WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กนง.คาด ศก.ไทยฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งปีหลัง จับตาปัจจัยเสี่ยงปัญหาแรงงานต่างด้าว-มาตรการกีดกันการค้า-การเบิกจ่ายงบประมาณ

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 18 มิถุนายน 2557 ซึ่ง กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง และนโยบายภาครัฐเริ่มมีความชัดเจน ส่งผลต่อเนื่องให้ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับดีขึ้นและอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว

    นอกจากนี้ นโยบายเฉพาะจุดของภาครัฐ เช่น การจ่ายเงินชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและเล็กผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นพิเศษในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและลดความเปราะบางทางฐานะการเงินของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว

    ประกอบกับ ภาวะการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ และค่าเงินบาทอยู่ในเกณฑ์สนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อในระยะสั้นยังไม่น่ากังวลแต่เริ่มปรับสูงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน อีกทั้งภาวะตลาดการเงินในประเทศและค่าเงินบาทโดยรวมในปัจจุบันที่มีเสถียรภาพ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของประเทศหลักมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเข้าสู่ระดับปกติในระยะต่อไป

    ด้านภาวะตลาดการเงิน เงินบาทอ่อนค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและการดำเนินมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 ตามความต้องการลงทุนเพื่อชดเชยพันธบัตรที่ครบกำหนด และความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตรรัฐบาลออกใหม่ที่คาดว่าจะมีน้อยลง

     "คณะกรรมการฯ อภิปรายถึงการที่ตลาดมีความเห็นในเชิงค่อนข้างบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ จากแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีความชัดเจนขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ขณะที่บริษัทจัดอันดับเครดิตไม่มีการปรับลดอันดับเครดิตของไทย และประเมินว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี"รายงาน กนง.ระบุ

    ส่วนภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศนั้น เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มยูโรและญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านความเสี่ยงจากภาคการเงินและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนปรับลดลงบ้าง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ และธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

    คณะกรรมการฯ เห็นพ้องกันว่าเศรษฐกิจโลกมีความเข้มแข็งขึ้น และได้อภิปรายถึงปัจจัยที่ยังควรติดตาม ได้แก่ 1.ประสิทธิภาพของมาตรการเพิ่มสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรปต่อเศรษฐกิจจริงที่อาจมีจำกัด 2.ภาวะการเงินนอกภาคธนาคาร (Shadow banking) ในประเทศจีน และการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนที่อาจปะทุขึ้นอีก จนอาจกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคธนาคารพาณิชย์น่าจะยังสามารถรองรับผลกระทบได้ 3.การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศจีนเริ่มถูกแทนที่ด้วยการค้าภายในอาเซียน ประกอบกับเริ่มมีการโยกย้ายห่วงโซ่อุปทานออกจากประเทศจีนตามต้นทุนที่สูงขึ้น

    สำหรับภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้น เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวมากกว่าคาด จากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะงบลงทุนทำได้จำกัด ในขณะที่การส่งออกสินค้าฟื้นตัวช้าจึงไม่สามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ แต่ในระยะต่อไป คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวตามอุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย โดยภาครัฐคาดว่าจะมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น จากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน และเร่งจัดทำงบประมาณปี 2558 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็น รวมทั้งมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจอื่นๆ

     ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นและมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การเร่งชำระหนี้ค้างโครงการรับจำนำข้าวและมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ เป็นต้น การส่งออกน่าจะฟื้นตัวได้ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีตาม เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ปรับดีขึ้น แต่อาจขยายตัวในอัตราต่ำจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อุปสงค์ของบางตลาดหลักที่ยังฟื้นตัวช้า รวมทั้งข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีของไทยและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าโลก สำหรับการท่องเที่ยวมีความเสี่ยงที่จะฟื้นตัวได้ช้าหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

     คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 และปี 2558 จะขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.5 และ 5.5 ตามลำดับ จากการใช้จ่ายภาครัฐที่สามารถดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังสถานการณ์ทางการเมืองชัดเจนขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวจะกลับมามีบทบาทชัดขึ้นในปี 2558 สำหรับแรงกดดันเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปมากกว่าคาด

     ทั้งนี้ กรรมการบางท่านเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ 1.การเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าวอาจทำให้ตลาดแรงงานไทยตึงตัวมากขึ้นและอาจกดดันให้ค่าแรงปรับสูงขึ้นในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ภาคการเกษตร ภาคการประมง รวมทั้งภาคบริการ เป็นต้น 2.ความเสี่ยงที่รัฐบาลบางประเทศอาจมีมาตรการกีดกันทางการค้า โดยอ้างอิงถึงแนวนโยบายภายในประเทศของไทย เช่น นโยบายแรงงาน เป็นต้น จนอาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ และ 3.ประสิทธิภาพของการเบิกจ่ายงบประมาณที่อาจต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมีผลต่อเม็ดเงินของภาครัฐที่จะไหลเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ

                คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลงและการบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องกันว่านโยบายการคลังจะกลับมามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินในปัจจุบันยังผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

กนง.คาด ศก.ไทยฟื้นชัดครึ่งปีหลัง จับตาปัญหาแรงงานต่างด้าว-มาตรการกีดกันการค้า

   ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 18 มิถุนายน 2557 ซึ่ง กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง และนโยบายภาครัฐเริ่มมีความชัดเจน ส่งผลต่อเนื่องให้ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับดีขึ้นและอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว

    นอกจากนี้ นโยบายเฉพาะจุดของภาครัฐ เช่น การจ่ายเงินชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและเล็กผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นพิเศษในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและลดความเปราะบางทางฐานะการเงินของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว

    ประกอบกับ ภาวะการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ และค่าเงินบาทอยู่ในเกณฑ์สนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อในระยะสั้นยังไม่น่ากังวลแต่เริ่มปรับสูงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน อีกทั้งภาวะตลาดการเงินในประเทศและค่าเงินบาทโดยรวมในปัจจุบันที่มีเสถียรภาพ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของประเทศหลักมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเข้าสู่ระดับปกติในระยะต่อไป

  ทั้งนี้ ด้านภาวะตลาดการเงิน เงินบาทอ่อนค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและการดำเนินมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 ตามความต้องการลงทุนเพื่อชดเชยพันธบัตรที่ครบกำหนด และความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตรรัฐบาลออกใหม่ที่คาดว่าจะมีน้อยลง

   "คณะกรรมการฯ อภิปรายถึงการที่ตลาดมีความเห็นในเชิงค่อนข้างบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ จากแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีความชัดเจนขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ขณะที่บริษัทจัดอันดับเครดิตไม่มีการปรับลดอันดับเครดิตของไทย และประเมินว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี"รายงาน กนง.ระบุ

   ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศนั้น เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มยูโรและญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านความเสี่ยงจากภาคการเงินและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนปรับลดลงบ้าง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ และธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

  คณะกรรมการฯ เห็นพ้องกันว่า เศรษฐกิจโลกมีความเข้มแข็งขึ้น และได้อภิปรายถึงปัจจัยที่ยังควรติดตาม ได้แก่ 1.ประสิทธิภาพของมาตรการเพิ่มสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรปต่อเศรษฐกิจจริงที่อาจมีจำกัด 2.ภาวะการเงินนอกภาคธนาคาร (Shadow banking) ในประเทศจีน และการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนที่อาจปะทุขึ้นอีก จนอาจกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคธนาคารพาณิชย์น่าจะยังสามารถรองรับผลกระทบได้ 3.การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศจีนเริ่มถูกแทนที่ด้วยการค้าภายในอาเซียน ประกอบกับเริ่มมีการโยกย้ายห่วงโซ่อุปทานออกจากประเทศจีนตามต้นทุนที่สูงขึ้น

   สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้น เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวมากกว่าคาด จากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะงบลงทุนทำได้จำกัด ในขณะที่การส่งออกสินค้าฟื้นตัวช้าจึงไม่สามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ แต่ในระยะต่อไป คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวตามอุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย โดยภาครัฐคาดว่าจะมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น จากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน และเร่งจัดทำงบประมาณปี 2558 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็น รวมทั้งมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจอื่นๆ

                ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นและมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การเร่งชำระหนี้ค้างโครงการรับจำนำข้าวและมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ เป็นต้น การส่งออกน่าจะฟื้นตัวได้ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีตาม เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ปรับดีขึ้น แต่อาจขยายตัวในอัตราต่ำจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อุปสงค์ของบางตลาดหลักที่ยังฟื้นตัวช้า รวมทั้งข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีของไทยและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าโลก สำหรับการท่องเที่ยวมีความเสี่ยงที่จะฟื้นตัวได้ช้าหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

    คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 และปี 2558 จะขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.5 และ 5.5 ตามลำดับ จากการใช้จ่ายภาครัฐที่สามารถดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังสถานการณ์ทางการเมืองชัดเจนขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวจะกลับมามีบทบาทชัดขึ้นในปี 2558 สำหรับแรงกดดันเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปมากกว่าคาด

    ทั้งนี้ กรรมการบางท่านเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ 1.การเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าวอาจทำให้ตลาดแรงงานไทยตึงตัวมากขึ้นและอาจกดดันให้ค่าแรงปรับสูงขึ้นในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ภาคการเกษตร ภาคการประมง รวมทั้งภาคบริการ เป็นต้น 2.ความเสี่ยงที่รัฐบาลบางประเทศอาจมีมาตรการกีดกันทางการค้า โดยอ้างอิงถึงแนวนโยบายภายในประเทศของไทย เช่น นโยบายแรงงาน เป็นต้น จนอาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ และ 3.ประสิทธิภาพของการเบิกจ่ายงบประมาณที่อาจต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมีผลต่อเม็ดเงินของภาครัฐที่จะไหลเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ

    คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลงและการบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องกันว่านโยบายการคลังจะกลับมามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินในปัจจุบันยังผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

                        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!