mod_mslideshows

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร          ...
More
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New Product จากเวที GRB Innovation Awards 2022 ติดต่อกัน 3 ปี

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New...

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a...
More
เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน ครองมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...
More
AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022      ...
More
SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท ‘ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย’

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...
More
ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง...
More
COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน           บริษัท...
More
กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK GROUP) เยี่ยมชมระบบเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...
More
มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบเงินบริจาคแก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...
More
FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’...
More
เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ สร้างโอกาสทางความรู้ที่เท่าเทียมในองค์กร

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...
More
อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’          ...
More
รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่      ...
More
SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE           คุณอำนวย จิรมหาโภคา...
More
บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story        ...
More
‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ ชวนลุ้นรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...
More
BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565        ...
More
ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่...
More
เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน    ...
More

1aaa2BOA7

เรื่อง รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนธันวาคม 2563

          ​ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินและการประเมินภาวะเศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2563

          ในการประชุมวันที่ 18 พฤศจิกายน และ 23 ธันวาคม 25631/ คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวน้อยกว่าที่เคยประเมินไว้ สำหรับในปี 2564 และ 2565 คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 ในระยะสั้น รวมถึงการเข้าถึงและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในไทยที่อาจเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งจะกระทบต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะถัดไป

       นอกจากนี้ การฟื้นตัวยังมีแนวโน้มแตกต่างกันมากในแต่ละภาคเศรษฐกิจและกลุ่มพื้นที่ (uneven recovery) ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และเห็นควรให้รักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

          คณะกรรมการฯ เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานจึงมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยการฟื้นตัวที่แตกต่างกันส่งผลให้ธุรกิจบางกลุ่มมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ สถาบันการเงินจึงควรเร่งปรับโครงสร้างหนี้และเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ การใช้กลไกการค้ำประกันสินเชื่อ

         ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการการคลังมีบทบาทสำคัญในการช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวหลังการระบาดสิ้นสุดลง (scarring effect) การปฏิรูปเชิงโครงสร้างจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการควบคู่กับมาตรการกระตุ้นอุปสงค์เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น

การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน

  1. เศรษฐกิจโลก

          เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวน้อยลงในปี 2563 จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 หลังการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาด มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวหลังการระบาดคลี่คลาย โดยวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีประสิทธิผลและมีแนวโน้มกระจายได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายการคลังที่ออกมาต่อเนื่องและนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะหดตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.8 และ 3.1 ในปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังมีความเสี่ยงโน้มไปด้านต่ำแต่น้อยกว่าประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างทั่วถึงมีแนวโน้มสูงกว่าคาด รวมถึงมุมมองเชิงบวกต่อนโยบายการค้าระหว่างประเทศของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่เอื้อต่อบรรยากาศการค้าโลก

          ภาครัฐทั่วโลกยังคงออกมาตรการการคลังอย่างต่อเนื่อง และบางประเทศเริ่มออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งระยะสั้นและระยะยาว สำหรับธนาคารกลางกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยธนาคารกลางยุโรปประกาศขยายมาตรการการเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม ขณะที่ธนาคารกลางในภูมิภาคบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม อาทิ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และธนาคารกลางอินโดนีเซียเพิ่มเติม

  1. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

          ภาวะการเงินไทยโดยรวมยังผ่อนคลาย อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลงเล็กน้อยจากความต้องการถือครองพันธบัตรระยะยาวของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ (new loan rate: NLR) ของภาคธุรกิจบางกลุ่มเริ่มปรับสูงขึ้น ส่วนหนึ่งจากการปล่อยสินเชื่อใหม่ตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยดอกเบี้ยต่ำ (soft loans) ของภาครัฐที่ชะลอลง ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในไตรมาสที่ 4 หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความชัดเจน

         รวมถึงข่าวประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเร็วจากภาวะยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นของนักลงทุน (risk-on sentiment) และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเห็นควรให้ติดตามอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (new FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

          เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบางจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูงและความสามารถในการชำระหนี้ที่ด้อยลง ในระยะต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนและการฟื้นตัวระหว่างภาคธุรกิจยังแตกต่างกัน บางภาคธุรกิจอาจไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาที่ระดับก่อน COVID-19 ได้ ดังนั้นการสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมแก่ธุรกิจที่มีศักยภาพ การปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม รวมถึงการปรับโครงสร้างธุรกิจและรูปแบบธุรกิจจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

  1. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย

          ข้อสมมติสำหรับประมาณการ2/ ได้แก่ (1) รัฐบาลสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยมีมาตรการที่เข้มงวดในจังหวัดสมุทรสาคร ขณะที่การระบาดในพื้นที่อื่นอยู่ในระดับที่ควบคุมได้จากการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนแต่ไม่มีมาตรการที่เข้มงวดในวงกว้าง ทำให้ภาคบริการได้รับผลกระทบเพียงบางส่วน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัย (2) วัคซีนป้องกัน COVID-19 จะมีใช้อย่างทั่วถึงในต่างประเทศตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564

        และเริ่มกระจายวัคซีนให้คนไทยได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ทำให้ไทยสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนและการตรวจเชื้อ COVID-19 และคาดว่าตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2565 ไทยจะเปิดเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการกักตัวและการฉีดวัคซีน และ (3) รัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          เศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 6.6 น้อยกว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาดในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ทยอยปรับดีขึ้นตามเศรษฐกิจคู่ค้า รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้นหลังการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ และการออกมาตรการภาครัฐซึ่งช่วยพยุงกำลังซื้อครัวเรือน อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวสูง สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มหดตัวสูงและฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในต่างประเทศมีแนวโน้มยืดเยื้อและรุนแรง ทำให้ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จำกัด

          สำหรับ อุปสงค์ในประเทศ การระบาดระลอกใหม่ยังเป็นปัจจัยที่กดดันการบริโภคภาคเอกชน ด้านการใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แต่แรงส่งจะชะลอลงบ้าง เนื่องจากมีการปรับลดกรอบงบประมาณปี 2564 และงบเหลื่อมปี หลังจากเร่งเบิกจ่ายไปแล้วในปี 2563 ประกอบกับการเลื่อนแผนการลงทุนและปรับลดกรอบงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.8 ตามข้อสมมติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวหลังมีการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างทั่วถึงทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

          มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 7.4 ในปี 2563 โดยการส่งออกไปจีนและยุโรปยังฟื้นตัวได้ช้า ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และออสเตรเลียขยายตัวและอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 แล้ว สำหรับปี 2564 และปี 2565 การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 และ 5.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าไทยจะช้ากว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เนื่องจากโครงสร้างการส่งออกของไทยมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับผลดีจากสถานการณ์ COVID-19 ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค

          ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในต่างประเทศและไทยมีแนวโน้มยืดเยื้อ ทำให้ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จำกัดและยังต้องมีมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2563 และ 2564 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน และ 5.5 ล้านคน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวจะทยอยเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการกระจายวัคซีนในไทยและต่างประเทศ และจะเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ที่ไทยสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์การฉีดวัคซีน คณะกรรมการฯ จึงประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2565 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคน

          การบริโภคภาคเอกชนในปี 2563 หดตัวน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วหลังเปิดเมือง และตลาดแรงงานที่ทยอยฟื้นตัวสอดคล้องกับจำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ มาตรการภาครัฐที่จะทยอยสิ้นสุดลง รวมถึงตลาดแรงงานที่ยังฟื้นตัวไม่เข้มแข็ง จะเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของการบริโภคในระยะต่อไป โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 2.8 และร้อยละ 3.0 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

          การลงทุนภาคเอกชนในปี 2563 ยังหดตัวสูง เนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศยังไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี การลงทุนในปี 2564 และปี 2565 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนในส่วนของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (public-private partnership: PPP) โดยเฉพาะใน EEC ที่มีความคืบหน้าชัดเจนมากขึ้น

          ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2563 เกินดุลอยู่ที่ 16.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 3 ซึ่งสูงกว่าคาด ขณะที่ในปี 2564 คาดว่าจะเกินดุลลดลงอยู่ที่ 11.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับในปี 2565 คาดว่าจะเกินดุลสูงขึ้นที่ 29.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นตามการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการกักตัวและการฉีดวัคซีน

          เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงและมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่ากรณีฐาน โดยโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะต่ำกว่ากรณีฐานมาจาก (1) สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศอาจรุนแรงและลุกลาม (บทความในกรอบ: เศรษฐกิจไทยภายใต้การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่) จนต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดเพิ่มเติมในวงกว้าง (2) ประสิทธิผลของวัคซีน COVID-19 อาจน้อยกว่าคาดและการกระจายวัคซีนอาจล่าช้ากว่าคาดจากข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าช้าออกไป (3) แรงกระตุ้นจากภาครัฐอาจน้อยกว่าคาด หากมีความล่าช้าในการอนุมัติโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ (4) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจอาจได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการ และอาจกลับมาฟื้นตัวช้าแม้การระบาดสิ้นสุดลง (scarring effects) และ (5) อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนอาจเพิ่มสูงขึ้นมากภายหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังเสถียรภาพระบบการเงิน

          ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 ติดลบที่ร้อยละ 0.9 ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม สำหรับในปี 2564 มีแนวโน้มใกล้เคียงเดิมที่ร้อยละ 1.0 โดยข้อสมมติราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ถูกชดเชยโดยค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ที่ลดลงและผลของฐานราคาอาหารสดที่สูงในปี 2563 สำหรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ทั้งในปี 2563 และ 2564 โดยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.4 ในปี 2565 สอดคล้องกับอุปสงค์ที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว ทั้งนี้ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ

[1]/ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 23 ธันวาคม 2563 กรรมการ 1 ท่าน ลาประชุม

[2]/ประมาณการเผยแพร่ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2563 ได้คำนึงถึงผลกระทบของมาตรการควบคุมการระบาดในจังหวัดสมุทรสาครแล้ว แต่ยังไม่รวมผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ที่กระจายวงกว้างหลายจังหวัดมากขึ้น และผลกระทบจากการประกาศมาตรการที่เข้มงวดขึ้นซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564

เศรษฐกิจไทยภายใต้การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่

          รายงานนโยบายการเงิน เดือนธันวาคม 2563 ฉบับนี้เผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจที่คณะกรรมการนโยบายการเงินเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 โดยจัดทำขึ้นจากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศระลอกใหม่ยังอยู่ในวงจำกัด และมีการประกาศมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเพียงในจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการและสมุทรสงคราม โดยประมาณการเศรษฐกิจในกรณีฐาน (baseline) ซึ่งจัดทำในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่บนข้อสมมติ ดังนี้

          (1) พื้นที่การระบาดเกิดขึ้นในวงจำกัด เฉพาะสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง

          (2) ไม่มีมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดในวงกว้าง โดยเป็นมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางพื้นที่ และสามารถควบคุมการระบาดได้ภายใน 1-2 เดือน

          (3) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกิดขึ้นผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมในภาคบริการบางส่วนได้รับผลกระทบ การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบสูงเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัย สำหรับการบริโภคได้รับผลกระทบบ้าง ทั้งนี้ ผลกระทบบางส่วนถูกชดเชยโดยการเร่งใช้จ่ายภาครัฐผ่านงบประมาณด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือการระบาด

          การระบาดของ COVID-19 ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2564 รุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ ทำให้ความเสี่ยงด้านต่ำ (downside risks) มีโอกาสเกิดสูงขึ้น ประมาณการเศรษฐกิจในปี 2564 และ 2565 จึงมีโอกาสที่จะต่ำกว่ากรณีฐาน โดยสถานการณ์ล่าสุด ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีการประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัดและประกาศใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น อีกทั้งยังไม่มีกำหนดระยะเวลาของมาตรการที่แน่นอน สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ การบริโภคภาคเอกชนจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นตามมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ภาคบริการและภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงทั่วประเทศ

         สำหรับ ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบน้อย โดยอาจมีอุปสรรคด้านการขนส่งสินค้าบ้าง อย่างไรก็ดี พัฒนาการด้านการจัดซื้อวัคซีนของไทยมีความคืบหน้ามากกว่าที่ประเมินไว้ ล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศการจัดซื้อวัคซีนจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะเริ่มส่งมอบตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทำให้การกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงอาจทำได้เร็วกว่าคาด รวมถึงยังมีแผนการจัดหาวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากรภายในปี 2564

          ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยระลอกใหม่ที่อาจเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่แน่นอนสูง คณะกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์และประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ทั้งข้อมูลสาธารณสุข ข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน รวมถึงการสอบถามความเห็นผู้ประกอบการ (Business Liaison Program: BLP) เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน

โทร. : 0 2356 7872, 0 2283 6186 E-mail : [email protected] 

กนง.มองศก.ไทยปี 65 จะกลับมาโตได้เท่าช่วงก่อนโควิด-19

  กนง.เผยผลประชุมนัดสุดท้ายของปี 63  ชี้ตลาดการเงินโลกรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ทำเงินทุนเคลื่อนย้ายผันผวน ประเมินศก.ไทยปี 63 ดีขึ้น คาดติดลบเหลือ 6.6% และคาดปี 65 จะเริ่มกลับมาขยายตัวได้เท่าก่อนโควิด-19

   รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.63 โดยมีนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน โดยที่ประชุม ประเมินว่า ในระยะข้างหน้าตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มอยู่ในภาวะ ยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น (risk-on) โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และสินทรัพย์เสี่ยงใน กลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EMs)  ซึ่งจะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้ม ผันผวนและไหลเข้าในสินทรัพย์ของกลุ่มตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทยมากขึ้น

   สำหรับเงินดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากแนวนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่มีท่าทีประนีประนอมกว่าเดิมและแนวโน้ม การกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมาตาม สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินบาท ในระยะต่อไป

   ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 จะหดตัว 6.6% ซึ่งติดลบน้อยกว่าที่คาดไว้เดิม โดยจะกลับมา ขยายตัวในปี 64 ที่ 3.2% และจะขยายตัวเร่งขึ้นในปี 65 ที่ 4.8% ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดในครึ่งหลังของปี 65

   โดยปัจจัยบวก ที่สำคัญต่อการปรับประมาณการเศรษฐกิจครั้งนี้ ได้แก่ พัฒนาการเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 และ 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 63 ที่ดีกว่าคาด โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้า เครื่องชี้ตลาดแรงงานที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง จำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานมีแนวโน้มลดลง โดยจำนวนผู้เสมือนว่างงาน ณ เดือนพ.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.2 ล้านคน ต่ำกว่าช่วงที่สูงที่สุดในไตรมาสที่ 2 ที่ 5.4 ล้านคน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไป

   ขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อแนวโน้มการส่งออกของไทย สำหรับปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่ ข้อสมมติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 รวมถึงความไม่แน่นอน ของประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่จะกระทบต่อความสามารถในการเปิดรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และข้อสมมติการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับลดลง ตามกรอบงบประมาณปี 64 และกรอบงบเหลื่อมปีที่ประกาศออกมาต่ำกว่าคาด รวมถึงการปรับลดแผน และการเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นสำคัญ

   อย่างไรก็ตาม มองไปข้างหน้า ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากหลายปัจจัยความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 ในระยะสั้น รวมถึงการเข้าถึงและการ กระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในไทยที่อาจเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งจะกระทบต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติในระยะถัดไป รวมถึงแรงกระตุ้นทางการคลังที่อาจแผ่วลง จากการเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ ล่าช้า มาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐที่จะทยอยหมดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 64 และกรอบระยะเวลา การกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดฯ ที่จะสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 64

   นอกจากนี้ ยังมาจากความเปราะบาง ของฐานะการเงินในภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจSMEsซึ่งหากภาคธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เพียงพอและทันการณ์จากมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินของภาครัฐจะส่งผลต่อเนื่องไปยังตลาดแรงงาน และเศรษฐกิจโดยรวมได้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 63 มีแนวโน้มติดลบ โดยจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 64 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ

  แม้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบ จะปรับสูงขึ้นตามความคืบหน้าของกระบวนการผลิตวัคซีน แต่ผลของฐานจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ที่สูงกว่าคาดในปี 63 และการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปรในปี 64 ทำให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดไว้เดิมอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

  ด้านค่าเงินบาทยังเผชิญความท้าทายในระยะข้างหน้าคณะกรรมการฯประเมินว่าในระยะสั้นตลาดการเงินโลก ยังอยู่ในภาวะ risk-on และเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเร็ว และกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง ภาคธุรกิจจึงควรป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวน ของค่าเงินและเร่งปรับตัวเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเชิงมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะลดการพึ่งพาการแข่งขัน ด้านราคา

  คณะกรรมการฯ เห็นควรให้เร่งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (new FX ecosystem) เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินทุนเคลื่อนย้าย สมดุลมากขึ้น นักลงทุนไทยลงทุนต่างประเทศได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัว และผู้ให้บริการแข่งขันเพิ่มขึ้น

  ขณะที่มาตรการการคลังมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงที่การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ การที่ระดับหนี้สาธารณะปรับสูงขึ้นในระยะปานกลาง ไม่ได้สร้างความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากหนี้สาธารณะของไทยในช่วงก่อนการระบาด อยู่ในระดับต่ำ อายุหนี้เฉลี่ยยาวประมาณ 10 ปี หนี้เกือบทั้งหมดเป็นหนี้สกุลเงินบาท และ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ณ ราคาประจำปี (nominal GDP growth) สูงกว่าแนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมของรัฐบาล

  นอกจากนี้ ไทยมีระดับความน่าเชื่อถือที่ BBB+ และมีมุมมองความน่าเชื่อถือ ในระดับมีเสถียรภาพ (stable outlook) คณะกรรมการฯ เห็นว่าหากการก่อหนี้ของภาครัฐเป็นไปเพื่อ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตและเอื้อให้ แนวโน้มหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยมีความยั่งยืนได้ ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาปกติ รัฐบาล ควรเพิ่มประสิทธิภาพทางการคลังผ่านการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน ทางการคลังในระยะยาวต่อไป

  ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงาน มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ เช่น มาตรการค้าประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุง โครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง สำหรับมาตรการการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงควรเร่งเบิกจ่าย และให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางอย่างตรงจุด รวมถึงควรเร่งดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขเชิงรุกและ จัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้เพียงพอ เพื่อจำกัดผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจ

 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นถึงความจำเป็นของนโยบายด้านอุปทานเพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้ สอดคล้องกับบริบทใหม่ภายหลังการระบาดของ COVID-19 ที่โครงสร้างเศรษฐกิจในหลายอุตสาหกรรมได้ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการยกระดับทักษะแรงงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงเร่งปรับปรุงกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว อย่างยั่งยืนในระยะยาวภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -6 ม.ค. 64 9:59: น.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Friday, 26 August 2022 22:01

Government-SE Matching Day สวส. จัดกิจกรรมรัฐรวมพลังจับคู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ดึงวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมออกบูธกว่า 15 องค์กร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) จัดกิจกรรม Government...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Sunday, 22 May 2022 12:47

สภาพัฒ ฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Monday, 21 February 2022 18:27

สศช.GDP ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปี 64 ขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565...

สำนักนายกฯ

Saturday, 22 October 2022 20:49

ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้...

Sunday, 29 May 2022 09:12

' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย ' ในการจัดเสวนา 'Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ’ ผมมีโอกาสร่วมเสวนาหัวข้อ ' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย '...

Sunday, 22 May 2022 09:55

นายกรัฐมนตรี ปลื้ม FANC มอบใบเซอทิฟิเขท หลังเห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล แก้ยาเสพติดแนวใหม่ รับปาก หนุนแก้อำนาจ ป.ป.ส.เป็นพนักงานสอบสวน-เพิ่มเครื่องมือ หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยา ชม ก.ยุติธรรม...

Sunday, 22 May 2022 09:47

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการติดตามผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด พร้อมรับใบเซอทิฟิเขท จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศ หรือ FANC...

Saturday, 07 May 2022 13:37

นายกฯ ติดตามงาน 'ขจัดความยากจน-พัฒนาคนทุกช่วงวัย' กำชับเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ 'พุ่งเป้า' ตรงจุด ทันเวลา และเป็นรูปธรรม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินงาน...

Monday, 28 March 2022 17:22

บุกค้น 2 ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์รายใหญ่ มีสลากขายเกินราคา 6.7 ล้านฉบับ เร่งขยายผล ตัดสิทธิ ยกเลิกโควตาตัวแทนจำหน่าย-ผู้มีสิทธิซื้อจอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ...

Thursday, 24 March 2022 21:31

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022...

สนับสนุนโดย Investing.com

สนับสนุนโดย Investing.com

โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย

ตัวแปลงสกุลเงินนี้ควบคุมดูแลระบบทำงานโดย Investing.com ประเทศไทย

บริษัทจดทะเบียน

Wednesday, 09 August 2023 09:12

0 MTC มาตามนัด Q2/66 พอร์ตสินเชื่อแตะ 132,851 ลบ.เดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย เตรียมออกหุ้นกู้ชุดใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.25-4.80% คาดเสนอขายวันที่ 21-23 ส.ค.นี้ บมจ.เมืองไทย...

Tuesday, 08 August 2023 18:31

ALT โชว์ไตรมาส 2/66 กวาดรายได้ 396 ลบ . งานโซลาร์รูฟท็อป - บริการโครงข่ายรุ่งแนวโน้มโตต่อเนื่อง เอแอลที เทเลคอม โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 กวาดรายได้ 396 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 56.6%...

Tuesday, 08 August 2023 17:01

PSP พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ บิ๊กน้ำมันหล่อลื่น จ่อเข้าเทรด SET จับตา 'พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP)'เจ้าตลาดเบอร์หนึ่งธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นครบวงจรของไทยและอาเซียน เตรียมขายไอพีโอเข้าเทรด SET...

เศรษฐกิจ

Tuesday, 15 November 2022 14:33

GSB ต้อนรับประธานกรรมการธนาคารออมสินคนใหม่ นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ในนามคณะกรรมการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร...

Tuesday, 15 November 2022 14:32

สนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (...

Tuesday, 15 November 2022 00:07

‘ ณัฐพล ’ ปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร . ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม...

Monday, 14 November 2022 16:14

บอร์ด บสย. แต่งตั้ง ' เอด วิบูลย์เจริญ ' ประธาน บสย. คนใหม่ คณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมติแต่งตั้ง ‘เอด วิบูลย์เจริญ’ดำรงตำแหน่ง ประธาน บสย. มีผลตั้งแต่วันที่ 14...

บทความ-วิเคราะห์

EDUCATION 

Tuesday, 15 November 2022 15:30

ทีซีซีเทค ปลื้ม Enjoy to the Max 2 บรรลุตามเป้า ! ต่อยอดการยกระดับดิจิทัลขั้นสูงในองค์กร สิ้นสุดพิธีมอบรางวัลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข สำหรับ “TCCtech X M365 Star Icon Stage” ภายใต้โครงการ Enjoy to...

กทม. ท้องถิ่น

Sunday, 13 November 2022 18:00

รมว.เฮ้ง ส่ง ' โฆษก ' เยี่ยมกลุ่มบายศรีบึงกาฬ สร้างอาชีพเสริม รับนักท่องเที่ยวสายมู นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน...

ข่าวสังคม

Tuesday, 15 November 2022 17:30

ธพว . ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว .) หรือ SME D Bank โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส...