- Details
- Category: ธปท.
- Published: Tuesday, 08 March 2016 22:17
- Hits: 4170
ธปท.เตรียมหั่นจีดีพีปีนี้เหลือต่ำกว่า 3.5% หลังภัยแล้งรุนแรงกว่าคาด
ผู้ว่า ธปท.ยอมรับภัยแล้งรุนแรงกว่าคาด เตรียมหั่นจีดีพีปีนี้เหลือต่ำกว่า 3.5% หนุนแผนช่วยผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐรอบใหม่ เชื่อรัฐบาลมองเห็นความเสี่ยงเรื่องศก.ชะลอตัวล่วงหน้า พร้อมเตือนผู้ประกอบการส่งออกทำเฮดจ์จิ้งปิดความเสี่ยงค่าบาท อย่ามองเคลื่อนไหวทางเดียว
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ธปท.จะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ในปีนี้ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3.5% หลังจากเห็นความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความผันผวนจากเศรษฐกิจต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก และสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้
ส่วนกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้กระทรวงการคลังหามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย เพื่อใช้ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้านั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดี และสะท้อนว่ารัฐบาลเห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉย และเห็นสถานการณ์ภายนอกน่ากังวล ประกอบกับการลงทุนขนาดใหญ่ช้ากว่าคาด ซึ่งมองว่าบทบาทนโยบายการคลังสำคัญ รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ขณะที่ยอมรับว่า การดำเนินนโยบายการเงินนั้นจะต้องใช้เวลา
“สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำนั้นมันสะท้อนว่ารัฐบาลเห็นความเสี่ยงที่จะเพิ่มสูงขึ้นทั้งในเรื่องของภัยแล้ง การลงทุนขนาดใหญ่ที่อาจมีความล่าช้า ราคาพลังงานตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะการนำนโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การส่งเสริมการลงทุนให้ชัดเจน”นายวิรไท กล่าว
นายวิรไท กล่าวถึงเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลจากตลาดการเงินโลกมีความผันผวน ซึ่งยอมรับว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการมีการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือ เฮดจิ้งเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ในบางช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงผู้ประกอบการด้านการส่งออกก็มีการทำประกันความเสี่ยงน้อยลง เพราะมีความชะล่าใจ เพราะผู้ประกอบการอาจมองว่าค่าเงินจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเพียงด้านเดียว
“บางครั้งผู้ส่งออกก็ชะล่าใจ พอเงินบาทอ่อนผู้ส่งออกก็ทำเฮดจิ้งน้อยลง ซึ่งอย่าคิดว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเพียงด้านเดียว เพราะต้องยอมรับว่า ขณะนี้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมาก”นายวิรไท กล่าว
ส่วนกรณีที่การจะใช้นโยบายการเงิน มาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หากมองว่าเศรษฐกิจแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น นายวิรไท กล่าวว่า เป็นข้อหนึ่งที่ได้สั่งการบ้านให้กับทีมงาน โดยระบุว่า การเพิ่มปริมาณสภาพคล่องที่จะเข้าไปนั้น จะทำอย่างไรให้สภาพคล่องที่มีเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการอยู่นั้น ทั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน หลายแสนล้านบาท เริ่มถูกหมุนเวียน และการผ่อนปรนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำเงินสำรองที่มีไปลงทุนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะได้ผลรวดเร็วกว่าการทำนโยบายการเงินที่ต้องอาศัยเวลา
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ธปท.เผยม.ค.แรงส่งศก.ไทยเริ่มแผ่วทั้งบริโภคเอกชน-ใช้จ่ายภาครัฐ แต่ท่องเที่ยวยังหนุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินในเดือนม.ค.59 ว่า ในเดือน ม.ค.59 แรงส่งของเศรษฐกิจไทยมีทิศทางแผ่วลง สาเหตุหลักมาจากปัจจัยชั่วคราวที่เริ่มหมดไป ทั้งการเร่งซื้อรถยนต์ และมาตรการเร่งการใช้จ่ายของครัวเรือนในช่วงปลายปี ทำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวบ้าง ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐชะลอลงหลังเร่งเบิกจ่ายในเดือนก่อน ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวสูงตามเศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว และราคาสินค้าส่งออกที่ลดลงตามราคาน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตและการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่สนับสนุนให้ภาคบริการขยายตัวดี
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบจากผลของราคาน้ำมันที่ลดลง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง ตามมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายกลับมาเกินดุลจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
ทั้งนี้ ในเดือนม.ค. 59 ภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคบริการที่เกี่ยวข้องขยายตัวดี อาทิ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง โดยจ นวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น 15.0% จากระยะเดียวกันปีก่อน จากนักท่องเที่ยวจีนที่ยังคงขยายตัวดีและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวยุโรป
การใช้จ่ายของภาครัฐทำได้ดีต่อเนื่องแม้แผ่วลงบ้าง จากแรงกระตุ้นการเบิกจ่ายนอกงบประมาณในการลงทุนโครงการด้านคมนาคมและชลประทานที่ชะลอลงหลังจากเร่งตัวสูงในช่วงก่อน และรายจ่ายลงทุนที่ไม่รวมเงินอุดหนุนซึ่งขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่การจัดเก็บรายได้หดตัวเล็กน้อยจากการเลื่อนน ส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่งและการปรับลดลงของรายได้ภาษีที่เกี่ยวกับการนำเข้าสอดคล้องกับการนำเข้าที่หดตัว
ส่วนเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงบ้าง หลังผลบวกจากปัจจัยชั่วคราวเริ่มหมดไป ทั้งการเร่งซื้อรถยนต์ก่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตและการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปีก่อนตามมาตรการลดหย่อนภาษีของภาครัฐ ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติในเดือนนี้ท ให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนชะลอลงบ้าง นอกจากนี้ปัจจัยหนุนการบริโภคในเดือนนี้แผ่วลงจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงเล็กน้อยจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะภัยแล้งและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี รายได้นอกภาคเกษตรที่ยังทรงตัว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การซื้อสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการยังขยายตัวได้บ้าง
ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวในอัตราที่สูงขึ้นที่ 9.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน จาก1) เศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว 2) ผลดีจากปัจจัยชั่วคราวที่ทยอยหมดลง อาทิ การส่งออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งออกในหมวดทัศนูปกรณ์ (Optical appliances and instruments) ที่ชะลอลงต่อเนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว และ 3) การหดตัวต่อเนื่องของราคาสินค้าส่งออกในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม
อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปตลาดยุโรปยังมีแนวโน้มดีขึ้นตามการคาดการณ์สภาพอากาศว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นในปีนี้ และตลาดเวียดนามที่เศรษฐกิจขยายตัวดี
ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัว 17.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าในหมวดเชื้อเพลิงที่หดตัวในอัตราที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ยังลดลงต่อเนื่องขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางไม่รวมเชื้อเพลิงหดตัวตามภาวะการส่งออกที่ซบเซา
ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวในหลายหมวดสินค้าตามการส่งออกสินค้าที่ซบเซา ประกอบกับ ผลจากปัจจัยชั่วคราวที่หมดลง อาทิ การผลิตรถยนต์ที่หดตัวสูงหลังจากเร่งไปมากเพื่อส่งมอบในปลายปีก่อนอย่างไรก็ตาม การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มดีขึ้นตามอุปสงค์ต่างประเทศ ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับกำลังการผลิตที่มีเพียงพอ อีกทั้งผลบวกจากการเร่งซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์เริ่มหมดลง และการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทนและกลุ่มโทรคมนาคมที่ชะลอลงบ้างหลังขยายตัวสูงในช่วงปลายปีก่อน ทั้งนี้การระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบที่ -0.53% ตามการลดลงของราคาในหมวดพลังงาน สำหรับอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการจ้างงานในภาคบริการที่ปรับดีขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากมูลค่าการน เข้าสินค้าที่ลดลง และรายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายกลับมาเกินดุลในเดือนนี้ จาก (1) การเข้ามาลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (2) การได้รับชำระคืนสินเชื่อทางการค้าของผู้ส่งออกไทย และ (3) การกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้การส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมของธนาคารกลางญี่ปุ่น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น
อินโฟเควสท์