WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOA copyธปท.แจงชุดมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายทยอยออกประกาศ-หนังสือเวียนปี 58-60

   นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประกาศแนวทางผ่อนคลายเพิ่มเติมภายใต้แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว และจะทยอยออกประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องในช่วงปี 58-60 นอกจากนี้ ธปท. เห็นควรผ่อนคลายหลักเกณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ได้แก่ การทำธุรกรรมของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการประกอบธุรกิจของศูนย์บริหารเงิน

    "การผ่อนคลายดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความลึกและความกว้างให้กับตลาดเงินไทย รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกรรมและกระจายความเสี่ยงการลงทุนของบุคคลในประเทศและผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ อันจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป"ธปท.ระบุ

สาระสำคัญและแผนงานของการผ่อนคลาย สรุปได้ ดังนี้

I. การผ่อนคลายหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินของบุคคลในประเทศ ธปท. จะดำเนินการผ่อนคลายเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลในประเทศสามารถถือครองสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศได้มากขึ้น และขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ ธพ. (non-bank) ให้คล่องตัว มีรายละเอียดดังนี้

(1) ฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศ : ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากกับสถาบันการเงิน (สง.) ในประเทศได้โดยเสรี โดยมียอดคงค้างไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์ สรอ.

(2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ : ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศ โอนเงินออกเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ และสิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ได้ไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ.

(3) การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ :

3.1 เพิ่มช่องทางให้บุคคลในประเทศสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านธนาคารพาณิชย์

3.2 ทยอยผ่อนคลายให้บุคคลในประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ฝากเงินกับ สง. ในต่างประเทศและลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยไม่ผ่านตัวกลางในประเทศภายในวงเงินที่กำหนด

3.3 ให้บุคคลในประเทศลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เสนอขายในประเทศที่เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ เช่น structured product สกุลเงินบาทอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวกับเงินบาท

(4) การประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ : อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับลูกค้าภายใต้ขอบเขตการประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์

(5) ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของศูนย์บริหารเงิน (Corporate treasury center): ให้ศูนย์บริหารเงินสามารถบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทในเครือได้คล่องตัวมากขึ้น เช่น ผ่อนคลายเกณฑ์การฝากเงินตราต่างประเทศ การกู้เงินบาทจากกลุ่มบริษัทในต่างประเทศ และการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน

(6) ผ่อนคลายคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (Money transfer agent) และบุคคลรับอนุญาต (Money changer): เช่น อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายวงเงินการทาธุรกรรมของบุคคลรับอนุญาตกับลูกค้า

II. การผ่อนคลายการทาธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-resident: NR) ธปท. จะดำเนินการผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกาไรค่าเงินบาท เพื่อให้ NR ทำธุรกรรมกู้ยืม เงินบาทกับ สง. ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ได้แก่

(1) ขยายวงเงินให้ NR กู้ยืมเงินบาทจาก สง. โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทย (underlying)รองรับเป็นไม่เกิน 600 ล้านบาท ต่อกลุ่ม NR ต่อ สง. หนึ่งราย

(2) ผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศที่มิใช่ สง. สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยตรง (direct loan) เพื่อลงทุนในประเทศไทย ยกเว้นเพื่ออสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์ในประเทศไทย

(3) ผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการที่มิใช่ สง. ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยตรง(direct loan) เพื่อประโยชน์ในการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

     ทั้งนี้ การผ่อนคลายตามที่กล่าวข้างต้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ ดังนี้

      1. การขยายวงเงินให้ NR กู้ยืมเงินบาทจาก สง.ในประเทศ ผ่านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาท โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทย (underlying) รองรับ เป็น 600 ล้านบาท และการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจศูนย์บริหารเงิน คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2558

     2. ธปท. จะเร่งเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาดำเนินการผ่อนคลายเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ และวงเงินฝากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับ สง. ในประเทศ

    3. สำหรับการผ่อนคลายในส่วนที่เหลือ ธปท.จะได้ทยอยเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาในลำดับต่อไปภายหลังจากที่ได้หารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!