- Details
- Category: ธปท.
- Published: Saturday, 30 April 2016 20:00
- Hits: 5443
การกำกับดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะเป็นผลดีต่อธนาคารรัฐ
ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ- 28 เมษายน 2559: ฟิทช์ เรทติ้งส์มองว่าการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) จะได้รับอำนาจมากขึ้นในการกำกับดูแลกิจการเป็นการพัฒนาการที่ดีในด้านการกำกับกิจการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจของประเทศไทยเป็นหน่วยงานภายใต้การควบคุมของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเฉพาะกิจเพื่อดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐบาล โดยประกอบด้วย 8 สถาบันการเงิน คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (BAAC) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GH BANK) ธนาคารออมสิน (GSB) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBANK) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (SMC) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (TCG) สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นส่วนสำคัญของระบบการเงินไทย โดยมีสัดส่วนเงินฝากรวมที่ 25% ของเงินฝากของระบบและมีสัดส่วนการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนคิดเป็น 29% ของสินเชื่อภาคครัวเรือนทั้งหมดของระบบ
กระทรวงการคลังจะโอนหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจไปให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ซึ่งการโอนหน้าที่ดังกล่าวจะส่งผลให้ลดปัญหาความขัดแย้งในบทบาทของกระทรวงการคลังที่มีฐานะเป็นทั้งผู้ถือหุ้น ผู้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน และยังเป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ฟิทช์ คาดว่า การโอนอำนาจในการกำกับดูแลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและความโปร่งใสในการกำกับดูแล อีกทั้งยังทำให้มั่นใจได้ว่าสถาบันการเงินจะได้รับการกำกับดูแลภายใต้มาตรฐานที่สอดคล้องและใกล้เคียงกับมาตรฐานในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์มากขึ้น โดยการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมุ่งเน้นที่กระบวนการพิจารณาสินเชื่อ
ธรรมาภิบาล และฐานะเงินกองทุนและความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านของสภาพคล่องให้สอดคล้องกับเกณฑ์ Basel II (แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความแตกต่างอยู่บ้างกับเกณฑ์ Basel III ที่ใช้สำหรับกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์)
กระทรวงการคลังยังมีแผนจะจัดตั้งกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีกระบวนการในการเรียกเก็บเงินนำส่งเข้ากองทุนที่คล้ายกันกับของสถาบันคุ้มครองเงินฝากสำหรับธนาคารพาณิชย์ แต่อัตราการจัดเก็บเงินนำส่งจะต่ำกว่ามาก โดยจะอยู่ที่ 0.18% ของเงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เทียบกับอัตรา 0.47% สำหรับธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับเงินฝากจากลูกค้ารายย่อยเป็นการทั่วไปทั้ง 4 แห่ง คือ BAAC, GSB, GH BANK และ IBANK จะต้องนำส่งเงินให้แก่กองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยกระทรวงการคลังมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาเพื่อใช้ในการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในกรณีที่ธนาคารเหล่านั้นประสบปัญหาทางการเงิน
ฟิทช์ มองว่า แผนในการจัดตั้งกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะช่วยลดภาระทางด้านการคลังในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการความช่วยเหลือ (แม้ว่ารัฐบาลจะยังมีแนวโน้มที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่เงินทุนจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่เพียงพอ) นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวยังช่วยให้การสนับสนุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้นใน กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องมีการเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน ในปัจจุบันเงินทุนที่ใช้เพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมาจากงบประมาณของรัฐบาลซึ่งต้องใช้เวลาบ้างในการอนุมัติ
นอกจากนี้การจัดเก็บเงินนำส่งจากเงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะช่วยลดความได้เปรียบในด้านต้นทุนในการแข่งขันในการระดมเงินฝากซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความได้เปรียบเหนือธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้การแข่งขันด้านเงินฝากระหว่าง สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายในการจัดตั้งและบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ฟิทช์ ยังคงเชื่อว่า รัฐบาลจะยังคงให้การสนับสนุนพิเศษนอกเหนือจากการดำเนินงานปรกติ (extraordinary support) แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าวเนื่องจากบทบาทที่สำคัญในการดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพิจารณาอันดับเครดิตของสถาบันการเงินที่ฟิทช์มีการจัดอันดับ
ติดต่อ:
จินดารัตน์ เล้าทวีรุ่งสวัสดิ์
Associate Director
+662 108 0153
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17
57 ถนน วิทยุ ลุมพินี
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
พาสันติ์ สิงหะ, CFA
Senior Director
+662 108 0151
ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com
การใช้อันดับเครดิตที่จัดทำโดยฟิทช์เรทติ้งส์มีข้อจำกัดและขอบเขตการใช้ ซึ่งข้อจำกัดและขอบเขตของการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวสามารถหาได้จาก HTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS นอกจากนี้คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฎข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน ฟิทช์อาจจะมีการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้แก่บริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่ ซึ่งรายละเอียดสำหรับการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ดังกล่าวโดยนักวิเคราะห์หลัก (Lead Analyst) ที่อยู่ในหน่วยงานของฟิทช์ที่จดทะเบียนในสหภาพยุโรป ได้แสดงไว้ที่หน้าแรกของบริษัทนั้น ๆ ในเว็ปไซต์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ www.fitchratings.com
Thai Central Bank Oversight Positive for Policy Banks
Fitch Ratings-Bangkok-28 April 2016: Fitch Ratings takes a positive view of regulatory developments under which the Bank of Thailand (BOT) will be given greater supervisory powers related to Specialised Financial Institutions (SFIs).
Thailand's SFIs are state-controlled entities set up under specific legislation to fulfil government policy objectives. They comprise eight institutions - the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), the Export-Import Bank of Thailand (EXIM), the Government Housing Bank (GH BANK), the Government Saving Bank (GSB), the Islamic Bank of Thailand (IBANK), the Secondary Mortgage Corporation (SMC), the SME Development Bank of Thailand (SME BANK) and the Thai Credit Guarantee Corporation (TCG). SFIs are an important part of the Thai financial system, accounting for 25% of system deposits and providing 29% of household debt.
The Ministry of Finance (MOF) will transfer its supervisory and inspection authority over SFIs to the BOT in 2Q16. The move will free the MOF from potential conflicts of interest between its roles as shareholder, objective-setter, and regulator of SFIs.
Fitch expects the transference of oversight authority to improve supervision and transparency, and ensure that the institutions are monitored more closely in line with the regime for commercial banks. The focus of the BOT's supervision will be ensuring that the SFI's credit process, corporate governance, and capital and liquidity buffers are in line with Basel II standards (which would still be somewhat different to the Basel III standards required of commercial banks).
The MOF also plans to establish an SFI Fund. The process of cash collection will be similar to that of the Deposit Protection Agency for commercial banks, but the collection rate will be much lower, at 0.18% of deposits for SFIs against 0.47% for commercial banks. Four SFIs that accept retail deposits from the public will be required to remit cash to the SFI Fund - BAAC, GSB, GH BANK and IBANK. The MOF intends for the SFI Fund to be used to recapitalise SFIs in the event that they encounter financial difficulties.
Fitch is positive about the SFI Fund plan - should an SFI need bailing out, government's direct fiscal burden would be lower (although the government would still be likely to step in with emergency assistance were the SFI Fund's resources to prove insufficient). The fund would also provide more timely support in the event that an SFI were to require an urgent capital injection: at present, cash must be found from within the budget of the central government, which may at times be a time-consuming process.
Furthermore, by imposing a levy on SFI deposits for the first time, the SFI Fund will help reduce the cost advantage that SFIs have over commercial banks in deposit mobilisation. Deposit competition between SFIs and banks has intensified in recent years, which is not in line with the original policy objectives and roles of SFIs.
Fitch maintains the view that the state will continue to provide extraordinary support to such institutions, given their key policy roles which is reflected in our credit ratings approach.
Contact:
Jindarat Laotaveerungsawat
Associate Director
+662 108 0153
Fitch Ratings (Thailand) Limited
Park Ventures, Level 17
57 Wireless Road, Lumpini
Patumwan, Bangkok 10330
Parson Singha,
CFA Senior Director
+66 2108 0151
Media Relations: Leslie Tan, Singapore, Tel: +65 67 96 7234, Email: [email protected]; Wai-Lun Wan, Hong Kong, Tel: +852 2263 9935, Email: [email protected].
Additional information is available on www.fitchratings.com
ALL FITCH CREDIT RATINGS ARE SUBJECT TO CERTAIN LIMITATIONS AND DISCLAIMERS. PLEASE READ THESE LIMITATIONS AND DISCLAIMERS BY FOLLOWING THIS LINK:HTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS. IN ADDITION, RATING DEFINITIONS AND THE TERMS OF USE OF SUCH RATINGS ARE AVAILABLE ON THE AGENCY'S PUBLIC WEBSITE 'WWW.FITCHRATINGS.COM'. PUBLISHED RATINGS, CRITERIA AND METHODOLOGIES ARE AVAILABLE FROM THIS SITE AT ALL TIMES. FITCH'S CODE OF CONDUCT, CONFIDENTIALITY, CONFLICTS OF INTEREST, AFFILIATE FIREWALL, COMPLIANCE AND OTHER RELEVANT POLICIES AND PROCEDURES ARE ALSO AVAILABLE FROM THE 'CODE OF CONDUCT' SECTION OF THIS SITE. FITCH MAY HAVE PROVIDED ANOTHER PERMISSIBLE SERVICE TO THE RATED ENTITY OR ITS RELATED THIRD PARTIES. DETAILS OF THIS SERVICE FOR RATINGS FOR WHICH THE LEAD ANALYST IS BASED IN AN EU-REGISTERED ENTITY CAN BE FOUND ON THE ENTITY SUMMARY PAGE FOR THIS ISSUER ON THE FITCH WEBSITE.