- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 18 February 2016 01:03
- Hits: 6481
กนง. มองในระยะต่อไป นโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนปรน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของ ศก.
กนง.มองในระยะต่อไป นโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนปรน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของ ศก. ระบุ ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินฝืดยังมีจำกัด เนื่องจากอุปสงค์ยังขยายตัวและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก พร้อมคงประมาณการจีดีพีปี59 โต 3.5% และกนง.จะประชุมครั้งถัดไป (ครั้งที่ 2/2559) ในวันที่ 23 มี.ค.นี้
สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยรายงานการประชุม ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. (ฉบับย่อ) ซึ่งคณะกรรมการ กนง.ได้ประชุมเป็นครั้งแรกของปีนี้ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.59 ที่ผ่านมา และได้มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี
คณะกรรมการระบุว่า ในระยะต่อไปเห็นว่านโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยจะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจการเงินโลก รวมทั้งภาวะการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยอย่างใกล้ชิด และพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่ อย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ด้านความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินฝืด ประเมินว่ายังมีจำกัด เนื่องจากอุปสงค์ยังขยายตัวและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก สะท้อนว่าราคาสินค้านอกกลุ่มพลังงานส่วนใหญ่มีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับสูงขึ้น สอดคล้องกับการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชนที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายเงินเฟ้อ
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ยังจะขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยมีอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญ ได้แก่ การลงทุนภาครัฐที่มี แรงส่งต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนในบางสาขา เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม และการบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ามันที่ปรับลดลง แม้รายได้ภาคเกษตรอาจได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากราคาสินค้า โภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง
อนึ่ง ในรายงาน กนง.ครั้งก่อน คณะกรรมการได้ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี59 อยู่ที่ 3.5%
ด้านความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเบ้ไปด้านต่ำมากขึ้น จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจและภาคการเงินของจีน ทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่แตกต่างกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก
ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนในการดาเนินมาตรการและการสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับภาคการเงินของทางการจีนอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และต้องติดตามการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจซึ่งอาจส่งผลลบต่อเสถียรภาพการเงินของจีน
อนึ่ง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน และอาจส่งผลลบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกผ่านช่องทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด