- Details
- Category: ธปท.
- Published: Tuesday, 19 January 2016 22:37
- Hits: 4780
ธปท.ห่วงหนี้เกษตรกรจับตาภัยแล้ง-ราคาสินค้าตกต่ำ
แนวหน้า : นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้สินของเกษตรกรจัดเป็นปัญหา ที่น่าเป็นห่วงในปีที่ผ่านมา โดยปัญหาภัยแล้ง และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำยังคงเป็นปัจจัยกดดันรายได้เกษตร ต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ดี เกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบ ยังคง ได้รับการผ่อนผันจากมาตรการพัก ชำระหนี้ของรัฐ นอกจากนี้ ธปท. คาดว่ารายได้เกษตรกรช่วงครึ่งปีหลังจะปรับ ดีขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าค่อยๆ ดีขึ้น ทั้งนี้ ธปท. และหน่วยงานภาครัฐยังคงติดตามผลกระทบภัยแล้งที่มีต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
ด้าน นางชนาธิป จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้เล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้ ทางการเงินแก่กลุ่มเกษตรกร และ ธ.ก.ส. (BAAC) ได้ดำเนินการในด้านส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี strength คือ มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายได้อย่างทั่วถึง ธปท. และ ธ.ก.ส. จึงได้ตกลงร่วมมือกันเพื่อพัฒนา content tools และ multipliers ในการส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกร ซึ่ง ธปท. และ ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการ ส่งเสริมความรู้ทางการเงิน เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2558 และได้มีการประชุมหารือ กันในรายละเอียดเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการในช่วงต้นเดือนม.ค. 2559 ที่ผ่านมา
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การจ้างงานยังหดตัว ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาส 3 ของปี 2558 จากภาพรวมของการจ้างงานพบว่า มีการจ้างงานโดยรวม 38.33 ล้านคนเศษ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.2 หรือประมาณ 90,000 คนเศษ ซึ่งสาขาที่เพิ่มน้อยที่สุดคือ ผู้จบปริญญาตรี (ร้อยละ 2.8) ตามมา ด้วย ม.ปลาย ปวช. และ ปวส. ตามลำดับ ระดับการศึกษาที่การจ้างงานหดตัว ได้แก่ ผู้จบ ม.ต้น หรือ ต่ำกว่า คิดเป็นจำนวนที่ลดลง 0.72 ล้านคน โดยคนกลุ่มใหญ่เหล่านี้มีการจ้างงานอยู่ในภาคการเกษตรเป็นสำคัญไม่น้อยกว่า 0.5 ล้านคน ซึ่งเป็นผล มาจากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ขณะเดียวกัน ต้องเผชิญกับปัญหา ภัยแล้งไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ตามปกติ