- Details
- Category: ธปท.
- Published: Tuesday, 15 March 2016 10:31
- Hits: 2876
ผู้ว่าธปท.เจรจาทวิภาคีมาเลเซียจัดตั้ง Qualified ASEAN Banks ส่งเสริมการใช้เงินริงกิต บาทชำระธุรกรรมการค้าระหว่างกัน
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) และ Dr. Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) ได้ร่วมลงนามในเอกสารแสดงความประสงค์เข้าร่วมการเจรจา ทวิภาคีเพื่อจัดตั้ง Qualified ASEAN Banks (QABs) ระหว่างไทยและมาเลเซียเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559 ณ ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย โดยการลงนามในเอกสารดังกล่าวนับเป็นจุด เริ่มต้นของการเจรจาทวิภาคีระหว่าง กันอย่างเป็นทางการ
มาเลเซียเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่ร่วมลงนามในเอกสาร แสดงความประสงค์เข้าร่วมเจรจาทวิภาคีกับไทย โดยการเจรจาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภาย ใต้กรอบการรวมตัวภาคการธนาคารอาเซียน (ASEAN Banking Integration Framework: ABIF) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์อาเซียนเข้าสู่ตลาดระหว่างกันได้บนหลักการ ต่างตอบ แทน และให้มีความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้น
มาเลเซียมีความสัมพันธ์กับไทยในด้านการค้าการลงทุนกับไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นคู่ค้าราย สำคัญอันดับที่ 1ของไทยในอาเซียน การจัดตั้ง QABs ระหว่างกันจึงจะเป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกก้าว หนึ่งของภาคการธนาคารในการเพิ่ม โอกาสทางธุรกิจและรองรับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและ การเงินของทั้งสอง ประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
โดยเอกสารเผยแพร่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยรายละเอียดเรื่อง การจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างธนาคารกลางมาเลเซียและธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้
ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia –BNM) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ประกาศเริ่มดำเนินการกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นอย่างเป็นทางการในวันนี้ กลไกนี้เป็นความพยายามของทั้งสองประเทศในการส่งเสริมการใช้เงินสกุลริงกิตและบาทในการชำระธุรกรรมการค้าระหว่างกัน ซึ่งเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจที่ทั้งสองธนาคารกลางได้ลงนามร่วมกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 การจัดตั้งกลไกดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงเงินสกุลท้องถิ่น และการบริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการทำธุรกรรมการค้าระหว่างกัน ภายใต้กลไกนี้ ผู้ประกอบการมาเลเซียและไทยสามารถเลือกใช้บริการในเงินสกุลริงกิตและบาทจากธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับคัดเลือกในแต่ละประเทศ
เพื่อชำระธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศในการนี้ BNM และ ธปท. ได้ประกาศแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ในมาเลเซียและไทย เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกลไกดังกล่าว ดังรายนามต่อไปนี้
- มาเลเซีย Bangkok Bank Berhad
- CIMB Bank Berhad
- Malayan Banking Berhad (Maybank)
- ไทย ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคาร CIMB ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
เนื่องจากกลไกดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้เห็นผลสำเร็จของกรอบความร่วมมือ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินการมีความคล่องตัว จึงได้คัดเลือกเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่แน่นแฟ้นกับ สถาบันการเงินของทั้งสองประเทศอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือมีการดำเนินการทั้งในไทยและมาเลเซีย หรือมีศักยภาพในการรองรับธุรกรรมการชำระราคาเงินริงกิตและบาท โดยธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ จะได้รับการผ่อนปรน
กฎระเบียบบางประการ เพื่อให้สามารถให้บริการทางการเงินในเงินสกุลริงกิตและบาทได้หลากหลายขึ้น ซึ่งรวมถึงการให้บริการรับฝากเงินสกุลริงกิตและบาท การทำธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) และการให้บริการผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงต่างๆ (Hedging products)
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย