WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธปท.ระบุเศรษฐกิจ พ.ย.ฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากแรงขับเคลื่อนการใช้จ่ายเอกชน

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.57 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ แรงขับเคลื่อนมาจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องทั้งการบริโภคและการลงทุน ซึ่งส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนตามไปด้วย

     แต่ในขณะเดียวกันแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าแผ่วลงตามอุปสงค์จากจีน ญี่ปุ่น และยุโรป ประกอบกับราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดลดลงตามราคาน้ามันโลก ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวบ้างหลังสิ้นสุดมาตรการผ่อนผันให้รถโดยสารมาเลเซียสามารถเดินทางออกนอกจังหวัดสงขลา

    ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันโลกที่ต่ำลงทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อน

      "การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าประเทศในภูมิภาค ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลง...ขณะที่ตั้งแต่ไตรมาส 3 จนถึงเดือนพ.ย. พบว่าตลาดแรงงานเริ่มมีการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนว่าเศรษฐกิจในประเทศเริ่มจะฟื้นตัว"โฆษก ธปท.ระบุ

    ธปท.ระบุว่า ในเดือน พ.ย.57 อุปสงค์ภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน หมวดสินค้ากึ่งคงทน และหมวดบริการ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งราคาน้ามันในประเทศที่ปรับลดลงช่วยเพิ่มก้าลังซื้อให้กับประชาชน

      อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนยังไม่ฟื้นตัว เพราะภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงท้าให้ครัวเรือนยังระมัดระวังการใช้จ่ายสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูง และก้าลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรถูกบั่นทอนด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ

    การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนด้วยการน้าเข้าสินค้าทุนโดยเฉพาะในหมวดอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และจากการก่อสร้างที่ทยอยปรับดีขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี การลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตยังคงมีไม่มาก เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีก้าลังการผลิตส่วนเกินอยู่ และรอให้เศรษฐกิจในประเทศและการส่งออกฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น

    แรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงหลังมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประจ้าในเดือนก่อน ขณะที่การใช้จ่ายงบลงทุนมีต่อเนื่องแต่โดยรวมการเบิกจ่ายทำได้ค่อนข้างช้าเทียบกับเป้าหมาย ส้าหรับรายได้รัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน จากภาษีสรรพสามิตที่หดตัวตามยอดจ้าหน่ายรถยนต์เป็นส้าคัญ ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงเพราะราคาน้ามันท้าให้การจัดเก็บภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลงด้วย

   การส่งออกสินค้ายังคงฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของอุปสงค์จีน ญี่ปุ่น และยุโรป ประกอบกับราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ามันดิบ อาทิ ปิโตรเลียม ยางพารา และเคมีภัณฑ์ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้า 11 เดือนแรกหดตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับการนำเข้าสินค้ามีมูลค่าลดลงตามการนำเข้าน้ำมันดิบ โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลงและการชะลอปริมาณการนำเข้าของโรงกลั่นน้ำมัน เนื่องจากมองว่าราคาน้ำมันโลกอาจลดต่ำลงอีก

      อุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้นส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ มีปัจจัยพิเศษ ได้แก่ มอเตอร์เอ็กซ์โปในช่วงปลายเดือน พ.ย.จนถึงต้นเดือน ธ.ค.ที่กระตุ้นให้มีการผลิตยานยนต์เพื่อรองรับงานดังกล่าว และ การผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากการกลับมาเปิดด้าเนินการของโรงกลั่นน้ำมัน หลังปิดซ่อมบำรุงไปชั่วคราว ในช่วงปลายเดือน ก.ย.ถึงต้นเดือน พ.ย.ทั้งนี้ การฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม

     ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีแต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน เพราะมาตรการผ่อนผันให้รถโดยสารมาเลเซียสามารถเดินทางออกนอกจังหวัดสงขลาสิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของตลาดหลัก ทั้งยุโรป รัสเซีย และญี่ปุ่นไม่ดีนัก จึงส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยผ่านทั้งรายได้ของนักท่องเที่ยว จากประเทศเหล่านั้นและค่าเงินรูเบิลและเยนที่อ่อนค่าลงมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ตลาดจีนยังมี ความเข้มแข็ง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามความนิยมในการท่องเที่ยวไทยและความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองของไทย

      รายได้เกษตรกรที่หดตัวค่อนข้างมากจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นปัจจัยลดทอนการบริโภคของครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนในภูมิภาคที่ประกอบอาชีพการเกษตร ทั้งนี้ รายได้เกษตรกรที่ลดลงเป็นผลจากพืชสำคัญ 2 ชนิด คือ ยางพาราที่ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ได้แก่ จีน และมาเลเซีย ลดคำสั่งซื้อตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับ ราคายางพาราถูกกดดันเพิ่มเติมจากราคาน้ำมันนโลกที่ลดลงเพราะสามารถใช้เป็นสินค้าทดแทนกันได้ และข้าวที่ราคาลดลงหลังสิ้นสุดโครงการรับจำนำของรัฐบาล

     ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านในประเทศและด้านต่างประเทศ อัตราการว่างงาน อยู่ในระดับต้าต่อเนื่อง และราคาน้ามันโลกที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็วช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส้าหรับดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการช้าระคืนเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นของสถาบันรับฝากเงิน และการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของนักลงทุนไทย โดยรวมดุลการช้าระเงินใกล้สมดุล ขณะที่เงินส้ารองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!