPสูงสุดในยุโรป

     ข้อมูลสําคัญๆทางเศรษฐกิจเช่น อัตราการว่างงานปรับตัวลงต่อเนื่อง ปัจจุบันตัวเลข อัตราการว่างงานมาที่บริเวณ 5.0% ทางด้านเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากราคาน้ํามันทําระดับต่ําสุดในช่วงเดือนมกราคม 2016 

     แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ UK มาจากภาคบริการที่ขยาย ตัวอย่างแข็งแกร่งทว่าเศรษฐกิจด้านการผลิตและภาคก่อสร้างยังคงชะลอตัว โดยในปี 2015 หลังจากไตรมาสแรกผ่านพันไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัวได้ก่อนชะลอตัวอีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2015 ตามเศรษฐกิจโลกและสามารถฟื้นขึ้นเล็กน้อยในไตรมาส 4 เนื่องจากต้นทุนการผลิตภาคการผลิตชะลอตัว ในปี 2016 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจของ UK มีการเติบโตระดับ 1.8-1.9% และเติบโตลดลงจากปี 2015 ที่ขยายตัว 2.3%โดยปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นคือ Brexit risk

     ผลกระทบตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ ให้ระวังความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินดอลล่าร์จะแข็งค่าสวนทางค่าเงินยูโร ขณะที่อเมริกามีโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวช้าลง หลังจากประธานเฟด มองว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่เหมาะที่จะเร่งปรับอัตราดอกเบี้ย  ดังน้้นค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งจะส่งผลลบต่อการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ

   ตลาดหุ้นไทยจะผันผน เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์จะอ่อนตัวในระยะนี้ ประกอบกับหุ้นธนาคารมีแรงขายจากเรื่องของ 'พร้อมเพย์"เพราะกังวลว่ารายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะลดลง และให้จับตาดูโพลของอังกฤษ หากฝ่ายสนับสนุนให้โหวตออกมีมากขึ้นเรื่อยๆ หุ้นจะตก  แต่หากฝ่ายโหวตออกมีปริมาณน้อยลง หุ้นจะฟื้นตัว อย่างไรก็ตามเชื่อว่า 1370 เป็นจุดที่รับอยู่ในรอบนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!