- Details
- Category: ธปท.
- Published: Wednesday, 03 August 2016 22:49
- Hits: 4748
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ประเมินศก.ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป การลงทุนภาครัฐ-ท่องเที่ยวหนุน
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% โดยประเมินเศรษฐกิจฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป แต่รับกังวลปัจจัยเสี่ยงในต่างประเทศมากขึ้น หลัง Brexit ส่งผลต่อความไม่แน่นอนภาคการเงินในยุโรป และพัฒนาการเมืองในต่างประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับสู่กรอบเป้าหมายในปีนี้ แต่อาจเลื่อนเวลาออกไปบ้างตามทิศทางราคาน้ำมัน ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าแต่ยังสอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนการลงประชามติ 7 สิงหาคมนี้ มั่นใจไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยประเมิน เศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ในระยะ ข้างหน้าจะมีความเสี่ยงด้านต่ำ เพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้ออาจกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่เคยประเมินไว้เล็กน้อยเพราะแรงกดดันจากราคาพลังงานที่อาจต่่ากว่าคาด ส่วนภาวะการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ท่าได้ ต่อเนื่องตามคาดและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ตามรายได้และความเชื่อมั่นของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ และการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงมากกว่าคาด
ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แต่มีความเสี่ยงด้านต่่าเพิ่มขึ้น จากความไม่แน่นอนภายหลังการลงประชามติในสหราชอาณาจักร (Brexit) ปัญหาภาคการเงินในยุโรป และพัฒนาการทางการเมืองในต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นและแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในระยะต่อไป ในขณะที่ความเสี่ยงในภาคการเงินจีนยังมีอยู่
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสดเป็นส่าคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย แต่ระยะเวลาอาจเลื่อนออกไปบ้างขึ้นอยู่กับทิศทางของราคาน้ำมันโลกเป็นสำคัญ
สำหรับ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่่า และการระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนยังขยายตัวได้แม้ธุรกิจบางกลุ่มมีข้อจ่ากัดในการได้รับสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักบางสกุล และอาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังคงต้องติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน รวมทั้งพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) จากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่่าเป็นเวลานาน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบาย (policy space) ยังมีความสำคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการด่าเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น ในระยะต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ
สำหรับ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเป็นความเสี่ยงที่้ต้องติดตาม แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร สุดท้ายจะไม่มีผลกระทบทบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินรุนแรง เนื่องจากขณะนี้ปัจจัยที่กดดันต่อการฟื้่นตัวของเศรษฐกิจไทยมาจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้มีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น