- Details
- Category: ธปท.
- Published: Monday, 20 July 2015 23:29
- Hits: 3338
ผู้ว่า ธปท. รับ ครึ่งปีหลัง มีปัจจัยเสี่ยงกระทบประเทศหลายด้าน แต่มั่นใจยังมีทางออก วอนอย่างมองทุกอย่างแง่ลบ หวั่นกระทบความเชื่อมั่น
ผู้ว่า ธปท. รับ ครึ่งปีหลัง มีปัจจัยเสี่ยงกระทบประเทศหลายด้าน แต่มั่นใจยังมีทางออก วอนอย่างมองทุกอย่างแง่ลบเชื่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังดี แม้ปัญหารุมเร้า แต่ไทยมีบทเรียนดี ปรับตัวรับมือได้ทัน หลังผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง พร้อมให้กำลังใจทีมศก. รัฐบาลแก้ปัญหาได้ ขณะที่ ปัดตอบนั่งทีมศก. หลังลงจากผู้ว่าฯ แต่ยังมอง ปัญหากรีซ - จีน ยังไม่สะเด็ดน้ำ ระบุจีนลดกำลังซื้อฉุดส่งออกไทย และภูมิภาคคงติดลบ
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังของปีนี้ ยอมรับว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจประเทศหลายด้าน แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่าแม้จะมีอุปสรรคเข้ามากระทบ แต่ก็ยังมีทางออกอีกหลายด้าน ซึ่งในประเด็นเรื่องเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีก็มีความเป็นห่วงและสั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล
"ตอนนี้พอมองว่าประเทศมีปัญหา หลายๆอย่างก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น อย่าไปมองว่าทุกอย่างไรเป็นลบไปหมด ซึ่งสิ่งที่ต้องเผชิญอย่างหนักก็คือ การสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย" ดร.ประสาร กล่าว
ผู้ว่าการ ธปท. ว่า อยากให้กำลังใจทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลในตอนนี้ หลังจากช่วงที่ผ่านมามีกระแสข่าวปรับ ครม.เศรษฐกิจต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ยอมรับว่าโจทย์ที่จะแก้ไขยากมาก เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านเข้ามากระทบ จึงไม่อยากบั่นทอนกำลังใจผู้ทำงาน ซึ่งงอยู่ระหว่างการแก้ปัญหารอบด้าน และยอมรับว่าการเข้ามาทำงานเพื่อสาธารระของไทยนั้นยาก เมื่อจบงานออกจากเวทีก็มักจะสบักสบอมกันทุกราย น้อยมากที่จะได้รับการยกย่อง ไม่เหมือนในต่างประเทศที่ผู้เข้ามาทำงานจะได้รับการยกย่อง ให้เกียรติ และแสดงความขอบคุณที่เข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวม
" เปรียบเหมือนการเล่นฟุตบอล ผู้จัดการทีมต้องติดตามผู้เล่นอย่างใกล้ชิดในการเล่นเกมส์ แต่เกมฟุตบอลต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นในระหว่างการแข่งขันด้วยเพื่อแก้เกมส์ หากเกมส์ที่เล่นนั้นไม่ดี หรือผิดพลาด ซึ่งหากผู้จัดการเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ดี ผู้ชมในสนามก็ร้องเฮ แต่หากผู้เล่นไม่ถูกใจและแก้เกมส์ไม่ได้ ก็จะโดนโห่ร้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดการทีมจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สำหรับการเปลี่ยนตัวเพื่อปรับเปลี่ยนเกมส์" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าธปท. หลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามสื่อมวลชน ในประเด็นที่ตกเป็นข่าวว่าอาจจะเข้ารับทำงานเป็นทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ หากครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่า ธปท. ในเดือนกันยายนนี้
สำหรับ ปัญหาเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงประเด็นวิกฤตหนี้กรีซนั้น เขากล่าวว่า ปัญหาจีนยังไม่ถือว่าสะเด้ดน้ำ และน่าจะมีผลกระทบกับประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากปัญหาจีนนั้นไม่ได้เป็นปัญหาระยะสั้น แต่เป็นปัญหาทางโครงสร้างที่มีมานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองท้องถิ่นในประเทศ ปัญหาสถาบันการเงิน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่จีนปรับโครงสร้างของตัวเอง จึงทำให้เกิดปัญหากับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในเอเซียตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ จีนลดกำลังซื้อต่างประเทศลง โดยหันไปซื้อสินค้าในประเทศของตัวเองมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจเฟื่องฟูมามาก ดังนั้นจึงไม่ใช้เรื่องแปลกเมื่อส่งออกของไทยติดลบ เมื่อคู่ค้าสำคัญเช่นจีนซื้อน้อยลง แต่ไม่ใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ตดลบ ประเทศอื่นในอาเซียนแถบนี้ต่างก็ส่งออกติดลบแทบทั้งนั้น
เขากล่าวว่า คงจะไม่ได้เห็นเศรษฐกิจของจีนเติบโตในระดับ 10-12% อีกแล้ว โดยคาดว่าจากนี้จีดีพีหรือเศรษฐกิจจีน น่าจะเติบโตอยู่ประมาณ 6-7%
"จีนลดกำลังซื้อลง ซื้อน้อยลง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอย่าง ยาง ข้าว ในบ้านเรา ก็เลยทำให้เศรษฐกิจบ้านเราติดลบ แต่ประเทศอื่นๆ ก็เป็น เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ ซื้อของมาก เมื่อลดกำลังซื้อผลกระทบเลยได้รับเหมือนกัน" ดร.ประสาร กล่าว
ส่วนปัญหากรีซนั้น ดร.ประสาร กล่าวว่า หลังจากที่พุดคุยกับทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ไอเอ็มเอฟมองว่า ปัญหาจีนน่าจะมีผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น เมื่อเทียบกับกรีซที่มองว่า ยังมีความซับซ้อนในเรื่องของการแก้ปัญหาหนี้ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างของอียูที่มีอยู่หลายประเทศ อีกทั้งในความเห็นส่วนตัวแล้ว ลักษณะของกรีซตอนนี้ อยู่ที่ว่ากรีซจะยอมผ่าตัดปรับประเทศของตัวเองหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการออกจากยูโรโซน หรือว่ายอมกลับมารัดเข็มขัดเข้าสู่แผนของกลุ่มประเทศยูโรโซนอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากกรีซยอมออกจากยูโร ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร แต่การออกไปนั้น กรีซอาจทำให้กรีซหยุดใช้หนี้ ขอเป็นเอ็นพีแอล ซึ่งเท่ากับทำให้กรีวไม่สามารถลงทุนได้ การเมืองในประเทศก็จะต้องปั่นป่วน และกรีซต้องกลับไปยังพื้นฐานเดิมของเศรษฐกิจตัวเองว่ากรีซจะขายอะไร จะหาจุดเด่นของประเทศอย่างไร ซึ่งต้องติดตามว่ากรีซจะออกจากสถานะในขณะนี้อย่างไร
" ไม่ว่ากรีซจะเลือกทางไหนก็ดูไม่ดีทั้งสองทาง แต่ก็ต้องรอดูว่าจะเป็นอย่างไร เพราะเรื่องของกรีซ ถือเป็นกรรมที่เขาก่อหนี้ก่อนหน้าไว้เยอะ ใช้จ่ายเกินตัว และไม่รู้ว่าจะใช้หนี้ได้มั๊ย สถานการณ์ตอนนี้จึงลำบาก" ดร.ประสาร กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้น เสถียรภาพของไทยยังดีอยู่ แม้จะมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในตอนนี้ เพราะหลังจากที่เราประสบปัญหาวิกฤตการเงินช่วงต้มยำกุ้งนั้นทำให้ประเทศมีการเตรียมพร้อมและปรับตัว โดยเฉพาะเรื่องทุนสำรอง และการก่อหนี้น้อยลง เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าเศรษฐกิจ และฐานะของประเทศเริ่มมีเสถียรภาพที่ดีขึ้นมาก ฐานะของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ก็แข้มแข็งขึ้นเช่นกัน
ดร.ประสาร ยังกล่าวถึงความคืบหน้า ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 หลังผ่านแผนระยะที่ 2 ระหว่างปี 2553-2557 ว่า ร่างแผนพัฒนาระยะที่ 3 ใกล้จะเสร็จแล้ว และคาดว่าต้นเดือนสิงหาคม จะส่งร่างฉบับนี้ไปให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้ โดยช่วงนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล จากภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญต่างๆอีกครั้ง
ทั้งนี้ แผนพัฒนาระยะที่ 3 เนื้อหาหลักๆ จะเป็นการเชื่อมโยงกับภูมิภาค บทบาทของดิจิตอลที่เข้ามาว่าจะพัฒนาอย่างไร และระวังในส่วนไหน รวมไปถึงการเข้าถึงบริการทางการเงินของสถาบันการเงินขนาดเล้ก รายยย่อย รวมไปถึงเอสเอ็มอี ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรทางการเงิน ที่จะช่วยให้ประเทสไทยสามารถเผชิญกับท้าทายในอนาคตที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีในส่วนของรายละเอียดร่างฯ นั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้
ผู้ว่า ธปท. กล่าวถึงผู้ว่า ธปท. คนใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม นี้ว่า การทำงานงานของผู้ว่าฯ คนใหม่ ในการดำเนินนโยบายการเงินนั้น มองว่าการขับเคลื่อนของการดำเนินนโยบายการเงินนั้น ต้องอาศัยกลไกอื่นๆของหน่วยงานราชการต่างๆ ดำเนินนโยบายให้มีความสอดคล้องกันกับการมีสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง แต่ก็ยอมรับว่า ว่าที่ ผู้ว่าฯ คนใหม่ได้เตรียมตัวได้ดี อีกทั้งการมีประสบการณ์ทำงาน และการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง จะมีส่วนช่วยให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย