- Details
- Category: ธปท.
- Published: Friday, 20 May 2016 22:58
- Hits: 4093
ธปท.เผยสินเชื่อแบงก์รูด'เอสเอ็มอี'อ่อนแอชะลอกู้จับตาแนวโน้มหนี้เสียบาน
ไทยโพสต์ : บางขุนพรหม *แบงก์ชาติเผยสินเชื่อแบงก์พาณิชย์ขยายที่ 3.3% โดนกระทบจากเอสเอ็มอีที่ทรุดหนัก ส่วนเอ็นพีแอลสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น ซ้ำแนวโน้มน่าจะเพิ่มต่อเนื่อง ห่วงหนี้บัตรเครดิตหลังเศรษฐกิจฟื้นช้า
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระ บบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/2559 สินเชื่อรวมขยายตัว 3.3% ชะลอตัวจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 4.3% เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงมากในสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่อยู่ที่ 2.5% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 5.6% หลังจากที่มีการเร่งใช้สินเชื่อจากวงเงินซอฟต์โลนตามมาตรการรัฐในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 1.5% ชะ ลอลงจากระยะเดียวกันของปี ก่อน โดยหดตัวในภาคอุตสาห กรรมและพาณิชย์เป็นสำคัญ ส่วนสินเชื่อธุรกิจในภาคบริการและภาคก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัวที่ 0.2% ส่วนหนึ่งจากการชำระคืนหนี้ ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 7.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนที่ 7.1% จากสินเชื่อรถยนต์ที่กลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาส 2 ที่ 1.7% ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สินเชื่อที่อยู่อาศัยทรงตัว และสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 5.4% ชะลอตัวต่อเนื่องจากสิ้นปีก่อนที่ 6.4%
"ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ช้าส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะ ลอลง คุณภาพสินเชื่อด้อยลง และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของระ บบธนาคารพาณิชย์ โดยภาวะ เศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า ประ กอบกับธนาคารพาณิชย์ระมัด ระวังในการขยายสินเชื่อ ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ 3.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อชะลอลงมากในธุรกิจเอสเอ็มอี ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัว และสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย" นายดอนกล่าว
สำหรับ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 357.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 19.9 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.64% จาก 2.55% โดยแนวโน้มเอ็นพีแอลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนี้ เอ็นพีแอลในธุรกิจเอสเอ็มอียังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นและน่ากังวล ขณะที่เอ็นพีแอลของบัตรเครดิตยังคงสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้อีกด้วย
"เอ็นพีแอลธุรกิจโดยรวมในไตรมาส 2 น่าจะสูงขึ้น ส่วนเอ็นพีแอลของบัตรเครดิตจะสะท้อนความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ หรืออาจจะ จงใจไม่จ่าย นอกจากนี้ยังสะ ท้อนได้ว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อปีนี้อาจจะสูงขึ้นในช่วงปลายปี เพราะในครึ่งปีหลังจะมีดีลขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งยังคงต้องการเงินในการลงทุน คาดว่าจะมีการขอสินเชื่อมากขึ้น" นายดอนกล่าว.
ธปท.ส่งซิก NPL ส่อเค้าพุ่ง นายแบงก์หวั่นผลกระทบภัยแล้ง-ราคาเกษตรตกต่ำ
บ้านเมือง : ธปท.ชี้เอ็นพีแอลมีแนวโน้มพุ่งขึ้น จับตาเอสเอ็มอีและบัตรเครดิต หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ยอมรับกำไรแบงก์อาจจะชะลอตัวเป็นปีที่สอง เหตุกันสำรองสูงเพราะหนี้เสีย นายแบงก์ห่วงเอ็นพีแอลรายย่อยพุ่ง ผลกระทบจากภัยแล้งและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ มุ่งเจาะลูกค้าระดับกลางที่ยังมีกำลังซื้อ
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบัน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ซึ่งประเมินว่าในปีนี้เอ็นพีแอลน่าจะปรับขึ้นสูงสุด ยกเว้นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะทรุดตัวลงอีกในปีหน้า โดยยังต้องจับตา เอ็นพีแอลลูกหนี้เอสเอ็มอีและลูกหนี้บัตรเครดิตอย่างใกล้ชิด ขณะที่ภาพรวมของสินเชื่อขยายตัวต่ำ ไตรมาสแรกปีนี้โตเพียง 3.3% ขยายตัวลดลงจาก 4.3% เมื่อสิ้นปี 2558 โดยสินเชื่อธุรกิจหดตัวในภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่หดตัวมากที่สุด
สำหรับ ในไตรมาสแรกเอ็นพีแอล มียอดคงค้าง 357,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 19,900 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเป็น 2.64 % จาก 2.55% โดยคุณภาพสินเชื่อด้อยลง ในสินเชื่อทุกประเภท โดยเฉพาะพอร์ตสินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี โดยเอ็นพีแอลลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ที่ 88,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 77,300 ล้านบาท เอ็นพีแอล ลูกหนี้ธุรกิจเอสเอ็มเออยู่ที่ 172,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 165,200 ล้านบาท ขณะเดียวกันเอ็นพีแอลหนี้บัตรเครดิตอยู่ที่ 9,000 ล้านบาท จาก 8,500 ล้านบาท โดยพบว่าความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ส่วนเอ็นพีแอลสินเชื่อรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นจากสิ้นปี 2558 โดยมียอดคงค้างอยู่ที่ 17,900 ล้านบาทลดลงจาก 20,200 ล้านบาท สาเหตุเนื่องจากผลกระทบจากโครงการรถยนต์คันแรกน้อยลง และตลาดรถยนต์มือสองราคาเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นจนเกือบอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ
ด้านกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น และได้รับผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยลูกค้าโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งในไตรมาสแรกกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ขยายตัว 15.8% จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จึงทำให้กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 51,300 ล้านบาท ขยายตัว 1.7% โดยเงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 408,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24,100 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 160% จาก 156.3% ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพและสามารถรองรับกับผลกระทบจากการด้อยคุณภาพของสินเชื่อได้
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีความกังวลยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ขยับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเอ็นพีแอลจากรายย่อย เกษตรกร เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ยืมได้
ส่วนกลุ่มลูกค้าระดับกลางขึ้นไป พบว่าเอ็นพีแอลไม่สูงมาก ลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีโอกาสเติบโต ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของธนาคาร โดยธนาคารเชื่อว่าจะสามารถวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าที่ยังมีศักยภาพและมีความพร้อมในการชำระสินเชื่อ โดยธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อรายย่อยโตร้อยละ 5-10 ขยายฐานลูกค้าใหม่อีก 285,000 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 600,000 ราย
สำหรับ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปีนี้ ขึ้นอยู่กับทิศทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีหรือไม่ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะดีขึ้น จากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่จะมีมากขึ้น ซึ่งยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้
นายธีรัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. กล่าวภายหลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา" ร่วมกับ 3 องค์กรคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าการลงนามครั้งนี้จะทำให้เกิดงานวิจัยและพัฒนายางพาราอย่างครบวงจร เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใน รูปแบบต่างๆ เช่นนวัตกรรมด้านการผลิตยาง การแปรรูปยางพารา การทดสอบยางและผลิตภัณฑ์ยางตามมาตรฐานสากล ทั้งในระดับต้นทาง กลางทาง และปลายทาง รวมถึงข้อมูลสารสนเทศยางพาราซึ่งการบูรณาการร่วมกันทั้ง 4 องค์กรจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่เพื่อนำไปใช้ในวงการยางพาราให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
ธปท.คาด NPL แบงก์พาณิชย์แนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง คาดสินเชื่อทั้งปีโตไม่เกิน 4.5%
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังจากไตรมาส 1/59 ที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.64% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 2.55% ขณะที่สินเชื่อในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่เกิน 4.5% สอดคล้องกับคาดการณ์ของธนาคารพาณิชย์ ตามทิศทางเศรษฐกิจฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลังและการขอสินเชื่อขนาดใหญ่ของกลุ่มค้าปลีก แม้ว่าไตรมาส 1/59 ขยายตัว 3.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ประกอบกับมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
“โดยปกติสินเชื่อจะขยายตัวได้ 1.5 เท่าของจีดีพี ทำให้ปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 4.5% แต่ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้คนหันไปออกตราสารหนี้มากขึ้น การขยายตัวสินเชื่อก็อาจไม่จำเป็นถึงในระดับนั้นก็ได้"นายดอน กล่าว
นายดอน เปิดเผยว่า ไตรมาส 1/59 ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ มีเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องในระดับสูง สามารถรองรับการขยายตัวของสินเชื่อและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะลอลง คุณภาพสินเชื่อด้อยลง และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ NPL ในระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/59 มียอดคงค้าง 357.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 19.9 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน Gross NPL ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.64% จาก 2.55% สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) มียอดคงค้างทั้งสิ้น 305.9 พันล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อน 8.2 พันล้านบาท ทำให้สัดส่วน SM ต่อสินเชื่อรวมลดลงมาอยู่ที่ 2.26% จาก 2.38% ณ สิ้นปี 58
นายดอน กล่าวว่า NPL ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่ได้สูงมากในไตรมาส 2/59 และยังไม่สามารถระบุว่าจะเพิ่มสูงสุดในไตรมาสใด เพราะขึ้นกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยหนี้เสียในสินเชื่อเอสเอ็มอีมีทิศทางที่น่ากังวลมากที่สุด และสินเชื่อบัตรเครดิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 58 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากนโยบายรัฐบาลที่มีการอัดฉีดสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีช่วงไตรมาส 4/58 กว่า 1 แสนล้านบาท รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ช็อปช่วยชาติ มาตรการอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
“การกระตุ้นเอสเอ็มอีทำได้หลายทาง ไม่ใช่แค่การปล่อยสินเชื่อ เช่น นโยบายภาษี ซึ่งก็ต้องดูว่าการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี ควรดำเนินการอย่างไรให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเป็นการปล่อยกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ แน่นอนว่าใครๆก็อยากได้" นายดอน กล่าว
ขณะที่แนวโน้มการขอจดทะเบียนบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น จากที่ ธปท.ติดตามมาพบว่ามีสาเหตุสำคัญ 3 ด้าน คือ 1.จำนวนหนี้เสียในระบบที่มีเพิ่มขึ้น 2.ลักษณะการตัดสินทรัพย์ขายของธนาคาร มีขนาดเล็กและแบ่งเป็นหลายกองมาขึ้น และ 3. มีกาปรับแก้กฎหมายให้เอเอ็มซีที่เป็นต่างด้าวให้ถือครองสินทรัพย์ได้ระยะเวลาหนึ่ง ถือเป็นการบริหารสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของเอเอ็มซีจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ธปท.ยังเปิดเผยอีกว่า ไตรมาส 1/59 ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองสำหรับสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 24.1 พันล้านบาท เป็น 468.6 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 160% จากสิ้นปี 58 ที่ 156.3%
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการขยายสินเชื่อ ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัว 3.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อชะลอลงมากในธุรกิจ SME ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัว และสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สินเชื่อธุรกิจ (68% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัว 1.5% ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหดตัวในภาคอุตสาหกรรมลละพาณิชย์เป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจในภาคบริการลละภาคก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัวที่ 0.2% ส่วนหนึ่งจากการชำระคืนหนี้ สำ หรับสินเชื่อ SME ขยายตัว 2.5% ชะลอลงมากจากไตรมาสก่อนที่ 5.6% หลังจากที่มีการเร่งใช้สินเชื่อจากวงเงิน Soft loan ตามมาตรการรัฐในช่วงปลายปี
สินเชื่ออุปโภคบริโภค (32% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัว 7.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนที่ 7.1% จากสินเชื่อรถยนต์ที่กลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ 1.7% และสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยทรงตัว สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 5.4% ชะลอตัวต่อเนื่องจากสิ้นปีก่อนที่ 6.4%
ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 1/59 ที่ 100.1 พันล้านบาท ขยายตัว 15.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการบริหารต้นทุนเงินฝาก และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย อาทิ เงินปันผล ค่าธรรมเนียมและบริการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีกำไรสุทธิ 51.3 พันล้านบาท ขยายตัว 1.7% จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset : ROA)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 0.9% มาอยู่ที่ 1.2% ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin : NIM) ทรงตัวที่ 2.6%
อนึ่ง ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,236.8 พันล้านบาท ลละมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 17.5%
อินโฟเควสท์