WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASIAวรตม ศวะศรยานนทบล.เอเชีย เวลท์ ปรับเป้า GDP ลงเหลือ 3% จากปัญหาภัยแล้งกดดัน พร้อมแนะนำซื้อหุ้น LPN

    ปัจจัยภัยแล้งและภาคส่งออก กดดันเศรษฐกิจไทย บล.เอเชีย เวลท์ ปรับเป้า GDP ลงเหลือ 3% พร้อมติดตามปัจจัยกรีซ ผลประกอบการบมจ. ทั้งสหรัฐฯ และไทย พร้อมแนะนำซื้อหุ้น LPN ราคาเป้าหมายที่ 20.82 บาท

    นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับสัปดาห์นี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ความคืบหน้าการให้ช่วยเหลือกรีซ หลังจากที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี มีมติเห็นชอบให้มีการเริ่มเจรจา ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน รอบที่ 3 กับกรีซ และช่วยประคับประคองให้กรีซ ไม่ต้องออกจากยูโร ซึ่งในต้นสัปดาห์นี้ ธนาคารทั้งหมดในกรีซ กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง แต่มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังคงอยู่แต่เปลี่ยนการถอนเงินฝากไปเป็นได้ไม่เกิน 420 ยูโรต่อสัปดาห์แทนวันละไม่เกิน 60 ยูโรต่อวัน ซึ่งจากความคืบหน้านี้ น่าจะส่งผลให้ต่อไปนี้ปัญหากรีซจะ?ไม่กระทบกับประเทศในกลุ่มยูโร เท่าไรนักแล้ว และทำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นได้

    ด้านสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ยังคงต้องติดตามการประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนกันต่อไป หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ออกมาดี เช่น Citigroup, Ebay และ Google แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ คาดว่า ผลประกอบการโดยรวมน่าจะออกมาไม่ดีนัก นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ? (Federal Reserve) ได้ส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในช่วง กันยายน ถึงปลายปีนี้

   "หาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ตลาดจะหมดความกังวลในเรื่องนี้ แต่คาดว่ากระแสเงินจะไหลออกจากตลาดหุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งกลับไปลงทุนในสหรัฐฯ หรือไปอยู่ในรูปเงินดอลลาร์ หลังจากนั้นการเคลื่อนย้ายกระแสเงินทุนโลกจะกลับไปเป็นอย่างที่ควรเป็นมากขึ้น คือ Fundamental driven หรือไหลไปในสินทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาถูก แทนที่จะไหลตาม Liquidity driven" นายวรุตม์ กล่าว

    นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านปัจจัยในประเทศ ยังต้องติดตามการประกาศผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนเช่นกัน ซึ่งคาดว่า ภาคธนาคารน่าจะออกมาไม่ค่อยดีนัก จากตัวเลขหนี้สงสัยจะสูญ (NPL) ที่สูงขึ้น เนื่องจาก ธนาคารส่วนใหญ่ให้สินเชื่อกับธุรกิจ SME และในช่วงที่ผ่านมาภาคการส่งออกค่อนข้างแย่ โดยเรามองว่า สำหรับผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนฯ โดยรวมน่าจะออกมาเสมอตัว หรือดีกว่าเดิมเล็กน้อยในไตรมาสที่ 2

   "ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาใหญ่ และน่าจะกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างยิ่ง อนึ่งภาคเกษตรกรรมของไทย คิดเป็น 12% ของ GDP ประเทศ ซึ่งครึ่งปีแรก ติดลบไปแล้ว 4.2-4.3% และคาดว่าทั้งปี จะติดลบ 6% ส่วนภาคที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ที่คิดเป็น 88% ของ GDP คาดว่าจะเติบโต 4.2-4.5% เพราะภาครัฐเร่งเงินลงทุน ซึ่งตรงนี้ถ้ายิ่งโตได้มากขนาดไหนจะช่วยให้ GDP ขยายตัวได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน ปัญหาภัยแล้งและตัวเลขการส่งออกที่ไม่ดี ทำให้สถาบันต่าง ๆ เริ่มปรับลดประมาณการณ์ GDP ลง โดย ล่าสุด บล.เอเชีย เวลท์ ก็ได้ปรับลดประมาณการณ์ GDP ลงจาก 3.8% เป็น 3%" นายวรุตม์กล่าว

    นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านตลาดหุ้นไทย น่าจะผันผวนอยู่แบบนี้ ถ้าผลประกอบการ บริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ และในประเทศออกมาดี ก็น่าจะพอไปได้ แต่คงไม่ได้ไกล เพราะยังมีปัจจัยเรื่องภัยแล้ง และการปรับหรือไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อยู่ โดย มองกรอบดัชนีสัปดาห์นี้ที่ 1,472-1,491 จุด

  "ด้าน Trading idea สัปดาห์นี้ เราเลือก LPN ของ บมจ. แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ธุรกิจเน้นขายคอนโดแนวรถไฟฟ้า ทำให้ขายได้คล่อง และมีราคาทุกระดับ โดยในปีนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการเติบของกำไร ที่ระดับ 38.5% และชะลอตัวปีหน้าที่ 9% โดย LPN มีจุดเด่นที่มี Dividend yield สูงที่ 5.3% และปีหน้าที่ 5.8% และปัจจุบันเทรดที่ P/E ratio ค่อนข้างต่ำที่ระดับ 9.5 เท่า อีกทั้งยังเป็นหุ้น Valuation และพื้นฐานดี โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 20.82 บาท (Bloomberg consensus)" นายวรุตม์กล่าว

    นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ แนะนำให้เน้นหุ้น Defensive และหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูง มี Book value ต่ำ และมีค่าเบต้าบวกเล็กน้อย จะได้ไม่ลงต่ำกว่าตลาด โดยเน้นเลือกหุ้นที่มี Theme ที่ Turnaround เช่น PTTGC และ WORK หรืออยู่ใน Sector ที่เติบโต เช่น กลุ่มท่องเที่ยว ที่มี Upside และมี Downside risk ต่ำ ตลอดทั้งหุ้นปันผลดี เช่น INTUCH และ BTS

บล.เอเชีย เวลท์ มองตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ผันผวนเกาะติดงบ บจ.ทั้งใน-ตปท.

    นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.เอเชีย เวลท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้น่าจะยังผันผวนอยู่ หากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯและในประเทศออกมาดีก็คงพอจะไปได้ แต่คงไม่ได้ไกล เพราะยังมีปัจจัยเรื่องภัยแล้ง และการปรับหรือไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อยู่ โดยมองกรอบดัชนีสัปดาห์นี้ที่ 1,472-1,491 จุด

   กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ แนะนำให้เน้นหุ้น Defensive และหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูง มี Book value ต่ำ และมีค่าเบต้าบวกเล็กน้อย จะได้ไม่ลงต่ำกว่าตลาด โดยเน้นเลือกหุ้นที่มี Theme ที่ Turnaround เช่น PTTGC และ WORK หรืออยู่ใน Sector ที่เติบโต เช่น กลุ่มท่องเที่ยว ที่มี Upside และมี Downside risk ต่ำ ตลอดทั้งหุ้นปันผลดี เช่น INTUCH และ BTS

    ด้าน Trading idea สัปดาห์นี้ เราเลือก LPN ของ บมจ. แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ธุรกิจเน้นขายคอนโดแนวรถไฟฟ้า ทำให้ขายได้คล่อง และมีราคาทุกระดับ โดยในปีนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการเติบของกำไร ที่ระดับ 38.5% และชะลอตัวปีหน้าที่ 9% โดย LPN มีจุดเด่นที่มี Dividend yield สูงที่ 5.3% และปีหน้าที่ 5.8% และปัจจุบันเทรดที่ P/E ratio ค่อนข้างต่ำที่ระดับ 9.5 เท่า อีกทั้งยังเป็นหุ้น Valuation และพื้นฐานดี โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 20.82 บาท (Bloomberg consensus)

   นายวรุตม์ กล่าวว่า สัปดาห์นี้ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ความคืบหน้าการให้ช่วยเหลือกรีซ หลังจากที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี มีมติเห็นชอบให้มีการเริ่มเจรจา ให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบที่ 3  กับกรีซ และช่วยประคับประคองให้กรีซ ไม่ต้องออกจากยูโร ซึ่งในต้นสัปดาห์นี้ ธนาคารทั้งหมดในกรีซ กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง แต่มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังคงอยู่แต่เปลี่ยนการถอนเงินฝากไปเป็นได้ไม่เกิน 420 ยูโรต่อสัปดาห์แทนวันละไม่เกิน 60 ยูโรต่อวัน ซึ่งจากความคืบหน้านี้  น่าจะส่งผลให้ต่อไปนี้ปัญหากรีซจะ​ไม่กระทบกับประเทศในกลุ่มยูโร เท่าไรนักแล้ว และทำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นได้

    ด้านสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ยังคงต้องติดตามการประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนกันต่อไป หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ออกมาดี  เช่น Citigroup, Ebay และ Google แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ คาดว่า ผลประกอบการโดยรวมน่าจะออกมาไม่ดีนัก นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ​ (Federal Reserve) ได้ส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในช่วง กันยายน ถึงปลายปีนี้

    “หาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ตลาดจะหมดความกังวลในเรื่องนี้  แต่คาดว่ากระแสเงินจะไหลออกจากตลาดหุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งกลับไปลงทุนในสหรัฐฯ หรือไปอยู่ในรูปเงินดอลลาร์ หลังจากนั้นการเคลื่อนย้ายกระแสเงินทุนโลกจะกลับไปเป็นอย่างที่ควรเป็นมากขึ้น คือ Fundamental driven หรือไหลไปในสินทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาถูก แทนที่จะไหลตาม Liquidity driven" นายวรุตม์ กล่าว

     นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยในประเทศยังต้องติดตามการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเช่นกัน ซึ่งคาดว่าภาคธนาคารน่าจะออกมาไม่ค่อยดีนัก จากตัวเลขหนี้สงสัยจะสูญ (NPL)ที่สูงขึ้น เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่ให้สินเชื่อกับธุรกิจ SME และในช่วงที่ผ่านมาภาคการส่งออกค่อนข้างแย่ โดยเรามองว่า สำหรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฯ โดยรวมน่าจะออกมาเสมอตัว หรือดีกว่าเดิมเล็กน้อยในไตรมาสที่ 2

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!